ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อัศนี พลจันทร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
[[เอกชน (นิตยสาร)|ยังเป็นอัยการชั้นผู้น้อย แม้จะโจษจันกันว่าเป็นอัยการที่ยึดมั่นในความยุติธรรม มากกว่าตัวบทกฎหมายที่ออกโดย]]
[[เอกชน (นิตยสาร)|ยังเป็นอัยการชั้นผู้น้อย แม้จะโจษจันกันว่าเป็นอัยการที่ยึดมั่นในความยุติธรรม มากกว่าตัวบทกฎหมายที่ออกโดย]]


[[เอกชน (นิตยสาร)|รัฐบาลเผด็จการ แต่สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ทำให้บทกวีที่ทรงพลังของนายผี เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง]]
[[เอกชน (นิตยสาร)|รัฐบาลเผด็จการ แต่สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น ทำให้บทกวีที่ทรงพลังของนายผี เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง]]


[[เอกชน (นิตยสาร)|ทั้งในหมู่ประชาชนที่สนใจการเมือง และจากกลไกของรัฐบาลที่คอยจับจ้องมองดูฝ่ายที่ถูกจัดว่าเป็นศัตรูทางการเมือง]]
[[เอกชน (นิตยสาร)|ทั้งในหมู่ประชาชนที่สนใจการเมือง และจากกลไกของรัฐบาลที่คอยจับจ้องมองดูฝ่ายที่ถูกจัดว่าเป็นศัตรูทางการเมือง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:37, 22 เมษายน 2561

อัศนี พลจันทร
เกิด15 กันยายน พ.ศ. 2461
ประเทศไทย
เสียชีวิต28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530
ประเทศลาว
นามปากกานายผี
ลุงไฟ
อาชีพนักเขียน, นักปฏิวัติ, คอลัมน์นิสต์
สัญชาติไทย
ผลงานที่สำคัญเพลงเดือนเพ็ญ

อัศนี พลจันทร หรือในนามปากกาว่า นายผี และ สหายไฟ หรือ ลุงไฟ (15 กันยายน 246128 พฤศจิกายน 2530 : อายุ 69 ปี) นักประพันธ์และนักปฏิวัติชาวไทย รู้จักกันในฐานะผู้แต่งเพลงเดือนเพ็ญ (คิดถึงบ้าน)

ประวัติ

อัศนี พลจันทร เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2461 ที่บ้านท่าเสา ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี บิดาคือ พระมนูกิจวิมลอรรถ (เจียร พลจันทร) มารดาคือ สอิ้ง พลจันทร ซึ่งหากสืบเชื้อสายบิดาขึ้นไปจนถึงสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จะพบว่าต้นตระกูลคือ พระยาพล[ต้องการอ้างอิง] เดิมชื่อนายจันทร์ เคยรบกับพม่า จนได้ชัยชนะและเป็นผู้รั้งเมืองกาญจนบุรีในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จบชั้นมัธยม 5 แล้วศึกษาต่อจนจบชั้นมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2479 ในขณะที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สนใจในด้านวรรณกรรมโดยใช้นามปากกาว่า นายผี และเป็นที่รู้จักเมื่ออัศนีได้เป็นคนควบคุมคอลัมน์กวี ในนิตยสารรายสัปดาห์ 'เอกชน

คนไทยในอดีต เมื่อ 60 - 70 ปีที่ผ่านมา อาจรู้จักนายผีมากกว่าอัศนี พลจันทร เพราะตัวตนของนายอัศนี พลจันทร

ยังเป็นอัยการชั้นผู้น้อย แม้จะโจษจันกันว่าเป็นอัยการที่ยึดมั่นในความยุติธรรม มากกว่าตัวบทกฎหมายที่ออกโดย

   รัฐบาลเผด็จการ  แต่สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น  ทำให้บทกวีที่ทรงพลังของนายผี  เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง

ทั้งในหมู่ประชาชนที่สนใจการเมือง และจากกลไกของรัฐบาลที่คอยจับจ้องมองดูฝ่ายที่ถูกจัดว่าเป็นศัตรูทางการเมือง

โดยไม่ใส่ใจต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งนายผีถูกจัดให้เป็นฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามรัฐบาล

ทั้งๆ ที่อัศนี พลจันทร เป็นพนักงานอัยการ หรือทนายแผ่นดิน ซึ่งก็คือทนายของรัฐบาลนั่นเอง

ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 15 ปี ที่บ้านท่าเสา

ตำบลหน้าเมือง ราชบุรี เด็กชายคนหนึ่งถือกำเนิดมาในชนชั้นที่อาจถือได้ว่าเป็นศักดินา บิดา คือพระมนูกิจวิมลอรรถ

( เจียร พลจันทร ) ผู้พิพากษาศาลฎีกาในเวลาต่อมา มารดา คือนางมนูกิจวิมลอรรถ ( สอิ้ง พลจันทร ) ตระกูล "พลจันทร"

สืบเชื้อสายมาจากพระยาพล ( จันท์ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรี ใน รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตระกูล "พลกุล"

ก็เช่นเดียวกัน ปู่และย่าร่ำรวยเข้าขั้นเศรษฐี อาชีพขายทองรูปพรรณ ค้าเสาและไม้ฝาง มีโรงสีและมีนาให้เช่า

เมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ด.ช.อัศนีก็ต้องสูญเสียมารดา ย่าจึงต้องรับภาระฟูมฟักดูแลอบรมบ่มนิสัยหลานจนเติบโต

ในขณะที่ปู่สอนวิชาพากย์โขนและการต่อสู้ป้องกันตัว โดยเฉพาะการขี่ม้าฟันดาบ เขาจึงเป็นเด็กที่เติบโตขึ้นจากเบ้า

หลอมที่สมบูรณ์แบบ พร้อมที่จะเป็นชนชั้นศักดินา แต่นิสัยใจคอที่ใส่ใจต่อเพื่อนมนุษย์ เขาจึงชอบไปเที่ยวพูดคุยกับ

ชาวจีนที่มาเช่าที่ดินปู่ปั่นโอ่ง ได้รู้ถึงความเป็นไปของจีนแผ่นดินใหญ่ ฝึกพูดภาษาจีน หัดใช้ตะเกียบ และกินอาหารที่

บ้านชาวจีนบ่อยครั้ง จนท้ายที่สุด เขาถอดเครื่องประดับทองรูปพรรณที่คุณย่านำมาสวมให้ทิ้งไป คงเหลือไว้แต่แหวน

ของแม่ผู้ล่วงลับ บ่งบอกว่าเขาได้เข้าถึงความทุกข์ยากของผู้คน จนมองเห็นความแตกต่างระหว่างชนชั้นได้ ทั้งๆ ที่ยังเป็นเด็กชาย

เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประจำจังหวัดราชบุรี มีรถม้าส่วนตัวและพี่เลี้ยงคอยรับคอยส่ง จบมัธยมศึกษาปีที่ 5 ได้มาต่อที่ ร.ร.สวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ.2476 จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 8 เมื่อ พ.ศ.2479 เข้าศึกษาต่อวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ได้รับปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิต เมื่อ พ.ศ.2483 ระหว่างเรียนหนังสือที่ธรรมศาสตร์ เขาใช้เวลาส่วนหนึ่งไปเสาะหาความรู้เพิ่มเติมจากวัดมหาธาตุและหอสมุดแห่งชาติ ความรู้ได้เพิ่มพูนจนภายหลังเขาได้เป็นผู้รู้แตกฉานถึง 7 ภาษา คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส จีน มลายู บาลี สันสกฤต และอูรดู ( ภาษาประจำชาติของปากีสถาน ) และก่อนเสียชีวิตไม่กี่ปี เขาได้จัดทำพจนานุกรมภาษาจีนโบราณ แต่ต้นฉบับได้สูญหายไประหว่างหลบหนีการล้อมปราบของกองกำลังรัฐบาล

