ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 11: บรรทัด 11:
|succession = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
|succession = พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
| father = [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]
| father = [[สมเด็จพระนารายณ์มหาราช]]
| mother = พระราชเทวีสิริกัลยาณี
| mother =
| spouse =
| spouse =
| issue = [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]<br>[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]<br>เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม<br>เจ้าฟ้าหญิงแก้ว<ref>[http://www.kingdom-siam.org/ayudhya-e.html ราชอาณาจักรสยาม]</ref><br>[[พระองค์เจ้าทับทิม]]<ref>สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''กรุงเทพฯ มาจากไหน?.'' กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70</ref>
| issue = [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ]]<br>[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ]]<br>เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม<br>เจ้าฟ้าหญิงแก้ว<ref>[http://www.kingdom-siam.org/ayudhya-e.html ราชอาณาจักรสยาม]</ref><br>[[พระองค์เจ้าทับทิม]]<ref>สุจิตต์ วงษ์เทศ. ''กรุงเทพฯ มาจากไหน?.'' กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:01, 5 เมษายน 2561

สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี
พระมหากษัตริย์ไทย
พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์6 กุมภาพันธ์[1] พ.ศ. 2246–2251
ก่อนหน้าสมเด็จพระเพทราชา
ถัดไปสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
ประสูติพ.ศ. 2204
ตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร อาณาจักรอยุธยา[2]
สวรรคตพ.ศ. 2251
กรุงศรีอยุธยา อาณาจักรอยุธยา
พระราชบุตรสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
เจ้าฟ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
เจ้าฟ้าหญิงแก้ว[3]
พระองค์เจ้าทับทิม[4]
พระนามเต็ม
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8
ราชวงศ์บ้านพลูหลวง
พระราชบิดาสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระราชมารดาพระราชเทวีสิริกัลยาณี

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือคำให้การชาวกรุงเก่าว่า สมเด็จพระสุริเยนทราธิบดี เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 29 แห่งอาณาจักรอยุธยา และเป็นพระองค์ที่สองแห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ราชวงศ์สุดท้ายของอาณาจักรอยุธยา ทรงครองราชย์ พ.ศ. 2246 — พ.ศ. 2251

ผู้คนในสมัยพระองค์มักเรียกขานพระองค์ว่า พระเจ้าเสือ เพื่อเปรียบว่า พระองค์มีพระอุปนิสัยโหดร้ายดังเสือ[5] พระองค์ทรงมีพระปรีชาด้านมวยไทย โดยทรงเป็นผู้คิดท่าแม่ไม้มวยไทย ซึ่งมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน และได้มีการถ่ายทอดเป็นตำราให้ชาวไทยรุ่นหลังได้เรียนรู้ฝึกฝนจนถึงปัจจุบัน[6]

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ระบุในหนังสือ ศิลปะมวยไทย ถึงพระองค์ในการปลอมพระองค์เป็นชาวบ้านมาชกมวยกับนักมวยฝีมือดีจากเมืองวิเศษชัยชาญ และสามารถชนะนักมวยเอกได้ถึง 3 คน ซึ่งได้แก่ นายกลาง หมัดตาย, นายใหญ่ หมัดเหล็ก และนายเล็ก หมัดหนัก[7] ปัจจุบัน กระทรวงวัฒนธรรม ได้กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันที่พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์ตามหลักฐานในประวัติศาสตร์เป็นวันมวยไทย[1]

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงฝึกเจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรผู้เป็นพระราชโอรส ให้มีความสามารถในด้านมวยไทย, กระบี่กระบอง และมวยปล้ำ[8]

พระราชประวัติ

พระชาติกำเนิดของสมเด็จพระเจ้าเสือนั้น เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กับพระสนมพระองค์หนึ่ง ปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ว่า นางเป็นพระราชธิดาพระเจ้าเชียงใหม่[2] โดยคำให้การขุนหลวงหาวัด ได้ออกพระนามว่า พระราชชายาเทวี หรือ เจ้าจอมสมบุญ ส่วนในคำให้การชาวกรุงเก่าเรียกว่า นางกุสาวดี[9]

