ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำพล ลำพูน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 172: บรรทัด 172:
* อยากได้ดี
* อยากได้ดี
* จำฝังใจ
* จำฝังใจ
* รักปอนปอน


=== หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531) ===
=== หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531) ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:33, 31 พฤษภาคม 2561

อำพล ลำพูน
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดอำพล ลำพูน
เกิด20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 (60 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย ระยอง ประเทศไทย
แนวเพลงร็อก
อาชีพนักร้อง, นักดนตรีและนักแสดง
ช่วงปีพ.ศ. 2527 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงแกรมมี่
คู่สมรสมาช่า วัฒนพานิช
(พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2540)
สมาชิกวงไมโคร
เว็บไซต์www.microrockclub.com

อำพล ลำพูน ชื่อเล่น หนุ่ย หรือ "ร็อกเกอร์มือขวา" เป็นนักร้องนำวง ไมโคร และนักแสดงชาวไทย มีผลงานสร้างชื่อมากมาย เช่น วัยระเริง น้ำพุ และยังมีวงดนตรีที่ได้รับความประสบความสำเร็จด้วยในนามไมโคร แต่อัลบั้มที่ดีที่สุดของอำพลนั้น คือชุดที่แตกออกมาจากไมโคร นั่นคือชุดวัตถุไวไฟ จากการได้สุดยอดมือกีตาร์สุดเทพอันดับ7ประเทศไทยอย่าง ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) มาร่วมงาน พร้อมสุดยอดมือกลองอย่าง หรั่ง เดอะ คิดส์

ประวัติ

อำพล ลำพูน (หนุ่ย) ชื่อจริงคือ อำพล ลำกูล เป็นคนอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ปีเถาะ กรุ๊ปเลือดบี เป็นบุตรชายคนเล็ก มีพี่สาวสองคน ด้านชีวิตครอบครัว สมรสกับมาช่า วัฒนพานิช และต่อมาหย่ากันเมื่อปลายปี พ.ศ. 2540 มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ กาย นวพล ลำพูน

การศึกษา

“ หนุ่ย” จบชั้นมัธยมตอนต้น ก็ได้เข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ เขามีความสนใจ ด้านดนตรีตั้ง แต่เด็ก เคยตั้งวงดนตรีโฟล์กซองกับเพื่อน ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ปวช.ปีที่ 1 หลังจาก เรียนจบที่โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา หนุ่ยและเพื่อนจึงร่วมกันตั้งวงดนตรีชื่อ “ วงไมโคร

ภาพยนตร์

ไฟล์:Nampoo.jpg
ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ พ.ศ. 2527 ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ (ซ้าย) อำพล ลำพูน (ขวา)

อำพล ลำพูนเข้าวงการโดยเป็นนักแสดงในสังกัดของ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น โดยการชักชวนของผู้กำกับชื่อดัง เปี๊ยก โปสเตอร์ ภาพยนตร์เรื่อง วัยระเริง เมื่อปี พ.ศ. 2527 คู่กับวรรษมน วัฒโรดม ต่อมาในปีเดียวกันอำพล ลำพูน ก็ได้รับบทน้ำพุ ในภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ คู่กับนางเอกคนเดิม และได้แสดงร่วมกับเรวัต พุทธินันทน์และภัทราวดี มีชูธน กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิทและภาพยนตร์เรื่องนี้อำพลได้รางวัลตุ๊กตาทอง สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสุพรรณหงส์จากการประกวด ภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิคจาก ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ ในปี 2527

ภาพยนตร์เรื่องที่สาม ข้างหลังภาพ จากบทประพันธ์ของศรีบูรพา กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ นางเอก คือ นาถยา แดงบุหงา นอกจากนี้อำพล ลำพูนยังแสดงภาพยนตร์เรื่อง ต้องปล้น , พันธุ์หมาบ้า , ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม , คู่ชื่นวัยหวาน , สองพี่น้อง , หัวใจเดียวกัน , แรงเงา , ไฟริษยา , ดีแตก , รู้แล้วหน่าว่ารัก ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะเล่นคู่กับพระเอกรุ่นเดียวกัน คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นอกจากนี้ยังเล่นกับจินตหรา สุขพัฒน์หลายเรื่องด้วย


ปี ชื่อภาพยนตร์ บทบาท แสดงคู่กับ หมายเหตุ
2527 วัยระเริง เอ เอราวัต คำชนะจิต วรรษมน วัฒโรดม
2527 น้ำพุ น้ำพุ วงศ์เมือง นันทขว้าง วรรษมน วัฒโรดม, ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์ เบรดี รางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก สาขานักแสดงนำชายดีเด่น

