ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จิตวิทยาคลินิก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 9: บรรทัด 9:


'''บทบาทหน้าที่หลักของนักจิตวิทยาคลินิก''' ได้แก่ งาน'''ตรวจวินิจฉัย'''และการ'''บำบัดรักษา''' ผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสัมพันธภาพ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้ป่วยจิตเวชหรือบุคคลทั่วไปที่อาจมีปัญหาดังกล่าว อาทิผู้มีสภาพจิตใจย่ำแย่หลังจากประสบเหตุการณ์ร้ายแรงหรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร การบำบัดรักษาจะช่วยให้อาการเหล่านั้นบรรเทาลง และช่วยให้บุคคลเกิดการปรับตัวต่อสถานการณ์และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากขึ้น นอกเหนือจากนี้ นักจิตวิทยาคลินิกยังมีบทบาทในงานส่งเสริมป้องกันหรืองานจิตเวชชุมชน งานวิจัย ตลอดจนการดูแลฝึกอบรม
'''บทบาทหน้าที่หลักของนักจิตวิทยาคลินิก''' ได้แก่ งาน'''ตรวจวินิจฉัย'''และการ'''บำบัดรักษา''' ผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสัมพันธภาพ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้ป่วยจิตเวชหรือบุคคลทั่วไปที่อาจมีปัญหาดังกล่าว อาทิผู้มีสภาพจิตใจย่ำแย่หลังจากประสบเหตุการณ์ร้ายแรงหรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร การบำบัดรักษาจะช่วยให้อาการเหล่านั้นบรรเทาลง และช่วยให้บุคคลเกิดการปรับตัวต่อสถานการณ์และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากขึ้น นอกเหนือจากนี้ นักจิตวิทยาคลินิกยังมีบทบาทในงานส่งเสริมป้องกันหรืองานจิตเวชชุมชน งานวิจัย ตลอดจนการดูแลฝึกอบรม




== จิตวิทยาคลินิกกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ==
== จิตวิทยาคลินิกกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:39, 28 เมษายน 2561

จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) คือ สาขาหนึ่งของวิชาจิตวิทยา (Psychology) ที่มีองค์ประกอบของข้อมูลวิชาความรู้ที่หลากหลายทั้งทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ (Arts and Science) นอกเหนือไปจากวิชาจิตวิทยาในแขนงต่างๆ (จิตวิทยาพัฒนาการทุกช่วงวัย จิตวิทยาบุคลิกภาพ จิตวิทยาการเรียนรู้ จิตวิทยาแรงจูงใจ จิตวิทยาการรับรู้ ฯลฯ) ที่จำเป็นต่อการเข้าใจบุคคลแล้ว วิชาจิตวิทยาคลินิกยังต้องการองค์ความรู้อื่นที่สำคัญ อาทิ องค์ความรู้ด้านจิตเวช(Psychiatry) จิตวิเคราะห์(Psychoanalysis) ประสาทวิทยา(Neurology) ประสาทจิตวิทยา(Neuropsychology) สารเสพติดและการติดยา นิติจิตเวช (Forensic Psychiatry) จิตเวชเด็กและวัยรุ่น การทำจิตบำบัดและการให้การปรึกษา(Psychotherapy and Counseling) พฤติกรรมบำบัด การฟื้นฟูดูแลทางด้านจิตใจ และ การตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องมือทางจิตวิทยาคลินิก เป็นต้น

ผู้รับบริการด้านจิตวิทยาคลินิก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้ป่วยจิตเวชหรือผู้มีอาการทางจิตเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงผู้ป่วยโรคทางระบบประสาทและสมอง ผู้ป่วยโรคทางด้านร่างกายอื่นๆที่มีปัญหาทางจิตใจอารมณ์หรือพฤติกรรมร่วมด้วย นอกจากนี้ บุคคลทั่วไปที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เกิดความเครียด ความเศร้า ความกลัว หรือความรู้สึกไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ก็สามารถรับบริการจิตวิทยาคลินิกได้เช่นกัน หรือแม้แต่ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาครอบครัว คู่สมรส หรือปัญหาด้านสัมพันธภาพต่างๆ


นักจิตวิทยาคลินิก

นักจิตวิทยาคลินิก คือ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาคลินิก (Clinical psychology) และมีใบประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาคลินิกส่วนใหญ่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวชในหน่วยงานทางการแพทย์และสถานพยาบาลต่างๆ นักจิตวิทยาคลินิกเป็นส่วนหนึ่งของทีมผู้ให้การรักษาทางการแพทย์ อาทิงานจิตเวชศาสตร์(Psychiatry) งานระบบประสาทและสมอง(Neuroscience) งานเวชกรรมป้องกัน งานเวชศาสตร์ฟื้นฟู งานยาเสพติด จิตเวชเด็กและวัยรุ่น งานเวชศาสตร์ครอบครัว งานนิติจิตเวช เป็นต้น

บทบาทหน้าที่หลักของนักจิตวิทยาคลินิก ได้แก่ งานตรวจวินิจฉัยและการบำบัดรักษา ผู้ที่มีปัญหาทางจิตใจ ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และสัมพันธภาพ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งผู้ป่วยจิตเวชหรือบุคคลทั่วไปที่อาจมีปัญหาดังกล่าว อาทิผู้มีสภาพจิตใจย่ำแย่หลังจากประสบเหตุการณ์ร้ายแรงหรือความเครียดต่างๆ ทั้งที่เป็นแบบชั่วคราวหรือถาวร การบำบัดรักษาจะช่วยให้อาการเหล่านั้นบรรเทาลง และช่วยให้บุคคลเกิดการปรับตัวต่อสถานการณ์และใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุขมากขึ้น นอกเหนือจากนี้ นักจิตวิทยาคลินิกยังมีบทบาทในงานส่งเสริมป้องกันหรืองานจิตเวชชุมชน งานวิจัย ตลอดจนการดูแลฝึกอบรม

จิตวิทยาคลินิกกับงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู

งานจิตวิทยาคลินิกมีส่วนสำคัญต่อการบำบัดฟื้นฟูมาก เนื่องจากผู้พิการหรือผู้ที่สูญเสียสมรรถภาพทางกายย่อมมีสภาพจิตใจแย่ลง หน้าที่ของนักจิตวิทยาคือการประเมินด้วยแบบทดสอบต่างๆ ให้การปรึกษาและการรักษาทางจิตวิทยาร่วมกับจิตแพทย์และแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดการปรับสภาพจิตใจภายหลังเกิดความพิการได้

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ดำเนินกิจกรรมกลุ่มบำบัดร่วมกับพยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูและบุคลากรอื่นๆ ให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล คัดกรองผู้มีความเสี่ยงสูง และร่วมวางแผนการรักษาฟื้นฟูกับทีมงานเวชศาสตร์ฟื้นฟูอีกด้วย

งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศ

งานจิตวิทยาคลินิกเริ่มเป็นที่รู้จักมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 และได้ถือว่ามีกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1896 ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเพนซิลวาเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา งานจิตวิทยาคลินิกในต่างประเทศโดยเฉพาะในอเมริกาและยุโรปมีความก้าวหน้ามาก มีการให้บริการในทุกโรงพยาบาลในเมืองใหญ่ๆ มีการฝึกอบรมในมหาวิทยาลัยต่างๆ และงานวิจัยต่างๆก็ถูกตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง

งานจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย

สถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรจิตวิทยาคลินิกคือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[1] เมื่อปี พ.ศ. 2507

ปัจจุบัน นักจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทยปฏิบัติงานอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ โรงพยาบาล โรงพยาบาลศูนย์(ประจำจังหวัด) โรงพยาบาลประจำอำเภอใหญ่ๆ โรงพยาบาลจิตเวช โรงพยาบาลประสาท(ระบบประสาทและสมอง) ตลอดจนโรงพยาบาลในสังกัดสถาบันการศึกษาต่างๆ สถาบันด้านพัฒนาการเด็กและวันรุ่น สถาบันธัญญารักษ์ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โรงเรียนเด็กพิเศษ และศูนย์บริการสาธารณะสุขเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นต้น

เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเรียนการสอนสาขาจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย จึงมีจำนวนผู้ที่ปฏิบัติงานในวิชาชีพนี้จำนวนไม่มากนัก โดยในปี พ.ศ. 2556 ประเทศไทยมีนักจิตวิทยาคลินิกที่มีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะประมาณ 500 คน

สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรจิตวิทยาคลินิก

ระดับ มหาวิทยาลัย คณะ วุฒิการศึกษา หมายเหตุ
ปริญญาตรี

Bachelor's degree

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Chiangmai University

คณะมนุษยศาสตร์

Faculty of Humanities

วท.บ. (จิตวิทยา)

B.Sc. (Psychology)

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Thammasart University

คณะศิลปศาสตร์

Faculty of Liberal Arts

ศศ.บ. (จิตวิทยา)

B.A. (Psychology)

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Kasetsart University

คณะสังคมศาสตร์

Faculty of Social Sciences

วท.บ. (จิตวิทยา)

B.S. (Psychology)

มหาวิทยาลัยนเรศวร

Naresuan University

คณะสังคมศาสตร์

Faculty of Social Sciences

วท.บ. (จิตวิทยา)

B.S. (Psychology)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Ramkhamhaeng University

คณะศึกษาศาสตร์

Faculty of Education

วท.บ. (จิตวิทยา)

B.S. (Psychology)

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Mahasarakham University

คณะศึกษาศาสตร์

Faculty of Education

วท.บ. (จิตวิทยา)

B.Sc. (Psychology)

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Prince of Songkla University

คณะศึกษาศาสตร์

Faculty of Education

วท.บ. (จิตวิทยา)

B.Sc. (Psychology)

วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Saint Louis College

คณะจิตวิทยา

Faculty of Psychology

วท.บ. (จิตวิทยา)

B.Sc. (Psychology)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn University

คณะจิตวิทยา

Faculty of Psychology

วท.บ.

B.S.

คาดว่าจะเปิดสอนในปี พ.ศ. 2562
ปริญญาโท

Master's degree

มหาวิทยาลัยมหิดล

Mahidol University

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

Faculty of Medicine Siriraj Hospital

วท.ม. (จิตวิทยาคลินิก)

M.Sc. (Clinical Psychology)

มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Ramkhamhaeng University

คณะศึกษาศาสตร์

Faculty of Education

วท.ม. (จิตวิทยา)

M.S. (Psychology)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn University

คณะจิตวิทยา

Faculty of Psychology

ศศ.ม.

M.A.

คาดว่าจะเปิดสอนในปี พ.ศ. 2562
ปริญญาเอก

Doctor of Philosophy

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Chulalongkorn University

คณะจิตวิทยา

Faculty of Psychology

ศศ.ด.

Ph.D.

คาดว่าจะเปิดสอนในปี พ.ศ. 2562

อ้างอิง

  • ดัดแปลงจากตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู นพ.เสก อักษรานุเคราะห์ บก. จัดพิมพ์โดยสมาคมเวชศาสตร์ฟื้นฟูแห่งประเทศไทย.

ดูเพิ่ม