ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
→‎สัญญาการก่อสร้าง: ลบหน่วยไมล์
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
Thmmrth (คุย | ส่วนร่วม)
→‎สัญญาการก่อสร้าง: ลบหน่วยไมล์
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 385: บรรทัด 385:
! ความคืบหน้า (ภาพรวม 60'''.86 %''' ช้ากว่าแผน 0.50 % ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2561 <ref>http://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/construction_progress_report/</ref>)
! ความคืบหน้า (ภาพรวม 60'''.86 %''' ช้ากว่าแผน 0.50 % ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2561 <ref>http://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/construction_progress_report/</ref>)
|-
|-
| 1 || โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่<br>ระยะทาง {{km to mi|11.4|abbr=yes|precision=2|wiki=yes}} <br> รวมงานรื้อถอนสะพานรัชโยธิน-เกษตรศาสตร์ และงานก่อสร้างทางลอดใต้แยกรัชโยธิน || 15,279.9 || บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ (ITD) || || 57.75 % (ช้ากว่าแผน 0.35 %)
| 1 || โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่<br>ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร <br> รวมงานรื้อถอนสะพานรัชโยธิน-เกษตรศาสตร์ และงานก่อสร้างทางลอดใต้แยกรัชโยธิน || 15,279.9 || บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ (ITD) || || 57.75 % (ช้ากว่าแผน 0.35 %)
|-
|-
| 2 || โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงสะพานใหม่ - คูคต <br>ระยะทาง {{km to mi|6.4|abbr=yes|precision=2|wiki=yes}} || 6,729 || กิจการร่วมการค้ายูเอน-เอสเอช-ซีเอช (UN-SH-CH)<br>(ยูนิคฯ, ซิโนไฮโดร และไชน่าฮาร์เบอร์) || || 64.98 % (เร็วกว่าแผน 0.18 %)
| 2 || โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงสะพานใหม่ - คูคต <br>ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร || 6,729 || กิจการร่วมการค้ายูเอน-เอสเอช-ซีเอช (UN-SH-CH)<br>(ยูนิคฯ, ซิโนไฮโดร และไชน่าฮาร์เบอร์) || || 64.98 % (เร็วกว่าแผน 0.18 %)
|-
|-
| 3 || งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงย่อย คูคต และอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง (กม. 25 และคูคต) || 4,042 || กิจการร่วมการค้าเอสเทค - เอเอส (STEC-AS)<br>(บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บจก. เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ) || || 64.81 % (ช้ากว่าแผน 0.41 %)
| 3 || งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงย่อย คูคต และอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง (กม. 25 และคูคต) || 4,042 || กิจการร่วมการค้าเอสเทค - เอเอส (STEC-AS)<br>(บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บจก. เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ) || || 64.81 % (ช้ากว่าแผน 0.41 %)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:33, 29 เมษายน 2561

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1
80px
ขบวนรถไฟฟ้า ในช่วงระหว่างสถานีอโศก-สถานีพร้อมพงษ์
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออื่น
  • รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท
  • รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน
สถานะ
  • เปิดให้บริการ (หมอชิต-สำโรง)
  • กำลังติดตั้งระบบ (สำโรง-เคหะฯ)
  • กำลังก่อสร้าง (หมอชิต-คูคต)
เจ้าของกรุงเทพมหานคร
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ที่ตั้งกรุงเทพมหานคร, สมุทรปราการ, ปทุมธานี
ปลายทาง
จำนวนสถานี23 (เปิดให้บริการ)
40 (โครงการ)
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟฟ้ายกระดับ
ระบบระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร[1], รถไฟฟ้าบีทีเอส
ผู้ดำเนินงานบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2572)
บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (สัญญาสัมปทานโครงการ หมด พ.ศ. 2585)
ศูนย์ซ่อมบำรุงศูนย์ซ่อมบำรุงบางปิ้ง(ในอนาคต)
ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต
ศูนย์ซ่อมบำรุงคูคต(ในอนาคต)
ขบวนรถซีเอ็นอาร์, ซีเมนส์
ประวัติ
เปิดเมื่อ
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542 (หมอชิต-อ่อนนุช)
  • 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (อ่อนนุช-แบริ่ง)
  • 3 เมษายน พ.ศ. 2560 (แบริ่ง-สำโรง)
  • 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561 (สำโรง-เคหะฯ)[1]
  • 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 (หมอชิต-ห้าแยกลาดพร้าว)[1]
  • 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 (ห้าแยกลาดพร้าว-คูคต)[1]
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทาง22.25 กิโลเมตร
จำนวนทางวิ่ง2
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระบบจ่ายไฟรางที่สาม
ความเร็ว80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
แผนที่เส้นทาง

