ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
KungDekZa (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 90: บรรทัด 90:
=== สำนักวิชา ===
=== สำนักวิชา ===
* สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี
* สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี
** ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน
** ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
** ภาควิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหการ
* สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา
* สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา
** ภาควิชาการพัฒนาและความยั่งยืน
** ภาควิชาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
** ภาควิชาอาหาร เกษตรกรรม และทรัพยากรชีวภาพ
* สำนักวิชาการจัดการ
* สำนักวิชาการจัดการ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:41, 1 เมษายน 2561

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย
ชื่อเดิมโรงเรียนวิศวกรรม สปอ.
SEATO Graduate School of Engineering
ชื่อย่อเอไอที / AIT
คติพจน์.....Towards Excellence
ประเภทองค์การระหว่างประเทศ[1]
สถาปนา8 กันยายน พ.ศ. 2502 (64 ปี)
อธิการบดีศ.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย
อธิการบดีศ.วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย
ที่ตั้ง
ศูนย์ใหญ่
58 หมู่ 9 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ประเทศไทย
ศูนย์เวียดนาม
อาคาร B3 มหาวิทยาลัยการสื่อสารและคมนาคม Lang Thuong Ward, Dong Da Dist. ฮานอย ประเทศเวียดนาม
วิทยาเขต2 วิทยาเขตหลัก
สี
  •   สีเขียว
เครือข่ายLAOTSE, ASAIHL, GMSARN
เว็บไซต์www.ait.ac.th

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย (อังกฤษ: Asian Institute of Technology) หรือ เอไอที เป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ[2] ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2502 โดยความร่วมมือจากกลุ่มประเทศสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซีโต้ หรือ สปอ.) ในชื่อ โรงเรียนวิศวกรรม สปอ. (SEATO Graduate School of Engineering) ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นสถาบันอิสระในชื่อปัจจุบันเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2510 เปิดสอนระดับอุดมศึกษา (ปริญญาโท และปริญญาเอก) โดยเน้นทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการจัดการ ในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในภูมิภาคเอเชีย มีศูนย์กลางการบริหารงานตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีศูนย์การศึกษาในประเทศเวียดนามด้วย

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม

ประวัติ

เมื่อปี พ.ศ. 2500 องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีแนวคิดที่จะก่อตั้งโรงเรียนวิศวกรรมขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกองค์กรซีโต้ ทั้งประเทศออสเตรเลีย ประเทศฝรั่งเศส ประเทศนิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศสมาชิกในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศปากีสถาน ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โดยแนวคิดนี้ได้รับการอนุมัติในการประชุมที่กรุงมะนิลาในปีถัดมา จนกระทั่งมีการประกาศก่อตั้งโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ขึ้นภายหลังจากการประชุมที่กรุงเวลลิงตันในปี พ.ศ. 2502 ต่อมาโรงเรียนวิศวกรรม สปอ. ได้เปลี่ยนสถานะเป็นสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียในปี พ.ศ. 2510 เมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ประกาศให้กฎบัตรสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียมีผลตามกฎหมาย ซึ่งทำให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นสถาบันอิสระและไม่ขึ้นตรงกับหน่วยงานใด

เมื่อปี พ.ศ. 2532 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ ในสาขาสันติภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศ จากการพัฒนาทรัพยากรบุคคลยุคใหม่ โดยเฉพาะวิศวกรและผู้จัดการ ในทวีปเอเชีย โดยมีบรรยากาศการเรียนการสอนที่ดีเยี่ยมและมีความเป็นมิตร[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียได้ลงบันทึกความร่วมมือกับรัฐบาลเวียดนามในการเปิดศูนย์เวียดนามที่กรุงฮานอย ทำให้หลังจากนั้นรัฐบาลเวียดนามได้มอบรางวัลเหรียญมิตรภาพให้สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียในปี พ.ศ. 2549[4] ซึ่งถือเป็นรางวัลที่สูงที่สุดที่มีการมอบในระดับระหว่างประเทศ และมีการเสนอไปยังสถาบันระหว่างประเทศที่กระจายการฝึกทักษะทรัพยากรบุคคลแก่เวียดนาม และการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับประเทศอื่น

จากการที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียเป็นสถาบันการศึกษาที่มีสถานะแตกต่างจากสถาบันการศึกษาอื่นในประเทศไทย เนื่องจากมีสถานะเป็นองค์การระหว่างประเทศ จึงไม่ได้เป็นทั้งสถาบันของรัฐบาลและเอกชน แต่มีสถานะเทียบเท่ากับสถาบันระหว่างประเทศ โดยเมื่อปี พ.ศ. 2555 ได้เกิดประเด็นเกี่ยวกับการไม่รับรองในระบบราชการไทยขึ้นจากการที่ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาเอกชน แต่ปัญหาดังกล่าวได้รับการแก้ไขในเวลาต่อมา ซึ่งสำนักงาน ก.พ. ได้ให้การรับรองคุณวุฒิจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียจัดอยู่ในการรับรองคุณวุฒิต่างประเทศ[5]

ปัจจุบันสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซียมีการเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 70 เป็นนักศึกษาจากต่างประเทศ และนักศึกษาของสถาบันส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเรียนดีที่ได้รับทุนการศึกษาจากรัฐบาลของประเทศต่างๆที่ร่วมกันก่อตั้งสถาบัน[6][7]

