ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองชลบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
OktaRama2010 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{กล่องข้อมูล เทศบาล
{{กล่องข้อมูล เทศบาล
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->
<!-- ข้อมูลจำเป็น -->
| เทศบาล= เมืองชลบุรี
| เทศบาล = เมืองชลบุรี
| ตรา = {{#property:p158}}
| seal= chon.gif
| ชื่ออังกฤษ= Chon Buri Town Municipality
| ชื่ออังกฤษ = Chon Buri Town Municipality
<!-- ข้อมูลเสริม -->
<!-- ข้อมูลเสริม -->
| คำขวัญ=พระพุทธสิหิงค์สูงค่า พระปิดตาลือเลื่อง เมืองเก่าบางปลาสร้อย ถิ่นซอยคลองจอง ดังก้องประเพณีวิ่งควาย
| คำขวัญ = พระพุทธสิหิงค์สูงค่า พระปิดตาลือเลื่อง เมืองเก่าบางปลาสร้อย ถิ่นซอยคลองจอง ดังก้องประเพณีวิ่งควาย
| ชื่อนายกเทศมนตรี= นายเดโช คงชยาสุขวัฒน์
| ชื่อนายกเทศมนตรี = นายเดโช คงชยาสุขวัฒน์
| รหัสiso=2099
| รหัสiso = 2099
| พื้นที่= 3.5
| พื้นที่ = 3.5
| ประชากร=29,048
| ประชากร = 29,048
| ความหนาแน่น= 8,299
| ความหนาแน่น = 8,299
| ปีสำรวจประชากร=2558
| ปีสำรวจประชากร = 2558
<!-- ข้อมูลสำนักงาน (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
<!-- ข้อมูลสำนักงาน (ข้อมูลเพิ่มเติม) -->
| สำนักงาน= สำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี <br> ถนนวชิรปราการ ตำบลบางปลาสร้อย <br> [[อำเภอเมืองชลบุรี]] [[จังหวัดชลบุรี]]
| สำนักงาน = สำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี <br> ถนนวชิรปราการ ตำบลบางปลาสร้อย <br> [[อำเภอเมืองชลบุรี]] [[จังหวัดชลบุรี]]
| โทรศัพท์=
| โทรศัพท์ =
| โทรสาร=
| โทรสาร =
| เว็บไซต์= http://www.chonburicity.go.th/ http://www.chonburicity.go.th/
| เว็บไซต์ = http://www.chonburicity.go.th/ http://www.chonburicity.go.th/
}}
}}
[[ไฟล์:chon.jpg|thumb|200px|สำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี]]
[[ไฟล์:chon.jpg|thumb|200px|สำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:58, 11 พฤษภาคม 2561

เทศบาลเมืองชลบุรี
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันThetsaban Tambon Chon Buri Town Municipality
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลเมืองชลบุรี
ตรา
คำขวัญ: 
พระพุทธสิหิงค์สูงค่า พระปิดตาลือเลื่อง เมืองเก่าบางปลาสร้อย ถิ่นซอยคลองจอง ดังก้องประเพณีวิ่งควาย
ประเทศ ไทย
จังหวัด[[จังหวัด{{{province}}}|{{{province}}}]]
อำเภอ{{{district}}}
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีนายเดโช คงชยาสุขวัฒน์
พื้นที่
 • ทั้งหมด3.5 ตร.กม. (1.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2558)
 • ทั้งหมด29,048 คน
 • ความหนาแน่น8,299 คน/ตร.กม. (21,490 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.{{{code}}}
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี
ถนนวชิรปราการ ตำบลบางปลาสร้อย
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
เว็บไซต์http://www.chonburicity.go.th/ http://www.chonburicity.go.th/
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
ไฟล์:Chon.jpg
สำนักงานเทศบาลเมืองชลบุรี

เทศบาลเมืองชลบุรี หรือ เมืองชลบุรี ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี และมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ เป็นเทศบาลขนาดใหญ่ จัดตั้งขึ้นโดยยกฐานะจากสุขาภิบาลเมืองชลบุรี เป็นเทศบาลเมืองชลบุรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้าที่ 1651 มีพื้นที่ 0.56 ตารางกิโลเมตร ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงขยายเขตเทศบาลครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2480 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 45 หน้า 1760 มีพื้นที่เพิ่มจากเดิมอีก 4.01 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันมีพื้นที่รวม 4.57 ตารางกิโลเมตร โดยในจำนวนนี้เป็นพื้นที่บนบกประมาณ 3.5 ตารางกิโลเมตร ที่เหลืออีกประมาณ 1.07 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่น้ำ

