ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Wutzwz (คุย | ส่วนร่วม)
Torpido (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 372: บรรทัด 372:
*{{flagicon|Chile}} [[อาเลกซิส ซานเชซ]] (2014-2018)
*{{flagicon|Chile}} [[อาเลกซิส ซานเชซ]] (2014-2018)
*{{flagicon|France}} [[ออลีวีเย ฌีรู]] (2012-2018)
*{{flagicon|France}} [[ออลีวีเย ฌีรู]] (2012-2018)
*{{flagicon|England}} [[แจ็ก วิลเชียร์]] (2001-2018)
*{{flagicon|Spain}} [[ซานติ กาซอร์ลา]] (2012-2018)
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:49, 20 มิถุนายน 2561

อาร์เซนอล
Red shield with large gold cannon below the word "Arsenal" in white letters. Thin white and blue stripes line the shield's left and right edges.
ชื่อเต็มArsenal Football Club
ฉายาThe Gunners
ไอ้ปืนใหญ่, ปืนใหญ่ (ภาษาไทย)
ก่อตั้งค.ศ. 1886 ในชื่อ Dial Square
สนามเอมิเรตส์สเตเดียม, ลอนดอน
Ground ความจุ60,355 คน[1]
เจ้าของอังกฤษ บริษัท อาร์เซนอล โฮลดิงส์
ประธานอังกฤษ เซอร์ จอห์น เคสวิก
ผู้จัดการสเปน อูไน เอเมรี
ลีกพรีเมียร์ลีก
2017–18พรีเมียร์ลีก, อันดับที่ 6
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม
ฤดูกาลปัจจุบัน

สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอล (อังกฤษ: Arsenal Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่เล่นในพรีเมียร์ลีก จากย่านฮอลโลเวย์ ในกรุงลอนดอน เป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดแห่งหนึ่งในฟุตบอลอังกฤษ ครองแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษ 13 ครั้งและเอฟเอคัพ 13 ครั้ง อีกทั้งยังเป็นเจ้าของสถิติผู้เข้าชิงชนะเลิศในเอฟเอคัพมากที่สุด คือ 20 ครั้ง[2] และยังเป็นแชมป์เอฟเอคัพมากที่สุด[3] อาร์เซนอลถือสถิติร่วม โดยอยู่ในลีกสูงสุดของอังกฤษยาวนานที่สุดโดยไม่ตกชั้น และติดอยู่อันดับ 1 ของผลรวมอันดับในลีก ของทั้งศตวรรษที่ 20[4] และเป็นทีมที่ 2 ที่จบการแข่งขันฤดูกาลในลีกสูงสุดของอังกฤษโดยไม่แพ้ทีมไหน (ในฤดูกาล 2003–04) เป็นทีมเดียวที่ไม่แพ้ใครทั้ง 38 นัด

อาร์เซนอลก่อตั้งในปี ค.ศ. 1886 ที่วูลิช โดยกลุ่มคน 15 คน ช่วยกันบริจาคเงินคนละ 6 เพนซ์ เป็นค่าตั้งสโมสร ที่รอยัลโอ๊คผับ (ซึ่งความหมายนี้ได้ปรากฏอยู่ในสัญลักษณ์สโมสรในวาระครบรอบ 125 ปีของการก่อตั้ง[5]) และในปี ค.ศ. 1893 เป็นสโมสรแรกจากลอนดอนใต้ที่ร่วมในฟุตบอลลีก ต่อมาในปี ค.ศ. 1913 สโมสรได้ย้ายมายังลอนดอนเหนือ ย้ายสนามมายังอาร์เซนอลสเตเดียมในไฮบรี ในคริสต์ทศวรรษ 1930 สโมสรครองแชมป์ลีกแชมเปียนชิป 5 สมัยและเอฟเอคัพ 2 สมัย และในยุคหลังสงครามชนะในลีกและเอฟเอคัพทั้งสองถ้วยในฤดูกาล 1970–71 และในคริสต์ทศวรรษ 1990 และคริสต์ทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 ครองสองถ้วยในฤดูกาลเดียว 2 ครั้ง และสามารถเข้าสู่รอบตัดสินในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกในปี ค.ศ. 2006 อาร์เซนอลมีทีมคู่ปรับร่วมเมืองในนอร์ทลอนดอน คือทอตนัมฮอตสเปอร์ ที่เรียกการแข่งขันว่า นอร์ทลอนดอนดาร์บี อาร์เซนอลเป็นสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 4 ของโลก ในปี ค.ศ. 2012 โดยมีมูลค่า 1.3 พันล้านเหรียญดอลลาร์[6]

