ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
ลบหน่วยไมล์
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
| character =
| character =
| stock = [[ซีเมนส์ เดซิโร]] [[บริติช เรล คลาส 360|บริติช เรล คลาส 360/2]]
| stock = [[ซีเมนส์ เดซิโร]] [[บริติช เรล คลาส 360|บริติช เรล คลาส 360/2]]
| linelength = {{km to mi|28.6}} (est.)
| linelength = 28.6 กิโลเมตร
| tracklength =
| tracklength =
| notrack =
| notrack =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:38, 29 เมษายน 2561

รถไฟฟ้าความเร็วสูงสายตะวันออก และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน
สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง
ข้อมูลทั่วไป
สถานะเปิดให้บริการ
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, ชลบุรี, ระยอง
ปลายทาง
จำนวนสถานี16
เว็บไซต์เว็บไซต์หลักโครงการ (รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับและรถไฟฟ้าใต้ดิน
ระบบรถไฟความเร็วสูง
ผู้ดำเนินงานบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงซอยศูนย์วิจัย สำนักบริหารโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย
ขบวนรถซีเมนส์ เดซิโร บริติช เรล คลาส 360/2
ผู้โดยสารต่อวัน(ณ ตุลาคม พ.ศ. 2559)
65,000 คน[1]
ประวัติ
เปิดเมื่อ23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน พญาไท-สุวรรณภูมิ)
พ.ศ. 2566 (รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ดอนเมือง-พญาไท)
พ.ศ. 2570 (รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก)
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง28.6 กิโลเมตร
รางกว้างรางมาตรฐาน
ระบบจ่ายไฟเหนือหัว
ความเร็ว160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ช่วงในเมือง)
250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (ช่วงนอกเมือง)
แผนที่เส้นทาง

ดอนเมือง ท่าอากาศยานดอนเมือง
กรุงเทพอภิวัฒน์
สถานีบางซื่อ
พญาไท
ราชปรารภ ทางรถไฟสายตะวันออก
มักกะสัน
รามคำแหง ทางรถไฟสายตะวันออก
หัวหมาก
บ้านทับช้าง ทางรถไฟสายตะวันออก
ลาดกระบัง ทางรถไฟสายตะวันออก
สุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ไฟล์:SARL map.gif
แผนที่โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 1 พญาไท-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ
รถไฟฟ้า City Line

รถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพมหานคร-ระยอง (อังกฤษ: Eastern High Speed Train) หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ เดิมคือ โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ หรือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ ที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง และ รถไฟความเร็วสูง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และโครงการระบบรถไฟความเร็วสูง ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม

ประวัติ

ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบขนส่งมวลชนความเร็วสูง เพื่อใช้เป็นเส้นทางในการเข้า-ออกท่าอากาศยานฯ โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างทั้งงานโยธา และจัดหาผู้ให้บริการ แต่เนื่องมาจากความล่าช้าในการปรับแบบท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพื่อรองรับโครงการดังกล่าว ทำให้การกก่อสร้างสามารถเริ่มดำเนินการได้เมื่อ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ก่อนเปิดใช้ท่าอากาศยานเพียงไม่กี่เดือน และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นในหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเรื่องข้อสรุปของผู้ดำเนินการรถไฟฟ้า ความปลอดภัยโดยรวมของทั้งระบบ รวมไปถึงการที่ผู้รับเหมาไม่ยอมเซ็นโอนโครงการให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และความล่าช้าในการก่อตั้งบริษัทดำเนินการ จนในที่สุดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ก็เริ่มดำเนินการเปิดทดสอบแบบวงจำกัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งการทดสอบดังกล่าวผู้เข้าร่วมทดสอบจะไม่สามารถเข้าไปในเขตของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ จากนั้นก็ได้เปิดทดสอบแบบไม่จำกัดจำนวนอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม-7 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นการทดสอบของระบบการเดินรถอัตโนมัติอีกด้วย จากนั้นก็ได้ทดสอบระบบกับสื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆ เรื่อยมาจนถึงช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งจะเป็นกำหนดการเปิดทดสอบการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น ทำให้ต้องเลื่อนการทดสอบจริงออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งดำเนินการเปิดทดสอบฟรีในช่วงเช้าและเย็น จากนั้นก็ได้ทำการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ภายหลังได้มีการศึกษาในการเปลี่ยนระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานให้กลายเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง เพื่อเชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานหลักอันได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา เนื่องจากรัฐบาลต้องการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง และเล็งเห็นว่าโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน ใช้รางรูปแบบเดียวกัน คือรางขนาดมาตรฐานความกว้าง 1.435 เมตร หากต้องการดำเนินโครงการ เพียงแค่เปลี่ยนระบบอาณัติสัญญาณในระบบเดิมให้เป็นระบบกลางของรถไฟความเร็วสูง สั่งซื้อขบวนรถใหม่ ก็สามารถเปิดใช้งานต่อได้ทันทีเพราะโครงสร้างโดยรวมนั้นรองรับต่อการปรับแบบเป็นรถไฟความเร็วสูงอยู่แล้ว