2528 ข้างหลังภาพ นพพร นาถยา แดงบุหงา
2528 กัลปังหา อ๊อด
2528 สองพี่น้อง อั้น จินตหรา สุขพัฒน์, อธิป ทองจินดา
2528 เพียงบอกว่ารักฉันสักนิด สมเกียรติ
2529 หัวใจเดียวกัน เอ จินตหรา สุขพัฒน์
2529 ไฟเสน่หา พรเทพ จินตหรา สุขพัฒน์
2529 รู้แล้วน่าว่ารัก ธัญญ์ เพ็ญพิสุทธิ์ คงสมุทร
2529 คู่วุ่นวัยหวาน กฤษณา จินตหรา สุขพัฒน์
2529 แรงหึง(แรงเงา) วีกิจ จินตหรา สุขพัฒน์
2530 เฮงได้ เฮงดี รักนี้ โฮป กมลชนก โกมลฐิติ
2530 ดีแตก วิทย์ วัฏลีลา นาถยา แดงบุหงา, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
2530 ปัญญาชนก้นครัว ตั้ม จินตหรา สุขพัฒน์
2532 ปุลากง เข้ม(ศกร) กตัญญู ประจำเมือง
2533 พันธุ์หมาบ้า ไท จริยา อุตตะระนาด, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
2533 สองอันตราย แมน บิลลี่ โอแกน
2533 ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม ฝุ่น พายุ นักข่าวอาชญากรรม ที่ชอบดื่มนมเป็นชีวิตจิตใจ นั่นคือที่มาของชื่อเรื่อง สลักจิต ดลมินทร์
2534 ต้องปล้น ก้อง จันทร์จิรา จูแจ้ง, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, วรเชษฐ์ นิ่มสุวรรณ
2541 เสือ โจรพันธุ์เสือ เสือใบ/เรวัต วิชชุประภา สุนันทินี ปันชูชิต, ดอม เหตระกูล รางวัลพระราชทานสุรัสวดี สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
2542 โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน นิวัฒน์/B7 สิริยากร พุกกะเวช รางวัลพระราชทานสุรัสวดี สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
2543 อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร เล้ง หลินจื้ออิง, ฌัชฌา รุจินานนท์ รางวัลพระสุพรรณหงส์ สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
2544 สุริโยไท ขุนอินทรเทพ/เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช
2547 102 ปิดกรุงเทพปล้น นาวิน ฉัตรชัย เปล่งพานิช


ผลงานละครโทรทัศน์

ละครโทรทัศน์

ปี ชื่อละคร แสดงเป็น คู่กับ
พ.ศ. 2541 หัวใจและไกปืน ราเชนทร์ ไกทอง ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์ ช่อง 7
พ.ศ. 2542 มือปืน จ่าสมหมาย ช่อง 3
คู่อันตรายดับเครื่องชน เกวลิน คอตแลนด์ ช่อง 7
พ.ศ. 2544 เทวดาเดินดิน ช่อง 3
ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น ทองพูน โคกโพ ศิรประภา สุขดำรงค์ ช่อง 3
พ.ศ. 2545 มนต์รักแม่น้ำมูล ครูพิณ คทรีน่า กลอส ช่อง 5
พ.ศ. 2546 ปมรักนวลฉวี หมออุทิศ ราชเดช ใหม่ เจริญปุระ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

วงไมโคร

ออกอัลบั้มแรกชื่อชุด “ ร็อก เล็ก เล็ก” ออกมาในปี 2529 ซึ่งทำให้วงการเพลงไทยตื่นตัวกับดนตรี แนวร็อกมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้ วงไมโครอย่างมาก มี เพลงฮิตจากงานชุดนี้ หลายเพลง เช่น รักปอนปอน , อยากจะ บอกใครสักคน และเพลง สมน้ำหน้า....ซ่านัก

และออกมาอีกหลายอัลบั้ม ดังนี้

  1. ร็อก เล็ก เล็ก ธันวาคม พ.ศ. 2529
  2. หมื่นฟาเรนไฮต์ มกราคม พ.ศ. 2531
  3. เต็มถัง สิงหาคม พ.ศ. 2532

ร็อก เล็ก เล็ก (พ.ศ. 2529)

อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 7 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