ประวัติ

สโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลเริ่มต้นขึ้น เมื่อกลุ่มคนงานของโรงงานผลิตอาวุธรอยัลอาร์เซนอลในแขวงวูลิช กรุงลอนดอน ก่อตั้งทีมฟุตบอลของตนเองขึ้นมาเมื่อปลายปี ค.ศ. 1886 ในชื่อ ไดอัล สแควร์ การแข่งขันแรกของทีมคือเกมที่สามารถเก็บชัยชนะเหนือทีมอีสเทิร์น วันเดอเรอร์ส 6-0 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1886 หลังจากนั้นไม่นานก็เปลี่ยนชื่อเป็น รอยัลอาร์เซนอล และยังคงแข่งขันในเกมอุ่นเครื่องและรายการท้องถิ่นต่อไป จากนั้นได้ก้าวขึ้นมาเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพแล้วหันมาใช้ชื่อ วูลิชอาร์เซนอลในปี 1891 สโมสรแห่งนี้ได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลลีกเป็นครั้งแรกในปี 1893 ในดิวิชั่น 2 จากนั้นในปี 1904 ก็ได้ก้าวขึ้นมาอยู่ดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรก อย่างไรก็ตาม ในทางภูมิศาสตร์นั้นจะเห็นว่าสโมสรแห่งนี้ตั้งอยู่โดดเดี่ยวเกินไป ส่งผลกระทบให้จำนวนผู้ชมมีน้อยกว่าสโมสรอื่นจนกระทั่งทีมต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนักจนนำไปสู่การยุบทีมในปี 1910 เมื่อเฮนรี นอร์ริสได้เข้ามาเทคโอเวอร์[7] นอร์ริสพยายามมองหาแนวทางที่จะย้ายที่ตั้งของสโมสรไปอยู่ที่อื่นจนกระทั่งในปี 1913 หลังจากที่ตกชั้นดิวิชั่น 1 มาอยู่ดิวิชั่น 2 เหมือนเดิมนั้น อาร์เซนอลก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อาร์เซนอลสเตเดียมในย่านไฮบิวรี่ บริเวณลอนดอนเหนือ ในปีต่อมา สโมสรได้ตัดสินใจตัดคำว่า "วูลิช" ออกจากชื่อสโมสรจนเหลือเพียง อาร์เซนอล เท่าที่เห็นในปัจจุบัน[8] หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ลีกดิวิชั่น 1 ก็เพิ่มจำนวนทีมเป็น 22 ทีม อาร์เซนอลได้อันดับ 5 ของดิวิชั่น 2 ในปี 1919 แต่ถึงกระนั้นก็ได้รับเลือกให้กลับขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 อีกครั้งหนึ่ง[9] และอาร์เซนอลก็ไม่เคยถูกลดชั้นหรือตกชั้นเลยนับตั้งแต่นั้นมา

ปาทริค วิเอร่า กัปตันทีมอาร์เซนอลชูถ้วยแชมป์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2003-04
นักเตะอาร์เซนอลและแฟนบอลร่วมกันฉลองแชมป์ลีกเมื่อปี ค.ศ. 2004 บนขบวนรถบัส

ในปี 1925 อาร์เซนอลได้ว่าจ้างให้เฮอร์เบิร์ต แชปแมนเป็นผู้จัดการทีม แชปแมนเคยพาฮัดเดอร์สฟิลด์ทาวน์คว้าแชมป์ลีกมาแล้ว 2 สมัยคือฤดูกาล 1923-24 และ 1924-25 ก่อนที่จะเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีมอาร์เซนอลนี้ และแชปแมนคือคนแรกที่พาอาร์เซนอลก้าวเข้าสู่ยุคแห่งความสำเร็จยุคแรก เขาจัดการเปลี่ยนระบบการซ้อมและแทคติคใหม่ทั้งหมดพร้อมทั้งซื้อนักเตะระดับแนวหน้ามาร่วมทีมไม่ว่าจะเป็นอเล็กซ์ เจมส์และคลิฟฟ์ บานติน ทำให้อาร์เซนอลก้าวสู่ความยิ่งใหญ่ในวงการฟุตบอลอังกฤษได้ในช่วงทศวรรษที่ 1930 อาร์เซนอลคว้าแชมป์รายการใหญ่ๆได้เป็นครั้งแรกภายใต้การคุมทีมของแชปแมน โดยสามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ฤดูกาล 1929-30 และแชมป์ลีก 2 สมัยคือฤดูกาล 1930-31 และ 1932-33 นอกจากนั้น แชปแมนยังเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนชื่อสถานีรถไฟใต้ตินที่อยู่ในย่านนั้นคือ Gillespie Road เป็นสถานีรถไฟใต้ดิน "อาร์เซนอล" อันเป็นสถานีรถไฟใต้ดินเพียงแห่งเดียวที่ตั้งชื่อตามสโมสรฟุตบอลโดยเฉพาะ[10]

น่าเสียดายที่แชปแมนเสียชีวิตอย่างกะทันหันด้วยโรคปอดบวมเมื่อต้นปี 1934 แต่หลังจากนั้น โจ ชอว์ และ จอร์จ อัลลิสัน ที่เข้ามารับตำแหน่งก็ประสบความสำเร็จไม่แพ้กัน พวกเขาพาอาร์เซนอลคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้อีก 3 สมัย (ฤดูกาล 1933-34, 1934-35 และ 1937-38) และเอฟเอคัพ 1 สมัย (1935-36) อย่างไรก็ตาม อาร์เซนอลก็เริ่มถดถอยลงเรื่อยๆในช่วงปลายทศวรรษเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 การแข่งขันฟุตบอลอาชีพทุกรายการในอังกฤษต้องยุติลง

หลังจากสงครามสิ้นสุดลง ทอม วิทเทคเกอร์ ผู้สืบทอดตำแหน่งของอัลลิสันได้เข้ามาบริหารทีม อาร์เซนอลจึงกลับมาประสบความสำเร็จได้อีก 2 ครั้งคือฤดูกาล 1947-48 และ 1952-53 ที่ได้แชมป์ลีก และ 1949-50 ที่ได้แชมป์เอฟเอคัพ อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น โชคก็เหมือนจะไม่เข้าข้างอาร์เซนอลเท่าไรนัก สโมสรไม่สามารถดึงดูดความสนใจของนักเตะชุดเดียวกับที่เคยอยู่ในทีมช่วงทศวรรษ 1930 ให้กลับเข้าสู่ทีมได้ ในช่วงทศวรรษที่ 1950 และ 1960 นั้น อาร์เซนอลกลายเป็นทีมระดับธรรมดาๆที่ไม่สามารถคว้าแชมป์อะไรได้เลย แม้ แต่บิลลี ไรท์ อดีตกัปตันทีมชาติอังกฤษที่ผันตัวเองมาเป็นผู้จัดการทีมนั้นก็ไม่สามารถนำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้เลยในช่วงปี 1962-1966 ที่เข้ามาคุมทีม

