ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชาวไทยเชื้อสายเขมร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ขุนพล แสนใจน้อย ย้ายหน้า ไทยเชื้อสายเขมร ไปยัง ชาวไทยเชื้อสายเขมร ทับหน้าเปลี่ยนทาง
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 21: บรรทัด 21:


== วัฒนธรรม ==
== วัฒนธรรม ==
<gallery>
Example.jpg|คำอธิบายภาพ1
Example.jpg|คำอธิบายภาพ2
</gallery>


การแต่งกายของชาวไทยเขมรที่ถูกต้อง จะไม่มีการผสมผสานการแต่งกายแบบชาติพันธุ์ส่วยแต่อย่างใด การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่ถูกต้องสามารถเห็นได้ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์และนอกจากนี้ชาวไทยเชื้อสายเขมรดั้งเดิมจะไม่มีความเชื่อในเรื่องการจัดประเพณีบุญบั้งไฟอย่างที่ชาวไทยเชื้อสายเขมรในขุขันธ์ได้จัดขึ้น โดยปกติแล้วชาวไทยเชื้อสายเขมรดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ จะไม่มีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟแต่อย่างใด เช่นเดียวกับชาติพันธุ์เขมรในกัมพูชา
การแต่งกายของชาวไทยเขมรที่ถูกต้อง จะไม่มีการผสมผสานการแต่งกายแบบชาติพันธุ์ส่วยแต่อย่างใด การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่ถูกต้องสามารถเห็นได้ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์และนอกจากนี้ชาวไทยเชื้อสายเขมรดั้งเดิมจะไม่มีความเชื่อในเรื่องการจัดประเพณีบุญบั้งไฟอย่างที่ชาวไทยเชื้อสายเขมรในขุขันธ์ได้จัดขึ้น โดยปกติแล้วชาวไทยเชื้อสายเขมรดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ จะไม่มีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟแต่อย่างใด เช่นเดียวกับชาติพันธุ์เขมรในกัมพูชา

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:39, 26 มีนาคม 2561

ชาวไทยเชื้อสายเขมร
ควง อภัยวงศ์ไฟล์:21711 002.jpg
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
จังหวัดสุรินทร์, จังหวัดบุรีรัมย์, จังหวัดศรีสะเกษ, จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม, จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดตราด, จังหวัดฉะเชิงเทรา[1], จังหวัดจันทบุรี, จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดราชบุรี[2], จังหวัดพิจิตร[3], จังหวัดนครปฐม และกรุงเทพมหานคร
ไทย ประเทศไทย
ภาษา
ภาษาไทย, ภาษาเขมรเหนือ, ภาษาไทยถิ่นอีสาน, ภาษาเขมร และภาษาเขมรลาวเดิม
ศาสนา
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท

ชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในประเทศไทย ที่มีความสัมพันธ์กับชนชาติไทย และประเทศไทยมาช้านาน โดยแบ่งชาวไทยเชื้อสายเขมรออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ ชาวเขมรบน หรือเขมรสูง[4] ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรือที่เรียกว่า อีสานใต้ โดยเชื่อว่าอพยพเข้ามาในดินแดนไทยในช่วง พ.ศ. 2324-2325[5][6][7] และกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรอีกกลุ่มหนึ่งคือกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนจากประเทศกัมพูชาในสมัยอดีตซึ่งปัจจุบันกลุ่มหลังนี้จะกลมกลืนไปกับชาวไทยในปัจจุบันไปเสียแล้ว นอกจากนี้ยังมีกลุ่มแรงงานชาวกัมพูชาอพยพ และชาวกัมพูชาอพยพซึ่งอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทยในภาวะสงคราม โดยบางส่วนได้อพยพกลับภูมิลำเนาเดิม ขณะที่บางส่วนยังคงปักหลักอยู่ในดินแดนไทยต่อไป

ภาษา

ดูเพิ่มที่ ภาษาเขมรเหนือ

ชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้นจะมีภาษาที่แตกต่างออกไปจากภาษาเขมรในประเทศกัมพูชา โดยภาษาเขมรที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง หรืออีสานใต้ จะเรียกว่า ภาษาเขมรเหนือ หรือเขมรบน โดยมีความต่างจากภาษาเขมรในกัมพูชาในเรื่องของหน่วยเสียงสระ การใช้พยัญชนะ รากศัพท์ และไวยากรณ์ โดยผู้ใช้ภาษาเขมรเหนือจะสามารถเข้าใจภาษาเขมรทุกสำเนียง ส่วนผู้ใช้สำเนียงพนมเปญจะมีปัญหาในการทำความเข้าใจ นอกจากภาษาเขมรเหนือแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรกลุ่มอื่น ๆ ก็สามารถใช้ภาษาเขมรได้ดีโดยเฉพาะกลุ่มที่ติดชายแดนใกล้กับประเทศกัมพูชา อย่างเช่นแถบจังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด

แต่ขณะเดียวกันชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในหลายจังหวัดแถบภาคกลางของประเทศที่ตกอยู่ในวงล้อมที่รอบล้อมไปด้วยภาษาไทยกลาง ทำให้ภาษาเขมรในถิ่นนั้นได้รับอิทธิพลของภาษาไทย โดยชุมชนเชื้อสายเขมรหลายชุมชนเลิกการใช้ภาษาเขมร โดยสงวนไว้เฉพาะคนเฒ่าคนแก่ ไม่เผยแพร่ต่อลูกหลาน อย่างเช่นในชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดราชบุรี ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ (ฉบับหอสมุดแห่งชาติ) ก็ได้กล่าวถึงการกวาดต้อนเขมรจากเมืองโพธิสัตว์ เสียมราฐและพระตะบองมาไว้ที่ราชบุรี เขมรเหล่านี้ไม่ใช่เขมรลาวเดิมเพราะมีภาษาพูดที่แตกต่างกัน เขมรกลุ่มนี้ใช้ภาษาพูดเช่นเดียวกับเขมรในประเทศกัมพูชา โดยตั้งบ้านเรือนในเขตอำเภอเมืองราชบุรี, อำเภอโพธาราม และอำเภอปากท่อ[8] แต่ปัจจุบันพบผู้พูดภาษาเขมรประมาณ 8-10 คน มีอายุระหว่าง 70-80 ปี แต่ไม่ได้ใช้ภาษาเขมรสื่อสารกับลูกหลาน เพียงแต่นึกศัพท์ได้เป็นคำๆ หรือพูดคุยกับคนรุ่นเดียวกันได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น[2] เช่นเดียวกันกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดนครปฐมซึ่งมีอยู่ตั้งแต่ปากคลองเจดีย์บูชาสะพานรถไฟเสาวภา วัดแค ไปจนถึงวัดสัมปทวน เรียงรายไปตลอดริมแม่น้ำท่าจีน ประมาณ 1 กิโลเมตรประมาณ 30 ครอบครัว แต่มีผู้ใช้ภาษาเขมรเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น[7]

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชนอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกภาษาตัวเองว่า ภาษาเขมรลาวเดิม ในจังหวัดราชบุรี[9] ที่ตั้งถิ่นฐานในแถบอำเภอเมืองราชบุรี, อำเภอปากท่อ, อำเภอวัดเพลง และอำเภอบางแพ[8] โดยภาษานี้จะใกล้เคียงกับภาษาไทยถิ่นอีสานตอนใต้ และยังมีการใช้ภาษาเขมรปะปนอยู่ด้วย เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของชาวเขมรลาวเดิมเป็นชาวลาวที่ถูกทัพเขมรกวาดต้อนไปเมืองเขมร เมื่อไทยได้ไปตีเขมรจึงได้กวาดต้อนชาวลาว และชาวเขมรปะปนกันมาด้วย[10]

วัฒนธรรม

การแต่งกายของชาวไทยเขมรที่ถูกต้อง จะไม่มีการผสมผสานการแต่งกายแบบชาติพันธุ์ส่วยแต่อย่างใด การแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่ถูกต้องสามารถเห็นได้ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์และนอกจากนี้ชาวไทยเชื้อสายเขมรดั้งเดิมจะไม่มีความเชื่อในเรื่องการจัดประเพณีบุญบั้งไฟอย่างที่ชาวไทยเชื้อสายเขมรในขุขันธ์ได้จัดขึ้น โดยปกติแล้วชาวไทยเชื้อสายเขมรดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสุรินทร์และบุรีรัมย์ จะไม่มีการจัดประเพณีบุญบั้งไฟแต่อย่างใด เช่นเดียวกับชาติพันธุ์เขมรในกัมพูชา

การแต่งกาย

วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรที่อีสานใต้นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อันบ่งบอกถึงความเป็นท้องถิ่นเขมรอีสานใต้ได้อย่างน่าชื่นชม ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ หรือผ้านุ่ง ก็ล้วนเป็นสิ่งที่แสดงถึงมรดกตกทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ นับแต่สมัยโบราณกระทั่งกว่าร้อยปีหลังถึงปัจจุบัน การแต่งกายของชาวไทยเขมรได้เปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย แต่ปัจจุบันลูกหลานที่หวงแหนในวัฒนธรรมการแต่งกายของคนเขมรได้รื้อฟื้นช่วยกันกลับมาสวมใส่แต่งกายกลับมาเป็นที่นิยมกันอย่างมากขึ้นในโอกาสงานบุญและงานประจำปีต่างๆ