  • อย่าดีกว่า
  • อู๊ดกับแอ๊ด
  • อยากจะบอกใครสักคน
  • สมน้ำหน้า...ซ่าส์นัก
  • ฝันที่อยู่ไกล
  • อยากได้ดี
  • จำฝังใจ
  • รักปอนปอน

หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531)

อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 9 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

  • เอาไปเลย
  • จริงใจซะอย่าง (ร้องคู่กับกบ ไมโคร)
  • หมื่นฟาเรนไฮต์
  • พายุ
  • ใจโทรมๆ
  • บอกมาคำเดียว
  • ลองบ้างไหม
  • คิดไปเองว่าดี
  • โชคดีนะเพื่อน

เต็มถัง (พ.ศ. 2532)

อำพล ลำพูนร้องเอาไว้ทั้งอัลบั้ม จำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง

  • ส้มหล่น
  • เรามันก็คน
  • คนไม่มีสิทธิ์
  • ดับเครื่องชน
  • รู้ไปทำไม
  • มันก็ยังงงงง
  • เติมน้ำมัน
  • รุนแรงเหลือเกิน
  • ถึงเพื่อนเรา
  • เปิดฟ้า

หลังจากนั้นอำพล ลำพูนออกแยกตัวจากวงไมโคร ในปี 2535 หนุ่ยมีอัลบั้มเดี่ยว ของเขาออกมาในชื่อ “วัตถุไวไฟ” แต่วงไมโครยังออกอัลบั้มต่อ ส่วนอำพล ลำพูนได้ทำอัลบั้มเดี่ยวกับสังกัดเดิม ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า "Put the right hand in the right concert" คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน

อัลบั้มเดี่ยว

วัตถุไวไฟ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535)

Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ , Producer Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค บันทึกเสียง : CenterstageStudio / ButterflyStudio ผสมเสียง : โยธิน ชีรานนท์ / ButterflyStudio นักดนตรี : วีระ โชติวิเชียร , เพชร มาร์ , นพพร อิ่มทรัพย์ , ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) , กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , สมชัย ขำเลิศกุล ร้องสนับสนุน : ศิริพงษ์ หรเวชกุล (แย้ เดอะ คิดส์) , อนุช เตมีย์ (บอมบ์ เดอะ ร็อคฟาเธอร์) , พิศาล พานิชผล อำนวยการผลิต : ประชา พงศ์สุพัฒน์

  1. วัตถุไวไฟ
  2. เสียมั้ย
  3. ลางร้าย
  4. นึกหรือว่าไม่รู้
  5. อย่างทำอย่างนั้น
  6. หยุดมันเอาไว้
  7. บ่อนทำลาย
  8. เข็ด
  9. แผลในใจ
  10. ยังไงก็โดน
  11. คือฝน (เพลงที่สั้นที่สุดของอำพล)

ม้าเหล็ก (ธันวาคม พ.ศ. 2536)

Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ , Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : ประชา พงษ์สุพัฒน์ , บันทึกเสียง : ButterflyStudio ก.ย. - พ.ย. 2536 ควบคุมเสียง : พงษ์ศักดิ์ เกาหอม / วราวุธ เปี่ยมมงคล ผสมเสียง : โยธิน ชิรานนท์ / ต่อพงษ์ สายศิลป์ นักดนตรีและนักร้องรับเชิญ : กบ (ไมโคร) / เพชร มาร์ / อ้วน (ไมโคร) / บอย (ไมโคร) / วีระ โชติวิเชียร อภิไชย เย็นพูนสุข / ลัดสปัญ สมสุวรรณ / พงษ์ศักดิ์ ภูววีรานนท์ / กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา

  1. ม้าเหล็ก
  2. เอากะเขาหน่อย
  3. ลองเชิงลองใจ
  4. ไม่อยากทำใคร
  5. จะไปเหลืออะไรล่ะ
  6. ขอเวลาหายใจ
  7. รู้ได้ยังไง
  8. ไว้ใจ
  9. ไม่ต้องเกรงใจกันบ้าง
  10. เครื่องจักรน้อยๆ

อำพลเมืองดี (พฤศจิกายน พ.ศ. 2538)

Producer : ชาตรี คงสุวรรณ Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : สมควร มีศิลปสุข , บันทึกเสียง : ห้องอัดเสียงศรีสยาม นักดนตรี : Drums : ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม , Electric Guitar : ไกรภพ จันทร์ดี , พิเชษฐ์ เครือวัลย์ , โอม Electric Bass : กอล์ฟ Y-Not-7 , พี่เหม , Organ : โอม , ปุ้ม Chorus : ปอนด์ , ปุ้ม , โอม , กอล์ฟ ผสมเสียง : โสฬส พงษ์พรหม , ปณต สมานไพสิฐ