อาร์เซนอลเริ่มกลับมาคว้าแชมป์ได้อีกครั้งหนึ่งหลังจากได้ว่าจ้างให้เบอร์ตี้ มี นักกายภาพบำบัดให้มารับตำแหน่งผู้จัดการทีมในปี 1966 แบบไม่มีใครคาดคิด อาร์เซนอลสามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลลีกคัพได้ 2 สมัยแต่ก็พลาดแชมป์ทั้งสองครั้ง แต่ก็ยังสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์ซิตี้แฟร์สคัพ ฤดูกาล 1969-70 ซึ่งเป็นถ้วยยุโรปใบแรกในประวัติศาสตร์สโมสร ตามมาด้วยการคว้าดับเบิ้ลแชมป์เป็นครั้งแรก นั่นคือแชมป์ลีกและเอฟเอคัพในฤดูกาล 1970-71 แต่ในทศวรรษต่อมานั้น อาร์เซนอลทำได้แค่เพียงการเข้าไปใกล้ตำแหน่งแชมป์มากที่สุดแต่ก็แทบจะไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย โดยได้รองแชมป์ลีกในฤดูกาล 1972-73 รองแชมป์เอฟเอคัพในฤดูกาล 1971-72, 1977-78 และ 1979–80 และยังพ่ายแพ้ในเกมยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพรอบชิงชนะเลิศด้วยการดวลจุดโทษอีกด้วย สโมสรประสบความสำเร็จเพียงครั้งเดียวในช่วงนี้ก็คือการคว้าแชมป์เอฟเอคัพในฤดูกาล 1978-79 ได้ด้วยการเอาชนะแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไปได้ 3-2 ในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน ซึ่งได้รับการกล่าวขวัญกันมากในเรื่องของความคลาสสิกของเกมนี้[11]

การกลับเข้ามาสู่วงการฟุตบอลอีกครั้งของ จอร์จ แกรแฮม อดีตนักเตะในฐานะผู้จัดการทีมของอาร์เซนอลในปี 1986 ทำให้สโมสรสามารถคว้าแชมป์ได้ 3 สมัย อาร์เซนอลคว้าแชมป์ลีกคัพได้ในฤดูกาล 1986-87 ซึ่งเป็นฤดูกาลแรกที่แกรแฮมเข้ามาคุมทีม จากนั้นก็มาได้แชมป์ลีกในฤดูกาล 1988-89 ด้วยการคว้าแชมป์จากประตูในนาทีสุดท้าของเกมที่พบกับลิเวอร์พูล จากนั้น อาร์เซนอลภายใต้การคุมทีมของแกรแฮมนั้นก็ได้แชมป์ลีกอีกในปี 1990-91 โดยแพ้ไปเพียงเกมเดียวเท่านั้น และสามารถคว้าแชมป์ดับเบิลแชมป์เอฟเอคัพพร้อมกับฟุตบอลลีกคัพได้ในฤดูกาล 1992-93 และถ้วยยุโรปใบที่ 2 คือยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพในฤดูกาล 1993-94 ได้ อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงของแกรแฮมก็กลายเป็นความเสื่อมเสียเมื่อมีการเปิดเผยว่าเขาได้รับเงินสินบนจาก Rune Hauge เอเยนต์ของนักเตะในการซื้อตัว[12] จากนั้น แกรแฮมก็โดนไล่ออกในปี 1995 และ บรูซ ริออช ก็เข้ามารับตำแหน่งแทน ซึ่งได้คุมทีมอยู่เพียงฤดูกาลเดียวก่อนที่จะลาออกไปเนื่องจากขัดแย้งกับบอร์ดบริหาร[13]

ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของสโมสรอยู่ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 และช่วงทศวรรษที่ 2000 เนื่องจาก อาร์แซน แวงแกร์ เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมในปี 1996 แวงแกร์นำแทคติคใหม่ๆมาใช้ นำวิธีการซ้อมใหม่ ๆ เข้ามาและนำนักเตะต่างชาติที่สามารถปรับตัวเข้ากับฟุตบอลอังกฤษได้มาเสริมทีมจำนวนมาก อาร์เซนอลจึงสามารถคว้าดับเบิลแชมป์ได้อีกครั้งในฤดูกาล 1997-98 ซึ่งเป็นแชมป์ลีกและแชมป์บอลถ้วย และได้ดับเบิลแชมป์ที่ 3 ในฤดูกาล 2001-02 นอกจากนั้น สโมสรยังสามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟ่าคัพได้ในฤดูกาล 1999-00 (แพ้จุดโทษให้กับกาลาตาซาราย แต่มาได้แชมป์เอฟเอคัพ ในฤดูกาล 2002-03 และ 2004-05 แชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งในปี 2003-04 ซึ่งเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกโดยที่ไม่แพ้ทีมใดเลยจนได้รับฉายาว่า "อาร์เซนอลผู้ไร้เทียมทาน" (The Invincibles) [14] และสามารถทำสถิติไม่แพ้ติดต่อกัน 49 นัดได้ในฤดูกาลต่อมา ซึ่งนับว่าเป็นสถิติสูงสุดของประเทศอีกด้วย

