ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มังมหานรธา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Banklive (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:ทหารชาวพม่า]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์คองบอง]]
[[หมวดหมู่:บุคคลในยุคราชวงศ์โกนบอง]]
{{โครงบุคคล}}
{{โครงบุคคล}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:10, 21 เมษายน 2561

มังมหานรธา
မဟာနော်ရထာ
เกิดหุบเขามู, ราชอาณาจักรพม่า
เสียชีวิตมีนาคม ค.ศ. 1767
นอก กรุงศรีอยุธยา สยาม
รับใช้ราชวงศ์คองบอง
แผนก/สังกัดกองทัพอาณาจักรพม่า
ประจำการค.ศ. 1752–1767
ชั้นยศผู้ร่วมบัญชาการทหารสูงสุด
บังคับบัญชากองทัพฝ่ายใต้ (ค.ศ. 1765–1767)
การยุทธ์สงครามคองบอง-หงสาวดี (ค.ศ. 1752–1757)
สงครามพม่า-สยาม (ค.ศ. 1759–1760)
สงครามพม่า-สยาม (ค.ศ. 1765–1767)

มังมหานรธา (พม่า: မဟာနော်ရထာ, Maha Nawrahta) เป็นหนึ่งในขุนพลเอกของพระเจ้ามังระที่พระองค์ทรงไว้ใจเป็นอย่างมาก มังมหานรธามักจะเป็นตัวเลือกแรกๆที่พระเจ้ามังระทรงเลือกใช้งานโดยไม่คำนึงถึงอายุที่มากของเขาไม่ว่าผู้ใดจะทัดทาน ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระได้ประกาศสงครามกับอยุธยา ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่พระองค์ทรงเลือกใช้มังมหานรธา ถึงขนาดปรารภในที่ประชุมขุนนางว่า "การณ์ทำสงครามกับอยุธยาจะสำเร็จได้ต้องอาศัยมังมหานรธาเป็นผู้นำทัพอีกทางหนึ่ง"

บุกกรุงศรีอยุธยา

พระองค์แต่งตั้งเขาเป็นผู้คุมกองทัพฝ่ายใต้ 30000 นายในการทำสงครามคราวนี้ ซึ่งมังมหานรธาก็สามารถสนองพระบรมราชโองการของพระเจ้ามังระได้เป็นอย่างดี แม้จะเดินทางช้าแต่กองทัพของเขานั้นกลับมีประสิทธิภาพมาก แม้กองทัพจากอยุธยาจะยกขึ้นมาต้านทานเขาก็ยังสงบนิ่งสามารถหาทางรับ และรุกตอบโต้ได้อย่างมีวินัย ทำให้ตลอดเส้นทางแทบไม่พ่ายแพ้แก่ผู้ใดเลย จนสามารถล้อมกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ได้ใน พ.ศ. 2309 ก่อนเนเมียวสีหบดีจะยกมาสมทบในปีเดียวกัน กองทัพของทั้งคู่สามารถปิดล้อมเพื่อโดดเดียวอยุธยาจากการช่วยเหลือทั้งทางเหนือและใต้ได้อย่างสมบูรณ์ร่วม 14 เดือน แต่เขาต้องมาเสียชีวิตเพียงไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่กองทัพพม่าจะประสบความสำเร็จในการพิชิตกรุงศรีอยุธยา

ปิดฉากกรุงศรีอยุธยา

โดยในขณะที่กำลังป่วยมังมหานรธารู้แล้วว่า ไม่มีเวลาสำหรับการล้อมกรุงอีกต่อไปแล้ว เพราะศึกกับจีนก็ชี้ชะตากรุงอังวะเช่นกัน ก่อนจะสิ้นใจไม่นานเขาได้บอกแผนสุดท้ายให้แก่เนเมียวสีหบดี วิธีที่จะปิดฉากกรุงศรีอยุธยาโดยใช้ระยะเวลาสั้นที่สุด นั้นคือการขุดรากกำแพงเมืองแล้วสุมด้วยไฟ ท่านก็จะสามารถพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้ในครานี้

มังมหานรธา เสียชีวิตในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 เมื่อ พระเจ้ามังระ ทรงทราบถึงการเสียชีวิตของมังมหานรธา ก็ได้มีพระราชโองการให้จัดฝังร่างเขาอย่างสมเกียรติเป็นพิเศษ[1]

อ้างอิง

  1. GE Harvey (1925). History of Burma. London: Frank Cass & Co. Ltd. p. 252.