ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าสายสีเทา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหน่วยไมล์
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
|character =
|character =
|stock =
|stock =
|linelength = {{convert|26|km|mi|sp=us}}
|linelength = 26 กิโลเมตร
|tracklength =
|tracklength =
|notrack =
|notrack =
|gauge =
|gauge =
|el = [[รางที่สาม]]
|el = [[รางที่สาม]]
|speed = {{convert|80|km/h|mph|abbr=on}}
|speed = 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง
|elevation =
|elevation =
|map =
|map =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:41, 29 เมษายน 2561

รถไฟฟ้าสายสีเทา
ข้อมูลทั่วไป
สถานะโครงการ
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
ปลายทาง
จำนวนสถานี39
การดำเนินงาน
รูปแบบรางเดี่ยว
ผู้ดำเนินงานบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2566
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง26 กิโลเมตร
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

รถไฟฟ้าสายสีเทา (วัชรพล-พระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ) เป็นหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2553-2572 โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นเส้นทางใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2552 พร้อมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีฟ้า ในรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวที่มีเส้นทางตามแนวแกนเหนือ-ใต้ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของที่พักอาศัยบริเวณถนนประดิษฐ์มนูธรรมและย่านสาธุประดิษฐ์ แนวเส้นทางเริ่มจากถนนรามอินทรา ชานเมืองทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ลงมาทางทิศใต้ตามถนนประดิษฐ์มนูธรรม เลียบทางพิเศษฉลองรัช เข้าสู่ใจกลางเมืองย่านทองหล่อ ถนนสุขุมวิท ถนนพระรามที่ 4 คลองเตย ถนนรัชดาภิเษก-พระราม 3 ไปสิ้นสุดบริเวณเชิงสะพานพระราม 9 ทางด้านทิศใต้ของพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ รวมระยะทาง 26 กิโลเมตร คาดว่าจะมีปริมาณผู้โดยสาร 340,000 เที่ยวต่อวันในปี พ.ศ. 2572

ปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้ฟื้นฟูโครงการรถไฟฟ้าสายสีเทาขึ้นมาใหม่ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2562 และโครงการดังกล่าวยังเป็นโครงการเร่งรัดของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการให้กรุงเทพมหานครดำเนินการโดยเร็วแทนการรับบริหารงานรถไฟฟ้าสายสีเขียว เนื่องด้วยใช้ทุนในการดำเนินโครงการน้อยกว่า และคืนทุนได้รวดเร็วกว่า โดยการดำเนินการจะเริ่มดำเนินการในส่วนเหนือเป็นลำดับแรก เนื่องมาจากแนวเส้นทางขาดจากกัน ทำให้ดำเนินการได้ไวกว่าดำเนินการพร้อมกันทั้งหมด

พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน

เขตบางเขน, ลาดพร้าว, บึงกุ่ม, วังทองหลาง, ห้วยขวาง, วัฒนา, คลองเตย, ยานนาวา, บางคอแหลม, ธนบุรี และบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

แนวเส้นทาง

เป็นเส้นทางยกระดับความสูง 14 เมตรจากระดับดินไปตามแนวถนนเดิม แบ่งเป็น 2 ช่วงหลัก 3 ช่วงย่อยได้แก่

สายสีเทาส่วนเหนือ (วัชรพล-ทองหล่อ)

เริ่มต้นจากบริเวณแยกต่างระดับรามอินทรา จุดตัดถนนรามอินทรา ถนนวัชรพล ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และทางพิเศษฉลองรัช มุ่งหน้าลงมาทางทิศใต้ตามแนวเขตทางของถนนประดิษฐ์มนูธรรม โดยวางโครงสร้างบนพื้นที่ด้านข้างทางเท้าและทางจักรยาน ผ่านถนนนวลจันทร์ ถนนสุคนธสวัสดิ์ ยกข้ามถนนประเสริฐมนูกิจ (ถนนเกษตร-นวมินทร์) ผ่านซอยลาดพร้าว 87 เข้าถนนประดิษฐ์มนูธรรม ผ่านแยกประชาธรรม จุดตัดถนนประชาอุทิศ ลอดใต้ทางพิเศษศรีรัช ที่แยกพระราม 9-ประดิษฐ์มนูธรรม เลี้ยวที่แยกเอกมัยเหนือมาทางทิศตะวันตกเข้าสู่แนวเกาะกลางถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แล้วเลี้ยวลงมาทางทิศใต้เข้าสู่แนวเกาะกลางถนนทองหล่อตลอดสาย สิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณปากซอยสุขุมวิท 55 รวมระยะทาง 16.25 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 15 สถานี

สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 1 (พระโขนง - พระราม 3)

แนวเส้นทางเริ่มต้นจากบริเวณแยกพระโขนง จุดตัดถนนสุขุมวิท กับถนนพระรามที่ 4 แล้ววิ่งตามเส้นทางถนนพระรามที่ 4 มาจนถึงสี่แยกวิทยุ แนวเส้นทางจะเบี่ยงลงไปยังถนนสาทรโดยใช้คลองสาทรเป็นแนวเส้นทางจนถึงแยกสาทร-นราธิวาส แนวเส้นทางจะเบี่ยงซ้ายเข้าถนนนราธิวาสราชนครินทร์แล้ววิ่งตามเส้นทางเดียวกับ รถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ แล้วเบี่ยงขวาสิ้นสุดเส้นทางบริเวณซอยพระรามที่ 3 ซอย 58 รวมระยะทาง 12.17 กิโลเมตร มีทั้งสิ้น 15 สถานี

