ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชวงศ์โก้นบอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Miwako Sato (คุย | ส่วนร่วม)
Miwako Sato ย้ายหน้า ราชวงศ์คองบอง ไปยัง ราชวงศ์โกนบอง: ตามหลักเกณฑ์ราชบัณฑิต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{เพิ่มอ้างอิง}}
{{Infobox Former Country
{{Infobox Former Country
|native_name = {{my|ကုန်းဘောင်ခေတ်}}
|native_name = {{my|ကုန်းဘောင်ခေတ်}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:02, 21 เมษายน 2561

ราชวงศ์โกนบอง

ကုန်းဘောင်ခေတ်
ค.ศ. 1752–ค.ศ. 1885
ธงชาติราชวงศ์โกนบอง
สถานะอาณาจักร
เมืองหลวงชเวโบ (1752–1760)
สะกาย (1760–1765)
อังวะ (1765–1783, 1821–1842)
อมรปุระ (1783–1821, 1842–1859)
มัณฑะเลย์ (1859–1885)
ภาษาทั่วไปภาษาพม่า
ศาสนา
พุทธศาสนาเถรวาท
การปกครองราชาธิปไตย
พระมหากษัตริย์ 
• ค.ศ. 1752–1760
พระเจ้าอลองพญา (แรก)
• ค.ศ. 1878–1885
พระเจ้าสีป่อ (สุดท้าย)
สภานิติบัญญัติปยีดองซุลุตอ
ยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตอนต้น
• ก่อตั้งราชวงศ์
29 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1752
• รวบรวมอาณาจักรในพม่า
ค.ศ. 1752–1757
• สงครามกับสยาม
ค.ศ. 1760–1854
ค.ศ. 1765–1769
ค.ศ. 1824–1826, 1852, 1885
• ราชวงศ์ล่มสลาย
29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1885
พื้นที่
ค.ศ. 1824 [1]794,000 ตารางกิโลเมตร (307,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1826584,000 ตารางกิโลเมตร (225,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1852470,000 ตารางกิโลเมตร (180,000 ตารางไมล์)
ค.ศ. 1875460,000 ตารางกิโลเมตร (180,000 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1824 [1]
3000000
สกุลเงินจัต
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ตองอู
อาณาจักรหงสาวดีใหม่
อาณาจักรมเยาะอู
บริติชราช
พม่าภายใต้การปกครองของบริเตน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ พม่า
 ไทย
 ลาว
 จีน
 อินเดีย

ราชวงศ์โกนบอง (พม่า: ကုန်းဘောင်ခေတ်, ออกเสียง: [kóʊɴbàʊɴ kʰɪʔ]; อังกฤษ: Konbaung Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์พม่า และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และสิ้นสุดการปกครองระบอบราชาธิปไตยของพม่า

ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าอลองพญาในปี พ.ศ. 2295 พระองค์ขับไล่ชาวมอญและยึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302 ภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ตองอู ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองเมืองมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน ทรงสถาปนาเมืองชเวโบขึ้นเป็นราชธานี ก่อนจะย้ายไปที่อังวะและทรงพัฒนาเมืองย่างกุ้ง หมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ ขึ้นเป็นเมืองท่าสำคัญ