อาร์เซนอลจบฤดูกาลด้วยอันดับ 1 หรืออันดับ 2 รวมทั้งสิ้น 8 ฤดูกาลจาก 11 ฤดูกาลที่อาร์แซน แวงแกร์ก้าวเข้ามาคุมทีมนี้[15] อาร์เซนอลเป็นหนึ่งในห้าสโมสรเท่านั้นที่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ตั้งแต่ก่อตั้งลีกสูงสุดนี้ขึ้นในปี 1993 (นอกจากอาร์เซนอลก็มีแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, แบล็กเบิร์นโรเวอส์, เชลซี และแมนเชสเตอร์ซิตี) แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันแชมป์ได้แม้แต่สมัยเดียวก็ตาม[16] เมื่อไม่นานมานี้ อาร์เซนอลยังไม่เคยตกรอบที่ต่ำกว่ารองก่อนรองชนะเลิศในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเลย โดยในฤดูกาล 2005-06 สามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศได้ ซึ่งเป็นทีมแรกจากกรุงลอนดอนที่สามารถเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศถ้วยยุโรปได้ในรอบ 15 ปี แต่กลับแพ้ให้กับบาร์เซโลนา 2-1 อย่างน่าเสียดาย จากนั้นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2006 อาร์เซนอลก็ได้ยุติประวัติศาสตร์ 93 ปีที่ไฮบิวรีลง โดยการย้ายสนามเหย้ามาอยู่ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียมอันเป็นที่ตั้งของสโมสรในปัจจุบันนี้

เมื่อสิ้นสุดพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2011-2012 ที่อาร์เซนอลจบลงด้วยลำดับที่ 3 ในตาราง และเป็นวาระครบรอบที่พรีเมียร์ลีกตั้งมาครบ 20 ปีด้วย ได้มีการโหวตจากแฟน ๆ ฟุตบอล ปรากฏว่า อาร์เซนอล ในฤดูกาล 2002-2003 ที่ไม่แพ้ทีมใดเลยตลอดทั้งฤดูกาล ได้รับเลือกให้เป็นทีมชุดที่ยอดเยี่ยมที่สุด โดยมีสถิติชนะ 26 นัด เสมอ 12 นัด จากการลงแข่งขันทั้งหมด 38 นัด[17]

เมื่อสิ้นสุดพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2012-2013 อาร์เซนอลจบลงด้วยลำดับที่ 4 ของตาราง ในฤดูกาลนี้ อาร์เซนอล ชนะ 21 นัด เสมอ 10 นัด แพ้ 7 นัด มี 73 คะแนน ได้ประตู 72 ลูก เสียประตู 37 ลูก โดยในนัดสุดท้ายของฤดูกาล (วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม) อาร์เซนอลต้องลุ้นอันดับ 4 กับทอตนัมฮอตสเปอร์เพื่อให้ได้สิทธิ์ไปแข่งขันฟุตบอลรายการยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก ซึ่งก่อนลงแข่งในนัดสุดท้าย อาร์เซนอล นำอยู่ 1 คะแนน โดยในนัดสุดท้ายนี้ อาร์เซนอล ออกไปเยือนนิวคาสเซิล และเฉือนชนะ 0-1 ด้วยการประตูของโลร็อง โกเซียลนี ขณะที่ทอตนัมฮอตสเปอร์เปิดบ้านเฉือนชนะซันเดอร์แลนด์ 1-0 จากการทำประตูของ แกเร็ธ เบล ได้สิทธิ์ไปเล่นในรายการยูโรป้าลีก

ระหว่างปี ค.ศ. 2005 ถึง ค.ศ. 2014 อาร์เซนอลไม่ได้แชมป์ใด ๆ เลยเป็นเวลานานถึง 9 ปีเต็มด้วยกัน ทำให้ถูกวิจารณ์ต่าง ๆ นานา แต่ในฤดูกาล 2013–14 ในพรีเมียร์ลีก แม้อาร์เซนอลจะจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 เหมือนฤดูกาลที่แล้ว แต่อาร์เซนอลก็มีโอกาสลุ้นแชมป์มากที่สุดในรอบ 9 ปี ด้วยการขึ้นเป็นทีมอันดับหนึ่งในตารางคะแนนนานถึง 128 วัน นับว่านานที่สุดในฤดูกาลนี้[18] และในรายการเอฟเอคัพ อาร์เซนอลก็สามารถคว้าแชมป์มาได้ เมื่อเป็นฝ่ายเอาชนะ ฮัลล์ซิตี ไปได้ 3-2 ประตู ในช่วงทดเวลาพิเศษจากลูกยิงของแอรอน แรมซีย์ กองกลางของทีม ทั้งที่ถูกนำไปก่อนในช่วงต้นการแข่งขันถึง 0-2 เพียงแค่ 9 นาทีแรกเท่านั้น[19]

สัญลักษณ์สโมสร

ผู้ผลิตเสื้อและผู้สนับสนุนในแต่ละยุค

ฤดูกาล ผู้ผลิตเสื้อ ผู้สนับสนุนเสื้อ
1930s–1970 บัคตา ไม่มี
1971–1980 อัมโบร
1981–1986 เจวีซี
1986–1994 อาดิดาส
1994–1999 ไนกี้
1999–2002 ดรีมแคสต์ / เซก้า1
2002–2006 โอทู
2006–2014 เอมิเรตส์แอร์ไลน์
2014– พูม่า