คูคต
ศูนย์ซ่อมบำรุงคูคต
แยก คปอ.
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
สะพานใหม่
สายหยุด
พหลโยธิน 59
มีนบุรีศูนย์ราชการนนทบุรี
วัดพระศรีมหาธาตุ
กรมทหารราบที่ 11
บางบัว
กรมป่าไม้
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เสนานิคม
รัชโยธิน
พหลโยธิน 24
ห้าแยกลาดพร้าว
ศูนย์ซ่อมบำรุงหมอชิต
หมอชิต
สะพานควาย
เสนาร่วม
(อนาคต)
อารีย์
สนามเป้า
ทางพิเศษศรีรัช
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
พญาไท
สายตะวันออก
มุ่งหน้า กรุงเทพ │ มุ่งหน้า ฉะเชิงเทรา
ราชเทวี
สยาม
ชิดลม
เพลินจิต
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
นานา
อโศก
สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ)
พร้อมพงษ์
ทองหล่อ
เอกมัย
พระโขนง
ทางพิเศษฉลองรัช
อ่อนนุช
บางจาก
ปุณณวิถี
อุดมสุข
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
ทางพิเศษสาย S1
บางนา
แบริ่ง
สำโรง
ปู่เจ้า
ถนนกาญจนาภิเษก
ช้างเอราวัณ
โรงเรียนนายเรือ
ปากน้ำ
ศรีนครินทร์
แพรกษา
สายลวด
เคหะฯ
ศูนย์ซ่อมบำรุงบางปู

รถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา สาย 1 หรือ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท หรือ รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน เป็นส่วนหนึ่งของแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยจะครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2542 ระยะทาง 17 กิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2554 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยาย อ่อนนุช-แบริ่ง และปี พ.ศ. 2560 ได้เปิดใช้งานส่วนต่อขยายไปจนถึงสำโรง สามารถเชื่อมต่อกับสายสีลม ที่สถานีสยาม

ภาพรวม

รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท เป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีโครงสร้างเป็นทางยกระดับเหนือพื้นดินตลอดโครงการ ดำเนินการโดย บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของกลุ่มบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่ได้รับสัมปทานโครงการภายในกรอบระยะเวลา 30 ปีจากกรุงเทพมหานคร และ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับสัมปทานโครงการจากกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน มีแนวเส้นทางเป็นแนวเหนือ-ตะวันออก พาดผ่านพื้นที่สามจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี และจังหวัดสมุทรปราการ เริ่มต้นเส้นทางจากบริเวณย่านลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี วิ่งเลียบถนนลำลูกกา จากนั้นหักซ้ายเข้าถนนเลียบเส้นทางกับกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศของกองทัพอากาศ เข้าสู่เขตกรุงเทพมหานคร วิ่งผ่านพื้นที่สำคัญหลายแห่ง อาทิ กองทัพอากาศ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากนั้นเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นในที่บริเวณแยกรัชโยธิน วิ่งมาจนถึงปากทางห้าแยกลาดพร้าว ยกระดับข้ามทางพิเศษอุดรรัถยาเข้าถนนพหลโยธิน มุ่งหน้าเข้าใจกลางกรุงเทพมหานคร เมื่อถึงแยกปทุมวันแนวเส้นทางจะหักซ้ายเข้าถนนพระรามที่ 1 และมุ่งตรงไปยังถนนเพลินจิต และถนนสุขุมวิท เพื่อเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผ่านพื้นที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการอีกหลายแห่ง อาทิ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ โรงเรียนนายเรือ และศาลากลางจังหวัดสมุทรปราการ และสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่ย่านบางปู บริเวณสถานตากอากาศบางปู จังหวัดสมุทรปราการ รวมระยะทางทั้งสิ้น 52.65 กิโลเมตร นับเป็นเส้นทางระบบขนส่งมวลชนที่ยาวที่สุดในกรุงเทพมหานคร แนวเส้นทางจะเน้นขนส่งผู้โดยสารจากชานเมืองทั้งฝั่งเหนือและฝั่งตะวันออกให้เข้าสู่พื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานคร พื้นที่ท่องเที่ยว สถานบันเทิง และเขตเศรษฐกิจชั้นในตามแนวถนนสุขุมวิทได้อย่างรวดเร็ว

พื้นที่เส้นทางผ่าน

แนวเส้นทาง

แนวเส้นทางเป็นเส้นทางยกระดับทั้งโครงการ มีจุดเริ่มต้นจากสถานีหมอชิต บริเวณจุดตัดรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งตรงไปทางทิศใต้ตามแนวถนนพหลโยธิน จากนั้นหักโค้งผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านจุดตัดรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และทางรถไฟสายตะวันออก ที่สถานีพญาไท และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระรามที่ 1 บริเวณแยกปทุมวันเชื่อมต่อกับ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ที่สถานีสยาม จากนั้นมุ่งตรงไปยังถนนเพลินจิต และถนนสุขุมวิทเข้าสู่พื้นที่เศรษฐกิจตามแนวถนนสุขุมวิท จากนั้นข้ามคลองพระโขนงเข้าสู่พื้นที่ชานเมืองฝั่งตะวันออก ลอดใต้ทางพิเศษบูรพาวิถีเข้าสู่สถานีบางนา และมุ่งหน้าตรงเข้าสู่จังหวัดสมุทรปราการเพื่อสิ้นสุดเส้นทางที่สถานีสำโรงอันเป็นจุดสิ้นสุดเส้นทาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 24.02 กิโลเมตร