เริ่มสนใจในวรรณกรรมและวรรณคดีตั้งแต่เรียนธรรมศาสตร์ปีที่ 2 โดยเขียนบทความโต้ ส.ธรรมยศ เกี่ยวกับทัศนะในเรื่อง "นิราสลำน้ำน้อย" ของพระยาตรัง ใช้นามปากกาว่า "นางสาวอัศนี" ส่วนนามปากกา "นายผี" ถือกำเนิดเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2484 ในคอลัมน์กวีของนิตยสารรายสัปดาห์เอกชน ซึ่งก่อตั้งโดย สด กูรมะโรหิต และ จำกัด พลางกูร มี จำนง สิงหเสนี เป็นบรรณาธิการ

นิตยสารเอกชนฉบับแรกวางจำหน่ายเมื่อ วันที่ 11 มกราคม 2484 นามปากกา "นายผี" ก็ถูกกล่าวขวัญกันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าเนื้อหาสาระของบทกวีที่สร้างสรรค์ขึ้นมาในช่วงนั้น ยังสะท้อนปัญหาสังคมในมุมกว้าง เสียดเสียสตรีที่แต่งกายไม่เหมาะสม รวมทั้งการโต้ตอบกับบทกวีของ ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ และ หลวง บุณมานพพาณิชย์ ( ผู้ใช้นามปากกาว่านายสาง ) เกี่ยวกับทัศนะเกี่ยวกับวงการกวีของไทย ยังไม่ลงลึกไปถึงปัญหาของชนชั้นเหมือนบทกวีในภายหลัง

ความสนใจในปัญหาบ้านเมืองก็คงเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง พ.ศ.2479 - 2483 ถือว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของประวัติศาสตร์ จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบประชาธิปไตย ท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจรัฐภายหลังการสละราชสมบัติของในหลวงรัชกาลที่ 7 เหตุการณ์ที่อุบัติขึ้นในห้วงเวลาดังกล่าว หนีไม่พ้นที่นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองต้องใส่ใจ ยิ่งผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัย คือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดี พนมยงค์ มันสมองของคณะราษฎรซึ่งอยู่ในเกมช่วงชิงอำนาจด้วยแล้ว อัศนี พลจันทร จึงเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ไปโดยปริยาย

การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2484 ตามนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศสงครามอินโดจีน เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2484 แม้ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยจะไม่เห็นด้วย แต่เมื่อนักศึกษาส่วนหนึ่งต้องการเดินขบวน และอัศนีไม่อาจใช้เหตุผลหว่านล้อมชักจูงได้สำเร็จ เขาก็ตกลงเป็นผู้ถือธงนำขบวนเอง โดยบอกกับเพื่อนนักศึกษาว่า ทิ้งเพื่อนไม่ได้ ถ้าจะผิดก็ผิดด้วยกัน อันเป็นคุณธรรมที่ติดตัวอัศนี พลจันทร ไปจนตลอดชีวิต แม้ในยามเป็นอัยการหรือเป็นกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ( พคท. ) คุณธรรมอันสำคัญนี้ก็ได้แสดงให้เห็นเป็นประจักษ์อยู่เสมอ

การที่อัศนี พลจันทร หันมาใส่ใจในปัญหาของบ้านเมือง ได้มีผลต่อการปรับเปลี่ยนแนวทางบทกวีในเวลาต่อมา อีกทั้งเมื่อ วันที่ 21 กรกฎาคม 2484 เขาได้รับราชการเป็นอัยการผู้ช่วย กองคดี กรมอัยการในสมัยพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ เป็นอธิบดี ( คนที่ 6 ) ซึ่งชีวิตส่วนใหญ่ของอัยการต้องสัมผัสโดยตรงกับความทุกข์ยากของประชาชน เพราะผู้คนที่ผ่านเข้ามาในชีวิตอัยการไม่ว่าในฐานะผู้เสียหาย จำเลย พยาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ ล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวมาบอกเล่าให้อัยการได้รับฟังและรับรู้ อัยการที่มีพื้นฐานด้านจิตใจเช่นอัศนี พลจันทร ย่อมซึมซับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย เมื่อผนวกเข้ากับบริบทของสังคมไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน จึงเป็นเบ้าหลอมให้อัศนี พลจันทร ได้ก่อกำเนิดเป็น "นายผี - มหากวีแห่งประชาชน" ได้อย่างสมบูรณ์แบบในเวลาต่อมา

ห้วงเวลาที่ถือว่าเป็นตำนานของอัยการอัศนี พลจันทร เริ่มขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2485 เมื่อเขามีอายุเพียง 24 ปีเศษ เนื่องจากกรมอัยการแต่งตั้งให้เป็นอัยการผู้ช่วยจังหวัดปัตตานี ( ซึ่งวิมล พลจันทร ผู้เป็นภริยา เรียกว่า ถูกเนรเทศ ) และเป็นช่วงที่อยู่ในระหว่างสงคราม ต้องกระเบียดกระเสียร ทอดแหหากุ้งหาปลามากิน เหลือก็แบ่งปันให้เพื่อนบ้าน เลี้ยงไก่ไว้กินไข่ เลี้ยงแพะไว้รีดนม มิหนำซ้ำแพะ เจ้ากรรมยังดอดเข้าไปกินต้นฉบับงานแปล "ภควัทคีตา" จากภาษาสันสกฤตเสียหลายแผ่น เขาจึงถูกตั้งฉายาว่า "อัยการแพะ"

สองปีที่ปัตตานี เขาคลุกคลีกับชาวบ้าน ถีบจักรยานออกไปเยี่ยมเยียนตามชนบท หัดพูดภาษามลายูถิ่น ฝึกอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน สวมหมวกกาปีเยาะห์ ไม่กินเนื้อสุกร ได้รับปันส่วนไม้ขีดไฟมาจากทางการ แบ่งไว้ใช้เองบางส่วน นอกนั้นนำไปแบ่งปันให้ชาวบ้านสองครัวต่อหนึ่งกลัก ความรักที่เขามีให้ต่อประชาชนชาวปัตตานีจึงไม่มีกำแพงชาติพันธุ์ ศาสนา และวัฒนธรรม มากั้นกลาง

ตำรวจจับชาวบ้านปัตตานีจำนวนมากมาเปรียบเทียบปรับสังเวยลัทธิชาตินิยม ในข้อหาฝ่าฝืนรัฐนิยมของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม เช่น กินหมาก ไม่สวมหมวก นุ่งโสร่ง เป็นต้น พนักงานสอบสวนส่งสำนวนคดีเปรียบเทียบปรับมาขอความเห็นชอบจากพนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อัศนี พลจันทร ใช้ความกล้าหาญสั่งว่าการเปรียบเทียบปรับไม่ชอบซึ่งมีผลเท่ากับสั่งไม่ฟ้อง ต้องคืนค่าปรับให้กับผู้ต้องหาทุกคน ด้วยเหตุผลว่าผู้ต้องหาไม่รู้ภาษาไทย ไม่เข้าใจกฎหมายไทย รัฐนิยมขัดต่อเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนและขัดต่อหลักความยุติธรรม ใช้บังคับไม่ได้ เขาเลือกยืนเคียงข้างผู้ถูกกดขี่ แทนที่จะเป็นผู้กดขี่เสียเอง ทำให้กิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วทั้งปัตตานีและในกรมอัยการ เพราะอัยการในท้องที่อื่นล้วนให้ความเห็นชอบกับการเปรียบเทียบปรับทั้งสิ้น เมื่อเขาถูกย้ายไปสระบุรี จึงเป็นการพลัดพรากท่ามกลางหยาดน้ำตาของประชาชนที่เขารักและรักเขา

