ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอลฟ์จิฟู มเหสีของเอ็ดวี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
|consort=yes
|consort=yes
|name=เอลฟ์จิฟู
|name=เอลฟ์จิฟู
|succession=ราชินีคู่สมรสของกษัตริย์แห่งอังกฤษ
|succession=[[รายพระนามคู่อภิเษกสมรสในพระมหากษัตริย์อังกฤษ|สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ]]
|reign=23 พฤศจิกายน ค.ศ.955 – 1 ตุลาคม ค.ศ.959
|reign=23 พฤศจิกายน ค.ศ.955 – 1 ตุลาคม ค.ศ.959
|predecessor=
|predecessor=

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:04, 8 เมษายน 2561

เอลฟ์จิฟู
สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษ
ดำรงพระยศ23 พฤศจิกายน ค.ศ.955 – 1 ตุลาคม ค.ศ.959
ถัดไปเอลฟ์ธรีธ มเหสีของเอ็ดการ์
ฝังพระศพมหาวิหารวินเชสเตอร์
คู่อภิเษกเอ็ดวี กษัตริย์แห่งอังกฤษ (เป็นโมฆะ)
พระราชบิดาไม่ปรากฏแน่ชัด
พระราชมารดาเอเธลจิฟู

เอลฟ์จิฟู [ภาษาอังกฤษ Ælfgifu] เป็นคู่สมรสของพระเจ้าเอ็ดวิกแห่งอังกฤษ (ครองราชย์ค.ศ.955-959) ในช่วงสั้นๆถึงปีค.ศ.957 หรือ 958 ข้อมูลน้อยนิดที่รู้ของพระนางมาจากฎบัตรของแองโกลแซ็กซัน อาจรวมถึงพินัยกรรม, พงศาวดารแองโกลแซ็กซัน และเรื่องราวที่ไม่ใช่เรื่องดีในชีวประวัตินักบุญ การอภิเษกสมรสของพระนางกับกษัตริย์ที่เป็นโมฆะภายในไม่กี่ปีของรัชสมัยของเอ็ดวิกดูเหมือนจะเป็นเป้าหมายของการชิงดีชิงเด่นทางของฝ่ายทางการเมืองที่รายล้อมรอบบัลลังก์ ในช่วงปลายยุค 950 เมื่อนักปฏิวัตินิกายเบเนดิกต์ ดันสตานและออสวาลด์ กลายเป็นนักบุญ ชื่อเสียงของพระนางเสื่อมเสียอย่างหนัก ทว่าในช่วงกลางยุค 960 ปรากฏว่าพระนางกลายเป็นเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวยและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้าเอ็ดการ์ และจากพินัยกรรมของพระนาง ทรงเป็นสตรีผู้มีพระคุณที่เอื้อเฟื้อศาสนสถานที่มีพันธไมตรีกับตระกูลหลวง ที่โดดเด่นก็มีโอลด์มินสเตอร์กับนิวมินสเตอร์ที่วินเชสเตอร์

ภูมิหลังของตระกูล

เรื่องราวเกี่ยวกับภูมิหลังของตระกูลของเอลฟ์จิฟูมีสองข้อสันนิษฐานคือ (1) พระมารดาของนางมีชื่อว่าเอเธลจิฟู สตรีผู้เกิดมาสูงศักดิ์ และ (2) พระนางมีความเกี่ยวพันกับพระสวามี เอ็ดวิก เนื่องจากในปีค.ศ.958 การอภิเษกสมรสของทั้งคู่ถูกทำลายโดยอาร์ชบิชอปโอดาด้วยข้อหาที่ว่าทั้งคู่มีความสีมพันธ์ทางสายเลือดที่ใกล้ชิดกันเกินไป กล่าวคือจัดว่ามีสายเลือดเดียวกันซึ่งเป็นเรื่องต้องห้าม