ภายในปี พ.ศ. 2561 แนวเส้นทางจะขยายจากปลายสายทางที่สถานีสำโรง เข้าสู่เขตจังหวัดสมุทรปราการและสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่สถานีเคหะฯ รวมระยะทาง 13 กิโลเมตร และภายในปี พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2563 แนวเส้นทางจะขยายจากปลายสายทางที่สถานีหมอชิต ข้ามทางยกระดับอุดรรัถยา เข้าสู่ถนนพหลโยธินที่สถานีห้าแยกลาดพร้าว และมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดปทุมธานีเพื่อสิ้นสุดเส้นทางทั้งโครงการที่สถานีคูคตตามลำดับ รวมระยะทาง 19 กิโลเมตร

สถานีที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน

ชื่อและสีของสถานี รหัสสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง วันที่เปิดให้บริการ ที่ตั้ง
คูคต N24 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ปทุมธานี
แยก คปอ. N23 กรุงเทพมหานคร
พิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ N22 รถเวียนภายในท่าอากาศยานดอนเมือง
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช N21
สะพานใหม่ N20
สายหยุด N19
พหลโยธิน 59 N18
วัดพระศรีมหาธาตุ N17 สายสีชมพู (สถานีร่วม) 5 มิถุนายน พ.ศ. 2563
กรมทหารราบที่ 11 N16
บางบัว N15
กรมป่าไม้ N14
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ N13 สายสีน้ำตาล สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประตู 1 (โครงการ) 4 ธันวาคม พ.ศ. 2562
เสนานิคม N12
รัชโยธิน N11
พหลโยธิน 24 N10
ห้าแยกลาดพร้าว N9 สายสีน้ำเงิน สถานีพหลโยธิน 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562
หมอชิต N8 สายสีน้ำเงิน สถานีสวนจตุจักร 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สะพานควาย N7
เสนาร่วม N6 สถานีในอนาคต
อารีย์ N5 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
สนามเป้า N4
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ N3
พญาไท N2 สายซิตี้ สถานีพญาไท
สายสีแดงอ่อน สถานีพญาไท (โครงการ)
ราชเทวี N1 สายสีส้ม สถานีราชเทวี (โครงการ)
 เรือโดยสารคลองแสนแสบ  ท่าสะพานหัวช้าง
สยาม CEN สายสีลม (สถานีร่วม)
สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
ชิดลม E1 สายสีส้ม สถานีประตูน้ำ (โครงการ)
เพลินจิต E2 สายสีแดงอ่อน สถานีเพลินจิต (โครงการ)
นานา E3
อโศก E4 สายสีน้ำเงิน สถานีสุขุมวิท
พร้อมพงษ์ E5
ทองหล่อ E6 สายสีเทา สถานีทองหล่อ (โครงการ)
เอกมัย E7
พระโขนง E8 สายสีเทา สถานีพระโขนง (โครงการ)
อ่อนนุช E9
บางจาก E10 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ปุณณวิถี E11
อุดมสุข E12 สายสีเงิน สถานีบางนา (โครงการ)
บางนา E13
แบริ่ง E14
สำโรง E15 สายสีเหลือง สถานีสำโรง 3 เมษายน พ.ศ. 2560 สมุทรปราการ
ปู่เจ้า E16 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ช้างเอราวัณ E17
โรงเรียนนายเรือ E18
ปากน้ำ E19
ศรีนครินทร์ E20
แพรกษา E21
สายลวด E22
เคหะฯ E23

สถิติ

อันดับสถานีที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด[2]
ที่ สถานี จำนวน (เที่ยวคน/วัน)
1 สยาม 112,600
2 อโศก 85,100
3 หมอชิต 79,500
4 อนุสาวรีย์ชัยฯ 79,000
5 อ่อนนุช 52,600
6 ชิดลม 47,300
7 พญาไท 42,800
8 แบริ่ง 41,400
9 พร้อมพงษ์ 39,600
10 อุดมสุข 35,200

การเชื่อมต่อ

รถไฟฟ้าบีทีเอส และระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปยังเส้นทางอื่น ๆ ในระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ได้ที่สถานีดังต่อไปนี้

รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้ามหานครได้ที่

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิหรือแอร์พอร์ทลิงก์ ได้ที่ สถานีพญาไท โดยทางการรถไฟแห่งประเทศไทยได้สร้างทางเชื่อมต่อโดยตรงจากสถานีพญาไทของโครงการแอร์พอร์ทลิงก์มายังสถานีพญาไทของรถไฟฟ้าบีทีเอส ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ติดตั้งประตูเครื่องตรวจตั๋วโดยสารอัตโนมัติเพิ่มเติมบริเวณกลางสถานี ทำให้พื้นที่ที่ผ่านเครื่องตรวจตั๋วโดยสารแล้ว (paid area) ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนในลักษณะเดียวกันกับสถานีสยาม เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่จะต่อรถเดินทางไปยังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