  1. ตอก
  2. ฝากรอยเท้า
  3. ไว้ชีวิต
  4. ในสายตาเธอ
  5. ไปสู่แสงไฟ
  6. ถอยกันเป็นแถบ
  7. ขอไปกับสายลม
  8. ยังไม่ตาย
  9. ไม่แรงพอ
  10. อยู่ๆ กันไป

เพลงพิเศษ

  • หมากเกมนี้ - อัลบั้ม งานซนคนดนตรี นานที 10 ปีหน (พ.ศ. 2536)
  • เธอ...ผู้ไม่แพ้ - อัลบั้ม ROCK ZONE : ร็อค (โ) ซน (พ.ศ. 2538)
  • ร่วมร้องเพลง คนไทยหัวใจเดียวกัน (ร่วมกับ ไมโคร , เสก โลโซ , บอดี้แสลม , บิ๊กแอส) - เพลงโฆษณาเครื่องดื่มช้าง (พ.ศ. 2553) (ภายหลังบรรจุไว้ในอัลบั้ม PLUS ของ เสก โลโซ)
  • เกลียดแผลที่อยู่ในใจ - เพลงประกอบละครซีรีส์เลือดมังกร ตอน กระทิง (พ.ศ. 2558)

อัลบั้มรวมเพลง (ในนาม อำพล ลำพูน)

  • รวมฮิต ร็อกเจ็บลึก (พ.ศ. 2537) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี
  • AMPHOL BIG HITS BIG STORY (พ.ศ. 2539) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ทและซีดี
  • รวมมิวสิกวิดีโอคาราโอเกะ - อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2540) - จัดจำหน่ายในรูปแบบม้วนวิดีโอและวิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ
  • VERY BEST OF อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2542) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท , ซีดี , วิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ , ม้วนวิดีโอ และในรูปแบบ ซีดี + วีซีดีแพ็คคู่
  • BEST HITS OF AMPHOL (พ.ศ. 2548) - จัดจำหน่ายในรูปแบบเทปคาสเซ็ท , ซีดี และวิดีโอ ซีดี คาราโอเกะ
  • BEST OF AMPHOL อำพล ลำพูน (พ.ศ. 2556) - จัดจำหน่ายในรูปแบบซีดี และ ดีวีดี คาราโอเกะ