เงื่อนงำที่เลื่อนลอยนี้ยังสร้างความเป็นไปได้สองอย่างที่อาจเป็นไปได้ทั้งคู่ว่าวงศ์วานของเอลฟ์จิฟูเป็นเชื้อพระวงศ์ ทฤษฎีที่หนึ่งบอกว่าพระนางเป็นสตรีชนชั้นสูงชาวเมอร์เซียที่สืบเชื้อสายมาจากผู้นำท้องถิ่นเอเธลฟริธแห่งเมอร์เซียกับภริยา เอเธลจิธ ที่อาจเป็นบุตรสาวของผู้นำท้องถิ่นเอเธลวูล์ฟกับพระนัดดาของคู่สมรสชาวเมอร์เซียของพระเจ้าอัลเฟรด เอลวิธ ทฤษฎีนี้ตั้งสมมติฐานมาจากความเป็นไปได้ที่ริสโบโร่ (บักกิ้งแฮมเชียร์) หนึ่งในทรัพย์สินของเอลฟ์จิฟูที่ถูกพูดถึงในพินัยกรรม เคยถูกถือครองโดยเอเธลจิธ จึงอาจเป็นไปได้ว่าเอลฟ์จิฟูรับช่วงต่อทรัพย์สินชิ้นนี้และชิ้นอื่นๆในบักกิ้งแฮมเชียร์ หากข้อสันนิษฐานนี้ถูกต้อง พระนางจะมีความเกี่ยวพันที่ใกล้ชิดมากกับตระกูลที่โดดเด่นทางการเมืองของผู้นำท้องถิ่นเอเธลสตานและผู้สืบเชื้อสาย

จุดเริ่มต้นของพระนางยังถูกแตกแยกออกเป็นอย่างอื่นอีก พระนางยกมรดกให้แก่เอลฟ์วาลด์และเอเธลวาลด์ที่ดูเหมือนว่าจะเป็นพระอนุชาและพระขนิษฐา เอลฟ์วารุ เอเธลวาลด์และเอลฟ์วาลด์ปรากฏตัวอีกครั้งในฐานะพระอนุชาและขุนนางในรายชื่อพยานของกฎบัตรหลวงนอกกฎหมายปีค.ศ.974 ซึ่งเป็นคนเดียวกับเอเธลเวิร์ดที่ได้รับการยืนยันในกฎบัตรหลวงช่วงปีค.ศ.958 ถึง 977 ว่าเป็นขุนนางของกษัตริย์ และอาจเป็นขุนนางแห่งมณฑลเวสเซ็กซ์ผู้โด่งดังและผู้เขียนพงศาวดารที่อ้างตัวว่าสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าเอเธลเร็ดแห่งเวสเซ็กซ์ (เสียชีวิตปีค.ศ.871) โอรสองค์ที่สี่ของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟ ข้อสรุปที่ได้คือหากผู้นำท้องถิ่นและผู้เขียนพงศาวดารเอเธลวาลด์เป็นพระอนุชาของพระนาง นางจะต้องมีสายเลือดของบรรบุรุษ พระเจ้าเอเธลเร็ด เช่นเดียวกับเขา จากสมมติฐานข้อนี้ เอลฟ์จิฟูจะเป็นพระญาติลำดับที่สามที่อยู่ถัดไปอีกหนึ่งขั้นของเอ็ดวิก

สำหรับทฤษฎีที่สองนั้นสันนิษฐานว่าสาขาของตระกูลหลวงสองสาขาที่แตกต่างกันอาจถูกรวมเข้าด้วยกันโดยการอภิเษกสมรสที่ให้กำเนิดเอลฟ์จิฟู พระนางอาจสืบเชื้อสายมาจากเอเธลจิธ ขณะที่พระบิดานิรนามของพระนางสืบเชื้อสายมาจากเอเธลเร็ด

