ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หิน เหล็ก ไฟ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Realandsure (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 100: บรรทัด 100:
== อื่นๆ ==
== อื่นๆ ==


ชื่อภาษาอังกฤษของ [[หิน เหล็ก ไฟ]] มีความหมาย ดังนี้
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ ('''SMF''') มีความหมาย ดังนี้


'''As Solid As Stone''' แกร่ง ดั่ง หินผา ('''S''')
'''As Solid As Stone''' แกร่ง ดั่ง หินผา ('''S''')

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:00, 16 พฤษภาคม 2561

หิน เหล็ก ไฟ
ไฟล์:SMF-Logo.png.png
ข้อมูลพื้นฐาน
รู้จักในชื่อ Stone Metal Fire, SMF
ที่เกิดไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
แนวเพลงเฮฟวี่เมทัล
ช่วงปีพ.ศ. 2534 - 2538, 2546 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงอาร์เอส โปรโมชั่น, เรียลแอนด์ชัวร์
สมาชิก
อดีตสมาชิก
เว็บไซต์stonemetalfire.com

หิน เหล็ก ไฟ (อังกฤษ: Stone Metal Fire, ตัวย่อ: SMF) เป็นวงดนตรีแนวร็อกและเฮฟวี่เมทัลสัญชาติไทย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2534 สังกัด อาร์เอส โปรโมชัน และเรียลแอนด์ชัวร์

ประวัติ

ไฟล์:SMF1-Member.png

พ.ศ. 2534 ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) นักร้องนำจากวง ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ และ นำพล รักษาพงษ์ (โต) มือกีตาร์จากวง Index, 50 Miles, Dexter และวงกิตติ กาญจนสถิตย์ ร่วมกับเพื่อนนักดนตรีอีกสองคน คือ เกียรติชัย แซ่โอ๊ว (หมูพีท) มือเบสจากวง Zex, Blue Planet และปรีชา ทองนพ (แจ็ค) มือกลอง จัดตั้งวงดนตรีแนวเฮฟวี่เมทัล เพื่อทำเดโมและออกผลงาน โดยแรกเริ่มนั้นมีความพยายามใช้ชื่อวงหลายชื่อ อาทิ บรึห์, อิมมอทอล และหนุมาน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจะใช้ชื่อวงว่าอะไร

ต่อมาในปีเดียวกัน เกิดการเปลี่ยนแปลงสมาชิก คือ ณรงค์ ศิริสารสุนทร (รงค์) จากวง Burn และ ดิ โอฬาร โปรเจ็คต์ ได้มาทำหน้าที่เล่นเบส, สมาน ยวนเพ็ง (หมาน) จากวง 50 Miles รับหน้าที่เล่นกลอง และ จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป) จากวง Force ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มารับหน้าที่เล่นกีตาร์เพิ่มอีกหนึ่งคน โดย ทิวา สาระจูฑะ (บรรณาธิการนิตยสารสีสัน) ตั้งชื่อวงให้ว่า หิน เหล็ก ไฟ (ชื่อภาษาอังกฤษ Stone Metal Fire ตัวย่อ SMF)

เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2536 หิน เหล็ก ไฟ ออกอัลบั้มชุดแรกซึ่งมีชื่อเดียวกับชื่อวง สังกัดค่าย อาร์เอส โปรโมชัน โดยได้บันทึกเสียงที่ห้องอัด เซ็นเตอร์ สเตจ ของแอ๊ด คาราบาว เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ ยอม, เพื่อเธอ, นางแมว, พลังรัก, สู้, ร็อคเกอร์ โดยอัลบั้มหิน เหล็ก ไฟ เป็นอัลบั้มที่มียอดจำหน่ายมากกว่า 1 ล้านตลับ และได้รับรางวัลสีสันอะวอร์ดส์ ครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2536) สาขาศิลปินหน้าใหม่ยอดเยี่ยม และโปรดิวเซอร์ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต (Short Charge Shock Rock Concert) ครั้งที่ 1 ที่ สนามกีฬาอินดอร์สเตเดียม หัวหมาก ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ของวงการดนตรีไทย โดยเป็นวงร็อกวงแรกของไทยที่ทำยอดขายได้ถึง 1 ล้านตลับ และคอนเสิร์ต ช็อต ชาร์จ ช็อค ร็อก คอนเสิร์ต ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยเป็นคอนเสิร์ตของศิลปินไทยที่มียอดผู้ชมมากที่สุดในปี พ.ศ. 2536 จนต้องจัดครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2537 และ พ.ศ. 2538

หิน เหล็ก ไฟ ออกอัลบั้มอีกเป็นชุดที่ 2 ในปี พ.ศ. 2538 ในชื่อชุด คนยุคเหล็ก มีเพลงที่ได้รับความนิยมเช่น คนยุคเหล็ก, หลงกล, มั่วนิ่ม, คิดไปเอง เป็นต้น จากนั้นได้ประกาศพักและยุบวงในปลายปี พ.ศ. 2538