สายสีเทาส่วนใต้ ช่วงที่ 2 (พระราม 3 - ท่าพระ)

แนวเส้นทางต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้ เริ่มจากบริเวณซอยพระรามที่ 3 ซอย 58 วิ่งตามแนวถนนพระรามที่ 3 ลอดใต้ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม สะพานพระราม 9 (ทางพิเศษเฉลิมมหานคร) แล้วข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในแนวคู่ขนานกับสะพานพระราม 3 เข้าสู่ฝั่งธนบุรี ผ่านสี่แยกมไหสวรรย์เข้าถนนรัชดาภิเษก และสิ้นสุดเส้นทางบริเวณแยกท่าพระ ถนนรัชดาภิเษก รวมระยะทาง 11.48 กิโลเมตร มี 9 สถานี

สถานี

มี 39 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด โดยสถานีในส่วนใต้เป็นการนำเส้นทางรถโดยสารด่วนพิเศษ สายสาทร-ราชพฤกษ์ มาดัดแปลงเป็นเส้นทางรถไฟฟ้า เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการยกเลิกการให้บริการรถโดยสารด่วนพิเศษ

รหัส ชื่อสถานี เชื่อมต่อกับ / หมายเหตุ วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
แขวง/ตำบล เขต/อำเภอ จังหวัด
เส้นทางส่วนเหนือ (คลองสี่ - วัชรพล - ทองหล่อ)
คลองสี่ สายสุขุมวิท สถานีคลองสี่ ยังไม่กำหนด ลาดสวาย ลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
สายไหม สายไหม สายไหม กรุงเทพมหานคร
จตุโชติ ออเงิน
เทพรักษ์ ท่าแร้ง บางเขน
ร่วมมิตรพัฒนา
GL01 วัชรพล สายสีชมพู สถานีวัชรพล
GL02 อยู่เย็น ลาดพร้าว ลาดพร้าว
GL03 ประดิษฐ์มนูธรรม 27 สายสีน้ำตาล สถานีต่างระดับฉลองรัช
GL04 ประดิษฐ์มนูธรรม 25 ศูนย์ซ่อมบำรุง (ช่วงคลองสี่-ทองหล่อ)
GL05 โยธินพัฒนา
GL06 ประดิษฐ์มนูธรรม 15
GL07 สังคมสงเคราะห์
GL08 ลาดพร้าว 71 สายสีเหลือง สถานีลาดพร้าว 71 สะพานสอง วังทองหลาง
GL09 ศรีวรา วังทองหลาง
GL10 ศูนย์แพทย์พัฒนา
GL11 วัดพระราม 9 สายสีส้ม สถานีวัดพระราม 9 บางกะปิ ห้วยขวาง
GL12 เพชรบุรี 47
GL13 แจ่มจันทร์ คลองตันเหนือ วัฒนา
GL14 ทองหล่อ 10
GL15 ทองหล่อ สายสุขุมวิท สถานีทองหล่อ
เส้นทางส่วนใต้ (พระโขนง - ลุมพินี - ท่าพระ)
GL16 พระโขนง สายสุขุมวิท สถานีพระโขนง ยังไม่กำหนด พระโขนง คลองเตย กรุงเทพมหานคร
GL17 บ้านกล้วยใต้
GL18 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
GL19 เกษมราษฎร์ คลองตัน
GL20 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สายสีน้ำเงิน สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คลองเตย
GL21 คลองเตย สายสีน้ำเงิน สถานีคลองเตย
สายสีแดงอ่อน สถานีคลองเตย
GL22 งามดูพลี ทุ่งมหาเมฆ / ลุมพินี สาทร / ปทุมวัน
GL23 ลุมพินี สายสีน้ำเงิน สถานีลุมพินี
GL24 สวนพลู ทุ่งมหาเมฆ / สีลม สาทร / บางรัก
GL25 ช่องนนทรี สายสีลม สถานีช่องนนทรี ทุ่งมหาเมฆ สาทร
GL26 นราธิวาสฯ
GL27 นางลิ้นจี่
GL28 รัชดา-นราธิวาส ช่องนนทรี ยานนาวา
GL29 คลองช่องนนทรี
GL30 พระราม 3
GL31 คลองภูมิ ศูนย์ซ่อมบำรุง (ช่วงพระโขนง-ท่าพระ)
GL32 คลองด่าน
GL33 สาธุประดิษฐ์ บางโพงพาง
GL34 สะพานพระราม 9
GL35 เจริญราษฎร์ บางโคล่ บางคอแหลม
GL36 เจริญกรุง
GL37 มไหสวรรย์ สายสีม่วง สถานีสำเหร่ บุคคโล ธนบุรี
GL38 ตลาดพลู สายสีลม สถานีตลาดพลู ดาวคะนอง
GL39 ท่าพระ สายสีน้ำเงิน สถานีท่าพระ วัดท่าพระ บางกอกใหญ่

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น