ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
{{กล่องข้อมูล เชื้อพระวงศ์
| สีพิเศษ = #ffcc00
| สีพิเศษ = #ffcc00
บรรทัด 44: บรรทัด 45:
{{ตายปี|2495}}
{{ตายปี|2495}}
[[หมวดหมู่:ชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:ชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:ราชวงศ์โกนบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โกนบอง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:12, 21 เมษายน 2561

เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ

เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวี
เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ
เจ้าหญิงมโหย่ติ
พระฉายาลักษณ์เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ หรือ เจ้าหญิงมโหย่ติ
เจ้าหญิงแห่งพม่า
ประสูติพ.ศ. 2408
เมืองมัณฑะเลย์ ราชอาณาจักรคองบอง
สวรรคตพ.ศ. 2495
ย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า
(พระชนมายุ 87 พรรษา)
พระราชสวามีเจ้าชายกอว์ลิ่น
เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ
เจ้าหญิงมโหย่ติ
ราชวงศ์อลองพญา
พระราชบิดาพระเจ้ามินดง
พระราชมารดาเจ้าจอมมารดาทยาสิ่น

เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ (Princess of Taingda [Tineta]; พ.ศ. 2408 - พ.ศ. 2495) ทรงเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์คองบอง ทรงมีพระนามเดิมคือ เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวี (Sri Suriya Dharma Devi) เจ้าหญิงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าหญิงเต่งกะด๊ะเมื่อแรกประสูติ ก่อนที่พระราชบิดาจะเปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าหญิงมโหย่ติ (Princess of Myothit)

พระประวัติ

สมัยราชอาณาจักร

เจ้าหญิงศรีสุริยธรรมาเทวี หรือ เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ ทรงเป็นพระราชธิดาลำดับที่ 63 ของพระเจ้ามินดง[1] ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทยาสิ่น ณ พระราชวังหลวง กรุงมัณฑะเลย์ ในปีพ.ศ. 2408 ทรงมีพระเชษฐภคินีร่วมบิดามารดา 1 พระองค์ และพระขนิษฐาร่วมบิดามารดา 1 พระองค์ ได้แก่

เจ้าหญิงทรงเป็นพระราชธิดาที่ประสูติภายในเศวตฉัตร เจ้าหญิงทรงได้รับพระราชทานศักดินา "เต่งกะด๊ะ" (Taingda) จากพระเจ้ามินดง และกลายเป็นพระนามที่เรียกขานกันว่า "เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ"[2] ต่อมา พ.ศ. 2409 พระเจ้ามินดงทรงเปลี่ยนศักดินาของเจ้าหญิงจาก "เต่งกะด๊ะ" เป็น "มโหย่ติ" (Myothit) ดังนั้นจึงมีสถานะเป็น "เจ้าหญิงมโหย่ติ"

ในปีพ.ศ. 2421 ขณะทรงมีพระชนมายุราว 13 พรรษา พระเจ้ามินดง พระราชบิดาได้เสด็จสวรรคต เจ้าหญิงมโหย่ติทรงเป็นหนึ่งในเชื้อพระวงศ์ที่รอดพ้นการปลงพระชนม์หมู่ในเหตุการณ์รัฐประหารวังหลวงพม่า พ.ศ. 2421 - 2422 ที่ดำเนินการโดยพระนางซินผิ่วมะฉิ่น พระมเหสีตำหนักกลางในพระเจ้ามินดง และอัครมหาเสนาบดีในพระเจ้ามินดง คือ เกงหวุ่นมินจี ซึ่งเป็นพันธมิตรของพระนางซินผิ่วมะฉิ่น และเต่งกะด๊ะมินจี เสนาบดีผู้มีอิทธิพลในสภาลุดต่ออีกคนหนึ่ง[3] การก่อรัฐประหารครั้งนี้เพื่อเปิดทางให้พระเจ้าธีบอ กษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นสู่ราชบัลลังก์คองบองได้อย่างมั่นคง เหล่าพระเชษฐา อนุชาและพระภคินีต่างมารดาของเจ้าหญิงมโหย่ติที่มีสิทธิในราชบัลลังก์และอิทธิพลสูงในราชสำนักต่างถูกปลงพระชนม์ เจ้าหญิงมโหย่ติ และพระราชธิดาอีกสองพระองค์ของพระเจ้ามินดงที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทยาสิ่น ไม่ได้ถูกปลงพระชนม์ อาจเป็นเพราะพระนางซินผิ่วมะฉิ่นเห็นว่าไม่ได้มีอิทธิพลอะไรในราชสำนัก และต่างยังเยาว์พระชันษา