ต่อมาพระเจ้าอลองพญาได้ทรงนำทัพบุกอาณาจักรอยุธยา เนื่องจากทางอยุธยาได้ให้การสนับสนุนมอญที่ลี้ภัยสงครามเข้ามาพึ่งกษัตริย์ไทย ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศและไม่พอใจที่อยุธยายึดเรือสินค้าที่จะเดินทางมาค้าขายกับพม่าที่เมืองมะริด โดยเดินทัพเข้ามาทางด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จและสิ้นพระชนม์หลังจากการทำสงครามครั้งนั้น พระเจ้ามังระผู้เป็นพระราชโอรสของพระองค์ได้สืบทอดเจตนารมณ์ของพระราชบิดาต่อ โดยได้ส่งทัพใหญ่มา 2 ทางล้อมกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2307 ทางหนึ่งให้เนเมียวสีหบดีนำพลเข้ามาทางเหนือด้วยการตีล้านนา ล้านช้างและหัวเมืองเหนือก่อน และอีกทางหนึ่งให้มังมหานรธานำกองทัพเข้ามาทางใต้ ทั้ง 2 ทัพเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้นานถึง 1 ปีครึ่งแม้ผ่านฤดูน้ำหลากก็ไม่ยกทัพกลับ ภายหลังแม่ทัพฝ่ายใต้ คือ มังมหานรธา เสียชีวิตลงก็ส่งแม่ทัพคนใหม่จากเมืองเมาะตะมะชื่อ เมงเยเมงละอูสะนา เข้ามาทำหน้าที่แทนจนในที่สุดก็สามารถตีกรุงศรีอยุธยาแตกได้ในปี พ.ศ. 2310 แต่กองทัพพม่าก็อยู่ได้ไม่นานเนื่องจากพระเจ้ามังระทรงให้เร่งทำการและรีบกลับเพื่อทำสงครามกับจีนในรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง

ถึงแม้อาณาจักรอยุธยาจะถูกทำลายแต่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ทรงสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาใหม่ที่กรุงธนบุรี พระเจ้ามังระจึงทรงส่งแม่ทัพคนใหม่มา คือ อะแซหวุ่นกี้ นำทัพใหญ่เข้ามาปราบปรามฝ่ายธนบุรีในปี พ.ศ. 2318 อะแซหวุ่นกี้สามารถตีหัวเมืองพิษณุโลกแตกและกำลังจะยกทัพตามลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ก็ต้องยกทัพกลับเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้ามังระในปี พ.ศ. 2319 จากนั้นก็เกิดการแย่งชิงราชสมบัติราว 4–5 ปี ก่อนที่จะกลับมามีความมั่นคงขึ้นอีกครั้งในรัชสมัยของพระเจ้าปดุง พระองค์ทรงยกทัพเข้าตีดินแดนยะไข่ได้สำเร็จ ซึ่งไม่เคยมีกษัตริย์พม่าพระองค์ใดทำได้มาก่อน ทำให้พระองค์เกิดความฮึกเหิม ยกกองทัพใหญ่มา 9 ทัพ 5 เส้นทาง ที่เรียกว่า สงครามเก้าทัพ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

ในรัชสมัยพระเจ้าจักกายแมง พม่าได้ยึดครองแคว้นอัสสัมของอินเดียได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้ากับจักรวรรดิอังกฤษซึ่งกำลังล่าอาณานิคมอยู่ในขณะนั้น ก่อให้เกิดเป็นสงครามที่เรียกว่า "สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง" กินระยะเวลา 2 ปี คือ พ.ศ. 2367–69 สงครามจบลงด้วยชัยชนะของอังกฤษด้วยอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เหนือกว่า มหาบัณฑุละ แม่ทัพพม่าที่เลื่องชื่อก็เสียชีวิตลง ทำให้ต้องลงนามในสนธิสัญญาชื่อ สนธิสัญญายันดาโบ (Yandabo) พม่าจำต้องยกเมืองที่สำคัญให้แก่อังกฤษ เช่น มณีปุระ ยะไข่ ตะนาวศรี

ต่อมาได้มีการละเมิดสนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้เกิดสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สองและจบลงด้วยชัยชนะของอังกฤษ ในรัชสมัยของพระเจ้ามินดงพระองค์พยายามที่จะฟื้นฟูความเข้มแข็งของอาณาจักรขึ้นมาอีกครั้ง โดยสถาปนามัณฑะเลย์ขึ้นเป็นราชธานีมีการสร้างพระราชวังอย่างใหญ่โต แต่ในรัชสมัยของพระโอรสของพระองค์ คือ พระเจ้าสีป่อ พระองค์ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ทั้งในและนอกประเทศไว้ได้ทำให้นำไปสู่การทำสงครามกับอังกฤษอีกครั้ง และครั้งนี้อังกฤษสามารถครอบครองพม่าไว้ได้หมดทั้งประเทศในปี พ.ศ. 2428 ทำให้พระเจ้าสีป่อถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่อินเดียหลังสิ้นสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม ทรงเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าและเป็นการสิ้นสุดระบอบกษัตริย์ในพม่าที่มีมายาวนาน