แต่ในเวลาต่อมา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้พระราชทานพระสนมดังกล่าวให้แก่พระเพทราชา เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่ง (เจ้ากรมช้าง) โดยในคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า มีเนื้อหาสอดคล้องกัน กล่าวคือนางเป็นสนมลับของพระนารายณ์แต่แตกต่างกันเพียงชื่อของนาง และเหตุผลในการพระราชทานพระโอรสแก่พระเพทราชา แต่พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) กลับให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระชาติกำเนิดแตกต่างไปจากคำให้การของขุนหลวงหาวัดและคำให้การชาวกรุงเก่า โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงทำศึกสงครามกับเมืองเชียงใหม่แล้วได้ราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นสนม แต่นางสนมเกิดตั้งครรภ์ พระองค์ได้ละอายพระทัยด้วยเธอเป็นนางลาว พระองค์จึงได้พระราชทานแก่พระเพทราชา[9] ดังความในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) ความว่า[10]

"แล้วเมื่อพระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาจากเมืองเชียงใหม่นั้น พระองค์เสด็จทรงสังวาสด้วยพระราชธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ และนางนั้นก็ทรงครรภ์ขึ้นมา ทรงพระกรุณาละอายพระทัย จึงพระราชทานนางนั้นให้แก่พระเพทราชา แล้วดำรัสว่านางลาวนี้มีครรภ์ขึ้นมา เราจะเอาไปเลี้ยงไว้ในพระราชวังก็คิดละอายแก่พระสนมทั้งปวง และท่านจงรับเอาไปเลี้ยงไว้ ณ บ้านเถิด และพระเพทราชาก็รับพระราชทานเอานางนั้นไปเลี้ยงไว้ ณ บ้าน"

โดยเหตุผลของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่าว่า พระองค์ทรงเกรงว่าพระราชโอรสองค์นี้จะคิดกบฏชิงราชสมบัติอย่างเมื่อคราวพระศรีศิลป์ ส่วนคำให้การของขุนหลวงหาวัดว่า พระองค์ทรงต้องรักษาราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสที่ประสูติแต่พระอัครมเหสีเท่านั้น[9]

พระราชพงศาวดารฯ ฉบับพระพนรัตน์ (แก้ว) จดพระนามเดิมของพระองค์ว่า มะเดื่อ[10][11] ส่วนในหนังสือปฐมวงศ์ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ เรียกว่า ดอกเดื่อ[12] เนื่องจากประสูติใต้ต้นมะเดื่อในแขวงเมืองพิจิตร ขณะพระมารดาเสด็จติดตามออกพระเพทราชาโดยเสด็จสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์) เสด็จขึ้นไปนมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ที่เมืองพิษณุโลก

จดหมายเหตุเอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ (Engelbert Kaempfer) นายแพทย์ชาวเยอรมันประจำคณะทูตของบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาที่เข้ามาเจริญพระราชไมตรีราชสำนักสยามในปี พ.ศ. 2233 ได้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับปีประสูติของออกหลวงสรศักดิ์ว่า เมื่อ พ.ศ. 2233 พระสรศักดิ์ (Peja Surusak) พระมหาอุปราชมีพระชนม์ 20 พรรษา[13] แสดงว่าพระองค์ประสูติในปี พ.ศ. 2213[9]

ทัศนะ

อย่างไรก็ตาม สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มิทรงเชื่อว่าหลวงสรศักดิ์จะเป็นพระราชโอรสลับในสมเด็จพระนารายณ์ ทรงวินิจฉัยว่าในเมื่อหลวงสรศักดิ์รู้อยู่เต็มอกว่าสมเด็จพระนารายณ์คือพระราชบิดา เหตุไฉนจึงร่วมมือกับพระเพทราชาบิดาบุญธรรมปราบดาภิเษกชนกแท้ ๆ ของตน แทนที่จะประจบเอาใจขอราชสมบัติกับพระราชบิดาเมื่อครั้งยังประชวร ส่วนเพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ว่า พระยาแสนหลวง เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ที่ตกเป็นเชลยมายังกรุงศรีอยุธยานั้นก็มิได้มีฐานะต่ำต้อยอันใด ซ้ำยังจะดูมีหน้ามีตาเพราะสามารถต่อโคลงกับศรีปราชญ์ กวีในรัชกาลได้ ถ้าหากพระยาแสนหลวงเป็นพระสัสสุระของสมเด็จพระนารายณ์จริง ก็น่าจะเป็นที่ความภาคภูมิมากกว่าอับอาย และยังสามารถใช้การเสกสมรสดังกล่าวเป็นเหตุผลทางการเมืองเข้าครอบครองล้านนาผ่านพระชายาได้[14]

