ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โทรศัพท์เคลื่อนที่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
มังกรคาบแก้ว (คุย | ส่วนร่วม)
ไปดูข้อมูลของภาพถ่ายมาแล้ว มันคือภาพที่นำมาเผยแพร่ในปี2547ดังนั้นไม่ถึงปี2552แน่นอน
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Several mobile phones.png|thumb|300px|ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือในปี 2544 - 2552]]
[[ไฟล์:Several mobile phones.png|thumb|300px|ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ]]


'''โทรศัพท์มือถือ''' หรือ '''โทรศัพท์เคลื่อนที่''' (บ้างเรียก '''วิทยุโทรศัพท์''') คือ[[อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์]]ที่ใช้ใน[[การสื่อสาร]]สองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้[[คลื่นวิทยุ]]ในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่าน[[สถานีฐาน]] โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อ[[สมาร์ทโฟน]]
'''โทรศัพท์มือถือ''' หรือ '''โทรศัพท์เคลื่อนที่''' (บ้างเรียก '''วิทยุโทรศัพท์''') คือ[[อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์]]ที่ใช้ใน[[การสื่อสาร]]สองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้[[คลื่นวิทยุ]]ในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่าน[[สถานีฐาน]] โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อ[[สมาร์ทโฟน]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:20, 9 มิถุนายน 2561

ตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ

โทรศัพท์มือถือ หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ (บ้างเรียก วิทยุโทรศัพท์) คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการสื่อสารสองทางผ่าน โทรศัพท์มือถือใช้คลื่นวิทยุในการติดต่อกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือโดยผ่านสถานีฐาน โดยเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือแต่ละผู้ให้บริการจะเชื่อมต่อกับเครือข่ายของโทรศัพท์บ้านและเครือข่ายโทรศัพท์มือถือของผู้ให้บริการอื่น โทรศัพท์มือถือที่มีความสามารถเพิ่มขึ้นในลักษณะคอมพิวเตอร์พกพาจะถูกกล่าวถึงในชื่อสมาร์ทโฟน

โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันนอกจากจากความสามารถพื้นฐานของโทรศัพท์แล้ว ยังมีคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นมา เช่น การส่งข้อความสั้นเอสเอ็มเอส ปฏิทิน นาฬิกาปลุก ตารางนัดหมาย เกม การใช้งานอินเทอร์เน็ต บลูทูธ อินฟราเรด กล้องถ่ายภาพ เอ็มเอ็มเอส วิทยุ เครื่องเล่นเพลง และ จีพีเอส

โทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องแรกถูกผลิตและออกแสดงใน พ.ศ. 2516 โดย มาร์ติน คูเปอร์ (Martin Cooper) นักประดิษฐ์จากบริษัทโมโตโรลา เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ขนาดใหญ่ที่มีน้ำหนักประมาณ 1.1 กิโลกรัม[1] ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2543 ที่มีจำนวน 12.4 ล้านคน[2] มาเป็น 4,600 ล้านคน[3]