ผู้เล่น

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ณ วันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 2018[20]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK เช็กเกีย แปเตอร์ แช็ค
2 MF สเปน เอกตอร์ เบเยริน
4 MF อียิปต์ มุฮัมมัด อันนินนี
6 DF ฝรั่งเศส โลร็อง โกเซียลนี (กัปตัน)
7 MF อาร์มีเนีย แฮนริค มะคีทาเรียน
8 MF เวลส์ แอรอน แรมซีย์
9 FW ฝรั่งเศส อาแล็กซ็องดร์ ลากาแซ็ต
10 MF อังกฤษ แจ็ก วิลเชียร์
11 MF เยอรมนี เมซุท เออซิล
12 DF สวิตเซอร์แลนด์ ชเต็ฟฟัน ลิชท์ชไตเนอร์
13 GK โคลอมเบีย ดาบิด โอสปินา
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
14 FW กาบอง ปีแยร์-แอเมอริก โอบาเมอย็องก์
16 DF อังกฤษ ร็อบ โฮลดิง
17 FW ไนจีเรีย อเล็กซ์ อิโวบี
18 DF สเปน นาโช มอนเรอัล
20 DF เยอรมนี ชโคดรัน มุสทาฟี
21 DF อังกฤษ แคลัม เชมเบอส์
23 FW อังกฤษ แดนนี เวลเบก
27 DF กรีซ กอนสตันตีโนส มัฟโรปาโนส
30 MF อังกฤษ เอนส์ลีย์ เมตแลนด์-ไนลส์
31 DF บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เซอัด คอลาชินัตส์
34 MF สวิตเซอร์แลนด์ กรานิต จากา

ผู้เล่นที่ถูกยืมตัว

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
FW ญี่ปุ่น ทะกุมะ อะซะโนะ (ยืมตัวไป ชตุทท์การ์ท จนจบฤดูกาล 2017–18)[21]

สตาฟฟ์โค้ชและเจ้าหน้าที่ชุดปัจจุบัน

อาร์แซน แวงแกร์ ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมอาร์เซนอลตั้งแต่ ค.ศ. 1996–2018
ข้อมูล ณ พฤษภาคม ค.ศ. 2018 [22][23][24]
ตำแหน่ง ชื่อ
ผู้จัดการทีม สเปน อูไนย์ เอเมริ
ผู้ช่วยผู้จัดการทีม อังกฤษ สตีฟ โบลด์
โค้ชทีมชุดใหญ่ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา โบโร ไพรโมแรค
ผู้ฝึกสอนทีมสำรอง อังกฤษ นีล แบนฟิลด์
ผู้ฝึกสอนการรักษาประตู สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เกอร์รี เพย์ตัน
นักกายภาพบำบัด อังกฤษ โคลิน เลวิน
ผู้จัดการเครื่องแต่งกายผู้เล่น อังกฤษ วิค เอเคอร์ส
โค้ชฟิตเนส เยอรมนี ชัด ฟอร์ซือ
หัวหน้าศูนย์เยาวชน สาธารณรัฐไอร์แลนด์ เลียม เบรดี

อดีตผู้เล่นที่มีชื่อเสียง

เรียงตามปีที่เริ่มเล่นในทีมอาร์เซนอลชุดใหญ่เป็นครั้งแรก (ในวงเล็บคือปี ค.ศ.) :

ความนิยม

อาร์เซนอลเป็นแชมป์ลีกสูงสุดมากเป็นอันดับ 3 ในวงการฟุตบอลอังกฤษรองจากลิเวอร์พูลและแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[25] คว้าแชมป์เอฟเอคัพมากเป็นอันดับ 1 คือ 12 สมัย[26] เทียบเท่ากับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

อาร์เซนอลคว้าดับเบิลแชมป์ได้ 3 ครั้ง (แชมป์ลีกและเอฟเอคัพในปีเดียวกัน) คือปี 1971, 1998 และ 2002 ครองสถิติสูงสุดร่วมกับแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด[27] และเป็นทีมแรกของอังกฤษที่สามารถคว้าแชมป์ซูซูกิคัพและคัพไทยได้ในปีเดียวกัน คือปี 2008[28] อาร์เซนอลยังเป็นทีมแรกของกรุงลอนดอนที่สามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกได้ในปี 2006[29]

อาร์เซนอลเป็นหนึ่งในสโมสรที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและมีสถิติที่ดีเยี่ยม เคยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ตำกว่าอันดับ 14 เพียงแค่ 7 ครั้งเท่านั้น อาร์เซนอลยังเป็นทีมที่มีสถิติอันดับเฉลี่ยดีที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 20 (ช่วงปี 1900-1999) อีกด้วย โดยอันดับเฉลี่ยคือ 8.5 [30] นอกจากนั้นแล้ว อาร์เซนอลยังเป็นหนึ่งในห้าสโมสรที่สามารถคว้าแชมป์เอฟเอคัพได้ 2 สมัยติดต่อกัน นั่นคือการคว้าแชมป์ในปี 2002 และปี 2003[31]

นอกจากนี้แล้ว ในปี 2015 มีการสำรวจความนิยมจากแฟนฟุตบอลทั่วทั้งโลก ผ่านโปรแกรมทวิตเตอร์พบว่า อาร์เซนอลเป็นสโมสรที่มีฐานผู้นิยมมากที่สุด โดยกระจายไปในหลายทวีปทั้งยุโรป, อเมริกาเหนือ และ แอฟริกาเหนือ สำหรับในประเทศอังกฤษ อาร์เซนอลเป็นสโมสรที่มีผู้นิยมมากที่สุดเป็นอันดับสอง คิดเป็นร้อยละ 15.03 ขณะที่ลิเวอร์พูล คือ สโมสรที่มีผู้นิยมมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 15.21[32] แต่อาร์เซนอลเป็นสโมสรแห่งแรกของอังกฤษที่มีผู้ติดตามทางทวิตเตอร์มากถึง 5 ล้านคน เมื่อปลายปี 2014[33]

