ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 49: บรรทัด 49:
{{ใช้ปีคศ|264px}}
{{ใช้ปีคศ|264px}}


'''ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน''' ({{lang-de|Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen}}) เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่ง[[ราชอาณาจักรปรัสเซีย]]และ[[จักรวรรดิเยอรมัน]] เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890
'''ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน''' ({{lang-de|Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen}}) หรือที่นิยมเรียกว่า '''ออทโท ฟอน บิสมาร์ค''' เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่ง[[ราชอาณาจักรปรัสเซีย]]และ[[จักรวรรดิเยอรมัน]] เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890


ในปี 1862 [[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย]] ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ [[สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง]], [[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย]] และ[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]] และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบ[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]]ทิ้ง และจัดตั้ง[[สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ]]อันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของ[[ยุโรปภาคพื้นทวีป]]ได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของ[[ออสเตรีย]]ไปยังกรุง[[เบอร์ลิน]]ของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน
ในปี 1862 [[จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี|พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย]] ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ [[สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง]], [[สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย]] และ[[สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย]] และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบ[[สมาพันธรัฐเยอรมัน]]ทิ้ง และจัดตั้ง[[สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ]]อันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของ[[ยุโรปภาคพื้นทวีป]]ได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของ[[ออสเตรีย]]ไปยังกรุง[[เบอร์ลิน]]ของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:17, 28 เมษายน 2561

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค
บิสมาร์คในปี ค.ศ. 1881
นายกรัฐมนตรีแห่งจักรวรรดิเยอรมัน
ดำรงตำแหน่ง
21 มีนาคม ค.ศ. 1871 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1890
กษัตริย์จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1
จักรพรรดิฟรีดริชที่ 3
จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2
รองออทโท ฟอน ชโตลแบร์ก-เวอร์นีเกอร์รอเดอ
คาร์ล ไฮน์ริช ฟอน เบิร์ททีเคอร์
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปเลโอ ฟอน คาพรีวี
นายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1873 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1890
กษัตริย์วิลเฮล์มที่ 1
ฟรีดริชที่ 3
วิลเฮล์มที่ 2
ก่อนหน้าอัลเบร็คท์ ฟอน รูน
ถัดไปเลโอ ฟอน คาพรีวี
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน ค.ศ. 1862 – 1 มกราคม ค.ศ. 1873
กษัตริย์จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1
ก่อนหน้าเจ้าชายอดอล์ฟแห่งโฮเฮนโลเฮอ-อินเกิลฟินเกิน
ถัดไปอัลเบร็คท์ ฟอน รูน
นายกรัฐมนตรีสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ
ดำรงตำแหน่ง
1 กรกฎาคม ค.ศ. 1867 – 21 มีนาคม ค.ศ. 1871
ประธานาธิบดีจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1
ก่อนหน้าตำแหน่งใหม่
ถัดไปล้มเลิกตำแหน่ง
รัฐมนตรีการต่างประเทศปรัสเซีย
ดำรงตำแหน่ง
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 – 20 มีนาคม ค.ศ. 1890
นายกรัฐมนตรีตัวเอง
อัลเบรชท์ ฟอน รูน
ก่อนหน้าอัลเบรชท์ ฟอน แบร์นชตอฟฟ
ถัดไปเลโอ ฟอน คาพรีวี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 เมษายน ค.ศ. 1815
เชินเฮาเซิน มณฑลซัคเซิน
ราชอาณาจักรปรัสเซีย ราชอาณาจักรปรัสเซีย
(รัฐซัคเซิน-อันฮัลท์ในปัจจุบัน)
เสียชีวิต30 กรกฎาคม ค.ศ. 1898
(อายุ 83 ปี)
ฟรีดริชซรู รัฐชเลสวิจ-ฮ็อลชไตน์
 เยอรมนี
ศาสนาคริสต์นิกายลูเทอแรน
พรรคการเมืองไม่สังกัดพรรคการเมือง
คู่สมรสโยฮันนา ฟอน พุทท์คาเมอร์
(ค.ศ. 1847–94; เสียชีวิต)
บุตรมารี
แฮร์แบร์ท ฟอน บิสมาร์ค
วิลเฮล์ม ฟอน บิสมาร์ค
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน
มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน
มหาวิทยาลัยไกร์ฟซวัลด์[1]
วิชาชีพนักกฎหมาย
ลายมือชื่อ

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (เยอรมัน: Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890

ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน

ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส[2] เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ

ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้[3] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (เยอรมัน: Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม

บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี

บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism)[4] สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของเขา

บรรดาศักดิ์

  • ค.ศ. 1815 – 1865 : ยุงเคอร์ ออทโท ฟอน บิสมาร์ค
  • ค.ศ. 1865 – 1871 : กราฟ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Graf von Bismarck-Schönhausen)
  • ค.ศ. 1871 – 1898 : เฟือสท์ ฟอน บิสมาร์ค (Fürst von Bismarck)
  • ค.ศ. 1890 – 1898 : แฮร์ซอก ซู เลาเอินบวร์ค (Herzog zu Lauenburg)
อาร์มประจำตัว

อ้างอิง

  1. Steinberg, Jonathan. Bismarck: A Life. p. 51. ISBN 9780199782529.
  2. Hopel, Thomas (23 August 2012) "The French-German Borderlands: Borderlands and Nation-Building in the 19th and 20th Centuries"
  3. Steinberg, 2011, pp.8, 424, 444; Bismarck specifically referred to Socialists, among others, as "Enemies of the Reich".
  4. Hull, Isabel V. (2004). The Entourage of Kaiser Wilhelm II, 1888–1918. p. 85. ISBN 9780521533218.