สองปีที่ปัตตานี เกือบไม่มีบทกวีในนามปากกา "นายผี" แต่อย่างใด อาจเพราะภาระหน้าที่อัยการที่แย่งเวลาไป และอาจเพราะเขาทุ่มเทแปล "ภควัทคีตา" หัวใจปรัชญาของชาวฮินดู อันเป็นตอนหนึ่งของมหากาพย์ภารตยุทธ ที่รจนาโดยฤาษีกฤษณะ ไทฺวปายนะ วฺยาส เมื่อ 1,600 ปี หรือราว ค.ศ.400 จากภาษาสันสกฤตมาเป็น "สยามพากย" ซึ่งต่อมาได้ลงพิมพ์ในนิตยสารอักษรสาส์นตั้งแต่ฉบับ

เดือนตุลาคม 2493 โดยใช้นามปากกา "อินทรายุธ" และได้จัดพิมพ์เป็นเล่มในภายหลัง อัศศิริ ธรรมโชติ กวีซีไรท์ กล่าวถึง "ภควัทคีตา" ไว้ว่า "แม้ว่าจะได้มีท่านผู้ทรงคุณวุฒิแปลมาหลายท่านแล้ว ผมก็รักและลึก

ซึ้งกับต้นตำรับของ "อินทรายุธ" ไม่ห่างหาย โดยเฉพาะกับข้อคิดบทวิจารณ์ของท่านเองที่ "ปลุกไฟ" ใน "สงครามอรชุน" ณ ท้องทุ่งกุรุเกษตร ประเทศอินเดียเมื่อกว่า 2 พันปีก่อน ให้ผมเห็นคุณค่าความหมายในวรรณคดี

เรื่องนี้"

เขาเริ่มเขียนบทกวีอีกครั้งเมื่อกุมภาพันธ์ 2487 ลงพิมพ์ใน น.ส.พ.นิกรวันอาทิจ ( สะกดตามแบบภาษาวิบัติในสมัยเชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ) ชื่อ "ทำไมนายผีถึงหายตัวได้" โดยบอกกล่าวว่าในห้วงเวลานั้นมีนักกลอน "ขนัดถนน" คนที่เป็นกวีแท้จริงจำต้องหลบไป ทั้งนี้เพราะในระหว่าง พ.ศ.2484 - 2487 รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกหนังสือวรรณคดีสาร โฆษณาชวนเชื่อนโยบาย "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" จึงมีผู้เขียนบทกวีจำนวนมากเกิดขึ้น มุ่งยกย่องนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะฉบับที่ตรงกับวันเกิดของนายกรัฐมนตรีและภริยาจะมีบทกวีอวยพรวันเกิดทั้งเล่ม บทกวีของนายผีทำให้เป็นที่เพ่งเล็งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ เมื่อมีการตีพิมพ์บทกวีที่วิพากษ์วิจารณ์นโยบายสร้างชาติของท่านผู้นำในลักษณะหยามหยันอีก นิกรวันอาทิจจึงถูกสั่งปิดในสิงหาคมของปีเดียวกัน

อัศนี พลจันทร เดินทางไปรับตำแหน่งอัยการผู้ช่วยที่สระบุรีเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2487 เขาปฏิเสธไม่รับเลี้ยงจากพ่อค้า อ้างว่าเป็นมุสลิมต้องเคร่งครัดเรื่องอาหารการกิน เพื่อปิดประตูที่พ่อค้าจะเข้าถึงตัวอัยการได้ตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน คือ การเลี้ยงอาหาร แม้พ่อค้าบางคนจะไม่มีธุรกิจผิดกฎหมาย แต่การมีสัมพันธ์ที่ดีกับอัยการหรือผู้พิพากษา ถือว่าได้มากกว่าเสีย ถ้ามีธุรกิจผิดกฎหมายด้วยยิ่งไม่ต้องพูดถึง

พ.ศ.2489 นายผีเปิดคอลัมน์ "วรรณมาลา" ในสยามนิกรรายวัน แต่เนื่องจากเป็นช่วงที่รัฐบาลปรีดี พนมยงค์ ประสบภาวะวิกฤตทางการเมืองเนื่องจากกรณีสวรรคตเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 เจ้าพนักงานการพิมพ์จึงตรวจตราข่าวหนังสือพิมพ์อย่างเข้มงวด บทกวีก็ถูกเข้มงวดไปด้วย ต่อมา เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2489 นายปรีดี พนมยงค์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ จัดตั้งรัฐบาลใหม่เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2489 สืบทอดอำนาจนายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งเลื่อนชั้นไปดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

บทกวีของนายผีก็ได้ออกโรงด้วยท่าทีแข็งกร้าวต่อนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการแก้ปัญหาค่าครองชีพของประชาชนซึ่งกำลังเป็นปัญหาอย่างรุนแรง ในช่วงพ.ศ.2490 ซึ่งมีการยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ โดยพลโทผิน ชุณหะวัณ หัวหน้าคณะรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 นายผีย้ายมาเปิดคอลัมน์ "อักษราวลี" ใน น.ส.พ.สยามสมัย รายสัปดาห์ ด้วยบทกวีแข็งกร้าวมากกว่าเดิม โดยมีการโจมตีนักการเมืองรายบุคคล ทั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม พลโทผิน ชุณหะวัณ พลโทกาจ กาจสงคราม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ซึ่งล้วนเป็นฝ่ายปฏิปักษ์กับนายปรีดี พนมยงค์ และสร้างกระแสกดดันจนนายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบหนีออกนอกประเทศ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 ทำให้ยิ่งถูกเพ่งเล็งจากรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีหุ่นเชิดของคณะรัฐประการ ถึงขนาดมีคำสั่งให้กำราบกวีสำนวนกล้าคนนี้ แต่นายผีก็ไม่หวั่นเกรง เขียนบทกวีท้าทายอำนาจรัฐไปด้วยท่วงทำนองที่ไม่ยอมลดราวาศอก ในขณะที่มีอายุเพียง 30 ปีเศษเท่านั้น

ที่สระบุรี อัศนี พลจันทร ได้เข้าไปเกี่ยวข้องคบหาฉันมิตรกับนักการเมือง คือ ร.อ.ประเสริฐ สุดบรรทัด ซึ่งลงสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ถูกข้าหลวงประจำจังหวัดตัดสิทธิไม่ให้สมัคร ทำให้เขาต้องออกโรงปกป้องสิทธิให้เพื่อน จนกรมอัยการมีคำสั่งย้ายไปเป็นอัยการผู้ช่วยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2491 และได้เลื่อนเป็นชั้นโทเมื่อ วันที่ 1 มีนาคม 2492 ต่อมาเมื่อเปลื้อง วรรณศรี ไปปราศรัยหาเสียงที่อยุธยา เขาเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตจากข้าหลวงประจำจังหวัด แต่พอถึงวันปราศรัย นายอำเภอมาบอกว่าข้าหลวงไม่อนุญาตให้ปราศรัยแล้ว จึงเกิดการโต้เถียงกัน ระหว่างที่โต้เถียงกัน อัศนีเกาสะเอว นายอำเภอเข้าใจว่าจะชักปืนออกมายิง จึงรีบปั่นจักรยานหนีไป กรณีดังกล่าวบานปลาย โดยมีการตั้งข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาสอบสวนข้อเท็จจริง ผลตามมา คือ อัศนี พลจันทร ถูกย้ายไปทำงานที่กองคดี กรมอัยการ ส่วนนายอำเภอถูกย้ายออกนอกพื้นที่ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาทางการปกครอง เพราะถ้าอัยการกับฝ่ายปกครองแตกคอกัน อุปสรรคจะเกิดแก่ราชการงานเมือง

นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งหนีคณะรัฐประหารไปเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2490 ได้ลอบเข้าประเทศและร่วมกับผู้ที่จงรักภักดีทำการยึดพระมหาบรมราชวังเป็นกองบัญชาการคณะผู้ก่อการเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 แต่ถูกปราบปรามโดยรัฐบาล จนฝ่ายผู้ก่อการต้องล่าถอยและพ่ายแพ้ไป นายปรีดี พนมยงค์ ต้องหลบซ่อนตัวอยู่ระยะหนึ่งจึงหนีออกนอกประเทศ และขอลี้ภัยทางการเมืองที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในปีนั้นเอง เหตุการณ์นั้นเรียกกันว่า "ขบถวังหลวง" ในขณะที่อัศนี พลจันทร มีเวลาทุ่มเทให้กับวรรณกรรมมากขึ้นเพราะได้ย้ายมาประจำอยู่ที่กองคดี กรมอัยการ ในระหว่างปี พ.ศ.2492 - 2495 ซึ่งเป็นช่วงที่นายผีกำลังรุ่งโรจน์ เขาเข้าไปช่วยทำนิตยสารอักษรสาส์นรายเดือน ของสุภา ศิริมานนท์ อดีตบรรณาธิการนิกรวันอาทิจ เพื่อให้เป็นเวทีแสดงศิลปะวรรณกรรมและการเมือง โดยนายผียังคงเขียนบทกวีให้กับสยามนิกรและสยามสมัยควบคู่ไปด้วย ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้อนแรง การกวาดล้างศัตรูทางการเมืองที่เข้มข้นหลังขบถวังหลวง จนแม้แต่ 4 อดีตรัฐมนตรีก็ถูกคนของรัฐบาลนำไปสังหาร และนักการเมืองสำคัญบางคนก็หายสาบสูญไร้ร่องรอย

บทกวีและเรื่องสั้นของนายผีในช่วงที่กำลังรุ่งโรจน์นี้ ได้ขยายขอบเขตจากการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและการเมืองอย่างแข็งกร้าวไปสู่แนวคิดเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างชนชั้น การกดขี่ขูดรีด และความอยุติธรรมในสังคม กับการวิพากษ์วิจารณ์สตรีเพื่อกระตุ้นให้เกิดตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของตนเอง พร้อมกับเสนอแนวคิดเกี่ยวกับความรักรูปแบบใหม่ คือ ความรักระหว่างชนชั้น และความรักในมวลชน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายผีได้เขียนบทกวีปลุกเร้าประชาชนผู้ยากไร้ และชนชั้นกรรมาชีพให้ตระหนักถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของตน เรียกร้องให้รัฐบาลและสังคมไทยใส่ใจต่อความทุกข์ยากของชาวนา ผู้ใช้แรงงาน และผู้ด้อยโอกาสในสังคมทุกหมู่เหล่า โดยเฉพาะบทกวี "อีศาน" ที่ลงตีพิมพ์ในคอลัมน์อักษราวลี น.ส.พ.สยามสมัยรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 เมษายน 2495 ที่กล่าวขวัญกันมากทั้งในขณะนั้นและในเวลาต่อมา จนกลายเป็นบทกวีที่โดดเด่นที่สุดของนายผี จิตร ภูมิศักดิ์ ในนามปากกา "สมชาย ปรีชาเจริญ" ได้เขียนบทวิจารณ์ลงในคอลัมน์ชีวิตและศิลปะใน น.ส.พ.สารเสรี เมื่อ 5 - 6 ปีต่อมาว่า "บนหน้าหนึ่งของประวัติวรรณคดีไทยอันจักเขียนขึ้นโดยปราชญ์แห่งประชาชนในอนาคต จักต้องจารึกไว้อย่างภาคภูมิและทระนงว่า ในวันที่ 3 เมษายน 2495 เพชรน้ำเอกของวรรณคดีประเภทกลอนของประชาชน ได้ปรากฏออกสู่สายตามวลชน เพชรน้ำเอกชิ้นนั้นก็คือ บทกลอน "อีศาน" อันเลื่องลือกำจรนามของมหากวีแห่งประชาชนผู้ใช้นามว่า "นายผี"

ย้อนไปเมื่อนามปากกา "นายผี" เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง มีผู้อ่านถามไถ่กันมามากว่านายผีคือใคร มีความหมายอย่างไร นายผีได้เขียนโคลงอธิบายลงใน น.ส.พ.สยามนิกร ฉบับวันที่ 28 ธันวาคม 2489 ชื่อบทกวี "นายผีคือใคร"

โดยนายผีได้ให้คำแปลไว้ด้วยว่า ภูเตศวร คือ นายแห่งผี และปีศาจบดี คือ นายแห่งผี ซึ่งได้แก่ พระอิศวร นายผี จึงมีความหมายว่า พระอิศวร นั่นเอง

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2495 หลังจากบทกวี "อีศาน" ตีพิมพ์ได้เพียง 6 เดือน รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีคำสั่งจับกุมนักเขียน นักหนังสือพิมพ์ และนักการเมือง จำนวนมากถึง 104 คน โดยมีข้อกล่าวหาว่า "..มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมาย ด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย เพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่างๆ เช่น ปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้าง ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการที่อาจจะทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยุยงให้ทหารที่ส่งออกไปรบในแดนเกาหลีตามพันธะรัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เสื่อมวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย..." เนื่องจากผู้ถูกจับกุมคุมขังจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย ต่อมา มีผู้เรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า "ขบถสันติภาพ"

บุคคลที่ถูกจับใน "ขบถสันติภาพ" เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ ผู้ใช้นามปากกา "ศรีบูรพา" อุทธรณ์ พลกุล พลตรีเนตร เขมะโยธิน เป็นต้น ซึ่งอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหา 54 คน ศาลพิพากษาจำคุกบางราย 20 ปีบ้าง จำคุก 13 ปีบ้าง ต่อมา ได้พ้นโทษโดย พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเนื่องในโอกาสพุทธศตวรรษที่ 25 ในปี พ.ศ.2500 อัศนี พลจันทร อยู่ในข่ายถูกจับกุมด้วยคนหนึ่ง ตำรวจไปคอยดักจับทั้งที่บ้านและที่กรมอัยการ แต่เขาหลบเลี่ยงเสียทันท่วงที และได้ยื่นใบลาป่วย 3 เดือนติดต่อกัน แต่ไม่ทันครบกำหนดก็ยื่นใบลาออกจากราชการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2495 ในสมัยที่หลวงอรรถปรีชาชนูปการเป็นอธิบดีกรมอัยการ ( คนที่ 9 ) และจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่างนั้นได้หลบๆซ่อนๆอยู่นอกบ้าน จนกระทั่งเย็นวันหนึ่งเขาแอบเข้าไปเก็บเสื้อผ้า กอดลูกเล็กสองคนไว้กับอก บอกภริยาให้ซื้อผ้าห่มกันหนาวให้ลูก แล้วหายตัวไปจากบ้านตั้งแต่วันนั้น ถือว่าอัศนี พลจันทร เป็นอัยการได้เพียง 11 ปีเศษ และต้องหลบลี้หนีภัยคุกคามจากรัฐบาลเผด็จการ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2495 เป็นต้นมาด้วยวัย 35 ปี

การหลบหนีอำนาจรัฐในช่วงแรก อัศนี พลจันทร จำต้องทิ้งภาระเลี้ยงดูลูก 4 คนไว้กับภริยา และยังคงซ่อนตัวอยู่ในจังหวัดพระนคร อีกทั้งนายผียังได้สร้างผลงานที่โดดเด่นอีกสองเรื่อง คือ บทกวี "ความเปลี่ยนแปลง" และเรื่องยาวคำฉันท์ "เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า" ซึ่งเขียนขึ้นภายหลังที่มีการจับกุมกรณีขบถสันติภาพ และแอบส่งไปให้อุทธรณ์ พลกุล ผู้เป็นลูกพี่ลูกน้องอ่านในที่คุมขัง จึงมีการกล่าวถึงประวัติตระกูลและประวัติของตนอยู่ด้วยบางส่วน บทกวีสองชิ้นนี้ถือว่าเป็นผลงานชิ้นเอกเช่นเดียวกับ "อีศาน"