คอนเสิร์ต

วัน เดือน ปี ชื่อคอนเสิร์ต สถานที่ หมายเหตุ
19 ตุลาคม 2529 ปึ้กกก อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก วงไมโครได้เปิดตัวเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอำพล ลำพูนได้เปิดตัวเป็นครั้งแรก ในฐานะนักร้อง โดยเล่นเป็นวงเปิดให้กับเต๋อ เรวัต พุทธินันท์ ซึ่งตอนนั้นอัลบั้มแรกของไมโครยังไม่ออกจำหน่ายเลยด้วยซ้ำ
16 เมษายน 2531 ไมโคร ร็อก คอนเสิร์ต ตอน เอาไมโครไปเลย ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง เป็นคอนเสิร์ตที่มาปีเดียวกับอัลบั้มที่ 2 คือ หมื่นฟาเรนไฮต์ ซึ่งมีเพลงอมตะอย่างเพลง เอาไปเลย
18 ตุลาคม 2532 เติมสีเขียวหวาน ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว คอนเสิร์ตนี้มีแต่ผู้หญิงที่เข้าชม ซึ่งวงไมโครเล่นได้เพลงกว่าๆ เท่านั้นฝนจึงตก ทำให้การแสดงคอนเสิร์ตมีต่อลำบาก เพราะเล่นกลางแจ้ง
20 ตุลาคม 2532 รายการคอนเสิร์ตโลกดนตรี ลานกลางแจ้ง ท.ท.บ.5 ช่อง 5 ถ่ายทอดสด โดยเสกสรรค์ ภู่ประดิษฐ์เป็นพิธีกร
10 กุมภาพันธ์ 2533 มือขวาสามัคคี New Generation Rock Festival 90 ชุดรวมพลัง สนามกีฬาศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง ไมโคร เล่นเป็นวงสุดท้ายก่อนที่จะรวมศิลปินร้องเพลง มือขวาสามัคคี
พ.ศ. 2533 เทศกาล International Rock Music Festival 1990 เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เป็นคอนเสิร์ตที่สถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น คัดเลือกสุดยอดวงดนตรีร็อกของแต่ละประเทศมาแสดงที่ที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวงไมโครก็เป็นตัวแทนของประเทศไทย
พ.ศ. 2533 งานต้อนรับนักกีฬาซีเกมส์ 1990 ทำเนียบรัฐบาล ตรงกับสมัยพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี
6 มิถุนายน 2535 อำพลคนไวไฟ MBK HALL ชั้น 7 มาบุญครอง เป็นคอนเสิร์ตแรกตั้งแต่อำพล ลำพูนแยกตัวออกมาจากวงไมโคร มีไกรภพ จันทร์ดี (กบ ไมโคร) กับ มานะ ประเสริฐวงศ์ (อ้วน ไมโคร) เป็นศิลปินรับเชิญ
12 มีนาคม 2537 อัศวินม้าเหล็ก ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว ไกรภพ จันทร์ดี (กบ ไมโคร) ,มานะ ประเสริฐวงศ์ (อ้วน ไมโคร) และ สันธาน เลาหวัฒนวิทย์ (บอย ไมโคร) เป็นศิลปินรับเชิญ
6 เมษายน 2537 อำพลกับคนไว้ใจ ตอน เอากะเขา (อีก) หน่อย ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว มาช่า วัฒนพานิช เป็นศิลปินรับเชิญ
27 มกราคม 2539 Amphol Big Story Concert 1986-1996 อินดอร์สเตเดียม หัวหมาก
12-14 ธันวาคม 2546 ตำนานมือขวาไมโคร (Put the right hand in the right concert) อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี เป็นคอนเสิร์ตที่วงไมโครรวมตัวกันอีกครั้งตามคำเรียกร้อง โดยมี ฐิติมา สุตสุนทร ,ปาล์มมี่ และ โมเดิร์น ด็อก (ป๊อด) เป็นศิลปินรับเชิญ
25 ธันวาคม 2547 ไมโคร-นูโว ONE BIG SHOW สนามเสือป่า เป็นคอนเสิร์ตรวมตัวกันเฉพาะกิจของวงไมโครและวงนูโว จัดโดยคลื่นวิทยุ 99.5 เอฟเอ็มวัน และ 103.5 บิ๊กเอฟเอ็ม
19 พฤศจิกายน 2548 อำพลเมืองดีกับบิลลี่เข้ม อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี เป็นคอนเสิร์ตร่วมของอำพล ลำพูนกับบิลลี่ โอแกน จัดโดยคลื่นวิทยุ กรีนเวฟ
14 กรกฎาคม 2550 เรวัต พุทธินันท์ remembered in tribute concert อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี เป็นคอนเสิร์ตที่รวบรวมศิลปินยุคเก่าและยุคใหม่ เพื่อหวนรำลึกถึงตำนานศิลปิน เรวัต พุทธินันทน์ นอกจากอำพล ลำพูนแล้ว ยังมีศิลปินอีกมากมาย ได้แก่ นันทิดา แก้วบัวสาย , บิลลี่ โอแกน , เสาวลักษณ์ ลีละบุตร , สุธาสินี พุทธินันทน์ , โบ สุนิตา , บอย พีชเมกเกอร์ , ดา เอ็นโดรฟิน และ พั้นช์ วรกาญจน์
26 สิงหาคม 2550 25 ปี นิติพงษ์ ห่อนาค อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี เป็นคอนเสิร์ตที่รวบรวมศิลปิน ที่นิติพงษ์ ห่อนาค ได้แต่งเพลงไว้ให้
30-31 มกราคม 2553 25 ปี ไมโคร ร็อก เล็ก เล็ก รีเทิร์น อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี บิลลี่ โอแกน, ใหม่ เจริญปุระ, เสก โลโซ และแด๊ก บิ๊กแอสเป็นแขกรับเชิญ
27-28 กรกฎาคม 2556 คอนเสิร์ต มือขวาสามัคคี REUNION อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี อำพล กับ MICRO, บิลลี่ โอแกน, ใหม่ เจริญปุระ, แหวน ฐิติมา สุตสุนทร และนูโว, แขกรับเชิญ มาช่า วัฒนพานิช
24-25 มกราคม 2558 "The Masterpiece 30 ปีนิติพงษ์ ห่อนาค" สยามพารากอน เป็นคอนเสิร์ตที่รวบรวมศิลปิน ที่ นิติพงษ์ ห่อนาค ได้แต่งเพลงไว้ให้

รางวัล

Gallery

อ้างอิง