วิวัฒนาการของโทรศัพท์มือถือ

  • 1G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ analog โทรศัพท์มือถือในยุคนั้นไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก ความสามารถหลักๆ คือการให้บริการเสียงอย่างเดียว รองรับเพียงการโทรเข้าและรับสาย ยังไม่รองรับการส่งหรือรับ Data ใดๆ แม้แต่จะส่ง SMS ก็ยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งในยุคนั้นผู้คนก็ยังไม่มีความจำเป็นในการใช้งานอื่นๆ นอกจากการโทรเข้าออกอยู่แล้ว และกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่สามารถใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในเวลานั้น เป็นผู้มีฐานะหรือนักธุรกิจที่ใช้ติดต่องาน เนื่องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเวลานั้นมีราคาสูงมาก ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น NMT, AMPS, DataTac เริ่มใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ.1980
  • 2G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GSM, cdmaOne, PDC มีการพัฒนารูปแบบการส่งคลื่นเสียงแบบ Analog มาเป็น Digital โดยการเข้ารหัส โดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ โดยการเข้ารหัสเป็นแบบดิจิตอลนี้ จะช่วยในเรื่องของความปลอดภัยในการใช้งานมากยิ่งขึ้น และช่วยในเรื่องของสัญญาณเสียงที่ใช้ติดต่อสื่อสารให้มีความคมชัดมากขึ้นด้วย โดยมีเทคโนโลยีการเข้าถึงช่องสัญญาณของผู้ใช้เป็นลักษณะเชิงผสมระหว่าง FDMA และ TDMA (Time Division Multiple Access) เป็นการเพิ่มช่องทางการสื่อสารทำให้รองรับปริมาณผู้ใช้งานที่มีมากขึ้นได้ ให้บริการทั้งเสียงและข้อมูล มีการทำงานแบบ circuit switching ที่ความเร็ว 9.6-14.4 kbps
    • 2.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่เริ่มนำระบบ packet switching มาใช้ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น GPRSซึ่งพัฒนาในเรื่องของการรับส่งข้อมูลที่มากขึ้น ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 115 Kbps (แต่ถูกจำกัดการใช้งานจริงอยู่ที่ 40 kbps) สิ่งที่เราจะเห็นได้ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ก็คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้เพิ่มฟังก์ชันการรับส่งข้อมูลในส่วนของ MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอโทรศัพท์เริ่มเข้าสู่ยุคหน้าจอสี และเสียงเรียกเข้าก็ถูกพัฒนาให้เป็นเสียงแบบ Polyphonic จากของเดิมที่เป็น Monotone และเข้ามาสู่ยุคที่เสียงเรียกเข้าเป็นแบบ MP3
    • 2.75G ยุคนี้เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก GPRS นั่นเอง และในปัจจุบันนี้เราก็ยังคงได้ยินและมีการใช้เทคโนโลยีนี้กันอยู่ ซึ่งได้พัฒนาในเรื่องของความเร็วในการรับส่งข้อมูลไร้สาย ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น CDMA2000 1xRTT, EDGE ให้ความเร็วน้อยกว่า 10 kbps
  • 3G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ยุคนี้จะเน้นการสื่อสารทั้งการพูดคุยแบบเสียงตามปกติและแบบรับส่งข้อมูลซึ่งในส่วนของการรับส่งข้อมูล ที่ทำให้ 3G นั้นต่างจากระบบเก่า 2G ที่มีพื้นฐานในการพูดคุยแบบเสียงตามปกติอยู่มาก เนื่องจากเป็นระบบที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อให้รองรับกับการรับส่งข้อมูลโดยตรง มีช่องความถี่และความจุในการรับส่งสัญญาณที่มากกว่า ส่งผลให้การรับส่งข้อมูลหรือการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือนั้นเร็วมากขึ้นแบบก้าวกระโดด ประสิทธิภาพในการใช้งานด้านมัลติมีเดียดีขึ้น และยังมีความเสถียรกว่า 2G ที่มีความสามารถครบทั้งการสื่อสารด้วยเสียงและข้อมูลรวมถึงวิดีโอ ระบบที่จัดอยู่ในยุคนี้เช่น W-CDMA, TD-SCDMA, CDMA2000 1x-EVDO ความเร็ว มากกว่า 144 kbps
    • 3.5G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ digital ที่มีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงขึ้นกว่า 3G เช่น HSDPA ใน W-CDMA
  • 4G ระบบโทรศัพท์มือถือแบบ Real-Digital พัฒนาในเรื่องความเร็วในการรับส่งข้อมูล ที่ทำได้เร็วขึ้นถึง 100 Mpbs เลยทีเดียว สำหรับความเร็วขนาดนี้นั้น ทำให้สามารถใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet ของคุณได้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การดูไฟล์วีดิโอออนไลน์ด้วยความคมชัด และไม่มีการกระตุก, การสื่อสารข้ามประเทศ อย่างโทรศัพท์แบบเห็นหน้ากันแบบโต้ตอบทันที (Video Call) หรือจะเป็นการประชุมผ่านโทรศัพท์ (Mobile teleconferencing) ก็เป็นเรื่องง่ายขึ้น แถมยังมีค่าใช้จ่ายน้อยลงอีกด้วย สามารถเชื่อมต่อข้อมูล 3 แบบ ภาคพื้นดิน CDMA PA-H และการเชื่อมต่อ ewifi และ Wi-Max เพื่อการเชื่อมภาพและเสียงเป็นข้อมูลเดียวกัน

