ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิราศภูเขาทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นิราศภูเขาทอง
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tinuviel (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 184.22.55.154 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย 124.122.45.88
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 17: บรรทัด 17:
นิราศภูเขาทองแต่งด้วย[[กลอนนิราศ]] มีความคล้ายคลึงกับ[[กลอนสุภาพ]] แต่เริ่มด้วยวรรครับจบ ด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วยคำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะและเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของความเป็นมาของบ้านเมืองในสมัยนั้น
นิราศภูเขาทองแต่งด้วย[[กลอนนิราศ]] มีความคล้ายคลึงกับ[[กลอนสุภาพ]] แต่เริ่มด้วยวรรครับจบ ด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วยคำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะและเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของความเป็นมาของบ้านเมืองในสมัยนั้น


== อ้างอิง''. ของนิราศภูเขาทอง'' ==
== อ้างอิง ==
* วรรณคดีวิจักษ์ ม.1
* วรรณคดีวิจักษ์ ม.1



รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:50, 16 มิถุนายน 2561

นิราศภูเขาทอง เป็นนิราศที่สุนทรภู่ประพันธ์ในปี พ.ศ. 2373 หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสววรคตไปแล้ว 6 ปี (สวรรคตปี พ.ศ. 2367) เพื่อการเดินทางจากวัดราชบุรณะไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลังจากออกพรรษาแล้ว

เนื้อหาในนิราศภูเขาทอง

จากคำพรรณนาความรู้สึกอาลัยอาวรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในนิราศภูเขาทอง ทำให้เห็นว่าสุนททรภู่ยังคงจงรักภักดีต่อพระองค์ตลอดมาและไม่เคยลืมความสุขที่ตนเองเคยได้รับจากพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งสุนทรภู่ได้กล่าวถึงความสุขหนหลังในสมัยรัชกาลที่ 2 ในบทนี้

สิ้นแผ่นดินสิ้นนามตามเสด็จ ต้องเที่ยวเตร็ดเตร่หาที่อาศัย
แม้นกำเนิดเกิดชาติใดใด ขอให้ได้เป็นข้าฝ่าธุลี
สิ้นแผ่นดินขอให้สิ้นชีวิตบ้าง อย่ารู้ร้างบงกชบทศรี
เหลืออาลัยใจตรมระทมทวี ทุกวันนี้ก็ซังตายทรงกายมา

เส้นทางการเดินทางของนิราศภูเขาทอง

นิราศภูเขาทองเริ่มต้นเล่าการเดินทางทางเรือจากวัดราชบุรณะ กรุงเทพฯ จุดหมายปลายทางคือ พระเจดีย์ภูเขาทองที่พระนครศรีอยุธยา

สถานที่ที่เดินทางผ่านคือ พระบรมมหาราชวัง, วัดประโคนปัก, โรงเหล้า, บางจาก, บางพลู, บางพลัด, บางโพ, บ้านญวน, วัดเขมา, ตลาดแก้ว, ตลาดขวัญ, บางธรณี, เกาะเกร็ด, บางพูด, บ้านใหม่, บางเดื่อ, บางหลวง, บ้านงิ้ว เมื่อเข้าเขตพระนครศรีอยุธยา ผ่านหน้าจวนเจ้าเมือง, วัดหน้าพระเมรุ แล้วจึงเดินทางถึงเจดีย์ภูเขาทอง

ส่วนขากลับ กล่าวถึงวัดอรุณราชวรารามเท่านั้น

ลักษณะคำประพันธ์

นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนนิราศ มีความคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพ แต่เริ่มด้วยวรรครับจบ ด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วยคำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะและเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของความเป็นมาของบ้านเมืองในสมัยนั้น

อ้างอิง

  • วรรณคดีวิจักษ์ ม.1