ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 44: บรรทัด 44:
=== เครื่องยศ ===
=== เครื่องยศ ===


ในอดีต ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษนั้นจะได้รับพระราชทาน[[เครื่องยศ]]ประกอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ได้แก่ [[เสื้อครุย]]ปัก จ.จ.จ. พานหมากทองคำลายสลักเครื่องพร้อม คนโทน้ำลายสลักพร้อมพานรอง กาน้ำทองคำลายสลักพร้อมโต๊ะทองคำ กระโถนทองลายสลัก ซึ่งเดิมผู้ที่ได้รับพระราชทาน ท.จ.ว. และ ท.จ. มักมีบรรดาศักดิ์เป็น[[บรรดาศักดิ์ไทย#พระยา|พระยา]] จึงเรียกว่า พระยาพานทอง
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น'''ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ'''นั้นจะได้รับพระราชทาน[[เครื่องยศ]]ประกอบด้วย


1. [[เสื้อครุย]]ปัก จ.จ.จ. (ฝ่ายในพระราชทานผ้าปักทองแล่ง)
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในปัจจุบันจะมีระเบียบกำหนดเครื่องยศประกอบ แต่ก็มิได้พระราชทานให้ครอบครองอย่างประเพณีเดิม คงเชิญเครื่องยศมาตั้งประกอบในพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเท่านั้น<ref>ปถพีรดี, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=1708&stissueid=2502&stcolcatid=9&stauthorid=10 เครื่องยศ], สกุลไทย, ฉบับที่ 2502, ปีที่ 48, ประจำวันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2545 </ref>

2.พานหมากทองคำเครื่องพร้อม

3.คณโฑทองคำพร้อมพานรอง

4.กาน้ำทองคำพร้อมโต๊ะทองคำ

5.กระโถนทองคำ

ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ [[ทุติยจุลจอมเกล้า|ท.จ]]. และ [[ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ|ท.จ.ว]] จะมีบรรดาศักดิ์เทียบเท่า '''พระยาพานทอง'''


=== คำนำหน้านาม (ฝ่ายใน) ===
=== คำนำหน้านาม (ฝ่ายใน) ===
บรรทัด 58: บรรทัด 68:


=== เกียรติยศศพ ===
=== เกียรติยศศพ ===
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อวายชนม์จะใช้คำว่า "ถึงแก่อนิจกรรม"<ref>สุดสงวน, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3669&stissueid=2629&stcolcatid=2&stauthorid=17 ตอน “การใช้ภาษาในภาวะวิกฤต”], สกุลไทย, ฉบับที่ 2629, ปีที่ 51, ประจำวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2548</ref><ref>[http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ออนไลน์) พ.ศ. 2542 : อสัญกรรม]</ref> และจะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ แต่ถ้าผู้วายชนม์เป็นสมาชิกราชตระกูล ดำรงตำแหน่งสำคัญ หรือได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นที่มีลำดับเกียรติสูงกว่าก็อาจได้รับเกียรติยศศพสูงขึ้น โดยจะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ ดังนี้
ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้น'''ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ''' เมื่อวายชนม์จะใช้คำว่า "ถึงแก่อนิจกรรม"<ref>สุดสงวน, [http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3669&stissueid=2629&stcolcatid=2&stauthorid=17 ตอน “การใช้ภาษาในภาวะวิกฤต”], สกุลไทย, ฉบับที่ 2629, ปีที่ 51, ประจำวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2548</ref><ref>[http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ออนไลน์) พ.ศ. 2542 : อสัญกรรม]</ref> และจะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ แต่ถ้าผู้วายชนม์เป็นสมาชิกราชตระกูล ดำรงตำแหน่งสำคัญ หรือได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นที่มีลำดับเกียรติสูงกว่าก็อาจได้รับเกียรติยศศพสูงขึ้น โดยจะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ ดังนี้

{{col-begin}}
'''ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)'''
{{col-2}}

;ฝ่ายใน
# โกศแปดเหลี่ยม
* น้ำหลวง เพลิงหลวง
# น้ำหลวงอาบศพ
* [[โกศแปดเหลี่ยม]]
# ฉัตรเบญจา 4คันตั้งประกอบเกียรติยศข้างโกศศพ และ 10คัน เวลาแห่เวียนเมรุ
* [[ฉัตรเบญจา]]
# รถวอเชิญโกศศพ
* [[ปี่]] [[กลองชนะ]] ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำอาบศพ
# เพลิงหลวง
* พระพิธีธรรม สวดพระอภิธรรม 3 คืน