ผู้ผลิต

ส่วนแบ่งตลาดปริมาณจากข้อมูลของการ์ตเนอร์
(ยอดขายใหม่)
ยี่ห้อ ร้อยละ
ซัมซุง 2555
  
22.0%
ซัมซุง 2556
  
24.6%
โนเกีย 2555
  
19.1%
โนเกีย 2556
  
13.9%
แอปเปิล 2555
  
7.5%
แอปเปิล 2556
  
8.3%
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2555
  
3.3%
แอลจีอิเล็กทรอนิกส์ 2556
  
3.8%
แซดทีอี 2555
  
3.9%
แซดทีอี 2556
  
3.3%
อื่น ๆ 2555
  
34.9%
อื่น ๆ 2556
  
34.0%
หมายเหตุ: "อื่น ๆ 2555" ประกอบด้วยโซนีอีริกสัน โมโตโรลา แซดทีอี เอชทีซีและหัวเว่ย (2552–2553)

ก่อนปี 2553 โนเกียเป็นผู้นำตลาด ทว่า นับแต่นั้นเกิดการแข่งขันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยยี่ห้ออย่างไมโครแมกซ์ เน็กเซียนและไอโมบายล์ซึ่งแย่งส่วนแบ่งตลาดของโนเกีย สมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ก็ได้กระแสมากขึ้นทั่วภูมิภาค ส่วนโนเกียมีแนวโน้มลดลง ในประเทศอินเดีย ส่วนแบ่งตลาดของโนเกียลดลงอย่างสำคัญจาก 56% เหลือประมาณ 31% ในช่วงเดียวกัน สัดส่วนนั้นถูกแทนด้วยผู้ขายโทรศัพท์เคลื่อนที่คุณภาพต่ำสัญชาติจีนและอินเดีย

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 จากข้อมูลของสแตรเทดจีอะนาไลติกส์ ซัมซุงแซงหน้าโนเกีย โดยขายได้ 93.5 ล้านเครื่องเทียบกับโนเกีย 82.7 ล้านเครื่อง ในปี 2555 สแตนดาร์ดแอนด์พัวส์ลดระดับโนเกียเหลือสถานะ "ขยะ" ที่ BB+/B โดยมีความเชื่อเชิงลบเนื่องจากขาดทุนสูงและคาดหมายว่าจะเสื่อมลงอีกเนื่องจากการเติบโตของยอดขายสมาร์ตโฟนลูเมียไม่เพียงพอกับรายได้จากสมาร์ตโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการซิมเบียนที่ลดลงอย่างรวดรเวที่มีการพยากรณ์ไว้อีกหลายไตรมาสถัดมา[4]

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2557 ผู้ผลิตยอดขายสูงสุดสิบราย ได้แก่ ซัมซุง (20.6%), โนเกีย (9.5%), แอปเปิล จำกัด (8.4%), แอลจี (4.2%), หัวเว่ย (3.6%), ทีซีแอลคอมมิวนิเคชัน (3.5), เสี่ยวหมี่ (3.5%), เลโนโว (3.3%), แซดทีอี (3.0%) และไมโครแมกซ์ (2.2%)[5]

โทรศัพท์ในประเทศไทย

"ตำนานไปรษณีย์โทรเลขสยาม" พ.ศ. 2429 ถึง พ.ศ. 2468 ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ว่า ประเทศไทยได้นำเอาโทรศัพท์มาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2424 ตรงกับรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหม (กระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน) ได้สั่งเข้ามาใช้งานในกิจการเพื่อความมั่นคงแห่งชาติ โดยติดตั้งที่กรมอู่ทหารเรือกรุงเทพฯ 1 เครื่อง และป้อมยามปากน้ำเจ้าพระยา จังหวัดสมุทรปราการอีก 1 เครื่อง รวม 2 เครื่อง เพื่อจะได้แจ้งข่าวเรือ เข้าออกในแม่น้ำ เจ้าพระยาให้ทางกรุงเทพฯทราบ