เส้นทางสายรองอื่น ๆ

ผู้โดยสารสามารถเปลี่ยนไปใช้รถไฟฟ้าเส้นทางสายรองอื่น ๆ ได้ที่

รถบริการรับส่ง

ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอส เคยให้บริการรถโดยสารรับส่งในสถานที่สำคัญบางสถานี หรือที่เรียกว่ารถชัตเทิลบัส (Shuttle Bus) 5 สายดังนี้

โดยบริการรถรับส่งนี้ไม่คิดค่าโดยสาร แต่จำเป็นต้องใช้คูปองซึ่งขอรับได้จากเจ้าหน้าที่จำหน่ายบัตรโดยสารที่สถานี เวลาให้บริการคือ 6.30-22.30 น

ปัจจุบันได้ยกเลิกบริการดังกล่าวทุกเส้นทางแล้วตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2549

นอกจากนี้ยังมีเอกชนให้บริการรถรับส่งจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสใกล้เคียงไปยังสถานที่ๆ แต่ละฝ่ายให้บริการอยู่ โดยปัจจุบันมีดังนี้

โดยบริการดังกล่าวไม่เสียค่าบริการ ยกเว้นเส้นทางหมอชิต-อิมแพ็ค เมืองทองธานีจะเก็บค่าโดยสาร 25 บาทต่อเที่ยว เนื่องจากเส้นทางหลักต้องผ่านทางด่วน

ทางเดินเข้าอาคาร

ในบางสถานีผู้โดยสารสามารถเดินจากสถานีไปยังอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงได้ดังนี้

แผนที่แสดงการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่น

รูปแบบของโครงการ

  • เป็นระบบรถไฟฟ้าขนาดหนัก (heavy rail transit)
  • ทางวิ่ง ยกระดับที่ความสูง 12 เมตรตลอดทั้งโครงการ ส่วนช่วงข้ามทางพิเศษศรีรัชและทางพิเศษเฉลิมมหานครมีความสูง 17 เมตร และช่วงข้ามทางยกระดับอุตราภิมุขและถนนพหลโยธินกับถนนวิภาวดีรังสิต มีความสูงประมาณ 19 เมตร
  • ขนาดราง 1.435 เมตร (European standard guage) โดยมีรางที่ 3 ขนานไปกับรางวิ่งสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับตัวรถ
  • ตัวรถเป็นรถปรับอากาศขนาดกว้าง 3.2 เมตร ยาว 20-24 เมตร สูงประมาณ 3.7 เมตร ความจุ 320 คนต่อคัน ต่อพวงได้ 3-6 คันต่อขบวน ใช้ไฟฟ้ากระแสตรง 750 โวลท์ ป้อนระบบขับเคลื่อนรถ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง
  • ใช้ระบบอาณัติสัญญาณเดินรถด้วยระบบอัตโนมัติจากศูนย์ควบคุมการเดินรถ และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ

ศูนย์ซ่อมบำรุงและศูนย์ควบคุมการเดินรถ

เส้นทางช่วงหมอชิต-แบริ่ง จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต (ที่ทำการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) ร่วมกับสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยสมุทรปราการ (บางปิ้ง) และช่วงหมอชิต-คูคต จะใช้ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยคูคต ระบบเดินรถทั้งระบบมีศูนย์ควบคุมการเดินรถกลางอยู่ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่หมอชิต

สิ่งอำนวยความสะดวก

มีจุดจอดแล้วจร (park and ride) ที่สถานีต้นทาง (คูคต) สถานี กม.25 สถานีเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงใหญ่ (หมอชิต) และสถานีปลายทาง (เคหะสมุทรปราการ)

สถานี

มีทั้งหมด 55 สถานี เป็นสถานียกระดับทั้งหมด

รูปแบบสถานี

สถานีมีความยาวประมาณ 150 เมตร มีประตูชานชาลา (platform screen door) ความสูงแบบ Half-Height ในบางสถานี ออกแบบให้หลบเลี่ยงสาธารณูปโภคใต้ดินและบนดิน และรักษาสภาพผิวจราจรบนถนนมากที่สุด และมีเสายึดสถานีอยู่บริเวณเกาะกลางถนน

ขบวนรถโดยสาร

Siemens Transport Modular Metro

  • ความยาว 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน ต่อ 1 ขบวน
  • สายที่ให้บริการ สายสุขุมวิท

รถรุ่น ซีเมนส์ โมดูลาร์ เมโทร ที่ประกอบขึ้นเป็นรถ 1 ขบวนมีทั้งหมด 3 แบบคือ

  1. A-Car มีระบบขับเคลื่อนและมีห้องคนขับ
  2. B-Car มีระบบขับเคลื่อน แต่ไม่มีห้องคนขับ
  3. C-Car ไม่มีทั้งระบบขับเคลื่อน และห้องคนขับ

ในระบบรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ให้บริการในสายสุขุมวิทปัจจุบัน มีเพียงแค่ A-Car และ C-Car เท่านั้น โดยใน 1 ขบวนจะมี A-Car อยู่ที่หัวและท้ายขบวนจำนวน 2 ตู้ และมี C-Car อยู่กลางขบวนรถ 2 ตู้ สามารถต่อพ่วงเพิ่มได้สูงสุดถึง 6 ตู้ต่อ 1 ขบวน มีความยาวอยู่ที่ 85.30 เมตร และมีความกว้าง 3.20 เมตร มีประตูเลื่อนกว้าง 1.40 เมตร จำนวน 24 บานต่อ 1 ขบวน (แบบ 3 ตู้ต่อ 1 ขบวน) หรือ 32 บานต่อ 1 ขบวน (แบบ 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน) ตัวถังรถทำจากเหล็กปลอดสนิม ติดตั้งระบบปรับอากาศ พร้อมหน้าต่างชนิดกันแสง รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้โดยใช้แรงดันไฟฟ้า 750 Vdc โดยรับจากรางส่งที่ 3

ความจุผู้โดยสารต่อรถไฟฟ้า 1 ขบวน

  • ความจุผู้โดยสารรวม 1 ขบวน (3 ตู้) ที่ 8 คน/ตารางเมตร ประมาณ 1,106 คน
  • ความจุผู้โดยสารรวม 1 ขบวน (4 ตู้) ที่ 8 คน/ตารางเมตร ประมาณ 1,490 คน
  • ความจุผู้โดยสาร 1 ตู้ (นั่ง + ยืน) ประมาณ 368 คน
  • จำนวนที่นั่ง 1 ตู้ 42 ที่นั่ง
  • จำนวนที่นั่ง 1 ขบวน (แบบ 3 ตู้ต่อ 1 ขบวน) 126 ที่นั่ง
  • จำนวนที่นั่ง 1 ขบวน (แบบ 4 ตู้ต่อ 1 ขบวน) 168 ที่นั่ง

แผนสั่งซื้อขบวนรถในอนาคต

เพื่อเป็นการรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นถึง 900,000 คนต่อเที่ยววัน รวมถึงเป็นการเตรียมการเดินรถในส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-คูคต บีทีเอสซีจึงทำการสั่งซื้อขบวนรถเพิ่ม 46 ขบวน 184 ตู้ แบบต่อพ่วง 4 ตู้/ขบวน จากทั้งหมดสองโรงงาน มูลค่าการลงทุนกว่าหมื่นล้านบาท โดยเงินลงทุนส่วนหนึ่งมาจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท และส่วนหนึ่งได้มาจากเงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ ซึ่งทั้งสองโรงงานมีรายละเอียดการสั่งซื้อดังนี้

  • ซีเมนส์ โมบิลิตี : สั่งซื้อขบวนรถรุ่น ซีเมนส์ อินสไปโร 22 ขบวน 88 ตู้ สำหรับใช้เดินรถในเส้นทางปัจจุบัน (หมอชิต-แบริ่ง และ สนามกีฬาแห่งชาติ-บางหว้า) 7 ขบวน และในส่วนต่อขยายแบริ่ง-สมุทรปราการ 15 ขบวน
  • ซีอาร์อาร์ซี : สั่งซื้อขบวนรถรุ่น บอมบาร์ดิเอร์ โมเวีย แบบเดียวกับที่ให้บริการในปัจจุบัน (EMU Type-B) 24 ขบวน 96 ตู้ สำหรับใช้เดินรถในส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต 21 ขบวน และอีก 3 ขบวนเป็นขบวนสำรอง

โดยทั้งคู่มีรายละเอียดการประกอบและชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐาน รองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดภายในขบวนรถไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย และจะเริ่มจัดส่งในปี พ.ศ. 2561 โดยขบวนรถซีเมนส์ จะถูกจัดส่งและเก็บไว้ที่ศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยสมุทรปราการและบางส่วนจะลงให้บริการในสายสุขุมวิทช่วงปัจจุบัน และจะพร้อมให้บริการทั้งหมดพร้อมกับการเสร็จสิ้นด้านงานโยธาของรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อนในปี พ.ศ. 2561 ในขณะที่ขบวนรถฉางชุนจะพร้อมให้บริการทั้งหมดในส่วนต่อขยายหมอชิต-คูคต พร้อมๆ กับการเสร็จสิ้นงานโยธาของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้มในปี พ.ศ. 2562

ส่วนต่อขยาย

ส่วนต่อขยายสายสมุทรปราการ (แบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ - บางปู)

แบริ่ง - เคหะสมุทรปราการ (อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบ) [3]