{{col-2}}
;ฝ่ายหน้า
'''ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)'''

* น้ำหลวง เพลิงหลวง
เกียรติยศศพเหมือน ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชออสริยาภรณ์ '''[[ทุติยจุลจอมเกล้า]]''' ทุกประการ
* [[โกศโถ]]
* [[ฉัตรเบญจา]]
* [[ปี่]] [[กลองชนะ]] ประโคมเวลารับพระราชทานน้ำอาบศพ
{{col-end}}


== การพระราชทาน ==
== การพระราชทาน ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:02, 28 พฤษภาคม 2561

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ฝ่ายหน้า
อักษรย่อท.จ.ว.
ประเภทฝ่ายหน้า : คล้องคอมีดารา
ฝ่ายใน : สายสะพายไม่มีดารา
วันสถาปนาฝ่ายหน้า : พ.ศ. 2416
ฝ่ายใน : พ.ศ. 2442
ประเทศไทย ประเทศไทย
จำนวนสำรับฝ่ายหน้า : 200 สำรับ
ฝ่ายใน : 100 สำรับ
ผู้สมควรได้รับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งปวง
(พระราชทานตามอัธยาศัย)
มอบเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงอิสริยยศและระลึกถึงความดีความชอบของบุคคลซึ่งได้รักษาแผ่นดินมาแต่ก่อนถึงปัจจุบัน
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์
รองมารามาธิบดี ชั้นมหาโยธิน
หมายเหตุฝ่ายหน้า : มอบสืบตระกูลได้
ฝ่ายใน : มีคำนำหน้านาม

ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีอักษรย่อว่า ท.จ.ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า (บุรุษ) จำนวน 200 สำรับ และฝ่ายใน (สตรี) จำนวน 100 สำรับ โดยทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 13 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[1]

ลักษณะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถแบ่งออกสำหรับพระราชทานให้ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน โดยมีลักษณะดังนี้[2]

ฝ่ายหน้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายหน้า 1 สำรับ ประกอบด้วย ดารา ดวงตรา และแพรแถบ

  • ดวงตรา
    • ด้านหน้า มีลักษณะเป็นรัศมี 8 แฉก ลงยาสีชมพู มีรัศมีทองแทรกตามระหว่างแฉก มีใบชัยพฤกษ์สองข้าง ลงยาสีเขียว กลางดวงตรามีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอบลงยาสีขาบ มีอักษรทองว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ" เบื้องบนมี พระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีลงยาสีเขียว สีแดง สีขาบ สีขาว
    • ด้านหลัง มีลักษณะเหมือนด้านหน้า แต่ที่กลางดวงตราเป็นรูปช้างไอราพต ลงยาสีขาว บนหลังช้างเป็นรูปตรีศูล ลงยาสีขาว ที่ขอบมีอักษรทองว่า "ปีระกา เบญจศก ศักราช ๑๒๓๕" รอบขอบเป็นรูปจักร ลงยาสีขาวพื้นแดง

ดวงตราใช้สำหรับประดับห้อยกับแพรแถบสีชมพู กว้าง 5 เซนติเมตร สำหรับสวมคอ

  • ดารา มีลักษณะเป็นรัศมีเงิน 8 แฉก กลางดารามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จ.จ.จ." ทำด้วยทองคำ อยู่บนพื้นลงยาสีชมพู ขอบลงยาสีขาบ มีอักษรทองว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ" ใช้สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

ฝ่ายใน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายใน 1 สำรับ ประกอบด้วย

  • ดวงตรา มีลักษณะเหมือนเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า สำหรับพระราชทานฝ่ายใน แต่ไม่ประดับเพชร ใช้สำหรับห้อยกับสายสะพายสีชมพู ขนาดกว้าง 7.5 เซนติเมตร ใช้สะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา หรือจะใช้ห้อยกับแพรแถบสีชมพูขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

ลักษณะพิเศษ

เครื่องยศ

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษนั้นจะได้รับพระราชทานเครื่องยศประกอบด้วย

1. เสื้อครุยปัก จ.จ.จ. (ฝ่ายในพระราชทานผ้าปักทองแล่ง)

2.พานหมากทองคำเครื่องพร้อม

3.คณโฑทองคำพร้อมพานรอง

4.กาน้ำทองคำพร้อมโต๊ะทองคำ

5.กระโถนทองคำ

ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ. และ ท.จ.ว จะมีบรรดาศักดิ์เทียบเท่า พระยาพานทอง