สถิติที่น่าสนใจ

  • อาร์เซนอลเป็น 1 ใน 4 สโมสรของอังกฤษ ที่ได้แชมป์ลีกติดต่อกันมากที่สุด คือ 3 ครั้ง ในฤดูกาล 1932-33, 1933-34, 1934-35
  • เมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 20 ในปลายปี ค.ศ. 1999 อาร์เซนอลได้รับการจัดลำดับจากสำนักข่าวบีบีซีให้เป็นทีมฟุตบอลที่ดีที่สุดของอังกฤษในรอบ 100 ปี โดยพิจารณาจากสถิติ และปัจจัยต่าง ๆ โดยมีลิเวอร์พูล และเอฟเวอร์ตัน เป็นอันดับสองและอันดับสามตามลำดับ[34]
  • ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2001-02 อาร์เซนอลสามารถทำประตูได้ในทุกนัด เป็นสถิติสูงสุดของลีก
  • ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2001-02 อาร์เซนอลชนะติดต่อกัน 14 นัด เป็นสถิติสูงสุดของพรีเมียร์ลีก (มีอีก 3 สโมสรคือ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด, บริสตอลซิตี้, เปรสตันอร์ธเอนด์ ที่ทำสถิติชนะติดต่อกัน 14 นัดเช่นกัน แต่ทั้งหมดนั้นเป็นสถิติในดิวิชั่น 2)
  • ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2003-04 อาร์เซนอลไม่แพ้ใครตลอดฤดูกาล 38 นัด (ชนะ 26 เสมอ 12) เป็นครั้งแรกของพรีเมียร์ลีก และครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ลีกสูงสุดของฟุตบอลอังกฤษต่อจาก เปรสตัน นอร์ธเอนด์ ในฤดูกาล 1888-89 ซึ่งขณะนั้นมีการแข่งขันเพียง 22 นัดต่อฤดูกาล
  • อาร์เซนอลไม่แพ้ใครเลยในพรีเมียร์ลีกติดต่อกัน 49 นัด ระหว่างฤดูกาล 2002-03, 2003-04, 2004-05
  • ในพรีเมียร์ลีกฤดูกาล 2003-04 ที่อาร์เซนอลไม่แพ้ใครเลยตลอดทั้งฤดูกาล ได้รับการโหวตจากแฟนฟุตบอลให้เป็นสโมสรฟุตบอลที่ดีที่สุดของอังกฤษในรอบ 20 ปี โดยมีแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ในฤดูกาล 1998-99 ที่ได้ทริปเปิลแชมป์ หรือสามแชมป์ในฤดูกาลเดียวกัน เป็นอันดับสอง[35]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

อาร์เซนอล ถูกอ้างอิงถึงในวัฒนธรรมร่วมสมัยหลายประการ เช่น เป็นคู่ชิงชนะเลิศในรายการยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก กับ รีลมาดริด ของสเปน ในภาพยนตร์สัญชาติอังกฤษเรื่อง Goal II: Living the Dream ในปี ค.ศ. 2007 โดยมีนักฟุตบอลตัวจริงของทั้งสองสโมสรร่วมแสดงหลายคน เช่น ตีแยรี อ็องรี, เดวิด เบคแคม, ซีเนดีน ซีดาน[36] และมีการอ้างถึงในซีรีส์เกาหลีเรื่อง Because This Is My First Life ในปี ค.ศ. 2017 โดยกำหนดให้นางเอกของเรื่องเป็นแฟนอาร์เซนอลและได้ดูการแข่งขันของอาร์เซลนอลกับเชลซีคู่กับพระเอก[37]

ในประเทศไทย

อาร์เซนอล เคยเดินทางมาแข่งขันครั้งเดียวในประเทศไทย โดยเกิดขึ้นในวันที่ 22 พฤษภาคม 1999 เป็นการแข่งขันนัดพิเศษกับทีมชาติไทยราชมังคลากีฬาสถาน โดยผลการแข่งขัน ทีมชาติไทยเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 4-3 ประตู โดยผู้เล่นที่ได้รับเลือกให้เป็นแมนออฟเดอะแมตช์ คือ เอ็นวานโก คานู กองหน้าของอาร์เซนอล[38]

สำหรับชาวไทยที่มีชื่อเสียงที่เป็นผู้สนับสนุนอาร์เซนอล เช่น กพล ทองพลับ (พิธีกรและดีเจ[39]), เสกสรร สุขพิมาย (นักร้อง, นักดนตรี[40]), กรภพ จันทร์เจริญ (นักร้อง, นักดนตรีและนักแสดง[41]), ไปรยา สวนดอกไม้ (นักแสดง, นางแบบ[42]), ธีรศิลป์ แดงดา (นักฟุตบอลทีมชาติไทย[43]), รณชัย รังสิโย (นักฟุตบอลทีมชาติไทย[43]), อดิศักดิ์ ไกรษร (นักฟุตบอลทีมชาติไทย[44]), ธีราธร บุญมาทัน (นักฟุตบอลทีมชาติไทย[45]), ฉัตร์ชัย บุตรดี (นักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทย[46]), วิทยา เลาหกุล (อดีตนักฟุตบอลทีมชาติและผู้ฝึกสอนฟุตบอล[47]), พิชิตพงษ์ เฉยฉิว (อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย), สุธี สุขสมกิจ (อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย[43]), สินทวีชัย หทัยรัตนกุล (อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย[41]), สาธิต ปิตุเตชะ (นักการเมือง[48]), วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ (พิธีกรและดีเจ[44]), ณวัฒน์ กุลรัตนรักษ์ (นักแสดง, นายแบบ[44], ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ (นักแสดง[44]), สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ (นักร้อง[49]), เสถียร วิริยะพรรณพงศา (สื่อมวลชน[50]), ชวลิต ศรีมั่นคงธรรม (ดีเจ,พิธีกรและนักแสดง), สหัทยา ไกรขุนทศ (สื่อมวลชน,ผู้ประกาศข่าวกีฬาช่อง 3) ฯลฯ