ระหว่างเดือนมีนาคม 2496 - พฤษภาคม 2497 นายผีได้เขียนเรื่องสั้นจำนวน 4 เรื่อง ลงพิมพ์ในนิตยสารสยามสมัย รายสัปดาห์ ต่อมา เมื่อ พ.ศ.2501 ได้เขียนบทความลงในนิตยสารสายธาร บทกวีใน ปิยมิตรวันจันทร์ ก่อนจะหายหน้าไปจากทุกเวทีอย่างถาวรหลังจากจิตร ภูมิศักดิ์ กวีรุ่นน้องต้องถูกจับเข้าคุกลาดยาวด้วยข้อหาคอมมิวนิสต์เมื่อ พ.ศ.2502 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี และยึดกุมอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จด้วยมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502

ช่วย พูลเพิ่ม ได้บันทึกไว้ว่า ผลงานของอัศนี พลจันทร ที่มีอยู่ทั้งหมด คือ ร้อยกรองไม่น้อยกว่า 316 บท บทความ มีทั้งด้านภาษา วรรณคดี การประพันธ์ ศิลปวัฒนธรรมวรรณคดี ศาสนา กฎหมาย สังคม และการเมือง ทรรศนะเกี่ยวกับสตรี สารคดี เรื่องสั้น 34 เรื่อง งานแปล เช่น พระเจ้าอยู่ไหน ภควัทคีตา จิตรา และกาพย์กลอนเหมาเจ๋อตุง อื่นๆ เช่น อหังการของกวี เป็นต้น ส่วนนามปากกา มี 19 นามปากกา คือ กุลิศ , กุลิศ อินทุศักดิ์ , น.น.น. , นางสาวอัศนี , นายผี , ประไพ วิเศษธานี , ศรีฯ , ศรีอินทรายุธ , สายฟ้า , หง , หง เกลียวกาม , อ.พ. , อ.พลจันท์ , อัศนี พลจันทร ธ.บ. , อัศนี พลจันท์ , อำแดงกล่อม , อินทรายุธ , อุทิศ ประสานสภา และ อ.ส.

ถนนหนังสือปีที่ 1 ฉบับที่ 6 กันยายน 2526 บันทึกคำพูดของสุภา ศิริมานนท์ ที่กล่าวถึง "นายผี" ไว้ว่า "ตอนนั้น ( ยุคนิกรวันอาทิตย์ ) อนาคิสต์ กุลิศ อินทุศักดิ์ ( นามปากกาของนายผี ) อนาคิสต์ทั้งนั้น อนาคิสต์ไม่ใช่ของเลว ขวางโลกไว้ก่อน ตะเข้ฟาดหางเข้าไว้ มันเหมาะกับเมืองไทย บ้าดี บ้าดีชะมัด สนุกฉิบหาย อย่างบางเรื่องของกุลิศ อินทุศักดิ์ ตัวละครกระโดดเข้าหน้าต่างมา นอนเอาตีนชี้เพดาน ใครหนอมาสีเพลงของบีโธเฟนนัมเบอร์ไนน์ แล้วนัมเบอร์ไนน์มันสูงที่สุด นั่นแหละผี ผมอยากให้เขาเป็นอย่างนั้น อยากให้หยุดไว้แค่นั้น เขาไม่หยุด เดี๋ยวนี้ผมยังชอบเขา ยังเอา "พระเจ้ายู่ที่ไหน" ( นายผีแปล ) มาพิมพ์ตอนงานอายุครบ 60 เขาควรอยู่ในเมือง การไปอยู่ป่าเป็นการลดสมรรถนะของเขา ที่ควรจะแหลมก็แหลมไม่ออก ดูอย่างพี่กุหลาบอยู่เมืองจีน 18 ปี ไม่ได้เขียนสักตัว อยู่เป็นพรรคมันต้องละลายตัวเองลงสู่ระดับเดียวกับเขา แหลมไม่ได้ ตัวเราจะคิดอะไรให้มันแหลมก็อย่าไปยุ่งกับเขา เราก็เสียเขาก็เสีย นักประพันธ์ชอบอยู่คนเดียว ทำงานคนเดียว โดย trait ของเขา"

พ.ศ.2504 แม้อัศนี พลจันทร และนายผีจะเงียบหายไปจากสายตาของคนไทย แต่นาม "สหายไฟ" ก็ปรากฏขึ้นมาแทน โดยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในยี่สิบคนของคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ( พคท. ) และในปีเดียวกัน นายครอง จันดาวงศ์ และนายทองพันธ์ สุทธิมาศ ถูกจับกุมในข้อหาคอมมิวนิสต์ และจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2502 สั่งประหารชีวิต ทำให้ พคท. ต้องย้ายศูนย์การนำจากจังหวัดพระนครไปที่อื่น สหายไฟพร้อมกับภริยาคือสหายลม( วิมล พลจันทร ) ซึ่งจำใจฝากลูก 4 คนไว้กับญาติเพื่อติดตามสามีไปสู่โลกใหม่ที่ไม่รู้จักและปราศจากอนาคตใดๆ ถูกส่งไปกรุงฮานอย ก่อนเดินทางเข้าสู่เมืองคุนหมิง มณฑลยูนานของประเทศจีนในเวลาต่อมา อัศนี พลจันทร อดีตทนายแผ่นดิน ลูกชายของผู้พิพากษาศาลฏีกา ผู้สืบเชื้อสายจากพระยาพล เจ้าเมืองกาญจนบุรี ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต้องกลายเป็นคอมมิวนิสต์ที่มีจุดยืนตรงข้ามกับรัฐบาลไทยไปอย่างไม่มีทางเลือก ตั้งแต่เวลานั้น และภายหลังเขาถูกส่งไปกรุงปักกิ่ง ศึกษาทฤษฎีการเมืองเพื่อกลับมาเป็นมันสมองของ พคท. ในนาม "สหายเฉินจิ้นเหวิน"

หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 "วันมหาวิปโยค" จอมพลถนอม กิตติขจร และจอมพลประภาส จารุเสถียร ผู้ครองอำนาจสืบต่อจากจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต้องเดินทางออกนอกประเทศ และนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นิสิตนักศึกษาพลังสำคัญในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยมีอิสระเสรีในการแสวงหา ผลงานของนายผี และนามปากกาอื่นถูกนำมาตีพิมพ์เผยแพร่กันอย่างกว้างขวาง "อีศาน" "เราชะนะแล้ว, แม่จ๋า" "ความเปลี่ยนแปลง" "ภควัทคีตา" "ศิลปาการแห่งกาพย์กลอน" และผลงานอื่น ได้ถูกนำไปศึกษา จนทำให้ "นายผี" เป็นมหากวีที่นิสิตนักศึกษายุคนั้นเทิดทูนให้เป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ นักศึกษาชั้นปริญญาโทมหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒวิทยาเขตประสานมิตรได้ทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับผลงานของเขาในเวลาต่อมา

เพียง 3 ปีผ่านไป เมื่อถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ฝันหวานของนิสิตนักศึกษาและประชาชนก็จางหายไป ได้มีการปราบปรามนิสิตนักศึกษาอย่างรุนแรงด้วยรูปแบบต่างๆ ส่วนหนึ่งเสียชีวิตที่สนามหลวง ส่วนใหญ่ถูกล้อมจับที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และถูกนำไปควบคุมตัวที่โรงเรียนพลตำรวจบางเขน แล้วถูกปล่อยชั่วคราวออกมา และต้องจารึกว่าภายหลังผู้ต้องหากลุ่มนี้ราว 2,500 คนเศษ นายประเทือง กีรติบุตร อธิบดีกรมอัยการในขณะนั้น ใช้ความกล้าหาญสั่งไม่ฟ้องทั้งหมด แต่ผู้นำนิสิตนักศึกษาส่วนหนึ่งที่ถูกรัฐบาลหลอกไปจับกุมก่อนวันที่ 6 ตุลาคม 2519 ได้ถูกดำเนินคดี และศาลพิพากษาจำคุก ภายหลังพ้นโทษมาเพราะกฎหมายนิรโทษกรรม

