ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไพบูลย์ นิติตะวัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วรุฒ หิ่มสาใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Guntipojh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
| spouse =
| spouse =
| profession =
| profession =
| religion = พุทธ
| nationality = ไทย
| nationality = ไทย
| party = [[พรรคประชาชนปฏิรูป]]
| party = [[พรรคประชาชนปฏิรูป]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:30, 17 มิถุนายน 2561

ไพบูลย์ นิติตะวัน
สมาชิกวุฒิสภา (สรรหา)
ดำรงตำแหน่ง
18 กันยายน 2555 – 24 พฤษภาคม 2557
ดำรงตำแหน่ง
2 มีนาคม 2551 – 1 มีนาคม 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 ธันวาคม พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
เชื้อชาติไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคประชาชนปฏิรูป

ไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา และเป็นอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ, อดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2558 และเป็นอดีตประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนาสภาปฏิรูปแห่งชาติ[1] ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิอีพีเอธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้า พรรคประชาชนปฏิรูป

ประวัติ

ไพบูลย์เป็นสมาชิกวุฒิสภาสองวาระ โดยวาระแรกจากการสรรหาภาครัฐ[2] ดำรงตำแหน่งเต็มวาระ ระหว่างปี พ.ศ. 2551 - 2554 และวาระที่สองจากการสรรหาภาคอื่น[3] ดำรงตำแหน่งปี พ.ศ. 2555 - 2557 ในระหว่างการดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา เขาได้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งและประสานงานกลุ่ม 40 สว. ทำหน้าที่ตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ตามกระบวนการภายใต้รัฐธรรมนูญ ในหลายรัฐบาล เพื่อให้ระบอบการปกครองอยู่ภายใต้หลักนิติรัฐ นิติธรรม และเป็นที่พึ่งของประชาชนต่อไป

การดำรงตำแหน่งสำคัญ

รางวัลที่ได้รับ

การศึกษา

ปริญญาบัตร

ประกาศนียบัตร

  • ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 5 (ปปร. 5) สถาบันพระปกเกล้า

บทบาททางการเมือง

สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์

เดือนมีนาคม 2557 ไพบูลย์ นิติตะวันเป็นผู้ยื่นคำร้องฟ้องยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในคดีการโยกย้ายถวิล เปลี่ยนศรี ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอีก 9 คน ที่ร่วมมีมติครม.ดังกล่าวให้พ้นจากตำแหน่งและสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 10 คน ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2557[6]

ต่อมาเขาเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเขามีแนวคิดว่า "จุดใหญ่ของการปฏิรูป คือ การลดอำนาจพรรคการเมือง เพิ่มอำนาจให้ภาคประชาชนโดยการปฏิรูปให้ สส.เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่ลูกจ้างพรรคการเมือง"[7]

คณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา

เขายังได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ ในวันที่ 6 มกราคม 2559 เขาเข้าร่วมเครือข่ายปกป้องพระเกียรติพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชและเครือข่ายสตรีปกป้องพระพุทธศาสนา ออกมาคัดค้านการแต่งตั้งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ)เป็นสังฆราชองค์ใหม่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูล