ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไชยา มิตรชัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


== การศึกษา ==
== การศึกษา ==
ไชยาจบการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนอรุณประเสริฐ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนจะมาต่อชั้นประถมที่โรงเรียนวัดรัตนชัย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนวัดไชยมงคล [[จังหวัดอ่างทอง]] ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียน[[ไทยรัฐ]]วิทยา 6 ที่วัด[[สระแก้ว]] ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนบางเสด็จวิทยาคม วัดสระแก้ว ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก็ลาออกมาเรียนต่อหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนจนได้วุฒิมัธยมปลาย และปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ ภาคพิเศษ [[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
ไชยาจบการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนอรุณประเสริฐ จังหวัดพระนครศรีนนทบุรี ก่อนจะมาต่อชั้นประถมที่โรงเรียนวัดรัตนชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดไชยมงคล [[จังหวัดอ่างทอง]] ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียน[[ไทยรัฐ]]วิทยา 6 ที่วัด[[สระแก้ว]] ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนบางเสด็จวิทยาคม วัดสระแก้ว ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก็ลาออกมาเรียนต่อหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนจนได้วุฒิมัธยมปลาย และปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ ภาคพิเศษ [[มหาวิทยาลัยคำแหง]]


== เข้าสู่วงการ ==
== เข้าสู่วงการ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:46, 5 พฤษภาคม 2561

ไชยา มิตรชัย
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด5 เมษายน พ.ศ. 2517 (49 ปี)
เสมา สมบูรณ์
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประเทศไทย ประเทศไทย
คู่สมรสกัญจน์ลดากร (พจนา) น้อยวัฒน์
บุตรพรภัสร์ชนก มิตรชัย
ชุติพันธ์ มิตรชัย
อาชีพนักแสดงลิเก, นักแสดง, นักร้อง, พิธีกร
ฐานข้อมูล
IMDb

ไชยา มิตรชัย หรือชื่อจริงว่า เสมา สมบูรณ์ ชื่อเล่น เอ เป็นนักแสดงลิเกชาวไทยที่มีชื่อเสียง ซึ่งต่อมาได้เป็นนักร้องและนักแสดง

ประวัติ

ไชยา เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2517 ที่อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีบ้านเกิดอยู่หลังสถานีรถไฟอยุธยา เป็นบุตรของสมศักดิ์ ใจกว้าง กับวงเดือน สมบูรณ์ มีน้องสาวหนึ่งคน คือ แอน มิตรชัย กับน้องชายอีกหนึ่งคน คือ มิตร มิตรชัย เป็นนักแสดงลิเกด้วยกันทั้งสามพี่น้อง

การศึกษา

ไชยาจบการศึกษาระดับอนุบาลจากโรงเรียนอรุณประเสริฐ จังหวัดพระนครศรีนนทบุรี ก่อนจะมาต่อชั้นประถมที่โรงเรียนวัดรัตนชัย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่โรงเรียนวัดไชยมงคล จังหวัดอ่างทอง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 6 ที่วัดสระแก้ว ชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนบางเสด็จวิทยาคม วัดสระแก้ว ชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก็ลาออกมาเรียนต่อหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนจนได้วุฒิมัธยมปลาย และปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ ภาคพิเศษ มหาวิทยาลัยคำแหง

เข้าสู่วงการ

ครอบครัวไชยา มิตรชัย ทั้งพ่อแม่ปู่ย่าและตายาย ต่างก็เกี่ยวข้องกับวงการลิเกทั้งสิ้น โดยทั้งพ่อและแม่เป็นถึงพระเอกนางเอกลิเก แต่ครอบครัวมีฐานะยากจน เมื่ออายุได้ 4 – 5 ขวบก็ตามพ่อแม่ไปโรงลิเกบ้างแล้ว แต่เพราะความยากจน พ่อแม่จึงได้นำลูกชายไปฝากไว้กับหลวงพ่อฉบับ ขันติโก เจ้าอาวาสวัดสระแก้ว อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง โดยในช่วงนั้น วัดแห่งนี้ดูแลเด็กกำพร้าและเด็กยากจนมากถึงราว 2 พันคน ขณะที่ตัวพ่อเองก็สมัครเป็นครูฝึกลิเกให้กับเด็กที่อยู่ที่นี่ ซึ่งตอนนั้นก็มีคณะลิเกเด็กอยู่หลายคณะ โดยทุกคณะต่างก็ใช้ชื่อเดียวกันหมดว่า “ ลิเกเด็กกำพร้า วัดสระแก้ว “ เมื่อโด่งดังขึ้นมาในภายหลัง หลายคนก็เลยคิดว่า ไชยา มิตรชัย เป็นกำพร้า ขณะที่ในความเป็นจริงโครงการรับเลี้ยงเด็กด้อยโอกาสของทางวัด มีชื่อเต็มว่า “ เด็กกำพร้าและเด็กยากจนวัดสระแก้ว “ แต่เมื่อจะขึ้นป้ายคณะลิเก มีการตัดทอนชื่อให้สั้นลงเพื่อการสะดวกในการเขียนป้าย

นายสมศักดิ์ ใช้เวลารวบรวมและฝึกลิเกให้เด็กที่วัดแห่งนี้อยู่ 3 เดือน ก็นำไปแสดงให้หลวงพ่อพิจารณาว่าสมควรออกงานในฐานะลิเกของทางวัดได้หรือไม่ ซึ่งก็ปรากฏว่าผ่านได้ไม่ยาก และหนึ่งในสมาชิกคณะลิเกเด็กนี้ก็มีไชยา มิตรชัย ซึ่งตอนนั้นเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และอายุแค่ 10 ขวบรวมอยู่ด้วย พร้อมกันนั้นก็ได้ตั้งชื่อลูกชายสำหรับใช้ในการแสดงว่า ไชยา มิตรชัย ซึ่งเป็นการเอาชื่อของ มิตร ชัยบัญชา กับ ไชยา สุริยัน สองพระเอกภาพยนตร์ชื่อดังของฟ้าเมืองไทยมาผสมกัน

ไชยา มิตรชัย ออกแสดงครั้งแรกที่ตลาดพระโขนง และประสบความสำเร็จ คณะถูกจองมาเล่น 9 คืน แต่มีเรื่องที่เตรียมไว้เล่นแค่ 2 เรื่อง และถึงแม้จะเล่นซ้ำในงานเดียวกัน คณะลิเกเด็กของไชยา มิตรชัยก็ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากเช่นเดิม ทั้งยังได้รับการติดต่อให้คณะไปเล่นที่พระประแดงด้วยในช่วงนั้น ทำให้ครั้งนั้น คณะลิเกได้เงินที่ประชาชนบริจาคกลับวัดเกือบล้านบาท โดยส่วนตัว ไชยา มิตรชัย ก็ได้รับรางวัลจากผู้ชมมาเกือบแสนบาท และนับตั้งแต่นั้นคณะลิเกเด็กของวัดสระแก้วที่มีพระเอกตัวเล็กๆชื่อไชยา มิตรชัย ก็เป็นลิเกชูโรง และหารายได้ และสิ่งของบริจาคเข้าวัดอีกหลายปี

ช่วงที่เรียนอยู่ชั้นมัธยมต้น ดาราในละครแนวจักรๆวงศ์ๆคนหนึ่งมาถ่ายละครแถวๆวัดสระแก้ว และเห็นว่าวัดมีเด็กมาก จึงแนะนำสุริยา ชินพันธุ์ ให้ลองมาคัดเอาเด็กที่วัดไปเล่นละคร และไชยา มิตรชัยก็เป็นผู้ที่ถูกคัดเลือกไปเล่นเป็นพระเอกในละครเรื่องแรกในชีวิตชื่อ “ เจ้าชายน้อย “ ตามด้วย” พยัคฆ์สองแผ่นดิน “ ก่อนที่จะหยุดงานละครไป 5 ปี เนื่องจากหลวงพ่อฉบับเห็นว่าไชยา มิตรชัย ทำงานมากเกินไป