นิสิตนักศึกษาและประชาชนทั้งที่ถูกปล่อยตัวพ้นข้อหาและที่หลบหนีได้ไม่ถูกจับกุม ภายหลังต่างหวาดกลัวภัยคุกคามจากอำนาจรัฐ ได้ทยอยกันหลบหนีเข้าไปร่วมงานกับ พคท. หลายคนจึงได้มีโอกาสสัมผัสกับนายผีที่พวกเขาใฝ่ฝันอยากได้พบ ซึ่งนายผีหรือสหายไฟได้เติมไฟแห่งปัญญาแก่พวกเขาจนลุกโชน นายผีในวัย 60 ปีเศษ ได้เป็นบรมครูด้านกวีนิพนธ์ วรรณคดีสากลและภาษาศาสตร์ของคนไทยอย่างหาใครเทียบได้ยาก ไม่รวมถึงทฤษฎีการเมืองทั้งหลายที่เขาศึกษามากว่า 20 ปีจนตกผลึก

ประเสริฐ จันดำ บันทึกความทรงจำส่วนนี้ไว้ว่า "ต้นปี 2522 ผมเพิ่งกลับจากเดินทางไปทำงานที่เขต 8 เชียงรายไม่นานวัน มีข่าวว่าทางการลาวจะปิดพรมแดน และพลพรรคคอมมิวนิสต์ไทยต้องโยกย้ายกลับประเทศของตน ความเป็นพี่น้องทางสากลหมางเมินกันแล้ว เท่าที่นักรบปลายแถวอย่างผมได้รับรู้ก็คือ พรรคไทยเป็นลูกน้องจีน ส่วนพรรคลาวเป็นลูกน้องเวียดนามและโซเวียต ไปด้วยกันไม่ได้เสียแล้ว ถ้าเป็นเช่นนั้นแยกทางกันเดินเสียจะดีกว่า"

"เหตุการณ์ทุกอย่างในป่าเขา เรามักคาดไม่ถึง การปิดลับกระทำกันอย่างเข้มงวด ถือเป็นวินัยเหล็กข้อหนึ่งทีเดียว ความรู้สึกตอนนั้นของผมมันบอกไม่ถูก ตื่นเต้นที่จะได้พบ "มหากวี" ที่เคยอ่านแต่ผลงานของท่าน รูปหรือเห็นแต่ลายเส้นใส่แว่นตาโต มีจุดๆบนใบหน้า ออกเมล์เที่ยวนี้คุ้มค่าจริงๆ"

"ผมมองเห็นชายสูงอายุคนนั้น ร่างเล็กเกร็ง ผิวคล้ำ ใส่แว่นหนาเตอะ ท่าทางอารมณ์ดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เมื่อมีคนแนะนำ ท่านพูดว่า "เรานักเรียนสวนกุหลาบด้วยกัน" นี่แสดงว่าลุงไฟหรือนายผีต้องรู้เรื่องเกี่ยวกับพวกเราอยู่สมควร แม้แต่คนเล็กๆอย่างผม ครับ, ผมก็รู้สึกปลื้มใจเป็นธรรมดาของคนหนีตาย พลัดบ้านพลัดเมืองมาแล้ว ได้พบคนที่มีชื่ออุโฆษนามขจรอย่างท่าน"

สุรชัย จันทิมาธร บันทึกความทรงจำไว้ว่า "ชื่อเสียงของเขาหอมกรุ่นอยู่ในความรู้สึกของเรา เป็นคนลึกลับมาแต่ไหนแต่ไร แล้ววันหนึ่งเราได้พบเขาในบริเวณที่ราบเล็กๆ ในเขตภูเขาสลับซับซ้อนทางตอนเหนือของลาว เรารู้แต่ว่ามันคืออาณาบริเวณที่เรียกว่าแขวงหลวงน้ำทา ที่นี่เป็นแนวหลังที่ห่างไกลแนวหน้ามากโข พลพรรคคอมมิวนิสต์มีทั้งเด็กเล็กตลอดจนพ่อบ้านแม่เรือนและคนแก่"

"แล้วในบ่ายวันหนึ่งของการพักผ่อน เขาก็ปรากฏตัวไล่ๆกับอุดม สีสุวรรณ ในระดับสหายนำเช่นผู้เฒ่าทั้งหลาย ความรู้สึกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เหมือนได้เคยรู้จักกันมาหลายสิบปี เขารู้จักการทำงานของเราค่อนข้างดี เขากระตือรือร้นที่จะทำความรู้จักกับคนรุ่นเยาว์ด้วยท่าทีกันเองและอบอุ่น"

"ผมรู้สึกว่าเขาเป็นคนรอบรู้ศิลปะวิทยาการระดับนำอีกคนหนึ่ง มีความรู้ถึง 7 ภาษา แต่ผมจำไม่ได้ว่าภาษาอะไรบ้าง อ่านวรรณคดีระดับโลกมาหลายต่อหลายเล่มเกวียน เวลาพูดคุยจะสามารถยกข้อความ หรือความคิดของประวัติศาสตร์หรือวรรณคดีต่างๆประกอบ ส่วนมากจะเป็นของรัสเซียและแถบยุโรปกลาง"

"ผู้รอบรู้ทางศิลปะวรรณคดีที่สำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย เมื่อมานั่งประจำสำนักทฤษฎี ค้นคว้าหนังสือทฤษฎีว่าด้วยการปฏิวัติ ก็ดูจะมีจุดอ่อนตรงอารมณ์ความรู้สึกยังไม่สัมพันธ์กับงานที่ตัวเองทำ จึงมีความขัดแย้งและแย่งชิงอำนาจการนำการชี้นำความคิดทางการเมือง สหายไฟมักถูกสหายนำทางด้านทฤษฎีตำหนิวิจารณ์ ฉายาของเขาอย่างหนึ่งที่ชาวนักปฏิวัติบางคนมอบให้ ก็คือ ศักดินาปฏิวัติ"

สุรชัย จันธิมาธร บันทึกเกี่ยวกับเพลงคิดถึงบ้านไว้ว่า "ผมอยู่แนวหน้า เขาก็อยู่ชายแดนประสาคนเฒ่า และที่สนามรบก่อนจะเกิดศึกใหญ่ ผมได้พบญาติพี่น้องซึ่งเป็นสายทางเขา เพลง "คิดถึงบ้าน" ถูกร้องให้ผมฟังโดยหมอตุ๋ย...สหายหญิงผิวคล้ำ คนภาคกลางแถวราชบุรีซึ่งเป็นญาติของเขา...และบอกว่าเป็นเพลงที่นายผีแต่งขึ้น ตั้งแต่พลัดบ้านพลัดเมืองไปอยู่กรุงปักกิ่ง เป็นเวลาเกือบ 30 ปีมาแล้ว ฯลฯ ขนาดเพลงที่เขาเขียนและหลายคนก็ชอบ คือเพลง "คิดถึงบ้าน" ยังถูกมองว่าเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่เป็นผลดีต่อการปฏิวัติ"

ย้อนกลับไป พ.ศ.2518 ประเทศลาวได้เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยขบวนการคอมมิวนิสต์สายโซเวียต อันใช้กำลังหลักจากพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจึงต้องตัดสินใจว่าจะใช้ทฤษฎี "โดมิโน" สาย โซเวียต ที่ยึดแนวคิดเปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยการใช้กองกำลังต่างชาติเข้าสนับสนุน หรือจะยึดตามอย่างสายจีนที่เน้นใช้วิธีเปลี่ยนแปลงความคิดของประชาชาติ ปลุกเร้าอุดมการณ์ รอจนกว่าจะสุกงอมทางความคิดในประชาชาตินั้นๆเอง