เจ้าหญิงทั้งสามและเจ้าจอมมารดาทยาสิ่นประทับในพระราชวังหลวงอย่างสงบ ไร้ซึ่งบทบาทในราชสำนัก ภายใต้การปกครองของพระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต พระมเหสีในพระเจ้าธีบอ ช่วงนี้พม่ากำลังเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมอังกฤษ ราชอาณาจักรล่มสลายลงโดยพระเจ้าธีบอทรงครองราชย์ได้เพียง 7 ปีเท่านั้น พระองค์ทรงพ่ายแพ้ในสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม กองทัพอังกฤษได้บุกเข้าพระราชวังมัณฑะเลย์เพื่อเรียกร้องให้พระเจ้าธีบอทรงยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขภายใน 24 ชั่วโมง[4] และบีบบังคับให้พระเจ้าธีบอสละราชบัลลังก์ พระองค์พร้อมพระราชินีศุภยาลัตและพระราชธิดาทรงถูกเนรเทศไปยังอินเดียในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2428

หลังสมัยราชอาณาจักร

หลังจากที่สถาบันกษัตริย์ล่มสลาย และพม่าอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ เจ้าหญิงทรงได้รับอนุญาตให้ประทับอยู่ในพม่า ไม่ต้องถูกเนรเทศ เจ้าหญิงเมงหลง พระขนิษฐาได้เสกสมรสกับเจ้าชายกอว์ลิ่น หนึ่งในพระโอรสของพระเจ้ามินดง ซึ่งมีพระชนมายุคราวเดียวกับเจ้าหญิงเมงหลง ทั้งคู่เสกสมรสในวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2437 และได้ย้ายไปพำนักที่ย่างกุ้ง ทรงมีพระธิดาร่วมกันสองพระองค์ แต่เจ้าหญิงเมงหลงได้สิ้นพระชนม์หลังมีพระประสูติกาลพระธิดาองค์ที่สอง ในปี พ.ศ. 2441 เจ้าหญิงมโหย่ติที่เสด็จมาประทับด้วยจึงต้องดูแลพระธิดาทั้งสองของพระขนิษฐา และในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2445 เจ้าหญิงมโหย่ติได้เสกสมรสกับเจ้าชายกอว์ลิ่น พระสวามีของพระขนิษฐา ณ ย่างกุ้ง ทั้งสองพระองค์ไม่มีบุตรร่วมกัน

เจ้าหญิง พระสวามีและพระธิดาเลี้ยงประทับร่วมกันที่ย่างกุ้ง เจ้าหญิงมะข่อง พระธิดาเลี้ยงองค์โต สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2462 เจ้าหญิงนองมอญ พระเชษฐภคินีสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2464 เจ้าชายกอว์ลิ่น พระสวามีได้สิ้นพระชนม์ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ หรือ เจ้าหญิงมโหย่ติ จึงทรงประทับอยู่กับพระธิดาเลี้ยงองค์ที่สอง คือ เจ้าหญิงมะซู และครอบครัวในย่างกุ้ง

เจ้าหญิงประทับอยู่ในย่างกุ้งเรื่อยมา พระชนมายุที่ยืนยาวทำให้ทรงผ่านพ้นเหตุการณ์สำคัญทั้งสงครามโลกครั้งที่สองที่ก่อให้เกิดการยึดครองพม่าของญี่ปุ่น เหตุการณ์ความตกลงเวียงปางหลวงในปีพ.ศ. 2490 และการประกาศอิสรภาพของพม่าในปี พ.ศ. 2491 เจ้าหญิงเต่งกะด๊ะ หรือ เจ้าหญิงมโหย่ติ สิ้นพระชนม์อย่างสงบ ณ ย่างกุ้ง ในปีพ.ศ. 2495 สิริพระชนมายุ 87 พรรษา

อ้างอิง

  1. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  2. http://www.royalark.net/Burma/konbau18.htm
  3. H. Fielding (สุภัตรา ภูมิประภาส แปล), "ราชินีศุภยาลัต จากนางกษัตริย์สู่สามัญชน", กรุงเทพฯ:มติชน pp. 49; published 2015; ISBN 978-974-02-1439-7
  4. Synge, M.B. (1911). "Annexation of Burma". Growth of the British Empire.