ปัจจุบันเส้นทางสายนี้มีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินแบบคลองแห้งและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ไปยังศูนย์คมนาคมบางซื่อและท่าอากาศยานดอนเมือง และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และเดินทางไปถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบและยื่นขอผลกระทบสิ่งแวดล้อม เนื่องจากต้องมีการเพิ่มเส้นทางบางส่วนเข้ามา แต่เส้นทางส่วนใหญ่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงพร้อมสำหรับการก่อสร้างในทันที คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างทั้งโครงการได้ใน พ.ศ. 2561

แนวเส้นทาง

รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ และมีระบบรถไฟฟ้าให้บริการสองระบบในเส้นทางเดียว มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางจากชานเมืองและจังหวัดใกล้เคียงด้านตะวันออกและชานเมืองด้านทิศเหนือ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานทั้งสามแห่ง เข้าสู่เขตใจกลางเมืองได้อย่างรวดเร็ว แนวเส้นทางเริ่มต้นจากท่าอากาศยานดอนเมืองทางฝั่งทิศเหนือ วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อโดยไม่จอดรับผู้โดยสารรายทาง และลดระดับลงเป็นรถไฟคลองแห้งผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เลี้ยวขวาวิ่งตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก แล้วยกระดับกลับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ที่สถานีพญาไท เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ที่สถานีราชปรารภ เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่สถานีมักกะสัน เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่สถานีหัวหมาก จากนั้นวิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี ไปจนถึงย่านลาดกระบัง เลี้ยวขวาเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วลดระดับลงเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน จากนั้นวิ่งย้อนกลับ ยกระดับเป็นรถไฟฟ้ายกระดับ แล้วเลี้ยวขวาวิ่งเลียบทางพิเศษระหว่างเมือง กรุงเทพฯ-ชลบุรี ผ่านสถานีรถไฟฉะเชิงเทรา สถานีรถไฟชลบุรี เชื่อมกับท่าเรือแหลมฉบังที่สถานีรถไฟศรีราชา ผ่านสถานีรถไฟเมืองพัทยา แล้วเลี้ยวขวาเข้าพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดระยอง จากนั้นวิ่งย้อนกลับแล้วเลี้ยวขวา ผ่านจังหวัดระยอง และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่จังหวัดตราด รวมระยะทางทั้งโครงการกว่า 300 กิโลเมตร

รูปแบบการให้บริการและส่วนบริการ

รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง มีรูปแบบการให้บริการเมื่อแล้วเสร็จทั้งหมดสองรูปแบบ ทั้งแบบรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสาย City Line โดยแบ่งรูปแบบการให้บริการตามพื้นที่ตั้งของสถานีดังต่อไปนี้

