ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 7671828 สร้างโดย 101.51.31.20 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
* วินัย พงศ์รีเพียรได้อ้างงานเขียนของศาสตราจารย์[[ยอร์ช เซเดส์]] ซึ่งกล่าวว่าชนชาติไทยปรากฏในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16<ref name="ก่อน22"/>
* วินัย พงศ์รีเพียรได้อ้างงานเขียนของศาสตราจารย์[[ยอร์ช เซเดส์]] ซึ่งกล่าวว่าชนชาติไทยปรากฏในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16<ref name="ก่อน22"/>


== แถบเทือกเขาอิไต ==
== แถบเทือกเขาอัลไต ==
แนวคิดดังกล่าวมาจากงานเขียนเรื่อง "หลักไทย" ของขุนวิจิตรมาตรา กล่าวว่าเดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบ[[เทือกเขาอัลไต]]เมื่อประมาณ 6000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายัง[[แม่น้ำหวงเหอ]] เรียกว่า "อาณาจักรไทยมุง" หรือ "อาณาจักรไทยเมือง"<ref name="ก่อน19">วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19.</ref> และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่ม[[แม่น้ำแยงซี]] แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป<ref name="ก่อน19"/> แนวคิดดังกล่าวไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ โดยได้มีผู้แสดงเหตุผลโต้แย้งหลายคน อย่างเช่น<ref name="ก่อน19"/>
แนวคิดดังกล่าวมาจากงานเขียนเรื่อง "หลักไทย" ของขุนวิจิตรมาตรา กล่าวว่าเดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบ[[เทือกเขาอัลไต]]เมื่อประมาณ 6000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายัง[[แม่น้ำหวงเหอ]] เรียกว่า "อาณาจักรไทยมุง" หรือ "อาณาจักรไทยเมือง"<ref name="ก่อน19">วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19.</ref> และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่ม[[แม่น้ำแยงซี]] แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป<ref name="ก่อน19"/> แนวคิดดังกล่าวไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ โดยได้มีผู้แสดงเหตุผลโต้แย้งหลายคน อย่างเช่น<ref name="ก่อน19"/>
* ศาสตราจารย์วิลห์ เครดเนอร์เห็นว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทควรอยู่ในแถบแม่น้ำ และมีภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นทางตอนใต้ของจีน
* ศาสตราจารย์วิลห์ เครดเนอร์เห็นว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทควรอยู่ในแถบแม่น้ำ และมีภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นทางตอนใต้ของจีน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:38, 12 มิถุนายน 2561

แนวคิดเกี่ยวกับถิ่นกำเนิดของชนชาติไท ประกอบด้วยแนวคิดทั้งหลายซึ่งอธิบายถึงถิ่นกำเนิดของชนชาติไทที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบัน โดยมีอยู่หลากหลายแนวคิด เช่น

แถบตอนใต้ของจีน

เป็นแนวคิดซึ่งเสนอว่าเดิมคนไทยเคยอาศัยอยู่บนเกาะไหหลำ เขตปกครองตนเองกว่างซี มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลยูนนาน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีคำพ้องกับภาษาไทยจำนวนมาก[1] นักภาษาศาสตร์จึงเสนอว่าเดิมชาวไทยเคยอยู่อาศัยในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของจีน จากนั้นอพยพไปยังยูนนาน ก่อนที่จะอพยพลงมายังคาบสมุทรอินโดจีน[1] แต่การศึกษาในระยะต่อมา แนวคิดดังกล่าวจึงเปลี่ยนเป็นว่าชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเขตปกครองตนเองกว่างซี หรือเวียดนามแถวเดียนเบียนฟู[2]

  • นักประวัติศาสตร์ที่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์เจมส์ อาร์. เอ. เชมเบอร์ลิน, ศาสตราจารย์หลีฟ้ง-ก้าย, ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร และ ดร.มาร์วิน บราวน์[3]

ต่อมา รายงาน The Archaeological Excavation in Thailand (การขุดค้นโบราณคดีในประเทศไทย) ของ ดร.เบีย ซอเรสเสน นักโบราณคดีชาวเดนมาร์ก ได้เสนอว่า ชนชาติไทยถือกำเนิดบริเวณตอนใต้ของจีน อพยพขึ้นเหนือ แล้วอพยพกลับลงมาอีก[4] จากหลักฐานซึ่งปรากฏว่ามีคนไทยหมู่หนึ่งเคยพูดภาษาไทยมานานถึง 3,777 ปีมาแล้ว[5]

