ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kjeksdnfewuh (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 95: บรรทัด 95:
! colspan="1" |400 คน
! colspan="1" |400 คน
|-
|-
|}

== โรงเรียนมาตรฐานสากล World Class Standard School ในจังหวัดหนองบัวลำภู ==
{| class="toccolours" width=35%
|-
! style="background: #FF66FF ; color:black;"| รายชื่อโรงเรียน
|-
| valign = "left" style="background:#FFCCFF" |1. [[โรงเรียนหนองบัวพิทยาคาร]] (น.พ.)
|-
| valign = "left" style="background: #99CCFF" |2. [[โรงเรียนศรีบุญเรืองวิทยาคาร]] (ศ.ร.ว.)
|-
| valign = "left" style="background: #FFCCFF" |3. [[โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์]] (ค.ว.)
|}
|}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:47, 17 เมษายน 2561

โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์
Khamsaen Wittayasan School
ไฟล์:ตราคำแสน.png
ที่ตั้ง
ข้อมูล
ชื่ออื่นค.ว. / KW
ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
คำขวัญปัญญา นรานัง รตนัง
(ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน)
สถาปนา15 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 (51 ปี 339 วัน)
เขตการศึกษาเลย-หนองบัวลำภู
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
รหัส1039760331
ผู้อำนวยการสุขเกษม พาพินิจ (รักษาการ)
จำนวนนักเรียน2,311 คน ปีการศึกษา 2560[1]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอน ไทย ภาษาไทย
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
จีน ภาษาจีน
สี   ดำ-แสด
เพลงมาร์ชโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์
ต้นไม้ประจำโรงเรียนทองกวาว
เว็บไซต์http://www.khamsaen.ac.th

โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ (อังกฤษ: Khamsaen Wittayasan School, อักษรย่อ : ค.ว.) เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ และโรงเรียนมาตรฐานสากล (World Class Standard School) ขนาดใหญ่ในจังหวัดหนองบัวลำภู เปิดการเรียนการสอนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายแบบสหศึกษาประจำอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู อยู่ในสหวิทยาเขตวังแสนสุวรรณ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ[2]

ประวัติ

ไฟล์:ป้ายคำแสน.jpg
ป้ายโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์

โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู เปิดสอนในปี พ.ศ. 2515 (17 พฤษภาคม 2515) การจัดตั้งโรงเรียนดำเนินการโดยนายเยื้อน ศรีศักดิ์ นายอำเภอนากลาง นายโชติ อินทรชาติ ศึกษาธิการอำเภอนากลางและนายนคร รัชชูวงศ์ ครูวิชาการอำเภอ ได้ดำเนินการขอจัดตั้งโรงเรียน ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนและการขยายโรงเรียนมัธยมศึกษาตามนโยบายของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จนได้เปิดทำการสอนในปี พ.ศ. 2515 (17 พฤษภาคม 2515) มีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.ศ.1) จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียน 90 คน โดยอาศัยศาลาการเปรียญวัดหนองบัวคำแสนเป็นที่เรียน สำหรับชื่อโรงเรียนนั้นได้ชื่อว่า โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ ไม่มีชื่อ "นากลาง" เนื่องจากในขณะนั้น นายอำเภอนากลางมีนโยบายที่เปลี่ยนชื่อจากนากลางเป็นหนองบัวคำแสน เพื่อเป็นการแก้เคล็ดที่ว่า นากลางเป็นดินแดนผู้ก่อการร้าย ทางการอนุมัติให้ใช้ชื่อโรงเรียนว่า โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ อักษรย่อว่า ค.ว.[3]ในระยะเปิดใหม่ปีการศึกษา 2515 กรมสามัญศึกษาได้จัดสรรอัตราครูให้ยังไม่เพียงพอ จึงได้รับความช่วยเหลือจากทางอำเภออนุมัติให้ยืมครูจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด มาช่วย 2 ท่าน คือ นายล้วน เหล็กกล้า และนายเรือง ใจปิติ ส่วนครูสังกัดกรมสามัญศึกษาคนแรกของโรงเรียน คือ นางสาวรัตนาภรณ์ แสนสิทธิ์ และในปีการศึกษา 2547 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แต่งตั้ง นายสนิท วงศ์แสงตา ผู้อำนวยการโรงเรียนโนนสังวิทยาคาร อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์และโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นโรงเรียนสหศึกษา จัดเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ ในปีการศึกษา 2548 มีจำนวนห้องเรียน 45 ห้องเรียน และนักเรียน 1,764 คน

ปัจจุบัน โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ มีอาคารเรียน 5 อาคาร อาคารปฏิบัติการ 2 หลัง อาคารชั่วคราว 1 หลัง หอประชุมใหญ่ชั้นเดียว 1 หลัง มีนักเรียนทั้งสิ้น 2,311 คน บุคลากรทั้งสิ้น 130 คน ภายใต้การนำของท่านผู้อำนวยการ ว่าที่พันตรี ดร.ประดิษฐ์ ศรีหริ่ง[4] นอกจากนี้โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของสหวิทยาเขตวังแสนสุวรรณ ทั้งยังเป็นโรงเรียนมาตรฐานสากลและศูนย์การศึกษาภาษาอังกฤษ (ERIC Center) ของอำเภอนากลางอีกด้วย นอกจากนี้ โรงเรียนคำแสนวิทยาสรรค์ยังมีชื่อเสียงทางด้านวิชาการมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแข่งขัน A-math และ Crossword ที่สามารถเข้าไปแข่งขันในระดับชาติได้ในปีการศึกษา 2560 และได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ด้วย [5]

หลักสูตรที่เปิดสอน

มัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1 - ม.3)
แผนการเรียนพิเศษ 4 ห้องเรียน จำนวนที่รับ
English integrated study Classroom 3 ห้องเรียน 120 คน
English Program 1 ห้องเรียน 40 คน
แผนการเรียนทั่วไป 8 ห้องเรียน 320 คน
รวม 12 ห้องเรียน 480 คน
มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4 - ม.6)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวนห้องเรียน จำนวนที่รับ
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 8 ห้องเรียน 320 คน
ห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ 1 ห้องเรียน 40 คน
วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ 7 ห้องเรียน 280 คน
ภาษา 2 ห้องเรียน 80 คน
คณิตศาสตร์ 1 ห้องเรียน 40 คน
เทคโนโลยี 1 ห้องเรียน 40 คน
รวม 10 ห้องเรียน 400 คน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น