  • พ.ศ. 2429 กิจการโทรศัพท์ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น จำนวนเลขหมายและบุคลากร ก็เพิ่มมากขึ้น ยุ่งยากแก่การบริหารงาน ของกรมกลาโหม ดังนั้น กรมกลาโหม จึงได้โอนกิจการของโทรศัพท์ ให้ไปอยู่ใน การ ดูแลและดำเนินการ ของกรมไปรษณีย์ โทรเลข ต่อมากรมไปรษณีย์โทรเลขก็ได้ขยายกิจการโทรศัพท์จากภาครัฐสู่เอกชน โดยให้ ประชาชน มีโอกาสใช้โทรศัพท์ได้ ในระยะนี้เครื่องที่ใช้จะเป็น ระบบแม็กนีโต (Magneto) หรือระบบ โลคอลแบตเตอรี่ (Local Battery )
  • พ.ศ. 2450 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งโทรศัพท์ ระบบคอมมอนแบตเตอรี่ (Common Battery) หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่ (Central Battery) มาใช้ซึ่งสะดวกและประหยัดกว่าระบบแม็กนีโตมาก
  • พ.ศ. 2479 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้สั่งซื้อชุมสายระบบสเต็บบายสเต็บ (Step by Step) ซึ่งเป็นระบบอัตโนมัติ สามารถหมุนเลขหมายถึงกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย (Operator) เหมือน โลคอลแบตเตอรี่ หรือ เซ็นทรัล แบตเตอรี่
  • พ.ศ. 2497 เนื่องจากกิจการโทรศัพท์ได้เจริญก้าวหน้ามาก ประชาชนนิยมใช้ แพร่หลายไปทั่วประเทศ กิจการใหญ่ โตขึ้นมากทำให้การบริหารงานลำบากมากขึ้น เพราะกรมไปรษณีย์โทรเลขต้องดูแลเรื่องอื่นอีกมาก ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น โดยแยก กองช่างโทรศัพท์กรมไปรษณีย์โทรเลขมาตั้งเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยขึ้น มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวง คมนาคมมาจนถึงปัจจุบัน องค์การโทรศัพท์หลังจากที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นแล้ว ก็ได้รับโอนงานกิจการโทรศัพท์มาดูแล
  • พ.ศ. 2517 องค์การโทรศัพท์ก็สั่งซื้อชุมสายโทรศัพท์ระบบคอสบาร์ (Cross Bar) มาใช้งานระบบคอสบาร์ เป็นระบบอัตโนมัติเหมือนระบบสเต็บบายสเต็บแต่ทันสมัยกว่าทำงานได้เร็วกว่า มีวงจรพูดได้มากกว่า และขนาดเล็กกว่า
  • พ.ศ. 2526 องค์การโทรศัพท์ได้นำระบบชุมสาย SPC (Storage Program Control) มาใช้งาน ระบบ SPC เป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer) ทำงานได้รวดเร็วมาก ขนาดเล็ก กินไฟน้อย และยังให้ บริการ เสริมด้าน อื่น ๆ ได้อีกด้วย

ในปัจจุบันชุมสายโทรศัพท์ที่ติดตั้งใหม่ ๆ จะเป็นระบบ SPC ทั้งหมด ระบบอื่น ๆ เลิกผลิตแล้ว ประเทศไทยเรากำลัง เร่งติดตั้งโทรศัพท์เพื่อให้พอใช้กับประชาชน ดังจะเห็นจากโครงการ 3 ล้านเลขหมายในแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 และโครงการอื่น ๆ ต่อไป รวมทั้งวิทยุโทรศัพท์อีกด้วย เพื่อเสริมให้ระบบสื่อสารในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

การใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน

โทรศัพท์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ช่วยร่นระยะเวลา ระยะทางในการสื่อสารของคนยุคปัจจุบัน เป็นเทคโนโลยีที่สร้างประโยชน์ได้มากต่อการพัฒนาความก้าวหน้าในด้านต่างๆของโลก ซึ่งปัจจุบันโทรศัพท์มือถือมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมาก ด้วยความบันเทิงหลากหลายที่เป็นจุดขายดึงดูดวัยรุ่นยุคปัจจุบันที่ดำเนินชีวิตอยู่กับเทคโนโลยี ทำให้เครื่องมือสื่อสารชนิดนี้มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิต วัยรุ่นมักนำความสามารถทุกอย่างที่โทรศัพท์มือถือทำได้มาประยุกต์ในทางที่เสื่อมมากกว่าทางสร้างสรรค์ โทรศัพท์มือถือมีอิทธิพลต่ออารมณ์ให้เป็นคนขาดความอดทน ใจร้อน ขาดความรอบคอบ อารมณ์รุนแรง มีอิทธิพลในการใช้เงินของวัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นมีความต้องการที่จะเปลี่ยนโทรศัพท์ใหม่ให้อินเทรนด์ อยู่เสมอ มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการพัฒนาความรู้ นอกจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทำลายเซลล์สมองให้ด้อยพัฒนาแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพและลดสมาธิในการเรียน ด้านการแก้ไขพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของวัยรุ่น คือวัยรุ่นควรตระหนักถึงข้อดีข้อเสียให้มาก ปรับเปลี่ยนการใช้โทรศัพท์ให้เหมาะสม เพราะกลุ่มวัยรุ่นเป็นกลุ่มประเมินสำคัญที่บ่งบอกถึงความก้าวหน้าของประเทศได้..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/410843

ผลกระทบต่อสุขภาพ

ความเชื่อที่ว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพในระยะยาวนั้น ปัจจุบันได้รับการยืนยันจากองค์การอนามัยโลกแล้ว โดยองค์การฯ ได้บรรจุโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ในรายชื่อวัตถุก่อมะเร็ง[6][7] ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ออกรายงานเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554[8] โดยจัดว่ารังสีโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็น "วัตถุก่อมะเร็ง" และ "อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์" ได้ รายงานดังกล่าวออกมาหลังจากทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ทบทวนการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัยของโทรศัพท์เคลื่อนที่[9] งานวิจัยหนึ่งว่าด้วยการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในอดีตนั้นได้ถูกอ้างอิงในรายงานซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างหนักจะมีความเสี่ยงเป็นเนื้องอกในสมองมากขึ้นถึง 40% (รายงานการใช้โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เป็นเวลาติดต่อกันนานกว่า 10 ปี)[10] ซึ่งรายงานดังกล่าวตรงกันข้ามกับการสรุปก่อนหน้านี้ซึ่งไม่คาดว่ามะเร็งจะเกิดขึ้นเป็นผลมาจากโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือสถานีฐาน และการทบทวนดังกล่าวไม่ได้พบหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพด้านอื่นแต่อย่างใด[11][12]

ดูเพิ่ม

HUAWEI

อ้างอิง

  1. Heeks, Richard (2008). "Meet Marty Cooper - the inventor of the mobile phone". BBC. 41 (6): 26–33. doi:10.1109/MC.2008.192.
  2. http://www.worldmapper.org/display.php?selected=333
  3. Heeks, Richard (2008). "ICT4D 2.0: The Next Phase of Applying ICT for International Development". IEEE Computer. 41 (6): 26–33. doi:10.1109/MC.2008.192.
  4. "Samsung May Have Just Become The King Of Mobile Handsets, While S&P Downgrades Nokia To Junk". สืบค้นเมื่อ 28 April 2012.
  5. "Gartner Says Sales of Smartphones Grew 20 Percent in Third Quarter of 2014". Gartner.
  6. WHO: Cell phone use can increase possible cancer risk By Danielle Dellorto, CNN May 31, 2011
  7. "What are the health risks associated with mobile phones and their base stations?". Online Q&A. World Health Organization. 2005-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19.
  8. "World Health Organization/International Agency for Research on Cancer Classifies Radiofrequency Electromagnetic Fields as Possibly Carcinogenic to Humans" (PDF). World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
  9. "WHO: Cell phone use can increase possible cancer risk". CNN. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
  10. "World Health Organization: Cell Phones May Cause Cancer". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2011-05-31.
  11. "What are the health risks associated with mobile phones and their base stations?". Online Q&A. World Health Organization. 2005-12-05. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19.
  12. "Electromagnetic fields and public health: mobile telephones and their base stations". Fact sheet N°193. World Health Organization. 2000. สืบค้นเมื่อ 2008-01-19. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)

แหล่งข้อมูลอื่น