พคท. ส่วนหนึ่งรับข้อเสนอของคอมมิวนิสต์สายโซเวียต เตรียมการปฏิวัติโดยกองกำลังต่างชาติตลอดแนวลำน้ำโขงอันเชื่อมต่อประเทศไทย "สหายไฟ" ในฐานะระดับนำคนหนึ่ง ได้คัดค้านการใช้กองกำลังต่างชาติอย่างหัวชนฝา ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงปฏิวัติประเทศต้องเกิดจากเงื่อนไขของสังคมไทยและโดยคนไทยด้วยกันเอง ทำให้สหายไฟต้องถูกพรรคจำกัดการเคลื่อนไหวตลอดเวลาของการอยู่ในลาว เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับเจ้าของพื้นที่ กระทั่งสถานการณ์ขัดแย้งระหว่างจีนและเวียดนามถึงจุดแตกหัก พคท. ซึ่งถูกระบุว่าเป็นคอมมิวนิสต์สายจีน จึงต้องเคลื่อนย้ายอพยพผู้คนออกจากลาว สหายไฟจึงได้กลับมาตุภูมิที่เขารักและหวงแหนในปี พ.ศ.2522

แต่ครั้นถึง พ.ศ.2526 หลังวันครบรอบวันเกิดสหายไฟไม่นาน ได้เกิดศึก ภูเมี่ยงขึ้นในเขตน่านเหนือ พคท. เกิดความเสียหายอย่างหนัก สหายไฟต้องเดินทางข้ามแม่น้ำโขงไปเจรจาขอซื้อข้าวกับกรรมการกลางเขตหงสาของลาว ขณะนั้นได้เกิดการแตกพ่ายของฐานที่มั่นเขต 4 ของ พคท. จังหวัดน่าน ในยุทธการล้อมปราบของรัฐบาลไทย จนมีการแตกหนีเข้าสู่ฝั่งลาวบางส่วน สหายไฟและพลพรรคที่หนี แตกพ่ายเข้าสู่ลาว ได้ถูกปลดอาวุธและจำกัดบริเวณ ในขณะที่ "สหายลม" (วิมล พลจันทร) ติดตามขบวนใหญ่ซึ่งเคลื่อนลงเขตน่านใต้ ทำให้สหายไฟและสหายลมพลัดพรากจากกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาและตลอดกาล ภายหลังวิมล พลจันทร ได้กลับสู่เมืองไทยภายใต้คำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ 66/2523 ลงวันที่ 23 เมษายน 2523 สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบุรุษ ผู้ใช้นโยบายการเมืองนำการทหารได้อย่างเป็นรูปธรรมที่สุด ในขณะที่สหายไฟกลับไม่ประสงค์จะเดินทางออกจากประเทศลาว ทั้งๆที่สหายนำหลายคนกลับประเทศแล้ว อาจเป็นเพราะเขายังต้องอยู่ต่อสู้ทางความคิดภายใน พคท. ต่อไป เพื่อปกป้องประเทศไทยจากการรุกรานของต่างชาติ และเป็นภาระหน้าที่สุดท้ายที่เขาแบกเอาไว้ด้วยบ่าทั้งสองข้างอย่างเข้มแข็งเช่นทุกครั้งเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ที่ร้ายแรง

ตลอดเวลา 4 ปีที่อยู่ฐานที่มั่นฝั่งลาว มีปัญญาชนหนุ่มสาวและบรรดาเยาวกวีแวะเวียนมาปรับทุกข์ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งใน พคท. ลุงไฟจะคอยตรวจงานเขียนพร้อมคำวิจารณ์และคอยให้กำลังใจ แต่บรรยากาศการแย่งชิงการชี้นำที่ระอุอยู่ในขณะนั้น ทำให้เหล่าปัญญาชนปฏิวัติเกิดการเบื่อหน่าย หันมาตั้งคำถามและตรวจสอบเป้าหมาย เมื่อรัฐบาลไทยเสนอทางให้เลือกด้วยนโยบาย 66/2523 ทำให้ส่วนใหญ่ตัดสินใจเดินทางกลับบ้าน ในขณะที่หลายคนตัดสินใจไปศึกษาต่อต่างประเทศ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยตามนโยบายดังกล่าวถึง 25,884 คน ทั้งที่เป็นนิสิต นักศึกษา ชาวนา กรรมกร ปัญญาชน และประชาชนทั่วไป

หลายต่อหลายคนเดินทางจากไป แต่ลุงไฟยังต้องอยู่ต่อไปท่ามกลางความขัดแย้งทางความคิด สหายนำด้านทฤษฎีวิจารณ์วิจารณ์ว่าเขาเป็นศักดินาปฏิวัติ บ้างตำหนิว่าเป็นนายทุนน้อย หรือวีรชนเอกชน แต่เขายังมั่นคงในสิ่งที่เขายึดถือว่าถูกต้องเสมอ คือไม่ยอมให้กองกำลังต่างชาติมาทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยให้เป็นคอมมิวนิสต์ ถ้าจะเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนแปลงเพราะคนไทยส่วนใหญ่เห็นดีเห็นงามด้วย ในส่วนลึกของหัวใจเขาคงไม่อาจบอกใครได้ว่าเขารักเมืองไทยและคนไทยมากน้อยเพียงใด เพราะในฐานะที่เป็นผู้นำการปฏิวัติ ไม่มีใครมีสิทธิแสดงออกถึงอารมณ์เช่นนั้น แต่ในฐานะคนไทยและปุถุชนคนหนึ่ง เขาได้บอกถึงสิ่งที่อยู่ในใจไว้แล้วในเพลง "คิดถึงบ้าน" และปรารถนาสุดท้ายของเขาคือได้กลับมาตายที่เมืองไทย สิ่งนั้นยังมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงไปแม้แต่น้อย

ในยามค่ำคืนที่เหน็บหนาวและคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน เขายังต้องทนทุกข์ทรมานด้วยโรครูมาตอยจนไม่อาจเคลื่อนไหวร่างกายได้โดยไม่เจ็บปวดรวดร้าวตามกระดูกและข้อต่อ โรคกระเพาะอาหารเรื้อรังภายหลังได้แปรเปลี่ยนมาเป็นมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ แม้จะมีความพยายามจากฝ่ายลาวที่จะรักษาพยาบาล แต่ก็ไม่อาจยื้อ ชีวิตของเขาไว้ได้ อัศนี พลจันทร ได้ปิดฉากชีวิตลงอย่างเดียวดายเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2530 ด้วยวัย 70 ปีเศษที่แขวงอุดมไชย ประเทศลาว ใกล้เมืองไทยแค่เอื้อม แต่ไกลจนสุดขอบฟ้า

หลายปีต่อมา ป้าลม-วิมล พลจันทร ได้ทราบข่าวการจากไปของอัศนี พลจันทร และทราบว่าพรรคคอมมิวนิสต์ลาวยังเก็บรักษากระดูกไว้ให้ จึงต้องการนำกระดูกกลับมาประกอบพิธีทางศาสนาที่เมืองไทย แต่ก็ยังไม่อาจกระทำได้ทันที เพราะประเทศไทยมีการยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ( รสช. ) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ติดตามด้วยเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2535 แม้ต่อมานายชวน หลีกภัย จะได้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่การเมืองไทยไม่มีเสถียรภาพ ประชาธิปไตยยังไม่พ้นพงหนาม การนำกระดูกอัศนี พลจันทร กลับบ้านจึงเป็นเพียงความหวังลมๆแล้งๆของวิมล พลจันทร