ในช่วงที่ถ่ายละครเรื่องแรกที่ชลบุรี คณะลิเกของไชยา มิตรชัย ไปเปิดการแสดงที่พัทยา และที่นี่เองที่สุริยา ชินพันธุ์ ได้มาดูไชยา มิตรชัย เปิดการแสดงลิเก และได้ยินน้ำเสียงของเขา จึงพาเข้าห้องบันทึกเสียง โดยผลงานเพลงชุดแรกที่ชื่อ “ เด็กกำพร้า “ ของไชยา มิตรชัย เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตเด็กกำพร้าวัดสระแก้ว และเทปคาสเส็ตที่ผลิตออกมาไม่ได้ถูกนำออกจำหน่าย แต่นำมาแจกญาติโยมที่มาบริจาคช่วยวัด แต่เพลงชุดนี้ก็โด่งดังมากในหมู่บรรดาญาติโยมทั่วสารทิศ และบางคนก็ควักเงินบริจาคเพิ่มให้กับวัดเมื่อได้รับเทปชุดนี้ ดังนั้นจึงมีการทำเทปตามออกมาอีกหลายชุด แต่ไชยา มิตรชัย มาโด่งดังอย่างเป็นเรื่องเป็นราว หลังจากที่ออกผลงานเพลงชุด “ กระทงหลงทาง “ ที่มีการโปรโมตในหมู่ประชาชนทั่วไป

หลังหลวงพ่อฉบับมรณภาพในปี 2531 ไชยา มิตรชัย ที่รักและเคารพหลวงพ่ออย่างมาก ประกอบกับการมีงานล้นตัว และการที่ได้ย้ายมาพักที่บ้านพักของพ่อและแม่ ก็จึงห่างๆจากวัดมาเล็กน้อย ก็จึงตัดสินใจแยกคณะลิเกออกมา และไม่ได้ใช้ชื่อวัดอีกต่อไป

ชีวิตส่วนตัว

ไชยาแต่งงานกับคุณ พจนา น้อยวัฒน์ (เปลี่ยนชื่อเป็น กัญจน์ลดากร) ผู้จัดการส่วนตัวและปัจจุบันทั้งสองอยู่ด้วยกันตลอด แต่ผู้อื่นไม่ค่อยรู้ และมีลูกด้วยกัน 2 คนคือแป้ง พรภัสร์ชนก มิตรชัย และแชมป์ ชุติพันธ์ มิตรชัย

ผลงาน

ผลงานละคร

ผลงานเพลง

  • กำพร้าอาวรณ์
  • เทปการกุศล
  • เจ้าบ่าวสมมุติ
  • กระท่อมสาวเมิน
  • ผัวนอกบัญชี
  • หลงรักดอกฟ้า
  • ริมไกรราศ
  • สวยที่สุด
  • มันๆ เค็มๆ
  • หมูหนีมีแต่ผัก
  • เทพีชายคลอง
  • ต้อนไว้ไปบ้านเรา
  • กระทงหลงทาง
  • ลูกถูกลืม
  • เพลงรักจากไชยา
  • ไชยาลาบวช
  • สัญญา 2 ปี
  • กระทงถึงฝั่ง
  • หมู หมู หมู
  • ไม่ธรรมดา