ประวัติ

สมัยกรุงศรีอยุธยา

เมืองชลบุรีปรากฏเป็นหลักฐานในทำเนียบศักดินา หัวเมือง ตราเมื่อมหาศักราช 1298 ตรงกับ พ.ศ. 1919 ชลบุรีมีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้รักษาเมืองเป็นที่ "ออกเมืองชลบุรีศรีมหาสมุทร" ศักดินา 2,400 ไร่ ส่งส่วยไม้แดง

ในปี พ.ศ. 2309 รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ขณะที่กรุงศรีอยุธยาถูกกองทัพพม่าล้อมอยู่นั้น กรมหมื่นเทพพิพิธซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์หนึ่งในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ แต่ถูกเนรเทศไปลังกา ได้กลับมาเกลี้ยกล่อมรวบรวมชายฉกรรจ์ทางหัวเมืองภาคตะวันออก ได้แก่ เมืองจันทบูร เมืองระยอง เมืองบางละมุง เมืองชลบุรี และเมืองปราจีนบุรี เข้าร่วมกองทัพอ้างว่าจะยกไปช่วยกรุงศรีอยุธยารบพม่า ในครั้งนั้นชาวชลบุรีได้ให้การสนับสนุนเข้าร่วมในกองทัพเป็นจำนวนมาก จนกระทั่งเมืองชลบุรีแทบจะกลายเป็นเมืองร้าง เมื่อกรมหมื่นเทพพิพิธยกไพร่พลไปตั้งมั่นที่ปราจีนบุรีแล้ว จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลพระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ ขออาสาช่วยป้องกันพระนคร แต่พระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์ทรงพระราชดำริว่า กรมหมื่นเทพพิพิธเป็นคนมักใหญ่ใฝ่สูงจนถูกเนรเทศมาแล้วครั้งหนึ่ง การที่มาเรียกระดมผู้คนเข้าเป็นกองทัพโดยพลการครั้งนี้ก็เป็นการทำผิดกฎมณเทียรบาล จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาไปปราบกรมหมื่นเทพพิพิธจนบอบช้ำ จากนั้นพม่ายังได้ส่งกองทัพออกไปโจมตีกองทัพกรมหมื่นเทพพิพิธจนแตกกระจายไปอีก จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าข้าศึก เมื่อ พ.ศ. 2310 ชาวชลบุรี ได้ให้ความร่วมมือกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้อิสรภาพอย่างใกล้ชิด จนสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมา

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จประพาสเมืองชลบุรี หลายครั้งหลายหน เพราะเมืองชลบุรีเป็นเมืองชายทะเล เหมาะแก่การพักผ่อน มีทัศนียภาพงดงามและไม่ไกลจากกรุงเทพมหานครมากนัก

เมื่อปี พ.ศ. 2350 พระสุนทรโวหาร หรือ สุนทรภู่ รัตนกวีของไทย ได้เดินทางจากกรุงเทพมหานคร เพื่อไปเยี่ยมบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง ได้เขียนไว้ในนิราศเมืองแกลง กล่าวถึงเมืองต่าง ๆ เมื่อเข้าถึงเขตชลบุรีแล้วไปตามลำดับจากเหนือไปใต้ คือ บางปลาสร้อย หนองมน บ้านไร่ บางพระ บางละมุง นาเกลือ พัทยา นาจอมเทียน ห้วยขวาง หนองชะแง้ว (ปัจจุบันเรียกบ้านชากแง้ว อยู่ในเขตอำเภอบางละมุง ซึ่งเป็นทางที่จะไปอำเภอแกลง จังหวัดระยองได้)