เกียรติประวัติ

ระดับประเทศ

ชนะเลิศ (13) : 1930–31, 1932–33, 1933–34, 1934–35, 1937–38, 1947–48, 1952–53, 1970–71, 1988–89, 1990–91, 1997–98, 2001–02, 2003–04
รองชนะเลิศ (8) : 1925–26, 1931–32, 1972–73, 1998–99, 1999–2000, 2000–01, 2002–03, 2004–05
รองชนะเลิศ (1) : 1903–04
  • เอฟเอคัพ
ชนะเลิศ (13) : 1930, 1936, 1950, 1971, 1979, 1993, 1998, 2002, 2003, 2005, 2014, 2015, 2017
รองชนะเลิศ (7) : 1927, 1932, 1952, 1972, 1978, 1980, 2001
  • ลีกคัพ
ชนะเลิศ (2) : 1987, 1993
รองชนะเลิศ (5) : 1968, 1969, 1988, 2007, 2011
  • ชาริตีชิลด์และคอมมิวนิตีชิลด์[remark 3]
ชนะเลิศ (15) : 1930, 1931, 1933, 1934, 1938, 1948, 1953, 1991 (แชมป์ร่วม), 1998, 1999, 2002, 2004, 2014, 2015, 2017
รองชนะเลิศ (7) : 1935, 1936, 1979, 1989, 1993, 2003, 2005

ระดับทวีปยุโรป

รองชนะเลิศ (1) : 2006
ชนะเลิศ (1) : 1994
รองชนะเลิศ (2) : 1980, 1995
  • อินเตอร์ซิตี้แฟร์คัพ
ชิงชนะเลิศ (1) : 1970
รองชนะเลิศ (1) : 2000
  • ยูฟ่าซุปเปอร์คัพ
รองชนะเลิศ (1) : 1994

เชิงอรรถ

  1. ดิวิชัน 1 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นพรีเมียร์ลีกในปี 1992
  2. ดิวิชัน 2 ก็เปลี่ยนชื่อเป็นเดอะแชมเปียนชิพ ในปี 1992 เช่นเดียวกับดิวิชัน 1 ที่เปลี่ยนเป็นพรีเมียร์ลีก
  3. ชาริตีชิลด์เปลี่ยนชื่อเป็นคอมมิวนิตีชิลด์ในปี 2002