ครองราชย์

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าเสือได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กรับราชการเป็นที่ โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมาได้ตำแหน่งเป็นหลวงสรศักดิ์ สมัยสมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ให้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล และได้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระเพทราชา พระนาม สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8

ราชาภิเษก พ.ศ. 2246 มีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเพชร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) และเจ้าฟ้าพร (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) มีพระสมัญญานามว่า “เสือ”[2] ตั้งแต่สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งเป็น หลวงสรศักดิ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว[15]

ทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน อย่างเช่น ในการเสด็จไปคล้องช้างที่เมืองนครสวรรค์ มีรับสั่งให้เจ้าฟ้าเพชรและเจ้าฟ้าพรตัดถนนข้ามบึงหูกวาง โดยถมบึงส่วนหนึ่งให้เสร็จภายในหนึ่งคืน พระราชโอรสดำเนินงานเสร็จตามกำหนด แต่เมื่อเสด็จพระราชดำเนิน ช้างทรงตกหลุม ทรงลงพระราชอาญาเจ้าฟ้าเพชร แต่ภายหลังก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ[15]

พระอุปนิสัย

พงศาวดารบันทึกว่า สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 มีพระอุปนิสัย ทรงมักมากในกามคุณ และทรงชอบการล่าสัตว์ ผู้คนจึงออกพระนามว่า "พระเจ้าเสือ" เปรียบว่าทรงร้ายดังเสือ[5] โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกว่า[5]

"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพอพระทัยเสวยน้ำจัณฑ์ แล้วเสพสังวาสด้วยดรุณีอิตถีสตรีเด็กอายุ 11-12 ปี ถ้าสตรีใดเสือกดิ้นโครงไป ให้ขัดเคือง[ต้องการอ้างอิง] จะลงพระราชอาชญาถองยอดอกตายกับที่ ถ้าสตรีใด ไม่ดิ้นเสือกโครงนิ่งอยู่ ชอบพระอัชฌาสัย พระราชทานบำเหน็จรางวัล

"ประการหนึ่ง ถ้าเสด็จไปประพาสมัจฉาชาติฉนากฉลามในชลมารคทางทะเลเกาะสีชังเขาสามมุขแลประเทศที่ใด ย่อมเสวยน้ำจัณฑ์พลาง ถ้าหมู่พระสนมนิกรนางในแลมหาดเล็ก ชาวที่ทำให้เรือพระที่นั่งโคลงไหวไป มิได้มีพระวิจารณะ ปราศจากพระกรุณาญาณ ลุอำนาจแก่พระโทโส ดำรัสสั่งให้เอาผู้นั้นเกี่ยวเบ็ดทิ้งลงไปกลางทะเล ให้ปลาฉนากฉลามกินเป็นอาหาร

"ประการหนึ่ง ปราศจากพระเบญจางคิกศีล มักพอพระทัยทำอนาจารเสพสังวาสกับภรรยาขุนนาง แต่นั้นมาพระนามปรากฏเรียกว่า พระเจ้าเสือ"

ขณะที่พระราชพงศาวดารกรุงสยามฉบับบริติชมิวเซียมบันทึกไว้ทำนองเดียวกันว่า

"ครั้งนั้น สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินมีพระราชหฤทัยกักขฬะ หยาบช้า ทารุณ ร้ายกาจ ปราศจากกุศลสุจริต ทรงพระประพฤติผิดพระราชประเพณี มิได้มีหิริโอตัปปะ และพระทัยหนาไปด้วยอกุศลลามก มีวิตกในโทสโมหมูลเจือไปในพระสันดานเป็นนิรันดร์มิได้ขาด แลพระองค์เสวยน้ำจัณฑ์ขาวอยู่เป็นนิจ แล้วมักยินดีในการอันสังวาสด้วยนางกุมารีอันยังมิได้มีระดู ถ้าและนางใดอุตส่าห์อดทนได้ ก็พระราชทานรางวัลเงินทองผ้าแพรพรรณต่าง ๆ แก่นางนั้นเป็นอันมาก ถ้านางใดอดทนมิได้ไซร้ ทรงพระพิโรธ และทรงประหารลงที่ประฉิมุราประเทศให้ถึงแก่ความตาย แล้วให้เอาโลงเข้ามาใส่ศพนางนั้นออกไปทางประตูพระราชวังข้างท้ายสนมนั้นเนือง ๆ และประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูผีออก มีมาตราบเท่าทุกวันนี้

"อยู่มาครั้งหนึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จด้วยพระชลพาหนะออกไปประพาส ณ เมืองเพชรบุรี และเสด็จไปประทับแรมอยู่ ณ พระราชนิเวศน์ตำบลโตนดหลวง ใกล้ฝั่งพระมหาสมุทร และที่พระตำหนักนี้เป็นที่พระตำหนักเคยประพาสมหาสมุทรมาแต่ก่อนครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรบรมราชาธิราชบพิตรเป็นเจ้านั้น และสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินก็เสด็จด้วยพระที่นั่งมหานาวาท้ายรถ แล่นไปประพาสในท้องพระมหาสมุทรตราบเท่าถึงตำบลเขาสามร้อยยอด และทรงเบ็ดตกปลาฉลามและปลาอื่นเป็นอันมาก แล้วเสด็จกลับมา ณ ตำหนักโตนดหลวง และเสด็จเที่ยวประพาสอยู่ดังนั้นประมาณ 15 เวร จึ่งเสด็จกลับยังกรุงเทพมหานคร"

พระราชกรณียกิจ

ด้านศาสนา

  1. ทรงปฏิสังขรณ์มณฑปสวมรอยพระพุทธบาทสระบุรี สร้างมาแต่ครั้งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ซึ่งทำเป็นยอดเดียวชำรุด โปรดฯ ให้สร้างใหม่เป็น 5 ยอด รวมทั้งปฏิสังขรณ์ทั่วทั้งอาราม
  2. ปี พ.ศ. 2249 เกิดอัสนีบาตต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตร เครื่องบนมณฑป ทรุดโทรมพังลงมาต้องพระศอพระมงคลบพิตรหัก โปรดฯ ให้รื้อเครื่องบนออก ก่อสร้างใหม่แปลงเป็นมหาวิหาร
  3. เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการพระพุทธฉายและสันนิษฐานว่าค้นพบในสมัยพระองค์
  4. พระราชกรณียกิจที่สำคัญอันเกี่ยวเนื่องเมืองพิจิตร เพื่อเป็นการรำลึกถึงชาติภูมิของพระองค์สมเด็จพระเจ้าเสือได้โปรดให้สร้างวัดโพธิ์ประทับช้างขึ้นที่เมืองพิจิตร โดยสร้างพระอุโบสถ พระวิหาร พระมหาเจดีย์ ศาลาการเปรียญ และกุฏิสงฆ์ มีอาณาบริเวณวัดกว้างขวางใหญ่โต ใช้เวลาสร้าง 2 ปี จึงสำเร็จ เสด็จพระราชดำเนินมาทำการฉลองด้วยพระองค์เอง มีการฉลอง สามวันสามคืน มีมหรสพครึกครื้น และมีผู้คนมากมายมาเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทและ ดูมหรสพ ฉลองเสร็จแล้วทรงพระราชอุทิศถวายเลขข้าพระไว้สำหรับอุปฐากพระอารามถึง 200 ครัวเรือน นับว่าครั้งนั้นวัดโพธิ์ประทับช้างเป็นวัดที่เด่นที่สุดในเมืองพิจิตร

