ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพทยศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
{{กล่องโครงการพี่น้อง|Medicine}}
{{กล่องโครงการพี่น้อง|Medicine}}
{{แพทยศาสตร์}}123456726779211؛ ❤👌جامعه عين شمس39150.0.9.106/410بكالوريوس طب وجراحة128815102500995ديفد_عبد_المحسن_بشارة_مترى
{{แพทยศาสตร์}}123456726779211؛ ❤👌جامعه عين شمس39150.0.9.106/410بكالوريوس طب وجراحة128815102500995ديفد_عبد_المحسن_بشارة_مترى <nowiki>https://goo.gl/images/6F6p1K@@128815102500995</nowiki>
[[หมวดหมู่:แพทยศาสตร์| ]]
[[หมวดหมู่:แพทยศาสตร์| ]]
{{โครงแพทย์}}
{{โครงแพทย์}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:11, 5 มิถุนายน 2561

แพทยศาสตร์ (อังกฤษ: Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง

แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น

ประวัติศาสตร์การแพทย์

คณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย

การเรียนการสอนทางแพทยศาสตร์นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกที่ โรงเรียนแพทยากร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งขึ้น ณ โรงศิริราชพยาบาล ซึ่งก็คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ขึ้น เพื่อผลิตแพทย์ให้เพียงพอที่จะช่วยเหลือประชาชน นั่นคือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในส่วนภูมิภาคของประเทศคณะแรก ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 3 จากนั้น ได้จัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 4 ของประเทศ และเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้น ได้จัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่5 และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่6 ของประเทศ และมีคณะแพทยศาสตร์ อื่นๆอีกรวม 20 แห่ง ทั่วประเทศ เช่น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ฯลฯ

ตามระเบียบการและเกณฑ์การรับแพทย์ของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ประจำปีการศึกษา 2559 มีการเรียนการสอนทางแพทยศาสตร์ 13 สถาบัน (คณะแพทยศาสตร์ 11 คณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ 2 วิทยาลัย), คณะทันตแพทยศาสตร์ 7 สถาบัน และคณะสัตวแพทยศาสตร์ 6 สถาบัน ที่ร่วมดำเนินการรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลผ่านระบบรับตรง รวม 1,592 คน[1]

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

123456726779211؛ ❤👌جامعه عين شمس39150.0.9.106/410بكالوريوس طب وجراحة128815102500995ديفد_عبد_المحسن_بشارة_مترى https://goo.gl/images/6F6p1K@@128815102500995