เพลงประกอบละคร

  • เพลงประกอบละคร เทพบุตรขนตางอน
    • อยากบอกรักเธอ
    • ขอเกี่ยวแล้วกัน
    • อ้อมแขนคนธรรมดา
    • สายไปหรือเปล่า
    • ไม่กล้าอีกแล้ว
    • ขอให้บอก
    • สักวันคงเข้าใจ
    • ไม่รู้ฟ้าเมตตาหรือเปล่า
    • ทำดีไม่ได้ดี
    • บ้านทุ่งหรรษา
  • ใจพี่ยังมีรัก
  • เพลงประกอบละคร ผู้ใหญ่เห็ด Vs กำนันหอย
    • อยากนอนกอดใครสักคน
    • เกี่ยวข้าวเกี่ยวรัก
    • สวรรค์ติดดิน
    • เอ้อระเหย ลอยชาย
    • หลบหน้ามาน้อยใจ
    • กริ๊งๆ
    • วัดกันด้วยอะไร
    • หัวใจหล่นหาย
    • รักพอเพียง
  • หัวบันไดไม่แห้ง Vol. 1
  • เพลงประกอบละคร เทพบุตรชุดวิน
  • เพลงประกอบละคร ผมไม่อยากเป็นสายลับ
  • เพลงประกอบละคร แม่ค้า
  • เพลงประกอบละคร สัญญาเมื่อสายัณห์
  • เพลงประกอบละคร เพลงรักข้ามคลอง
  • เพลงประกอบละคร เพลงลำเพลงรัก

ผลงานลิเก

  • ผู้ชนะสิบทิศ ตอน ลูกร่วมนม
  • แก้วหน้าม้า
  • สุดแค้น แสนรัก
  • แมสอดสะอื่น
  • สุดทางรัก
  • ลูกในโรงช้าง(Recommend)
  • 3 เกลอเจอรัก
  • พันท้ายนรสิงห์
  • รอขันหมาก
  • ฝายหลวง ตอน 1&2(shoot @STUDIO บ้าน 400)
  • แม่นาคพระโขนง ตอน 1&2(Eng Sub) (shoot @STUDIO บ้าน 400)
  • สายเกินแก้
  • จอมใจชัยกานต์
  • หยดเลือดชายสไบ
  • ใครฆ่ามหาราช
  • ขุนช้างขุนแผน
  • อีสาวสุพรรณ
  • Happy Birthday Live Concert Vol.1 (A)
  • Happy Birthday Live Concert Vol.2 (Ann)
  • พระอภัยมณี ตอนที่ 1+2 (N'Mit)(Eng Sub)
  • กำพร้าร้องไห้(ตอนเด็ก) (รางวัลชนะเลิศ ลิเกประชัน 6 คณะ)
  • สี่ดาบปราบไพรี
  • อโศกมหาราช
  • ลิขิตฟ้า
  • สามพี่น้อง
  • ลูกที่ถูกลืม
  • เรือล่มในหนอง
  • ศกุนตลา
  • ทั้งรักทั้งแค้น
  • พี่เลี้ยง
  • ลูกเชลย

ผลงานกรรมการ

ผลงานพิธีกร

ภาพยนตร์

  • เดอะโกร๋น ก๊วน กวน ผี - พระเอกลิเก (2004)
  • เวิ้งปีศาจ - พระเอกลิเก (2007)
  • พันท้ายนรสิงห์ (2015)

เกียรติยศ

  • รางวัลพระพิฆเนศทองคำ จากเพลง คอยนางที่อ่างทอง
  • รางวัลเมขลาทองคำ จากละคร ลูกที่ถูกลืม
  • รางวัลเมขลาทองคำ จากละคร แก้วหน้าม้า
  • รางวัลศิลปินดีเด่นประเภทส่งเสริมพรพะพุทธศาสนา จากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี ฯ
  • รางวัลศิลปินไทยใส่ใจ ภาษาอังกฤษ จากรมว.สาธารณสุข นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
  • รางวัลศิลปินต้านยาเสพติด
  • รางวัลศิลปินลูกทุงชายฮอตแห่งปี จาก TV INSIDE HOT AWARDS ครั้งที่ 2 (2553)

อ้างอิง

  • หนังสือ “ ลิเก...ชีวิต ไชยา มิตรชัย เรื่องโดย ไชยา มิตรชัย เรียบเรียงโดย รัชนี เที่ยงธรรมตีพิมพ์เมื่อ พฤษภาคม 2549

แหล่งข้อมูลอื่น

เครือข่ายสังคม