พ.ศ.2540 ประเทศไทยมีการปฏิรูปการเมือง มีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน บรรยากาศทางการเมืองสดใส ความฝันของป้าลมกลายเป็นจริง กลุ่มมิตรสหายที่ยังคงเลื่อมใสศรัทธาในนายผี เช่น กลุ่มเครือข่ายเดือนตุลาฯ กลุ่มศิลปินเพลงเพื่อชีวิต กลุ่มนักเขียน ได้ติดต่อขอนำกระดูกนายผีกลับบ้าน ผ่านทางสถานทูตลาวและ สมาคมมิตรภาพไทย-ลาว จนกระทั่งวันที่ 21 พฤศจิกายน 2540 ป้าลมพร้อมมิตร สหายได้ข้ามฝั่งลำน้ำโขงเข้าสู่นครเวียงจันทน์ และได้เห็นภาพถ่ายสุดท้ายของ สหายไฟ-นายผี-อัศนี พลจันทร เป็นภาพชายชราที่เจ็บป่วยด้วยโรคภัยไข้เจ็บ แต่ทว่าดวงตายังคงเปล่งประกายบริสุทธิ์ไม่เปลี่ยนแปลง

14 ปีที่พลัดพรากพบพานกันอีกครั้งเพียงโครงกระดูก หลังพิธีสวดบังสุกุลด้วยน้ำตานองหน้า ป้าลมบรรจงนำกระดูกเกือบสมบูรณ์ทุกชิ้นส่วนซึ่งอาบน้ำยาไว้ออกจากกระเป๋า มาจัดวางไว้บนผ้าขาว ทำพิธีรดน้ำศพตามประเพณีไทย แล้วบรรจุกระดูกลงในโลงไม้ ใช้ผ้าแพรสีแดงเลือดนกผืนใหญ่ประดับด้วยดาวเหลืองที่เตรียมมา คลุมร่างลุงไฟไว้กระซิบบอกคู่ทุกข์คู่ยากว่า "คุณอัศนีกลับบ้านเรากันเถอะ" โลงสีขาวถูกยกประคองขึ้นรถคันเดิม แล้วขบวนต้อนรับ "นายผีคืนถิ่นแผ่นดินแม่" ก็เคลื่อนขบวนจากลาวข้ามโขงมุ่งหน้าสู่เมืองโคราช มีรถนำจากกองปราบปรามคอยอำนวยความสะดวกตลอดเส้นทางจนกระทั่งถึงจุดหมายปลายทาง ดุจบุคคลสำคัญของประเทศ

ค่ำคืนของวันที่ 22 พฤศจิกายน 2540 ณ สนามฟุตบอลสถาบันราชภัฏนครราชสีมา บทเพลง "คิดถึงบ้าน" ถูกขับขานร่วมกันโดยคนกว่าสามหมื่น กระหึ่มดังไปทั่วทั้งปริมณฑล เพื่อบอกให้คนไทยรู้ว่า อัศนี พลจันทร ได้กลับมาถึงบ้านแล้ว ซึ่งเป็นการร่วมขับร้องด้วยคนจำนวนมากที่สุด โดยที่ก่อนหน้านั้นเมื่อพ.ศ. 2526 วงคาราวานได้นำมาบันทึกเสียงไว้ในอัลบั้ม "บ้านนาสะเทือน" ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เจ้าของบทเพลงต้องหลบหนีการปราบปรามของกองกำลังรัฐบาล พลัดพรากจากแผ่นดินแม่ไปอยู่ต่างแดนจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

พิธีศพของอัศนี พลจันทร ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม ท่ามกลางคนไทยที่รักและศรัทธาในอุดมการณ์ของเขา จนทำให้วัดมกุฏฯดูคับแคบลงไป หลังเสร็จพิธีศพ ในวันที่ 11 มกราคม 2541 ป้าลมได้นำกระดูกไปบรรจุไว้ที่อนุสรณ์สถานซึ่งสลักคำว่า "เดือนเพ็ญ" ไว้บนพื้นหินอ่อนกลางไร่อ้อย ณ จังหวัดกำแพงเพชร แผ่นดินไทย

ลมเอยช่วยเป็นสื่อให้ น้ำรักจากห้วงดวงใจ ของข้านี้ไปบอกเขานะนา ให้คนไทยรู้ว่า ไม่นานลูกที่จากมา จะไปซบหน้ากับอกแม่เอย

( ประมวลความจาก (1) หนังสือ "ต้นตระกูลอัยการไทย" โดยยืนหยัด ใจสมุทร (2) หนังสือ "รำฤกถึงนายผีจากป้าลม" โดยวิมล พลจันทร (3) คำบอกเล่าของวิมล พลจันทร ต่อ ยืนหยัดใจสมุทร (4) คีตกวีจากพงไพร " อัศนี พลจันทร" www.arayanewspaper.com และ (5) หนังสือ "ตำนานนายผี อัศนี พลจันทร" โดย ประเสริฐ จันดำ เสาะหาและรวบรวม )

การทำงาน

อัศนีเริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นอัยการผู้ช่วยชั้นตรี เมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2484 ถูกย้ายไปที่จังหวัดปัตตานี เนื่องจากมีปัญหากับหัวหน้างาน อยู่ปัตตานีได้ 2 ปีก็ถูกสั่งย้ายไปที่สระบุรี ด้วยทางการได้ข่าวว่าให้การสนับสนุนชนชาวมลายูต่อต้านรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ผ่านไป 4 ปีเศษมีคำสั่งให้ย้ายไปอยุธยา เนื่องจากขัดแย้งกับข้าหลวง จากนั้นถูกสั่งให้กลับมาประจำกองคดี กรมอัยการ กระทรวงมหาดไทย เหตุเพราะความเป็นคนตรงไปตรงมา ภายหลังมีปัญหาท้ายที่สุดจึงตัดสินใจลาออกเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2495

ในช่วง พ.ศ. 2495 จอมพล ป. มีคำสั่งให้จับกุมนักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ที่มีผลงานไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล ทำให้อัศนีต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ผลงานวรรณกรรมในช่วงนั้นคือ "ความเปลี่ยนแปลง", "เราชนะแล้วแม่จ๋า"

ในปี พ.ศ. 2504 ได้ปรากฏตัวอีกครั้งในนาม สหายไฟ ภายใต้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เมื่อสมาชิกพรรคถูกจับกุมทำให้อัศนีต้องหลบหนีไปอยู่เวียดนามและจีน เขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 ในแขวงอุดมไซ ประเทศลาว และได้นำกระดูกกลับสู่ประเทศไทยเมื่อ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

ผลงาน

ช่วงชีวิตของอัศนี มีงานเขียน บทกวี มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบทกวีที่ชื่อ อีศาน ที่ลงพิมพ์ในสยามสมัย นับเป็นบทกวีที่ลือเลื่อง จนกลายเสมือนเป็นตัวแทนนายผี จิตร ภูมิศักดิ์ ยกย่องกวีบทนี้ว่า ตีแผ่ความยากเข็ญของชีวิตและปลุกเร้าจิตวิญญาณการต่อสู้ของประชาชนได้อย่างเพียบพร้อม มีพลัง ทั้งเชิดชูนายผีเป็น มหากวีของประชาชน โดยผลงานได้มีการกล่าวถึงมากมายในช่วง เหตุการณ์ 14 ตุลา

เพลง คิดถึงบ้าน หรือ เดือนเพ็ญ ที่อัศนีเขียนขึ้นเพราะความรู้สึกคิดถึงบ้านนับเป็นเพลงที่ถูกบันทึกเสียงและขับขานในวาระต่างๆ มากที่สุดเพลงหนึ่ง ทำให้ชื่อ นายผี อัศนี พลจันทร เป็นที่รู้จักและจดจำในวงกว้าง

นามปากกาของอัศนี ได้แก่ นายผี, อินทรายุทธ, กุลิศ อินทุศักดิ์, ประไพ วิเศษธานี, กินนร เพลินไพร, หง เกลียวกาม, จิล พาใจ, อำแดงกล่อม, นางสาวอัศนี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น