ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เนเมียวสีหตู"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบคำเย้นเย่อเกินไป
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โกนบอง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:10, 21 เมษายน 2561

เนเมียวสีหตู
နေမျိုးစည်သူ
เกิดหุบเขามู, อาณาจักรตองอู
รับใช้ราชวงศ์คองบอง
แผนก/สังกัดกองทัพอาณาจักรพม่า
ประจำการ1752–1769
ชั้นยศแม่ทัพ
การยุทธ์สงครามก่อตั้งราชวงค์คองบอง (1752–1759)
สงครามจีน-พม่า (1765–1769)

เนเมียวสีหตู (พม่า: နေမျိုးစည်သူ, ออกเสียง: [nè mjó sìθù]) นับเป็นผู้ชำนาญการรบแบบจรยุทธที่เก่งกาจที่สุดผู้หนึ่งของพม่า โดยพระเจ้ามังระเห็นถึงความสามารถในด้านนี้ของเขา และเลือกใช้งานเขาเพื่อก่อกวนแนวหลังของต้าชิง ซึ่งเนเมียวสีหตูก็สามารถทำผลงานได้เป็นอย่างดี จนทำให้กองทัพต้าชิงต้องลำบากทุกครั้งที่เจอเขา เนเมียวสีหตูนับเป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่อยู่เบื้องหลังชัยชนะทุกครั้งของพม่า และทุกความพ่ายของต้าชิงจะต้องมีเขาอยู่ด้วยตลอด

ปกป้องกรุงอังวะ

พระเจ้ามังระได้แต่งตั้งเขาให้เป็นผู้รับศึกกับต้าชิง จากการรุกรานในครั้งที่หนึ่งปี (1765–1767) และครั้งที่สองระหว่างปี (1766–1767) ซึ่งเนเมียวสีหตูได้แสดงความสามารถด้านจรยุทธของเขาให้เป็นที่ประจักษ์ สามารถคำนวณเวลาการซุ่มโจมตีได้อย่างแม่นยำ ประกอบความชำนาญในภูมิประเทศ ทำให้การโจมตีในเวลากลางคืนของเขามีประสิทธิภาพ จนกองทัพต้าชิงต้องคอยพะวงหลังทุกครั้งที่เจอเขา อีกทั้งยังสามารถประสานงานกับบาลามินดินได้เป็นอย่างดี ทำให้กองทัพต้าชิงที่บุกมาในครั้งที่หนึ่งและสองนั้นพ่ายแพ้กลับไป

ผู้อยู่เบื้องหลังชัยชนะ

ส่วนในการบุกครั้งที่ 3 และ 4 ของต้าชิงนั้น เขาอยู่ภายใต้สังกัดของอะแซหวุ่นกี้แม่ทัพใหญ่ของพระเจ้ามังระ โดยอะแซหวุ่นกี้มักจะให้เขาทำหน้าที่หาเสบียงฝ่ายตรงข้ามเพื่อทำลาย และหายเข้าป่าซึ่งเป็นการรบแบบที่เขาถนัด เนเมียวสีหตูนับเป็นแม่ทัพฝีมือดีอีกคนของราชวงศ์คองบองที่มีบทบาทสำคัญต่อชัยชนะในการศึก

บั้นปลาย

เนเมียวสีหตูเป็นอีกหนึ่งขุนพลเอกของพระเจ้ามังระ ที่ถูกปลดทิ้งจากตำแหน่งหลังการสวรรค์คตของพระองค์ พร้อมๆกับอะแซหวุ่นกี้, เนเมียวสีหบดี และหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของพม่า บ้างก็ว่าถูกประหารทิ้งหลังจากถูกถอดยศได้ไม่นาน

อ้างอิง

  • Kyaw Thet (1962). History of Burma (in Burmese). Yangon: University of Rangoon Press. pp. 310–318.
  • Jump up ^ Lt. Gen. Sir Arthur P. Phayre (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta. pp. 194–199.