  • พิสิฐ เจริญวงศ์ ได้สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว และนับว่าภาคอีสานของไทยเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคโลหะในเอเชีย[5]
  • จิตร บัวบุศย์ ได้เสนอว่าวัฒนธรรมไทยเริ่มขึ้นที่บ้านเชียง และคนไทยเคยอพยพขึ้นไปทางเหนือแล้วย้อนกลับลงมาอีก
  • อย่างไรก็ตาม งานเขียนของ ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ระบุว่า วัฒนธรรมบ้านเชียงไม่สามารถระบุได้ว่ามนุษย์บ้านเชียงเป็นคนไทย เพราะในอดีตเคยมีการอพยพขึ้นเหนือและลงใต้อยู่หลายครั้ง
  • กวี อมรสิริธาดา เคยไปท่องเที่ยวเสียมราฐ ระหว่างที่เดินชมนครวัดอยู่นั้น มีชายชาวเวียดนามกำลังวิจารณ์รูปสลักบนผนังเป็นข้อความว่า "ไก่ไก่กำลังตีกัน" แต่พูดค่อนข้างเร็ว ซึ่งในรูปแกะสลักนั้นมีการแสดงวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านของชาวเขมร ซึ่งการชนไก่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น นั่นจึงอาจสนับสนุนทฤษฎีที่ว่าชนชาติไทยอาจเคยอาศัยบริเวณตอนเหนือของเวียดนามมาก่อน เนื่องจากภาษาพูดบางส่วนคล้ายคลึงภาษาไทยมาก

ดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน

สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เสนอในบทความ "คนไทยไม่ได้มาจากไหน" ว่า คนไทยได้อาศัยอยู่ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว โดยเกิดจากการรวมตัวกันของแคว้นต่าง ๆ เข้าด้วยกันจนเป็นประเทศเดียวกัน เนื่องจากวัฒนธรรมพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และการที่ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียเหมือนกัน โดยถือว่าคนที่พูดภาษาที่คล้ายคลีงกันเป็นบรรพบุรุษทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดพัฒนาการมาเป็นคนไทยในปัจจุบัน[6] อย่างไรก็ตาม ประชาชนเหล่านี้ไม่ค่อยมีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ แต่เน้นไปทางแว่นแคว้นมากกว่า[7]

แถบตอนกลางของจีน

เป็นแนวคิดซึ่งเริ่มมาจาก ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ในหนังสือเรื่อง The Thai Race: Elder Brother of the Chinese (ชนชาติไทย: พี่ชายของชนชาติจีน) โดยเสนอว่าชนชาติไทเคยอยู่แถบลุ่มแม่น้ำหวงเหอ ต่อมา ชนชาติไทถูกชนชาติจีนมาปะทะจึงต้องถอยร่นไปในหลายทิศทาง ซึ่งส่วนมากได้ถอยไปยังแม่น้ำแยงซีและมณฑลยูนนานและตั้งอาณาจักรน่านเจ้า[8]

  • แนวคิดนี้มีนักประวัติศาสตร์เห็นด้วยจำนวนหนึ่ง เช่น วอลฟรัม เอเบอร์ฮาร์ด ในหนังสือ A History of China (ประวัติศาสตร์จีน) และศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช ในบทความ "ถิ่นกำเนิดในประวัติศาสตร์ของชาติไทย"[9]
  • ส่วนนักประวัติศาสตร์ที่ไม่เห็นด้วย เช่น ศาสตราจารย์วิลเลียม เจ. เก็ดนีย์, ดร.เฟรเดอริก โมต, ชาลส์ โรนีย์ แบกคัส, [9] และวินัย พงศ์ศรีเพียร[1]
  • แบกคัสให้เหตุผลว่าคำในภาษาไทยไม่มีในคำภาษาน่านเจ้า, คำในภาษาน่านเจ้าส่วนใหญ่เชื่อมโยงกับกลุ่มภาษาทิเบต-พม่ามากที่สุด ซึ่งไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับภาษาไทยเท่าใดนัก และรากฐานและพื้นฐานระหว่างวัฒนธรรมอ้ายลาวกับวัฒนธรรมน่านเจ้ามีความแตกต่างกัน[10]
  • วินัย พงศ์รีเพียรได้อ้างงานเขียนของศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ซึ่งกล่าวว่าชนชาติไทยปรากฏในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16[1]

แถบเทือกเขาอัลไต

แนวคิดดังกล่าวมาจากงานเขียนเรื่อง "หลักไทย" ของขุนวิจิตรมาตรา กล่าวว่าเดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตเมื่อประมาณ 6000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายังแม่น้ำหวงเหอ เรียกว่า "อาณาจักรไทยมุง" หรือ "อาณาจักรไทยเมือง"[11] และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซี แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป[11] แนวคิดดังกล่าวไม่ค่อยได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ โดยได้มีผู้แสดงเหตุผลโต้แย้งหลายคน อย่างเช่น[11]