ทำเนียบอธิการบดี

ที่ ชื่อ การอยู่ในตำแหน่ง
เริ่ม สิ้นสุด
1 สหรัฐ ศาสตราจารย์ มิลตัน เบนเดอร์ จูเนียร์ พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2520
2 สหรัฐ ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต แบงส์ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2526
3 สกอตแลนด์ ศาสตราจารย์ อลาสแตร์ นอร์ต พ.ศ. 2526 พ.ศ. 2539
4 ไอร์แลนด์เหนือ ศาสตราจารย์ โรเจอร์ ดาวเนอร์ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2541
5 ฝรั่งเศส ศาสตราจารย์ ฌอง หลุยส์ อาร์มองด์ พ.ศ. 2541 พ.ศ. 2547
6 สวีเดน ศาสตราจารย๋ ซาอิด อิรานดุส พ.ศ. 2547 พ.ศ. 2556
7 ไทย ศาสตราจารย์ วรศักดิ์ กนกนุกุลชัย พ.ศ. 2556 ปัจจุบัน

ที่ตั้ง

อาคารเรียนและสภาพแวดล้อมภายในเอไอที

ระยะแรกของการก่อตั้ง บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ สปอ. (ชื่อของสถาบันในขณะนั้น) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาได้รับการอนุมัติให้ใช้พื้นที่ประมาณ 1,000 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินของรัฐบาลไทย อยู่บริเวณติดกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตในปัจจุบัน จึงได้พัฒนาเป็นที่ตั้งจนถึงทุกวันนี้

ด้านหน้าของสถาบันฯ เป็นพื้นที่สีเขียวเป็นแนวกว้าง เดิมได้ออกแบบเพื่อเป็นพื้นที่ถอยร่นใช้กันเสียงและมลภาวะจากภายนอก และใช้เป็นพื้นที่สนามกอล์ฟ 9 หลุมสำหรับนักศึกษาและบุคลากรของสถาบันฯ จนเมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้มีโครงการเปลี่ยนพื้นที่สนามกอล์ฟเป็นพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์เปิดให้บุคคลภายนอกได้ใช้ เป็นหนึ่งในพื้นที่สีเขียวที่สำคัญของจังหวัดปทุมธานี

นอกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์แล้ว พื้นที่ติดกับสถาบันยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญอย่าง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

หน่วยงาน

สำนักวิชา

  • สำนักวิชาวิศวกรรมและเทคโนโลยี
    • ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและโครงสร้างพื้นฐาน
    • ภาควิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
    • ภาควิชาวิศวกรรมระบบอุตสาหการ
  • สำนักวิชาสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร และการพัฒนา
    • ภาควิชาการพัฒนาและความยั่งยืน
    • ภาควิชาพลังงาน สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    • ภาควิชาอาหาร เกษตรกรรม และทรัพยากรชีวภาพ
  • สำนักวิชาการจัดการ

ศูนย์

  • ศูนย์เอไอทีเวียดนาม
  • โครงการพัฒนาการจัดการ สวิส-เอไอที-เวียดนาม
  • ศูนย์การศึกษาทางไกล
  • ห้องสมุดเอไอที

อันดับมหาวิทยาลัย

การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย อยู่ในอันดับที่ 1,104 ของโลก อันดับที่ 35 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับที่ 13 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[8]

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้การจัดอันดับมหาวิทยาลัยนานาชาติยอดเยี่ยมของโลกจาก U-Multirank 2015 International Ranking ในฐานะมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นความเป็นนานาชาติเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยเป็นสถาบันการศึกษานานาชาติเพียงแห่งเดียวในทวีปเอเชียที่ได้รับการจัดระดับในระดับ A ครบทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การเรียนการสอน การวิจัย การถ่ายทอดองค์ความรู้ การมุ่งเน้นความเป็นนานาชาติ และความเกี่ยวข้องในระดับภูมิภาค และยังได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 15 ของเอเชีย ในการวัดระดับในภาพรวมด้วย[9][10]

บุคคลที่มีชื่อเสียงจากสถาบัน

อ้างอิง

  1. รายชื่อองค์การระหว่างประเทศ| กระทรวงการต่างประเทศ
  2. INTERNATIONAL ORGANIZATIONS : AIT| กระทรวงการต่างประเทศ
  3. The 1989 Ramon Magsaysay Award for International Understanding http://www.rmaf.org.ph/Awardees/Citation/CitationAIT.htm
  4. "Vietnam bestows highest international relations honor to AIT". ait.asia. สืบค้นเมื่อ 2014-04-12.
  5. การพิจารณารับรองคุณวุฒิและกําหนดอัตราเงินเดือนของผู้สําเร็จการศึกษาจาก Asian Institute of Technology สำนักงาน ก.พ.
  6. ทุนเยอะ!เอไอทีเปิดบ้านโชว์หลักสูตร-แจงข้อมูลทุน
  7. Scholarships
  8. Ranking Web of World UniversitiesTop South East Asia
  9. สถาบัน"เอไอที" ยอดเยี่ยมโลก ฐานะ"ม.อินเตอร์" ไทยโพสต์
  10. "เอไอที" ติดอันดับโลกเร่งเสริมจุดแข็ง ไทยรัฐออนไลน์

แหล่งข้อมูลอื่น