ไฟล์:สถานีสำโรง (รถไฟฟ้าบีทีเอส).jpg
ชานชาลาสถานีสำโรง
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน เทศบาลตำบลสำโรงเหนือ, เทศบาลนครสมุทรปราการ และเทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ
  • เส้นทาง หลังจากผ่านสถานีแบริ่งรถไฟฟ้าจะวิ่งต่อไปบนถนนสุขุมวิท และเข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการจากนั้นเข้าสู่สถานีสำโรงเป็นสถานีแรกซึ่งจะใช้โครงสร้างสถานีแบบชานชาลาตรงกลาง (ในลักษณะเดียวกันกับสถานีของโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง) เพื่อเพิ่มความสะดวกในกรณีที่มีการเปลี่ยนผู้ให้บริการเกิดขึ้น และจะวิ่งสู่สถานีปู่เจ้า สถานีช้างเอราวัณ สถานีปากน้ำ สถานีศรีนครินทร์ สถานีแพรกษา และสถานีเคหะฯ ซึ่งเป็นสถานีปลายทางในระยะแรก
  • สถานี สถานียกระดับ 9 สถานี
  • ศูนย์ซ่อมบำรุง รองรับขบวนรถไฟฟ้าได้ 12 ขบวน แบบ 6 ตู้ โดยบีทีเอสซีจะใช้ศูนย์นี้เป็นศูนย์ฝึกอบรมภาคพื้นสาขาสมุทรปราการ ในขณะที่โรงจอดจะใช้จอดรถไฟฟ้า
  • เปิดให้บริการ เฉพาะสถานีสำโรง 3 เมษายน พ.ศ. 2560 / ทั้งโครงการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561[1]
สัญญาการก่อสร้าง
สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล หมายเหตุ ความคืบหน้า (ภาพรวม 100.00% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2559 [4])
1 โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ
ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร
งานก่อสร้างสะพานข้ามคลองสำโรง, งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถ
14,088.6 บมจ. ช. การช่าง (CK) เปิดใช้เฉพาะสถานีสำโรง
เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560
100% (อยู่ระหว่างการตรวจรับมอบ)
2 งานออกแบบควบคู่การวางระบบราง 2,400 บมจ. ช. การช่าง (CK) 100.00% (อยู่ระหว่างการตรวจรับมอบ)
3 งานระบบรถไฟฟ้า (สำโรง - บางปู) อ้างอิงตามสัญญาความเข้าใจระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ กรุงเทพมหานคร เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น จะทำการโอนย้ายโครงการให้ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร และให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ให้บริการ โดยค่าก่อสร้างทั้งหมด กรุงเทพมหานคร จะชำระคืนแก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นรายปี
4 งานระบบรถไฟฟ้า (แบริ่ง - สำโรง)
5 ที่ปรึกษาควบคุมงานจัดหาและติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) กิจการค้าร่วม พีบี - โชติจินดา
(บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด, บริษัท โชติจินดา คอนซัลแทนต์ จำกัด)
การเวนคืนที่ดิน

“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น

“ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่สำโรง และเคหะสมุทรปราการด้วย

รายชื่อสถานี
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
สถานีแบริ่ง (Bearing)
สถานีสำโรง (Samrong) ไฟล์:Bangkok MRT Yellow line unofficial logo.png แม่แบบ:BTS Lines สถานีสำโรง (โครงการ)
สถานีปู่เจ้า (Pu Chao)
สถานีช้างเอราวัณ (Chang Erawan)
สถานีโรงเรียนนายเรือ (Royal Thai Naval Academy)
สถานีปากน้ำ (Pak Nam)
สถานีศรีนครินทร์ (Srinagarindra)
สถานีแพรกษา (Phraek Sa)
สถานีสายลวด (Sai Luat)
สถานีเคหะฯ (Kheha)

เคหะสมุทรปราการ - บางปู

ไฟล์:สถานีเคหะสมุทรปราการ.jpg
สถานีเคหะสมุทรปราการ
ไฟล์:Capture-20150506-090024.png
ไฟล์:Capture-20150502-121736.png
  • พื้นที่ที่เส้นทางผ่าน เทศบาลตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
  • เส้นทาง หลังจากผ่านสถานีเคหะฯรถไฟฟ้าจะวิ่งต่อไปบนถนนสุขุมวิท จากนั้นเข้าสู่สถานีสวางคนิวาสเป็นสถานีแรก และจะวิ่งสู่สถานีเมืองโบราณ สถานีศรีจันทร์ประดิษฐ์ และสิ้นสุดโครงการส่วนต่อขยายฝั่งตะวันออกที่สถานีบางปู โดยปัจจุบันส่วนต่อขยายส่วนนี้ถูกเลื่อนแผนดำเนินการออกไปเป็น พ.ศ. 2562 เนื่องจากรอความชัดเจนเรื่องการโอนโครงการให้กรุงเทพมหานคร หากกรุงเทพมหานครรับมอบ กรุงเทพมหานครจะต้องเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเอง
  • สถานี สถานียกระดับ 4 สถานี
  • เปิดบริการ ภายในปี 2572
รายชื่อสถานี
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
สถานีเคหะฯ (Kheha)
สถานีสวางคนิวาส (Sawangkhaniwat)
สถานีเมืองโบราณ (Mueang Boran)
สถานีศรีจันทร์ฯ (Sichan)
สถานีบางปู (Bang Pu)
สถานีตำหรุ (Tam ru)