การอภิเษกสมรส

ณ วันที่ไม่รู้วันที่แน่นอนราวๆช่วงราชาภิเษก พระเจ้าเอ็ดวิกหนุ่มอภิเษกสมรสกับเอลฟ์จิฟู การอภิเษกสมรสกลายเป็นหนึ่งในการสมรสหลวงที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งในอังกฤษศตวรรษที่ 10 พระอนุชาของเอ็ดวิก เอ็ดการ์ คือว่าที่รัชทายาท แต่โอรสตามกฎหมายที่ประสูติจากการอภิเษกสมรสครั้งนี้จะลดโอกาสที่จะได้เป็นกษัตริย์ของเอ็ดการ์ โดยเฉพาะหากพระบิดาและพระมารดาเป็นเชื้อพระวงศ์ ด้วยการถูกเลี้ยงดูโดยเอลฟ์วินน์ ภริยาของเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่ง ร่วมกับบุตรชายของนาง เอเธลวิน เอ็ดการ์ได้รับการสนับสนุนจากเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่ง (เสียชีวิตปีค.ศ.957) และบุตรชายที่มีฐานอำนาจเหนียวแน่นในเมอร์เซียและอีสต์แองเกลีย และเป็นผู้ที่ไม่มีทีท่าว่าจะเสียอำนาจและอิทธิพลให้กับพระญาติและพระสหายของเอลฟ์จิฟู หากข้อสันนิษฐานที่ว่าเอลฟ์จิฟูเป็นเชื้อพระวงศ์ของเมอร์เซียถูกต้อง อาจเป็นไปได้ว่าการอภิเษกสมรสจะมอบข้อได้เปรียบทางการเมืองที่จะทำให้เวสเซ็กซ์มีอำนาจควบคุมเหนือเมอร์เซียแก่เอ็ดวิก

พระมารดาของเอลฟ์จิฟู เอเธลจิฟูดูเหมือนจะมีบทบาทสำคัญที่ทำให้พระนางได้ลุกขึ้นมาโดดเด่นเคียงข้างกษัตริย์ ทั้งสองพระองค์ต่างเป็นพยานในกฎบัติที่บันทึกการแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างบิชอปบริทเฮล์มกับเอเธลวาลด์ที่ตอนนั้นเป็นอธิการอารามแห่งแอบิงเด็น และพระนามของทั้งสองพระองค์ปรากฏในฐานะผู้อุปถัมภ์คนสำคัญใน Liber Vitae ของนิวมินสเตอร์ วินเชสเตอร์ ช่วงต้นศตวรรษที่ 11 ในพินัยกรรม เอลฟ์จิฟูขอให้เอเธลวาลด์ ผู้อุปถัมภ์คนหนึ่งของพระนาง ช่วยพระนางไกล่เกลี่ยกับพระมารดา

มีความเป็นไปได้ว่าทั้งสองพระนางคือสตรีสองนางที่ถูกพรรณนาไว้ว่าเป็นคู่ขาของเอ็ดวิกในชีวประวัติของดันสตานโดยนักเขียน "บี" และของนักบุญออสวาลด์โดยเบิร์ทเฟิร์ธแห่งแรมซีย์ ทั้งสองฉบับลงวันที่ว่ามาจากราวค.ศ.1000 ชีวประวัติของดันสตานกล่าวหาว่าในงานเลี้ยงต่อจากการราชาภิเษกที่เป็นพิธีการที่ดิงสตัน (เซอร์รีย์) เอ็ดวิกลุกจากโต๊ะและแอบหนีเข้าห้องบรรทมเพื่อหมกมุ่นในโลกีย์กับสตรีสองนาง สตรีชั้นสูงที่ไร้ยางอาย พวกนางถูกพูดถึงว่าเกาะติดพระองค์ "เพื่อหาทางให้ตัวเองหรือบุตรสาวคนอื่นของตัวเองได้อภิเษกสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายกับพระองค์" ด้วยความตกตะลึงกับการปลีกตัวที่ไม่เหมาะสมของเอ็ดวิก เหล่าขุนนางได้ส่งดันสตานและบิชอปไซน์ซิกมาใช้กำลังลากตัวกษัตริย์กลับไปที่งานเลี้ยง จากการกระทำครั้งนี้ ดันสตานได้กลายเป็นศัตรูของกษัตริย์ที่ได้ขับไล่เขาออกจากประเทศตามคำยุแยงของของเอลฟ์จิฟู ชีวประวัติของนักบุญออสวาลด์ของเบิร์ทเฟิร์ธได้เล่าว่ากษัตริย์ทรงอภิเษกสมรสแล้ว แต่ยังแอบหนีไปกับคนที่ต่ำศักดิ์กว่ามเหสีของพระองค์ อาร์ชบิชอปโอดาได้จับตัวสนมลับคนใหม่ของกษัตริย์ที่บ้านของนาง บีบนางให้ออกจากประเทศ และจัดการพฤติกรรมของกษัตริย์ให้เข้าที่เข้าทาง