คำนำหน้านาม (ฝ่ายใน)

สตรีที่ได้รับพระราชานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถใช้คำนำหน้านามได้ คือ ใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" สำหรับผู้ที่สมรสแล้ว หรือ "คุณ" สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส

สำหรับสตรีในราชสกุล ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปให้ใช้คำนำพระนามตามเดิม ไม่ว่าจะได้รับพระราชทานชั้นใด ส่วนสตรีในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง เมื่อได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำนามว่า "ท่านผู้หญิง"[3]

การสืบตระกูล (ฝ่ายหน้า)

ดูบทความหลัก การสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษนั้น สามารถสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ โดยบุตรชายของผู้ได้รับพระราชทานนั้น จะได้รับสืบตระกูลเมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว และการสืบตระกูลจะสิ้นสุดลงเพียงชั้นนี้เท่านั้น[2]

เกียรติยศศพ

ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อวายชนม์จะใช้คำว่า "ถึงแก่อนิจกรรม"[4][5] และจะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ แต่ถ้าผู้วายชนม์เป็นสมาชิกราชตระกูล ดำรงตำแหน่งสำคัญ หรือได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลอื่นที่มีลำดับเกียรติสูงกว่าก็อาจได้รับเกียรติยศศพสูงขึ้น โดยจะได้รับพระราชทานเกียรติยศศพ ดังนี้

ท.จ.ว. (ฝ่ายใน)

  1. โกศแปดเหลี่ยม
  2. น้ำหลวงอาบศพ
  3. ฉัตรเบญจา 4คันตั้งประกอบเกียรติยศข้างโกศศพ และ 10คัน เวลาแห่เวียนเมรุ
  4. รถวอเชิญโกศศพ
  5. เพลิงหลวง

ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)

เกียรติยศศพเหมือน ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชออสริยาภรณ์ ทุติยจุลจอมเกล้า ทุกประการ

การพระราชทาน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้ามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประธานของเครื่องอิสริยาภรณ์ รวมทั้งทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะพระราชทานแก่ผู้ที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรและเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้ ปัจจุบัน เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ แบ่งออกสำหรับพระราชทานฝ่ายหน้าจำนวน 200 สำรับ และฝ่ายในจำนวน 100 สำรับ[6] นอกจากนี้ ยังสามารถพระราชทานแก่เจ้านายหรือผู้มีเกียรติจากต่างประเทศซึ่งไม่นับรวมกับจำนวนดังกล่าว

ผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจะได้รับใบประกาศนียบัตรทรงลงพระปรมาภิไธยและประทับพระราชลัญจกร เว้นแต่กรณีที่ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าแล้วเลื่อนขึ้นรับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจะไม่มีใบประกาศนียบัตร และเมื่อผู้ได้รับพระราชทานปฐมจุลจอมเกล้าวายชนม์ลง ผู้รับมรดกจะต้องส่งเครื่องราชอิรสริยาภรณ์คืนภายใน 30 วัน ถ้าส่งคืนไม่ได้กองมรดกจะต้องรับผิดชอบ ส่วนกรณีผู้ได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลจุลจอมเกล้าในชั้นที่สูงขึ้นหรือทรงเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ถ้าผู้รับพระราชทานไม่สามารถส่งคืนได้ ต้องชดใช้ราคาสำหรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นั้น[2] สำหรับฝ่ายหน้าต้องชดใช้เป็นจำนวนเงิน 341,000 บาท และฝ่ายใน 187,000 บาท[7]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
  2. 2.0 2.1 2.2 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช ๒๔๘๔, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ก, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๕๕๓
  3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จาก สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  4. สุดสงวน, ตอน “การใช้ภาษาในภาวะวิกฤต”, สกุลไทย, ฉบับที่ 2629, ปีที่ 51, ประจำวันอังคารที่ 8 มีนาคม 2548
  5. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ออนไลน์) พ.ศ. 2542 : อสัญกรรม
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๐๙, เล่ม ๘๓, ตอน ๓๓ ก, ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙, หน้า ๒๕๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การปรับราคาชดใช้แทนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่ไม่สามารถส่งคืนตามกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๕, ตอน พิเศษ ๔๙ ง, ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑, หน้า ๘

แหล่งข้อมูลอื่น