ส่วนต่อขยายสายพหลโยธิน (หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก)

หมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต (อยู่ในระหว่างก่อสร้าง)

ไฟล์:Wat Phrasri - Lak Si station at Laksi Circle.jpg
สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
ไฟล์:สถานีสะพานใหม่.jpg
แบบจำลองสถานีสะพานใหม่
ไฟล์:Capture-20150502-121234.png
สถานีก.ม. 25
ไฟล์:Capture-20150502-120602.png
สัญญาการก่อสร้าง
สัญญาที่ เนื้องาน มูลค่า
(ล้านบาท)
ผู้ชนะการประมูล หมายเหตุ ความคืบหน้า (ภาพรวม 60.86 % ช้ากว่าแผน 0.50 % ณ สิ้นเดือน มีนาคม 2561 [6])
1 โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่
ระยะทาง 11.4 กิโลเมตร
รวมงานรื้อถอนสะพานรัชโยธิน-เกษตรศาสตร์ และงานก่อสร้างทางลอดใต้แยกรัชโยธิน
15,279.9 บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ (ITD) 57.75 % (ช้ากว่าแผน 0.35 %)
2 โครงสร้างทางยกระดับ ช่วงสะพานใหม่ - คูคต
ระยะทาง 6.4 กิโลเมตร
6,729 กิจการร่วมการค้ายูเอน-เอสเอช-ซีเอช (UN-SH-CH)
(ยูนิคฯ, ซิโนไฮโดร และไชน่าฮาร์เบอร์)
64.98 % (เร็วกว่าแผน 0.18 %)
3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงย่อย คูคต และอาคารจอดแล้วจร 2 แห่ง (กม. 25 และคูคต) 4,042 กิจการร่วมการค้าเอสเทค - เอเอส (STEC-AS)
(บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บจก. เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ)
64.81 % (ช้ากว่าแผน 0.41 %)
4 งานออกแบบ จัดหาและติดตั้ง งานระบบรางรถไฟฟ้า 2,842.7 กิจการร่วมการค้าเอสเทค - เอเอส (STEC-AS)
(บมจ. ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น และ บจก. เอ.เอส.แอสโซซิเอทฯ)
62.32 % (ช้ากว่าแผน 2.96 %)
5 งานระบบรถไฟฟ้า (หอวัง - วงแหวนฯ) อ้างอิงตามสัญญาความเข้าใจระหว่าง การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และ กรุงเทพมหานคร เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น จะทำการโอนย้ายโครงการให้ไปอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร และให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด เป็นผู้ให้บริการ โดยค่าก่อสร้างทั้งหมด กรุงเทพมหานคร จะชำระคืนแก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เป็นรายปี
6 งานระบบรถไฟฟ้า (หมอชิต - หอวัง)
การเวนคืนที่ดิน

“การเวนคืนที่ดิน” จะเวนคืนที่ดิน เฉพาะที่จำเป็นที่ใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ เพื่อจัดทำทางขึ้น-ลงของสถานีต่างๆ อาคารจอดรถ ศูนย์ซ่อมบำรุงรักษา และสิ่งจำเป็นอื่นๆ เท่านั้น โดยต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ที่จะกำหนดราคาเวนคืนที่ดิน และค่าทดแทนภาระในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นธรรม โดยจะมีการตั้ง คณะกรรมการเพื่อพิจารณาราคาที่ดิน โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้งของที่ดิน ราคาประเมินของกรมที่ดิน รวมทั้งราคาซื้อขายในบริเวณนั้น เป็นต้น

“ผู้ถูกเวนคืน” ถือว่าเป็น “ผู้เสียสละ” จะจัดทำชื่อไปติดประกาศเกียรติคุณ ณ สถานีปลายทาง ที่ห้าแยกลาดพร้าว และคูคตด้วย

รายชื่อสถานี
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
สถานีหมอชิต (Mo Chit) แม่แบบ:BTS Lines สถานีสวนจตุจักร
สถานีห้าแยกลาดพร้าว (Ladphrao Intersection) แม่แบบ:BTS Lines สถานีพหลโยธิน
สถานีพหลโยธิน 24 (Phaholyothin 24) ไฟล์:Bangkok MRT Yellow line unofficial logo.png แม่แบบ:BTS Lines สถานีพหลโยธิน 24 (โครงการ)
สถานีรัชโยธิน (Ratchayothin)
สถานีเสนานิคม (Senanikhom)
สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart University) แม่แบบ:BTS Lines สถานีเกษตรศาสตร์
สถานีกรมป่าไม้ (Royal Forest Department)
สถานีศรีปทุม (Sri Pathum)
สถานีกรมทหารราบที่ 11 (11th Infantry Regiment)
สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ (Wat Phrasri Mahathat) ไฟล์:Bangkok MRT Pink line unofficial logo.png  รถไฟฟ้าโมโนเรลสายสีชมพู
สถานีอนุสาวรีย์หลักสี่ (Laksi Monument)
สถานีสายหยุด (Sai Yud)
สถานีสะพานใหม่ (Saphan Mai)
สถานีโรงพยาบาลภูมิพล (Bhumiphol Hospital)
สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (Royal Thai Air Force Museum)
สถานีกม. 25 (KM. 25)
สถานีคูคต (Khu Khot)