อ้างอิง

  1. "Statement of Accounts and Annual Report 2006/2007" (PDF). Arsenal Holdings plc. 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)
  2. ""ปืน" ถล่มวิลลา 4-0 ซิวเอฟเอสูงสุด 12 สมัย". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-05-31. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.
  3. "อาร์เซนอล เฮ! เฉือนชนะ เชลซี 2-1 ซิวแชมป์ฟุตบอล เอฟเอคัพ 2016/17". ช่อง 7. 2017-05-28. สืบค้นเมื่อ 2017-05-28.
  4. "Football: How consistency and caution made Arsenal England's greatest team of the 20th century". The Independent. สืบค้นเมื่อ 27 April 2012.
  5. "FSH: รู้จักกับตราสโมสรฟุตบอลทีมโปรดของคุณ". Football Shirt Hero. สืบค้นเมื่อ 3 September 2014.
  6. "Arsenal". Forbes. 18 April 2012. สืบค้นเมื่อ 22 April 2012.
  7. Soar, Phil & Tyler, Martin (2005). The Official Illustrated History of Arsenal. Hamlyn. pp. pp.32–33. ISBN 0-600-61344-5. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Soar & Tyler (2005). The Official Illustrated History of Arsenal. pp. p.40. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  9. มีการกล่าวหาว่าการเลื่อนชั้นของอาร์เซนอลนั้นเกิดจากการกระทำลับๆของเซอร์ เฮนรี นอร์ริส ประธานสโมสรอาร์เซนอลในขณะนั้น มีการกล่าวหากันตั้งแต่เรื่องการใช้วิธีการทางการเมืองและการรับสินบนแต่ก็ยังไม่พบหลักฐานที่แสดง่ว่าเป็นความจริงแต่อย่างใด อ่านข้อเท็จจริงได้ใน Soar & Tyler (2005). The Official Illustrated History of Arsenal. pp. p.40. {{cite book}}: |pages= has extra text (help) รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถค้นคว้าได้ที่ Spurling, Jon (2004). Rebels for the Cause: The Alternative History of Arsenal Football Club. Mainstream. pp. pp.38–41. ISBN 0-575-40015-3. {{cite book}}: |pages= has extra text (help)
  10. "London Underground and Arsenal present The Final Salute to Highbury". Transport for London. 2006-01-12. สืบค้นเมื่อ 2007-04-08.
  11. โพลล์สำรวจแฟนบอลอังกฤษ 2005 โหวตให้เกมเอฟเอคัพปี 1979 เป็นหนึ่งใน 15 แมตช์คลาสสิกตลอดกาล. Reference: Winter, Henry (2005-04-19). "Classic final? More like a classic five minutes". Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 2007-01-30.
  12. แกรแฮมโดนสมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษด้วยการแบนเป็นเวลา 1 ปีสำหรับการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวนี้ หลังจากที่เขายอมรับว่าเขารับ"ของขวัญที่ไม่ได้ขอ"จาก Hauge อ้างอิงจาก: Collins, Roy (2000-03-18]). "Rune Hauge, international man of mystery". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help) กรณีนี้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน Bower, Tom (2003). Broken Dreams. Simon & Schuster. ISBN 0-7434-4033-1.
  13. "Arsenal - summary of the 1995/96 season". Arseweb. สืบค้นเมื่อ 2007-01-30.
  14. Hughes, Ian (2004-05-15). "Arsenal the Invincibles". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 2006-12-08.
  15. "Arsenal". Football Club History Database. สืบค้นเมื่อ 2007-09-21.
  16. "FA Premier League Champions 1993-2007". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2007-09-21.
  17. ชู"กิ๊กส์-เซอร์"ยอดเยี่ยม20ปีพรีเมียร์ จากข่าวสด
  18. "บทสรุปพรีเมียร์ลีก". ไทยรัฐ. 12 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  19. "อาร์เซนอล ซิวแชมป์แรกในรอบ9ปี". กรุงเทพธุรกิจ. 18 May 2014. สืบค้นเมื่อ 19 May 2014.
  20. "Squad: First team". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 24 July 2017.
  21. "Asano's loan at Stuttgart is extended". Arsenal.com. 2017-06-22. สืบค้นเมื่อ 2017-06-22.
  22. "First Team Coaching Staff". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 30 May 2012.
  23. "Reserves & Youth Coaching Staff". Arsenal F.C. สืบค้นเมื่อ 23 October 2009.
  24. Ducker, James (5 September 2009). "Scouting networks extend search for talent all over the world". The Times. UK. สืบค้นเมื่อ 23 October 2009.
  25. "England - List of Champions". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  26. ""อาร์เซนอล"ถล่ม"วิลลา"คว้าแชมป์เอฟเอคัพ12สมัย". นาว 26. สืบค้นเมื่อ 2015-05-31.
  27. "Doing the Double: Countrywise Records". RSSSF. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  28. "Football : Multiple Trophy Winners". KryssTal. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  29. "Arsenal Football Club". PremierLeague.com. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  30. Hodgson, Guy (January 2000). "Arsenal: Team of the Century 1900–1999". The Independent. Archive copy available at: "Arsenal: Team of the Century 1900–1999". Arseweb. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11. {{cite web}}: Cite ไม่รู้จักพารามิเตอร์ว่างเปล่า : |1= (help)
  31. "English FA Cup Trivia". phespirit.info. สืบค้นเมื่อ 2008-08-11.
  32. ""ทวิตเตอร์" สำรวจ "หงส์" ครองใจแฟนสยามมากสุด". ผู้จัดการออนไลน์. 23 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.
  33. "เท่! ปืนเจ๋งยอดคนตามทวิตเตอร์ทะลุ 5 ล้านทีมแรกพรีเมียร์ฯ". fourfourtwo. 24 December 2014. สืบค้นเมื่อ 27 August 2016.
  34. "Football: How consistency and caution made Arsenal England's greatest team of the 20th century". independent.co.uk. 17 December 1999. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  35. "คอบอลโหวตปืนไร้พ่ายสุดยอดตลอดกาล-ทริปเปิ้ลแชมป์ผีปี 99 ตามมาติดๆ". arsenal.in.th. 20 April 2015. สืบค้นเมื่อ 18 July 2015.
  36. "Goal II: Living the Dream (2007)". IMDb. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  37. "ซีรีส์เกาหลี :: Because This Is My First Life ซับไทย". ArsenalInThailand. 2017-10-11. สืบค้นเมื่อ 2017-10-12.
  38. "Thailand upset Arsenal in seven-goal extravaganza". thaifootball.com. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  39. "คนดังนั่งเขียน : ดีเจผี เชียร์ปืนใหญ่ 'กีฬาแสบๆ มันส์ๆ' ฉบับ กพล ทองพลับ". ไทยรัฐ. 9 November 2011. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  40. "อิจฉาทีมแมนยู กะ เชลซี จัง เด็กปืนอย่างผมก็ได้แต่มอง". พันทิปดอตคอม. 22 April 2004. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  41. 41.0 41.1 "[Celebrities & Arsenal - ปืนใหญ่และเหล่าคนดัง]". soccersuck.in.th. 18 September 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  42. ""ปู ไปรยา" อวดความเซ็กซี่ในชุดชั้นในสุดเร่าร้อน". FHM Thailand. 17 August 2014. สืบค้นเมื่อ 16 July 2015.
  43. 43.0 43.1 43.2 "เผย! นักเตะทีมชาติไทยเป็นสาวก "ผีแดง" เกินกว่าครึ่ง!!". ผู้จัดการออนไลน์. 1 July 2009. สืบค้นเมื่อ 5 June 2016.
  44. 44.0 44.1 44.2 44.3 "แอดมิน ติดตามละคร 'พิษสวาท'..." พลพรรคปืนใหญ่ แห่งประเทศไทย. 2016-09-15. สืบค้นเมื่อ 2016-09-15.
  45. โคตะมี, สุวิชา (2018-01-08). "แฟนปืนตัวยง!"อุ้ม"เปิดใจเตรียมผนึก"โพลดี้"ที่โกเบ". โกลด์ดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2018-02-01.
  46. "@jackie14ap : ปะทะ ฉัตรชัย บุตรดี แฟนปืนตัวจริง..." กระปุกดอตคอม. 16 August 2012. สืบค้นเมื่อ 14 July 2015.
  47. "คม-ชัด-ลึก "เลสเตอร์ ซิตี้" โชคช่วย หรือ ความพยายาม?". คมชัดลึก. 5 May 2016. สืบค้นเมื่อ 2 May 2016.
  48. "ยูโร 2016 ใครชนะ ใครแชมป์ 10 06 59 เบรก 1". ฟ้าวันใหม่. 11 June 2016. สืบค้นเมื่อ 12 June 2016.
  49. หน้า 13 กีฬา, 'อิมเมจ' พักถือไมค์...คุยเรื่องบอล โดย เดอะ เกรท. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,748: วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา
  50. "Satien Viriyapanpongsa". Facebook. 2017-05-28. สืบค้นเมื่อ 2017-08-27.

หนังสืออ่านเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