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปีพ.ศ. 2437 ได้ทรงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองราชอาณาจักรที่เป็นหัวเมืองต่าง ๆ แบบโบราณที่แยกกันอยู่ในบังคับบัญชาของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกรมท่า ดูไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยากแก่การปกครองดูแลให้ทั่งถึงและเสมอเหมือนกันได้ โดยให้หัวเมืองต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทยเพียงกระทรวงเดียวหรือหน่วยงานเดียว คือ การรวบรวมหัวเมืองทั้งหลายขึ้นเป็นมณฑลนั้น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2435 - 2458) ได้ทรงนิพนธ์ไว้ใน "พำระบันทึกความทรงจำ" ซึ่งมีตอนที่กล่าวถึงเมืองชลบุรีไว้ว่า "รวมหัวเมืองทางลำน้ำบางปะกง คือ เมืองปราจีนบุรี 1 เมืองนครนายก 1 เมืองพนมสารคาม 1 เมืองฉะเชิงเทรา 1 รวม 4 หัวเมือง เป็นเมืองมณฑล 1 เรียกว่า "มณฑลปราจีน" ตั้งที่ว่าการมณฑลเมืองปราจีน (ต่อเมื่อโอนหัวเมืองในกรมท่ามาขึ้นกระทรวงมหาดไทย จึงย้ายที่ทำการมณฑลลงมาตั้งที่เมืองฉะเชิงเทรา เพราะขยายอาณาเขตมณฑลต่อลงไปทางชายทะเล รวมเมืองพนัสนิคม เมืองชลบุรี และเมืองบางละมุง เพิ่มให้อีก 3 รวมเป็น 7 เมืองด้วยกัน) แต่คงเรียกชื่อว่ามณฑลปราจีนอยู่ตามเดิม" ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงในรูปการปกครองประเทศครั้งใหญ่ โดยพระราชบัญญัติ ระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกเขตการปกครองแบบเมือง ทั่วราชอาณาจักรแล้วตั้งขึ้นเป็นจังหวัดแทน มีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา เมืองชลบุรีจึงเป็นจังหวัดชลบุรี (แต่เปลี่ยนข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด) และต่อมาเทศบาลเมืองชลบุรีจึงได้ถูกจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2478 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 หน้าที่ 1651

สวนตำหนักน้ำ เทศบาลเมืองชลบุรี

ภูมิอากาศและภูมิประเทศ

เทศบาลเมืองชลบุรีมีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ชายหาดมีลักษณะเว้าแหว่งและลุ่มต่ำ น้ำทะเลท่วมถึง มีป่าชายเลนบ้างเล็กน้อย ลักษณะอากาศโดยทั่วไป โดยภาพรวมของจังหวัดมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.82 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดในช่วง 29.57 องศาเซลเซียส ถึง 36.90 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 34.50 ลักษณะฝนเป็นแบบมรสุมเขตร้อน คือ ฝนจะตกในระหว่างมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ปริมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนตุลาคม โดยมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,495.50 มิลลิเมตร ต่อปี

ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองชลบุรี (พ.ศ. 2524–2553)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 32.6
(90.7)
33.2
(91.8)
34.2
(93.6)
35.2
(95.4)
34.2
(93.6)
33.7
(92.7)
33.2
(91.8)
33.0
(91.4)
32.6
(90.7)
32.7
(90.9)
32.8
(91)
32.4
(90.3)
33.32
(91.97)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 22.1
(71.8)
24.0
(75.2)
25.5
(77.9)
26.6
(79.9)
26.4
(79.5)
26.3
(79.3)
26.1
(79)
25.8
(78.4)
25.1
(77.2)
24.5
(76.1)
23.3
(73.9)
21.6
(70.9)
24.78
(76.6)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 9.9
(0.39)
14.3
(0.563)
47.5
(1.87)
74.1
(2.917)
175.3
(6.902)
147.7
(5.815)
140.6
(5.535)
154.1
(6.067)
268.9
(10.587)
208.9
(8.224)
48.8
(1.921)
5.5
(0.217)
1,295.6
(51.008)
ความชื้นร้อยละ 66 70 71 71 75 74 74 75 79 78 69 63 72.1
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย (≥ 1 mm) 1 3 4 8 14 14 15 18 20 17 6 1 121
แหล่งที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา

สัญลักษณ์ประจำเมืองชลบุรี

ตราเทศบาลเมืองชลบุรี

ตราเทศบาลเมืองชลบุรี

เทศบาลเมืองชลบุรีมีตราประจำเทศบาลเป็นรูปเรือสำเภาสมัยโบราณ ใบแข็ง สามเสา แล่นฝ่าคลื่นในทะเลอยู่ในวงกลมสองชั้น วงกลมรอบนอก มีตัวอักษรคำว่า "เทศบาลเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี" ซึ่งเป็นการสื่อสารความ หมายว่า จังหวัดชลบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ชายทะเลแต่เดิมมักมีการคมนาคม ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ โดยทางเรือที่สำคัญของจังหวัดชลบุรี ใน สมัยนั้น การติดต่อค้าขายกับภาคอื่น ๆ ของประเทศต้องใช้เรือสำเภาใบแข็ง ซึ่งเป็นเรือที่สามารถฝ่าคลื่นลมทางทะเลได้เป็นอย่างดี จึงได้นำเรือสำเภา แล่นฝ่าคลื่นมาเป็นดวงตราประจำเทศบาลเมืองชลบุรี