คูคต - วงแหวนรอบนอกตะวันออก

รายชื่อสถานี
รหัสสถานี ชื่อสถานี จุดเปลี่ยนเส้นทาง
สถานีคูคต (Khu Khot)
สถานีคลองสาม (Khlong Sam)
สถานีคลองสี่ (Khlong Si)
สถานีคลองห้า (Khlong Ha)
สถานีวงแหวนรอบนอกตะวันออก (Wongwaen Rop Nok Tawan-ok)

ส่วนต่อขยายสายบางนา - สุวรรณภูมิ

  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรุงเทพมหานคร ร่วมกับ จังหวัดสมุทรปราการ
  • พื้นที่เส้นทางผ่าน เขตบางนา กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
  • เส้นทาง โครงการนี้เป็นโครงการที่ถูกเพิ่มเติมเนื่องจากการก่อสร้างส่วนต่อขยาย อ่อนนุช - แบริ่ง[7] โดยมีจุดประสงค์เพื่อรับส่งผู้โดยสาร จากเส้นทางสุขุมวิทรอบนอก, ผู้โดยสารจากทางจังหวัดสมุทรปราการ (ส่วนต่อขยายแบริ่ง - สมุทรปราการ) ตลอดจนผู้โดยสารจากเส้นทางบางนา-ตราด เข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ โดยโครงการนี้จะเริ่มต้นจากสถานีอุดมสุขของส่วนต่อขยายอ่อนนุช - แบริ่ง ที่ได้ก่อสร้างตอม่อรูปตัวยูคว่ำเตรียมเอาไว้ไปจนถึงสี่แยกบางนาแล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ถนนบางนา - ตราด จากนั้นวิ่งไปตามทางคู่ขนานถนนบางนา - ตราด ขาออกเมือง จนถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 13 (หมู่บ้านธนาซิตี้) จะมีสถานีแยกสายอีกสองเส้น คือเส้นที่เลี้ยวซ้ายแล้วเข้าสู่ถนนสุวรรณภูมิ 3 แล้วลดระดับเป็นเส้นทางใต้ดิน แล้วไปจอดที่บริเวณชั้นใต้ดินของอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยาน กับสายที่จะไปสิ้นสุดที่หน้ามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ถนนบางนา - ตราด มุมทางเข้าถนนวัดศรีวารีน้อย ปัจจุบันนี้โครงการอยู่ในระหว่างการศึกษาเส้นทางเดินรถ ตลอดจนสถานีปลายทางที่อาจจะต้องรอให้อาคารผู้โดยสาร 2 ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิก่อสร้างขึ้น โดยเมื่อโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์ รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท และรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งสองสาย จะต่อกันจนเป็นรูปวงแหวนเหมือนกับรถไฟฟ้ามหานคร สายสีน้ำเงิน ด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งภายในท่าอากาศยานที่เชื่อมถึงกันระหว่างอาคาร 1 (หลังปัจจุบัน) และอาคารฝั่งใต้หลังนี้[8]
  • สถานะปัจจุบัน อยู่ในระหว่างการออกแบบโครงการ โดยกรุงเทพมหานครจะเริ่มก่อสร้างในส่วน สรรพาวุธ - ธนาซิตี้ - วัดศรีวาน้อย ก่อนเป็นลำดับแรก ส่วนโครงสร้างช่วงเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ได้มีการปรับแบบของอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ เพื่อรองรับให้รถไฟฟ้าเส้นนี้สามารถเข้ามาจอดที่ใต้อาคารได้เลย ซึ่งจะไม่เหมือนกับกรณีของแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่มีแนวคิดในการก่อสร้างทีหลัง

สถานีโครงการในอดีตที่ถูกยกเลิก

รหัส ชื่อสถานี จุดเชื่อมต่อ หมายเหตุ
เสนาร่วม (Sena Ruam) ยกเลิกโครงการ (แต่ยังมีโครงสร้างรองรับสถานีอยู่)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (31 มีนาคม พ.ศ. 2560). ข้อมูลที่สำคัญอื่น - แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิงส์ จำกัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2560. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1339485497&grpid=09&catid=no&subcatid=0000
  3. รฟม. เริ่มสร้างรถไฟฟ้าแบริ่ง-สมุทรปราการ
  4. http://www.mrta.co.th/th/MRTAproject/overAllProject/th_201612.pdf
  5. http://www.ryt9.com/s/iq03/954231 รฟม.เตรียมทุ่มงบ 615 ลบ.ตัดถนนบริเวณใต้แนวรถไฟฟ้าช่วงสะพานใหม่-ลำลูกกา
  6. http://www.mrta.co.th/th/projectelectrictrain/construction_progress_report/
  7. รถไฟบางนาสุวรรณภูมิ
  8. [1]

แหล่งข้อมูล