ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าปดุง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบเยิ่นเย้อซ้ำซ้อน เอาแบบเดิมที่มาจากอ้างอิง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
{{คองบอง}}
{{คองบอง}}


[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ราชวงศ์โกนบอง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:28, 22 เมษายน 2561

พระเจ้าปดุง
โบดอพญา
พระราชวังหลวงที่อมรปุระปี 2338
กษัตริย์พม่า
ครองราชย์11 กุมภาพันธ์ 2325-5 มิถุนายน 2362 (37 ปี 114 วัน)
ราชาภิเษก11 กุมภาพันธ์ 2325
ก่อนหน้าหม่องหม่อง
ถัดไปจักกายแมง
ประสูติ11 มีนาคม 2288
มุตโชโบ
สวรรคต5 มิถุนายน 2362 (74 ปี 86 วัน)
อมรปุระ
ฝังพระศพอมรปุระ
พระมเหสีMin Lun Me
พระราชบุตรพระราชโอรส 62 พระองค์
พระราชธิดา 58 พระองค์
พระราชบิดาอลองพญา
ศาสนาพุทธ

พระเจ้าปดุง (อังกฤษ: Bodawpaya) เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์อลองพญา (หรือเป็นองค์ที่ 6 หากนับรวมพระเจ้าหม่องหม่องด้วย) ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า เป็นพระโอรสลำดับที่ 5 ใน 6 พระองค์ของพระเจ้าอลองพญา ขึ้นครองราชย์โดยการปราบดาภิเษกในปี พ.ศ. 2325 ปีเดียวกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้าปดุง เมื่อทรงครองราชย์มีพระนามว่า "ปโดงเมง" หมายถึง "พระราชาจากเมืองปโดง" แต่มีพระนามที่เป็นที่เรียกขานในพม่าภายหลังว่า "โบดอพญา" (พม่า: ဘိုးတော်ဘုရား) แปลว่า "เสด็จปู่ "

ราชการสงคราม

ตีรัฐยะไข่ได้สำเร็จ

พระเจ้าปดุง เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทำสงครามชนะยะไข่ หรือ อะรากัน ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันตกของพม่า ที่พม่าไม่เคยเอาชนะมาก่อนเลย หลังสงครามครั้งนี้ พระองค์ยังได้อัญเชิญพระมหามัยมุนี อันเป็นพระพุทธรูปประจำชาติพม่า จากยะไข่มาประทับที่มัณฑะเลย์

ทำสงคราม 9 ทัพบุกสยาม

พระเจ้าปดุงต้องการแสดงให้เห็นถึงพระบารมีของพระองค์ว่า ทรงเป็นพระเจ้าช้างเผือกผู้พิชิตเอเชียอาคเนย์ได้อีกพระองค์หนึ่ง หลังจากพระเจ้าบุเรงนองแห่งราชวงค์ตองอู กับพระเจ้ามังระแห่งราชวงค์คองบอง พระเชษฐาของพระองค์สามารถทำได้

ครั้งนั้นพระเจ้าปดุงสั่งเกณฑ์ไพร่จำนวนกว่า 1 แสน 2 หมื่นคน แยกเป็น 5 สาย 9 ทัพ มากที่สุดเท่าที่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์ หรือที่เรียกว่า "สงครามเก้าทัพ" มากรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2328 โดยพระองค์ทรงยกมาเป็นทัพหลวง โดยตั้งทัพและตั้งฐานบัญชาการที่เมาะตะมะ แต่เมื่อพระองค์เสด็จจากอังวะ ราชธานีสู่เมาะตะมะ แต่ทางเมาะตะมะเตรียมเสบียงไม่พอ ทำให้กองทัพพม่าไม่พร้อม และเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถทำสงครามครั้งนี้ได้สำเร็จ โดยครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงใช้การตั้งรับเชิงรุก ทรงส่งกองทัพไปรบแถบชายแดนเพื่อไม่ให้พม่าสามารถรวมทัพได้เหมือนทุกคราว โดยมีกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นหัวใจสำคัญในการปกป้องกรุงรัตนโกสินทร์ในคราวนี้

สงครามศึกท่าดินแดงกับสยาม

ในสงครามครั้งนี้พระเจ้าปดุงโปรดเกล้าให้ยกทัพเข้ามาทาง ด่านเจดีย์สามองค์ เป็นทัพใหญ่เพียงทัพเดียว ทางฝ่ายสยามตั้งทัพที่ท่าดินแดงแขวงเมืองกาญจนบุรี ซึ่งสงครามครั้งนี้เกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เนื่องจากกองทัพสยามที่นำโดยกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทบุกเข้าโจมตีกองทัพพม่าโดยไม่ทันได้ตั้งตัวจนแตกพ่ายไป หลังพ่ายแพ้การศึกครั้งนี้ พระเจ้าปดุงก็ไม่เคยยกทัพใหญ่มาทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์อีกเลย

สวรรคต

พระเจ้าปดุง สวรรคตในปี พ.ศ. 2362 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของไทย รวมระยะเวลาการครองราชย์นานถึง 37 ปี [1][2]

อ้างอิง

  1. Father Sangermano, A Description of the Burmese Empire (New York: 1969), p. 71
  2. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ไทยรบพม่า (พระนคร: แพร่พิทยา, 2514) หน้า 552-589
ก่อนหน้า พระเจ้าปดุง ถัดไป
พระเจ้าหม่องหม่อง พระมหากษัตริย์พม่า
(อาณาจักรพม่ายุคที่ 3)

(พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2362)
พระเจ้าจักกายแมง