  • ศาสตราจารย์วิลห์ เครดเนอร์เห็นว่า ถิ่นกำเนิดของชนชาติไทควรอยู่ในแถบแม่น้ำ และมีภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้นทางตอนใต้ของจีน
  • ดร.พอล เค. เบเนดิกต์ เห็นว่า คนไทยไม่ได้มีเชื้อสายมาจากประเทศจีน เพราะรากศัพท์ที่แตกต่างกัน
  • ศาสตราจารย์อาจารย์ขจร สุขพานิช เห็นว่าระยะทางจากเทือกเขาอัลไตถึงประเทศไทยอยู่ห่างกันมาก และคนไทยไม่สามารถรอดชีวิตได้จากการเดินทางผ่านทะเลทรายโกบี
  • ขุนวิจิตรมาตรา ยอมรับว่าเป็นเพียงเรื่องแต่ง ที่แต่งเข้าประกวดในงานประกวด โดยไม่ได้ตั้งใจให้เป็นตำราประวัติศาสตร์ เนื้อหาในหนังสือระบุ "เดิมชนชาติไทยเคยอาศัยอยู่แถบเทือกเขาอัลไตเมื่อประมาณ 6000 ปีที่แล้ว ต่อมา ได้อพยพลงมายังแม่น้ำหวงเหอ เรียกว่า อาณาจักรไทยมุง หรืออาณาจักรไทยเมือง และได้อพยพลงมาอีกจนถึงลุ่มแม่น้ำแยงซี แต่ต่อมาได้เสียเมืองให้กับจีน จึงต้องอพยพลงมาทางใต้ต่อไป"[12]
  • แบบเรียนของกระทรวงศึกษาธิการตามหลักสูตรใน พ.ศ. 2521 ได้ระบุให้ยกเลิกแนวคิดนี้จากแบบเรียนเรื่องคนไทยอพยพจากเทือกเขาอัลไต[12]
  • นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับมีนาคม 2523 ตีพิมพ์ถ้อยคำของ ขุนวิจิตรฯ ถึงประเด็นอันน่าเคลือบแคลงนี้ ซึ่งท่านอ้างว่าไม่ได้คิดขึ้นเอง แต่ได้มาจากหมอวิลเลียม คลิฟตัน ดอดด์ ผู้เขียน The Thai Race-The Elder Brother of Chinese "ผมเขียนตามของหมอดอดด์ เขาว่างั้นนะ ไม่ใช่ผมมาเม้คขึ้นเองเมื่อไหร่ ผมก็ไม่รู้ (หัวเราะ) ผมไม่รู้หรอก ว่าจริงหรือไม่จริง"[12]

แถบหมู่เกาะ

จากการศึกษาความหนาแน่นของหมู่เลือดพิเศษซึ่งมักพบในคนไทย มีความหนาแน่นมาทางตอนใต้แล้วค่อยลดลงเมื่อขึ้นมาทางเหนือ ในปี พ.ศ. 2506 นายแพทย์สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ จึงเสนอว่าชนชาติไทยอาจอพยพขึ้นไปทางเหนือ[13]

  • พลตรี ดำเนิร เลขะกุล แสดงความเห็นว่า ผลการตรวจอาจไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากผู้ที่ตรวจอาจมิใช่คนไทยทั้งหมด
  • ศาสตราจารย์ขจร สุขพานิช แสดงความเห็นว่า ดินแดนแถบหมู่เกาะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าดินแดนประเทศไทย จึงแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการอพยพไปอยู่ที่อื่น[14]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 22.
  2. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 23.
  3. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 24.
  4. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 24-25.
  5. 5.0 5.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 25.
  6. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 31.
  7. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 30.
  8. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19-20.
  9. 9.0 9.1 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 20.
  10. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 20-22.
  11. 11.0 11.1 11.2 วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 19.
  12. 12.0 12.1 12.2 "คนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ประวัติศาสตร์ ′ปลอม′ ที่ไม่ยอมจากไป และพิพิธภัณฑ์ไทย ที่ไม่หมุนตามโลก". มติชนออนไลน์. 18 กุมภาพันธ์ 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-22. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2017.
  13. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 25-26.
  14. วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. หน้า 26.

บรรณานุกรม

  • วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545). บรรพบุรุษไทย: สมัยก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ISBN 974-13-1780-8.