ราชวงศ์โกนบอง มีกษัตริย์ทั้งหมด 11 พระองค์ กินระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2295 จนถึงปี พ.ศ. 2428 มีเมืองหลวงหลายเมือง ทั้ง ชเวโบ สะกาย อังวะ อมรปุระ มัณฑะเลย์

ลำดับกษัตริย์

ลำดับที่[2] พระฉายาลักษณ์ พระนามภาษาพม่า พระนามภาษาไทย ความหมายของพระนาม ตำแหน่ง/ความสัมพันธ์กับกษัตริย์ลำดับก่อนหน้า ครองราชย์ (พ.ศ.) หมายเหตุ
1 အလောင်းမင်းတရား
Alaung Min Thaya
อะลองเมงตะยา

အလောင်းဘုရား
Alaungpaya
อะลองปะยา
พระเจ้าอลองพญา[3] พระโพธิสัตว์ นายบ้านมุตโชโบ 2295 - 2303 ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อลองพญา, ผู้นำทัพเข้าตีอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ. 2303
2 နောင်တော်ကြီးမင်း
Naungdawgyi Min
นองดอจีเมง
พระเจ้ามังลอก[4] พระบรมเชษฐาธิราช[5] พระราชโอรส
(ราชโอรสองค์โตในพระเจ้าอลองพญา)
2303 - 2306 ร่วมทัพในศึกกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2303
3 ဆင်ဖြူရှင်
Hsinbyushin
เซงพยูเชง, สินพยุฉิ่น
พระเจ้ามังระ[6] พระเจ้าช้างเผือก พระอนุชา
(ราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระเจ้าอลองพญา)
2306 - 2319 ชนะกรุงศรีอยุธยาสำเร็จ พ.ศ. 2310, ขยายอิทธิพลสู่ล้านนา ล้านช้าง และมณีปุระ, ประสบความสำเร็จในการต่อต้านการรุกรานจากจีน 4 ครั้ง
4 စဉ့်ကူးမင်း
Singu Min
เซงกูเมง
พระเจ้าจิงกูจา พระเจ้าเซงกู [7] พระราชโอรส 2319 - 2324
5 ဖောင်းကားစား မောင်မောင်
Phuangkaza Maung Maung
พองกาซาหม่องหม่อง
พระเจ้าหม่องหม่อง พระเจ้าพองกาซาหม่องหม่อง[8] พระญาติ
(ราชโอรสของพระเจ้ามังลอก)
2324 อยู่ในราชสมบัติเพียงหนึ่งสัปดาห์
6 ဘိုးတော်ဘုရား
Bodawpaya
โบดอปยา

ဗဒုံမင်း
Badon Min
บาดงเมง

Hsinbyumyashin
เซงพยูมยาเซง
พระเจ้าปดุง พระบรมอัยกาธิราช
พระเจ้าบาดง
พระเจ้าช้างเผือก[9]
พระปิตุลา
(ราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระเจ้าอลองพญา)
2325 - 2362 ทำสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์, ผนวกดินแดนรัฐอาระกัน (ยะไข่) สำเร็จ
7 ဘကြီးတော
Bagyidaw
บาจีดอ

စစ်ကိုင်းမင်း
Sagaing Min
สะกายเมง
พระเจ้าจักกายแมง พระบรมปิตุลาธิบดี
พระเจ้าสะกาย[10]
พระราชนัดดา
(หลานปู่)
2362 - 2380 ร่วมรบกับพระเจ้าปดุงในสงครามกับกรุงรัตนโกสินทร์, ยกทัพตีมณีปุระและรัฐอัสสัมของอินเดีย, พ่ายแพ้สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง
8 သာယာဝတီမင်း
Tharrawaddy Min
ซายาวดีเมง
พระเจ้าแสรกแมง พระเจ้าสาราวดี [11] พระอนุชา 2380 - 2389 ร่วมรบในสงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง ในฐานะเจ้าเมืองสาราวดี
9 ပုဂံမင်း
Pagan Min
ปะกันเมง
พระเจ้าพุกามแมง พระเจ้าพุกาม [12] พระราชโอรส 2389 - 2396 ถูกถอดจากราชบัลลังก์หลังทรงแพ้สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง
10 မင်းတုန်းမင်း
Mindon Min
เมงดงเมง
พระเจ้ามินดง พระเจ้ามินดง [13] พระอนุชา 2396 - 2421
11 သီပေါမင်း
Thibaw Min
ทีบอเมง
พระเจ้าธีบอ. พระเจ้าสีป่อ พระเจ้าสีป่อ [14] พระราชโอรส 2421 - 2428 กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า ถูกบังคับให้สละราชสมบัติและเนรเทศไปอยู่ที่อินเดีย หลังสิ้นสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สาม

เชิงอรรถ

  1. Harvey 1925, p. 333.
  2. http://www.4dw.net/royalark/Burma/konbaun1.htm
  3. บางแห่งเรียกว่า พระเจ้าอลองพระ, พระเจ้ามังลอง หรือพระเจ้ามางลอง
  4. เอกสารไทยเรียกตามพระนามเดิมก่อนขึ้นเสวยราชสมบัติ
  5. พระเชษฐา (พี่ชาย) ของพระเจ้ามังระและพระเจ้าปะดุง
  6. เอกสารไทยเรียกตามพระนามเดิมก่อนขึ้นเสวยราชสมบัติ
  7. พงศาวดารฝ่ายไทยออกพระนามว่าพระเจ้าจิงกูจา เหตุที่เรียกดังนี้เพราะพระองค์เคยปกครองเมืองเซงกูในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  8. หม่องหม่องเป็นพระนามเดิม ส่วนพองกาซาคือชื่อเมืองซึ่งพระเจ้าหม่องหม่องเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  9. คำว่าโบดอปยา (ไทยมักสะกดว่า "โบดอพญา") ซึ่งแปลว่าพระบรมอัยกาธิราช หมายความว่าเป็นพระอัยกา (ปู่) ในพระเจ้าจักกายแมงและพระเจ้าสารวดี, คำว่าพระเจ้าบาดง (พระเจ้าปดุง) เรียกตามนามเมืองบาดงซึ่งพระองค์เคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ, คำว่าพระเจ้าช้างเผือก เป็นพระนามเฉลิมพระเกียรติของพระเจ้าปดุงซึ่งทรงมีช้างเผือกในครองครองตามราชประเพณี
  10. คำว่าบาจีดอ ซึ่งแปลว่าพระบรมปิตุลาธิบดี (ลุงฝ่ายพ่อ) หมายความว่าเป็นพระปิตุลาของพระเจ้าพุกามแมงและพระเจ้ามินดง, คำว่าพระเจ้าสะกายเมง ในพงศาวดารไทยเรียกเป็นพระเจ้าจักกายแมง เหตุที่มีพระนามดังนี้เพราะทรงเคยครองเมืองสะกายในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  11. เรียกตามนามเมืองสาราวดีซึ่งพระเจ้าแสรกแมงเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  12. เรียกตามนามเมืองพุกามซึ่งพระเจ้าพุกามเมงเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ (คำว่าพุกามนี้เป็นคำเรียกในภาษาไทย ภาษาพม่าเรียกว่า "ปะกัน")
  13. เรียกตามนามเมืองมินดงซึ่งพระเจ้ามินดงเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ
  14. เรียกตามนามเมืองสีป่อซึ่งพระเจ้าธีบอเคยปกครองในสมัยก่อนเสวยราชสมบัติ เมืองสีป่อนี้เป็นเมืองของชาวไทใหญ่ (ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) ชื่อดังกล่าวนี้เป็นการเรียกตามภาษาไทใหญ่ (ภาษาพม่าออกเสียงเป็น "ทีบอ") พระราชมารดาของพระเจ้าสีป่อเป็นพระราชธิดาของเจ้าฟ้าไทใหญ่เมืองนี้

อ้างอิง