  • ช่วงในเมืองและชานเมืองกรุงเทพมหานคร (Urban Area) : ให้บริการในรูปแบบ รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน สาย City Line จากสถานีท่าอากาศยานดอนเมือง - สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ แล้วตีกลับ จอดรับผู้โดยสารตามสถานีรายทางทั้งสิ้น 10 สถานี คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง - บางซื่อ - พญาไท - ราชปรารภ - มักกะสัน - รามคำแหง - หัวหมาก - บ้านทับช้าง - ลาดกระบัง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ใช้เวลาเดินทาง 30 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง และ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยาน รับส่งผู้โดยสาร 4 สถานี ได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง - บางซื่อ - มักกะสัน และ ท่าอากาศยานสุวรรรภูมิ โดยจำกัดความเร็วสูงสุดที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 20 นาทีจากดอนเมืองถึงสุวรรณภูมิ
  • ช่วงพื้นที่ระหว่างเมือง (Intercity Area) : ให้บริการในรูปแบบ รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ระยอง จากสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - สถานีรถไฟระยอง แล้วตีกลับ จอดรับผู้โดยสารตามสถานีรายทางทั้งสิ้น 7 สถานี คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ฉะเชิงเทรา - ชลบุรี - ศรีราชา - พัทยา - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา - ระยอง ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมงจากสุวรรณภูมิ-ระยอง และ รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยาน รับส่งผู้โดยสาร 2 สถานี คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยจำกัดความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมงจากสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

จากการศึกษาครั้งล่าสุด มีการลงความเห็นเพิ่มเติมเอาไว้ดังต่อไปนี้

  1. เส้นทางในเมือง (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ) ใช้รถไฟฟ้าขบวนเดิมให้บริการในรูปแบบสาย City Line และให้บริการรถไฟความเร็วสูงแทน Express Line โดยที่รถ Express Line เดิมจะนำไปปรับปรุงเป็นรถ City Line เพื่อเพิ่มความถี่
  2. เมื่อรถไฟความเร็วสูงมีความถี่ที่คงที่ จะยกเลิกรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งสาย เพื่อให้ผู้โดยสารหันไปใช้รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อนแทน

ขบวนรถไฟฟ้า

ความเร็วของตัวรถไฟฟ้า

รถไฟฟ้าที่ใช้ในโครงการทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้าประเภทความเร็วสูง ซึ่งมีความเร็วปกติอยู่ที่ 160-200 กิโลเมตร/ชั่วโมง แต่มีความเร็วขณะเข้าประแจที่ 40 - 60 กิโลเมตร/ชั่วโมง และมีความเร็วขณะเข้าประแจลงศูนย์ซ่อมบำรุงที่ย่านคลองตันที่ 125 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ลักษณะขบวนรถ

โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมินั้น ใช้ขบวนรถ Desiro UK Class 360 ซึ่งเป็นแบบเดียวกับรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฮีทโธรว์ ผลิตโดยบริษัทซีเมนส์ มีความเร็วสูงสุด 160 กม./ชม. ภายในขบวนรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (คาดน้ำเงิน) จะมีเก้าอี้แบบแข็งสองแถวตั้งตามความยาวของตัวรถ เหมือนกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร ส่วนขบวนรถไฟฟ้าด่วนสุวรรณภูมิ (คาดแดง) จะเป็นเบาะกำมะหยี่ตั้งตำแหน่งตามความกว้างของรถ แบ่งเป็นสองแถว แถวละสองที่นั่ง โดยทั้งสองแบบล้วนปรับอากาศทั้งสิ้น