คำขวัญเมืองชลบุรี

"พระพุทธสิหิงค์สูงค่า พระปิดตาลือเลื่อง เมืองเก่าบางปลาสร้อย ถิ่นซอยคล้องจอง ดังก้องประเพณีวิ่งควาย"

ที่ตั้งและอาณาเขต

ชุมชนริมน้ำเมืองชลบุรี

ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอำเภอบริเวณริมฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย มีเนื้อที่ประมาณ 4.567 ตร.กม. หรือ 2854.4 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านโขด ตำบลบางปลาสร้อยและตำบลมะขามหย่ง โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้

ประชากร

จำนวนประชากรในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2558 มีทั้งสิ้น 29,048 คน แยกเป็น ชาย 13,710 คน หญิง 15,338 คน จำนวน 12,573 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ทั้งหมด 6,387 คน ต่อตารางกิโลเมตร หากเฉลี่ยตามพื้นที่บนบกที่อาศัยได้จริง เฉลี่ย 8,299 คน ต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งนับว่ามีความหนาแน่นมาก

ลักษณะโดยทั่วไปของประชากร

การตั้งถิ่นฐานของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี โดยทั่วไปมักจะหนาแน่นมาก บริเวณชุมชนชายทะเลด้านทิศตะวันตกของเมืองและชุมชนในเมือง อาชีพสำคัญของประชากรคือ พาณิชยกรรมโดยเฉพาะในย่านชุมชนจะมีร้านค้าติดต่อกันเป็นแถว ตลอดแนวถนนสายสำคัญได้แก่ ถนนวชิรปราการ ถนนเจตน์จำนงค์ ถนนโพธิ์ทอง ถนนราษฎร์ประสงค์และถนนสุขุมวิทเป็นต้น

การศึกษา

ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี มีโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษา 2 แห่ง, สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดชลบุรี 1 แห่ง คือ โรงเรียนชลกันยานุกูล, สังกัดกรมอาชีวศึกษา 1 แห่ง คือ วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดชลบุรี, สังกัดการศึกษาเอกชน 8 แห่ง สำหรับเทศบาลเมืองชลบุรี มีโรงเรียนในสังกัด 5 แห่ง เปิดสอนตั้งแต่ระดับเด็กก่อนวัยเรียนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดทั้ง 5 แห่ง ได้แก่

  1. โรงเรียนเทศบาลอินทปัญญา วัดใหญ่อินทาราม
  2. โรงเรียนเทศบาลวัดกำแพง (อุดมพิทยากร)
  3. โรงเรียนเทศบาลชลราษฎร์นุเคราะห์ (วัดต้นสน)
  4. โรงเรียนเทศบาลวัดโพธิ์
  5. โรงเรียนเทศบาลวัดเนินสุทธาวาส

การสาธารณสุข

ในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี มีสถานพยาบาล 1 แห่ง คลินิก 92 แห่ง ในส่วนของเทศบาลมีศูนย์บริการสาธารณสุข 2 แห่ง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองการแพทย์ บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้นแก่ประชาชนในเขตเทศบาล โดยศูนย์บริการฯ 1 ตั้งอยู่ที่บริเวณตลาดวัดกลาง และแห่งที่ 2 ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกถนนพระยาสัจจา

ชุมชนในเขตเมืองชลบุรี

ลักษณะชุมชนในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี ประชาชนส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในบริเวณย่านการค้าในถนนสายหลัก และอีกส่วนหนึ่งจะอาศัยอยู่บริเวณแนวชายฝั่งทะเลซึ่งมักเรียกว่าชุมชน ชายทะเล โดยในเขตเทศบาลเมืองชลบุรีแบ่งชุมชนออกเป็น 18 ชุมชน ได้แก่

  1. ชุมชนท้ายบ้าน 1
  2. ชุมชนท้ายบ้าน 2
  3. ชุมชนท่าเรือพลี
  4. ชุมชนศรีนิคม

การคมนาคม

ชลบุรีเป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญของภาคตะวันออก ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 80 กิโลเมตร และมีระบบคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ส่วนในเขตเทศบาลีถนนสายหลักที่สำคัญ คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) โดยเริ่มจากกรุงเทพ ฯ ผ่านจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และสิ้นสุดที่จังหวัดตราด

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น