สมเด็จพระเจ้าเสือทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าแตงโม (พระสุวรรณมุนี) เป็นพระอาจารย์สอนวิชาความรู้แก่พระราชโอรสและพระราชนัดดา ทรงไม่พอพระทัยที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งคนโปรดของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงทรงโปรดการลาสิกขาของพระภิกษุเพื่อออกมารับราชการ ในรัชสมัยมีพระภิกษุชอบด้วยการนี้เป็นจำนวนมาก

ด้านคมนาคม

  1. ทรงให้มีการตัดถนนข้ามบึงหูกวางที่เมืองนครสวรรค์
  2. ทรงให้ขุดคลองโคกขามซึ่งคดเคี้ยวให้ตรง[16] และขุดลัดคลองอ้อมเกร็ด[ต้องการอ้างอิง]
  3. ทรงให้มีการปรับปรุงเส้นทางทางไปพระพุทธบาทสระบุรี ให้เดินทางมาสะดวกยิ่งขึ้น

สวรรคต

สมเด็จพระเจ้าเสือ เสด็จอยู่ในตำแหน่งที่พระมหาอุปราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2231 – 2246 เป็นเวลา 15 ปี เสด็จอยู่ในพระราชสมบัติ พ.ศ. 2246 – 2251 เป็นเวลา 5 ปี สวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2251 พระชนมายุ 47 พรรษา

พงศาวลี

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเอกาทศรถ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางอิน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระราชเทวีสิริกัลยาณี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระยาหลวงทิพเนตร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พญาแสนหลวง (พระเจ้าเชียงใหม่)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
นางกุสาวดี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
พระชายาในพญาแสนหลวง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ไม่ปรากฎพระนาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "6 กุมภาพันธ์ "วันมวยไทย" เทิดไท้ "พระเจ้าเสือ"". พีพีทีวี. 5 กุมภาพันธ์ 2559. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 ประวัติ สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) Welcome to Phichit
  3. ราชอาณาจักรสยาม
  4. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. กรุงเทพฯ:มติชน, 2548, หน้า 70
  5. 5.0 5.1 5.2 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม). (2553). กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา. ISBN 9786167146089.
  6. ตามรอยพระเจ้าเสือ กษัตริย์นักมวย ณ ราชธานีเก่า - ไทยโพสต์
  7. ประวัติความเป็นมาของมวยไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
  8. ประวัติมวยไทย
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 สุทธิศักดิ์ ระบอบ สุขสุวานนท์. "พงศาวดารกระซิบเรื่องโอรสลับพระนารายณ์". ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 11 กันยายน 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 109
  10. 10.0 10.1 พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 91-94
  11. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุทธยา และพงศาวดารเหนือ. เล่ม 2. กรุงเทพฯ:องค์การค้าของคุรุสภา, 2504. หน้า 183
  12. ปฐมวงศ์ ฉบับของ ก.ศ.ร. กุหลาบ, ในอภินิหารบรรพบุรุษและปฐมวงศ์. สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ:มิตชน, 2545, หน้า 68
  13. เอนเยลเบิร์ต แกมป์เฟอร์ เขียน, อัมพร สายสุวรรณ แปล. ไทยในจดหมายเหตุแกมป์เฟอร์. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร, 2545, หน้า 64
  14. เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์. (17 กุมภาพันธ์ 2555). "พระปีย์ vs พระเจ้าเสือ ใครคือโอรสลับของพระนารายณ์?". มติชนสุดสัปดาห์. 32:1644, หน้า 76
  15. 15.0 15.1 จุลลดา ภักดีภูมินทร์. พระบัณฑูรใหญ่ พระบัณฑูรน้อย. สกุลไทย ฉบับที่ 2436 ปีที่ 47 ประจำวันอังคารที่ 26 มิถุนายน 2544
  16. ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ - จังหวัดพิจิตร
ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าสุริเยนทราธิบดี ถัดไป
สมเด็จพระเพทราชา
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2231 - พ.ศ. 2246)

พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2246 - พ.ศ. 2251)
สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9
(ราชวงศ์บ้านพลูหลวง)

(พ.ศ. 2251 - พ.ศ. 2275)