รายชื่อสถานีรถไฟฟ้า

ชื่อและรหัสของสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
A1 สุวรรณภูมิ สายสีเงิน สถานีสุวรรณภูมิ (โครงการ) 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 สมุทรปราการ
A2 ลาดกระบัง สายสีแดงอ่อน สถานีลาดกระบัง (โครงการ) กรุงเทพมหานคร
A3 บ้านทับช้าง สายสีแดงอ่อน สถานีบ้านทับช้าง (โครงการ)
A4 หัวหมาก สายสีเหลือง สถานีหัวหมาก
สายสีแดงอ่อน สถานีหัวหมาก (โครงการ)
A5 รามคำแหง สายสีแดงอ่อน สถานีรามคำแหง (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่ารามคำแหง 1
A6 มักกะสัน สายสีน้ำเงิน สถานีเพชรบุรี
สายสีแดงอ่อน สถานีมักกะสัน (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าอโศก
A7 ราชปรารภ สายสีส้ม สถานีราชปรารภ (โครงการ)
A8 พญาไท สายสุขุมวิท สถานีพญาไท
สายสีแดงอ่อน สถานีพญาไท (โครงการ)
จุดเชื่อมต่อการเดินทาง
สถานีรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานฯ เชื่อมต่อกับ หมายเหตุ
สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของโครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส สายบางนา-สุวรรณภูมิที่บริเวณอาคารผู้โดยสาร 2 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
สถานีหัวหมาก สถานีพัฒนาการ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
สถานีมักกะสัน ทางเชื่อมยกระดับ จากชั้นขายตั๋ว City Line แล้วไปยังทางออกที่ 1 ของสถานีเพชรบุรี
สถานีราชปรารภ สถานีราชปรารภ ของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม
สถานีพญาไท
ทุกสถานี ยกเว้นสถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทางรถไฟสายตะวันออก

โครงการต่อขยาย

โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก มีโครงการสร้างทับบนเส้นทางเดิมของรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับท่าอากาศยานหลักในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งสามแห่ง อันได้แก่ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา จังหวัดชลบุรี และเขตบริหารเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยโครงการต่อขยายมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

เส้นทาง

โครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก มีการแบ่งระยะการก่อสร้างออกเป็นทั้งหมด 3 ระยะ เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อตามการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยมีรายละเอียดดังนี้

เส้นทางเชื่อมสถานีกลางบางซื่อ (พญาไท - บางซื่อ)

สำหรับส่วนต่อขยายส่วนนี้มีแผนเพื่อที่จะรองรับผู้โดยสารจากทางสถานีกลางบางซื่อ ให้สามารถไปยังสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง และท่าอากาศยานสุวรรณภูมิต่อไปได้ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก็สามารถไปยังสถานีกลางบางซื่อได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามแผนล่าสุดได้มีการยกเลิกการจอดที่สถานีราชวิถี เนื่องจากรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ไม่ได้มาเชื่อมต่อกับโครงการที่สถานีนี้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหยุดรถที่สถานีนี้อีกต่อไป

รายชื่อสถานีอย่างเป็นทางการ
ชื่อย่อ ชื่อสถานี รูปแบบสถานี หมายเหตุ จุดเปลี่ยนเส้นทาง
พญาไท - บางซื่อ
A8 พญาไท (Phayathai) ยกระดับ สถานีปลายทางของโครงการในปัจจุบัน รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา: สถานีพญาไท
bgcolor = แม่แบบ:BTS color|
A9 สถานีกลางบางซื่อ (Bang Sue) อาคารผู้โดยสาร รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง: สถานีกลางบางซื่อ
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล: สถานีบางซื่อ bgcolor = แม่แบบ:BTS color|

เส้นทางช่วงเหนือ (บางซื่อ - ท่าอากาศยานดอนเมือง)

รายชื่อสถานีอย่างเป็นทางการ
ชื่อย่อ ชื่อสถานี รูปแบบสถานี หมายเหตุ จุดเปลี่ยนเส้นทาง
บางซื่อ - ดอนเมือง
A9 สถานีกลางบางซื่อ (Bang Sue) อาคารผู้โดยสาร รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง: สถานีกลางบางซื่อ
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล: สถานีบางซื่อ bgcolor = แม่แบบ:BTS color|
A10 สถานีท่าอากาศยานดอนเมือง (Don Mueang Airport) ยกระดับ รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง : สถานีดอนเมือง

เส้นทางส่วนตะวันออก (ลาดกระบัง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา)

รายชื่อสถานีอย่างเป็นทางการ
ชื่อย่อ ชื่อสถานี รูปแบบสถานี หมายเหตุ รถด่วน รถธรรมดา
ลาดกระบัง - สุวรรณภูมิ - ระยอง
HE1 ฉะเชิงเทรา (Chachoengsao) ยกระดับ x
HE2 ชลบุรี (Chonburi) ยกระดับ x
HE3 ศรีราชา (Sriracha) ยกระดับ x
HE4 พัทยา (Pattaya) ยกระดับ x
HE5 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา (U-Tapao Airport) ใต้ดิน x x
HE6 ระยอง (Rayong) ยกระดับ คงไว้เป็นสถานีในอนาคต x