เรื่องราวเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นหลังจากเกิดเรื่อง 40 ปี ดูเหมือนจะเป็นการใส่ร้ายป้ายสีเพื่อสร้างความฉาวโฉ่ให้แก่การสมรสของพระองค์ ในปีค.ศ.958 อาร์ชบิชอปโอดาแห่งแคนเทอร์บรี ผู้สนับสนุนของดันสตาน ประกาศให้การอภิเษกสมรสของเอ็ดวิกและเอลฟ์จิฟูเป็นโมฆะด้วยข้อหาที่ว่าเป็นการผิดประเวณีของญาติที่มีสายสัมพันธ์ใกล้ชิดกันเกินไป อาจด้วยเหตุผลทางการเมืองมากกว่าทางศาสนาหรือทางกฎหมาย เพื่อสถานะของเอ็ดการ์ที่ได้รับการสนับสนุนเป็นรัชทายาทแห่งบัลลังก์ เป็นไปได้สูงว่าโอดาทำตามผู้ที่เห็นอกเห็นใจเอ็ดการ์ เหล่าบุตรชายของเอเธลสตานผู้เป็นกษัตริย์ครึ่งหนึ่งและพันธมิตร ดันสตาน

ในปีค.ศ.957 เอ็ดการ์ได้รับเลือกเป็นกษัตริย์แห่งเมอร์เซีย ซึ่งถูกบันทึกไว้ว่าเป็นผลมาจากการปฏิวัติต่อต้านเอ็ดวิกทางตอนเหนือ พระองค์สูญเสียอำนาจทางตอนเหนือของเธมส์ (เมอร์เซียและนอร์ธัมเบรีย) และเอ็ดการ์ได้รับแต่งตั้งเป็นกษัตริย์เหนือดินแดนส่วนนั้นของอังฤษ ความอ่อนแอในตำแหน่งทางการเมืองของเอ็ดวิกได้รับการยืนยันโดยบิชอปเอเธลวาลด์ที่ตำหนิว่าเอ็ดวิก "มีความโง่เขลาแบบเด็กน้อยที่แยกอาณาจักรของพระองค์ออกจากกันและทำลายความเป็นหนึ่งเดียว"

ในขณะที่ดันสตานและอาร์ชบิชอปโอดาต่อต้านการอภิเษกสมรส นักปฏิรูปนิกายเบเนดิกต์อีคนหนึ่ง เอเธลวาลด์ อธิการอารามแห่งแอบิงเด็นที่ต่อมาได้เป็นบิชอปแห่งวินเชสเตอร์ ดูเหมือนจะเอนเอียงไปทางสนับสนุนเอลฟ์จิฟู หนึ่งในกฎบัตรสองสามฉบับที่เอลฟ์จิฟูเป็นพยานเป็นเอกสารที่ออกโดยแอบิงเด็นที่ยืนยันการแลกเปลี่ยนที่ดินระหว่างเอเธลวาลด์กับบริทเฮล์ม ในการลงชื่อช่วงท้าย พระนางถูกระบุว่าเป็นมเหสีของกษัตริย์