ต้นปี พ.ศ. 2539 โป่ง ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ กับ ป๊อป จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย ได้จัดตั้งวงใหม่ชื่อวง เดอะ ซัน ออกอัลบั้มอีกทั้งสิ้น 3 ชุดระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2543 (โดยปี พ.ศ. 2543 เดอะ ซันได้ย้ายสังกัดไปอยู่กับ เบเกอรี่มิวสิค ออกอัลบั้ม ถนนพระอาทิตย์ และเปลี่ยนมือกลองเป็น ปิงปอง ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค จากวง ไฮ-ร็อก)

วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2546 หิน เหล็ก ไฟ ได้กลับมารวมตัวกันอีกครั้ง และเล่นคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญาฯ ณ สวนลุมพินีวัน

ในปี พ.ศ. 2548 หิน เหล็ก ไฟ ได้กลับมาทำอัลบั้มอีกครั้ง โดยมีปิงปอง ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค จากวง ไฮ-ร็อก รับหน้าที่มือกลองเช่นเดียวกับเดอะ ซันชุดที่ผ่านมา และเพิ่มสมาชิกใหม่เข้ามาอีก คือ หมู ประทีป วรภัทร์ ในตำแหน่งคีย์บอร์ด และออกอัลบั้มเป็นชุดที่ 3 ในชื่อชุด Never Say Die มีเพลงที่ได้รับความนิยมคือ ศรัทธา

ปี พ.ศ. 2549 ออกอัลบั้มชุดที่ 4 Acoustique นำ 11 บทเพลงดังมาทำใหม่ในสไตล์อคูสติก รวมกับ 2 เพลงใหม่ "อภัย" และ "ดีดี" รวมทั้งหมด 13 เพลง

วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556 หิน เหล็ก ไฟได้แสดงสดในคอนเสิร์ต Short Charge Shock Rock Legend เหล็ก พันธุ์ เสือ ร่วมกับเสือ ธนพล อินทฤทธิ์ และร็อกอำพัน ที่อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี

ปี พ.ศ. 2557 ได้รับรางวัล Seed Hall Of Fame ใน Seed Awards ครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2556

สมาชิกหลัก

  • ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) ตำแหน่ง ร้องนำ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • ณรงค์ ศิริสารสุนทร (รงค์) ตำแหน่ง เบส (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • นำพล รักษาพงษ์ (โต) ตำแหน่ง กีตาร์ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป) ตำแหน่ง กีตาร์ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค (ปิงปอง) ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)

สมาชิกทัวร์คอนเสิร์ต

  • ปฐมพงศ์ สมบัติพิบูลย์ (โป่ง) ตำแหน่ง ร้องนำ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • จักรรินทร์ ดวงมณีรัตนชัย (ป๊อป) ตำแหน่ง กีตาร์ (พ.ศ. 2534 - 2538), (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • ดำรงสิทธิ์ ศรีนาค (ปิงปอง) ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน)
  • ประทีป วรภัทร์ (หมู) ตำแหน่ง คีย์บอร์ด (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
  • เถลิงพงษ์ มีมุทา (เปิ๊ด) ตำแหน่ง เบส (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน)

อดีตสมาชิก

  • สมาน ยวนเพ็ง (หมาน) ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2534 - 2537) (เสียชีวิต 5 สิงหาคม พ.ศ. 2545)
  • Sel Vester Lester C.Esteban ตำแหน่ง กลอง (พ.ศ. 2537 - 2538)
  • เกียรติชัย แซ่โอ๊ว (หมูพีท) ตำแหน่ง เบส (สมาชิกยุคก่อตั้ง พ.ศ. 2534)
  • ปรีชา ทองนพ (แจ็ค) ตำแหน่ง กลอง (สมาชิกยุคก่อตั้ง พ.ศ. 2534) (เสียชีวิต 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560)

ผลงาน

  • ชุดที่ 1: หิน เหล็ก ไฟ (2536)
  • อัลบั้มพิเศษ : ร็อกเพื่อนกัน (2537)
  • ชุดที่ 2: คนยุคเหล็ก (2538)
  • ชุดที่ 3: Never Say Die (2548)
  • ชุดที่ 4: Acoustique (2549)

อื่นๆ

ชื่อย่อภาษาอังกฤษ (SMF) มีความหมาย ดังนี้

As Solid As Stone แกร่ง ดั่ง หินผา (S)

As Strong As Metal แข็ง ดั่ง เหล็กกล้า (M)

As Fierce As Fire เร่าร้อน ดั่ง เปลวไฟ (F) [1]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น