ขอบเขตการดำเนินการ และสิทธิ์ในการดำเนินการ

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก จะใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการ ผู้รับสัมปทานจะต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาโครงการ และจะมีสิทธิ์ในสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการตามไปด้วย โดยโครงการมีระยะเวลาของสัญญาสัมปทานที่ 50 ปี แบ่งเป็นระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการ การปรับปรุงสถานีเดิม และการพัฒนาพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง 5 ปี 2 เดือน (กันยายน พ.ศ. 2561 - ตุลาคม พ.ศ. 2566) และระยะเวลาในการดำเนินการเชิงพาณิชย์ และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ 44 ปี 10 เดือน (ตุลาคม พ.ศ. 2566 - กันยายน พ.ศ. 2611) รายละเอียดของสิทธิ์ที่สามารถดำเนินการได้มีดังต่อไปนี้

  1. สิทธิ์ในการบริหารเชิงพาณิชย์และใช้งานพื้นที่สถานีกลางบางซื่อในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ทั้งการขายบัตรโดยสาร การจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร การให้บริการเสริมบนขบวนรถ และพื้นที่บนสถานี ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งมอบให้
  2. สิทธิ์ในการบริหารเชิงพาณิชย์และใช้งานพื้นที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิชั้นใต้ดินในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่นการจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร การให้บริการลำเลียงสัมภาระขึ้นสู่อากาศยาน และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามเงื่อนไขในสัญญาการร่วมลงทุนระหว่างระหว่างผู้ชนะการประมูล และบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
  3. สิทธิ์ในการบริหารเชิงพาณิชย์และใช้งานพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เช่นการจอดรับ-ส่งผู้โดยสาร การให้บริการลำเลียงสัมภาระขึ้นสู่อากาศยาน และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามเงื่อนไขในสัญญาการร่วมลงทุนระหว่างระหว่างผู้ชนะการประมูล และกองทัพเรือไทย
  4. สิทธิ์ในการใช้โครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และขบวนรถไฟฟ้า 7 ขบวนในการเปิดให้บริการโดยผู้ชนะการประมูลไม่ต้องเสียค่าดำเนินการใด ๆ ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย
  5. สิทธิ์ในการใช้งานพื้นที่และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการก่อสร้างเส้นทางช่วงพญาไท - บางซื่อ - ท่าอากาศยานดอนเมือง และเส้นทางช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา และให้บริการรถไฟฟ้าบนเส้นทางดังกล่าว
  6. สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง (สถานีมักกะสัน) จำนวน 140 ไร่ รวมถึงสิทธิ์ในการเข้าออกพื้นที่
  7. สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่รอบๆ สถานีศรีราชา จำนวน 30 ไร่ รวมถึงสิทธิ์ในการเข้าออกพื้นที่
  8. สิทธิ์ในการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ช่วง 885 – 890 MHz/930 – 935 MHz ในการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ETC Level 2 บนระบบ GSM-R 900
  9. สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บนสถานีรถไฟฟ้า แบ่งเป็น
    1. สถานีที่ใช้ร่วมกับโครงการอื่น ๆ อันได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีท่าอากาศยานอู่ตะเภา
    2. สถานีโดยเฉพาะของโครงการ อันได้แก่ สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา และสถานีพัทยา

เงินสนับสนุนโครงการและงบประมาณ

โครงการได้รับการอนุมัติงบประมาณในการดำเนินการทั้งหมดที่ 296,241 ล้านบาท โดยรัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนให้ไม่เกิน 120,514 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณสูงสุดที่คำนวณจากค่าโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ

แผนการปฏิบัติงาน

  • ประกาศเชิญชวนนักลงทุน : มกราคม-กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  • ให้เอกชนยื่นข้อเสนอการลงทุน : กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
  • ประกาศผลผู้ได้รับคัดเลือก : พฤษภาคม พ.ศ. 2561
  • ลงนามในสัญญาสัมปทาน : สิงหาคม พ.ศ. 2561
  • เริ่มก่อสร้าง และเปลี่ยนถ่ายผู้ให้บริการ : กันยายน พ.ศ. 2561
  • เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ : ภายใน พ.ศ. 2566

ความคืบหน้า

  • 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับประชาชาติธุรกิจว่า จะเปิดให้ประมูลโครงการภายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 โดยเชิญชวนผู้เข้าร่วมประมูลทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงรอผลการแก้ไขสัญญาร่วมทุนให้ต่างด้าวสามารถถือโครงการได้เกิน 50% จาก คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. .... เพื่อเปิดทางให้บริษัททุนต่างชาติเข้าร่วมลงทุนโครงการได้โดยไม่ต้องผ่านการจัดตั้งบริษัทลูกในประเทศไทย โดยเบื้องต้นมีผู้สนใจในการเข้าร่วมลงทุนโครงการดังนี้[2]
    • บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ วิศวกร จำกัด (เครือเจริญโภคภัณฑ์)
    • บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (BTSG)
    • บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC)
    • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM)
    • บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด
    • บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด
    • บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท จำกัด
    • บริษัท สิงห์ เอสเตท จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด
    • บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และ
    • บริษัทรถไฟคิวชู (JR KYUSHU RAILWAY COMPANY) ประเทศญี่ปุ่น
  • 27 มีนาคม พ.ศ. 2561 - ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติร่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบิน ระยะทาง 220 ในส่วนเส้นทางพญาไท-บางซื่อ-ท่าอากาศยานดอนเมือง และส่วนเส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ - ท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยมอบหมายให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินงานร่วมกับเอกชนในรูปแบบ PPP-Net Cost ระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี ภายใต้กรอบเงินลงทุนรวมร่วมกับเอกชนไม่เกิน 119,000 ล้านบาท รวมมูลค่าโครงการทั้งโครงการในระยะเวลาสัมปทานแรก 400,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะออก TOR เชิญชวนเอกชนเข้าร่วมการประมูลได้ภายในเดือนเมษายนนี้[3]

อุบัติเหตุและความขัดข้อง

  • วันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560 เวลา 6.52 น. นางสาวเอ (นามสมมติ) อายุ 31 ปี ได้พลัดตกลงไปในรางรถไฟฟ้าฝั่งมุ่งหน้าไปสถานีพญาไทสถานีบ้านทับช้าง ในขณะที่รถไฟฟ้ากำลังจะเข้าเทียบชานชาลาในอีก 100 เมตร ทำให้ขบวนรถทับร่างนางสาวเอเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุทันที จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ประกาศปิดให้บริการในส่วนบ้านทับช้าง - สุวรรณภูมิชั่วคราว เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยกอบกู้ลงพื้นที่เก็บหลักฐานก่อนกลับมาเปิดให้บริการอีกในเวลา 10.00 น. เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นอุบัติเหตุครั้งร้ายแรงครั้งแรกของระบบรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยาน และทำให้ รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. เร่งแผนการติดตั้งประตูกั้นชานชาลาเพิ่มใน 7 สถานีที่เหลือ คาดว่าจะแล้วเสร็จในสถานีแรก เดือนเมษายน พ.ศ. 2561[4][5]

อ้างอิง

  1. http://manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9590000106636
  2. เปิด TOR รถไฟไฮสปีดอีอีซี พ่วงที่ดินมักกะสัน-แอร์พอร์ตลิงก์
  3. ครม.ไฟเขียวรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
  4. "ด่วน! ผู้โดยสารตกรางรถไฟฟ้าแอร์พอรต์ลิงก์ เสียชีวิต!!". komchadluek.net. 19 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. ""วงจรปิด" เผย "หญิง" เดินลงราง "แอร์พอร์ตลิงก์"". komchadluek.net. 19 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น