ในสมัยโบราณหญิงชาวเขมรในอีสานใต้ก็มีความพิถีพิถันในเรื่องกายแต่งกายเช่นเดียวกับหญิงในภาคอื่นของไทยไม่แพ้กัน ดังจะเห็นได้จากเสื้อที่สวมใส่ได้จากการตัดเย็บด้วยฝีมือ และที่ขาดไม่ได้คือผ้านุ่งที่มีเอกลักษณ์มาแต่โบราณซึ่งมีความสวยงามไม่ว่าจะเป็น ผ้าสมอ, ผ้าสกู, ผ้ากระเนียว, ผ้าอันปรม, ผ้าโฮล, ผ้าเก็บ, ผ้าจดอ และผ้าโสร่ง เป็นต้น[11]

การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

นอกจากการแต่งกายชาวไทยเชื้อสายเขมรนั้น จะมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันระหว่างคนภายในชุมชนเดียวกันแต่ต่างชาติพันธุ์กัน อย่างเช่น ชุมชนบ้านโซง ซึ่งเดิมเป็นชุมชนของชาวเขมร แต่ต่อมามีชาวไทยเชื้อสายลาวเข้ามาอยู่ภายในชุมชนด้วย โดยหากมีการแต่งงานข้ามกลุ่มกันระหว่างกลุ่ม ก็จะนิยมจัดงานแต่งงานแบบเขมร และชาวไทยเชื้อสายเขมรในชุมชนนี้จะมีความพยายามในการเรียนรู้ภาษาไทยกลางและภาษาลาว[12]

ศาสนา

ชาวไทยเชื้อสายเขมร ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ช่วงเข้าพรรษาจะมีประเพณีกันซง ซึ่งเป็นประเพณีการถือศีล นำอาหารไปทำบุญ ที่วัด 8 วัน หรือ 15 วัน นอกจากนั้นยังมีความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ จะมีประเพณีไหว้บรรพบุรุษ เรียกว่า ประเพณีเบ็นหรืองาน แคเบ็น ซึ่งตรงกับสารทไทย พิธีมงก็วลจองได เป็นพิธีสู่ขวัญแบบพื้นบ้าน นิยมจัดในงานมงคล เช่น งานมงคลสมรส ขวัญนาค โกนจุก ยกเสาเอก ขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น พิธีมอม็วด เป็นพิธีที่ทำเพื่อหาสาเหตุการเจ็บป่วย โดยผู้เข้าทรงจะเชิญวิญญาณมาเข้าสู่ร่าง และจะมีผู้คอยซักถามว่าเหตุใดถึงได้เจ็บป่วย นอกจากนั้นชาวไทยเชื้อสายเขมรยังเชื่อเรื่องโชคราง ของขลัง ฤกษ์ยามเครื่องราง ของขลังบางอย่างสามารถป้องกันภัยและรักษาโรคได้[7]

นอกจากพระพุทธศาสนาแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเขมรบางส่วนก็นับถือคริสต์ศาสนาอย่างเช่นในชุมชนวัดคอนเซ็ปชัญ[13] ในซอยมิตตคาม ถนนสามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ที่ได้กวาดต้อนชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์มาอาศัยอยู่ร่วมกับชุมชนชาวไทยเชื้อสายโปรตุเกส ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 โดยได้ทำการกวาดต้อนมาประมาณ 500 คน โดยเป็นชาวโปรตุเกส 450 คน และชาวเขมรอีก 100 คน[14] โดยกลุ่มชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ได้นำรูปสลักพระแม่มารี หรือ พระแม่ขนมจีน หรือ พระแม่ตุ้งติ้ง มาด้วย ภายหลังมีการอัญเชิญรูปสลักนี้กลับกัมพูชา แต่ก็เกิดเหตุอัศจรรย์ทำให้ไปต่อไม่ได้ จึงนำกลับมาประดิษฐาน ณ วัดคอนเซ็ปชัญตามเดิม[15] ด้วยเหตุที่มีชาวเขมรเข้ามาตั้งถิ่นฐานภายในชุมชน จึงทำให้วัดคอนเซ็ปชัญมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่ง คือ วัดเขมร[14] โดยอาหารที่ขึ้นชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมรในวัดคอนเซ็ปชัญคือ หมูหัน

ประเพณี

ประเพณีของชาวไทยเชื้อสายเขมรมีจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นพิธีกรรมทางศาสนาตามความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายเขมร เช่น

  • ประเพณีไหว้พระแข เป็นประเพณีชาวไทยเชื้อสายเขมรในตำบลบ้านโพธิ์ และตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่อพยพตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[16] โดยพิธีนี้เป็นพิธีบวงสรวงและไหว้พระจันทร์เพื่อเสี่ยงทางฝนฟ้าประจำปี จัดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 12 และในวันรุ่งขึ้น ชาวบ้านจะเผาข้าวหลาม มาทำบุญเลี้ยงพระ ปัจจุบันมีการจัดตามวัด[17]
  • เทศกาลแซนโฎนตาแคเบ็น ซึ่งคำว่า แซนโฎนตา หรือ แซนโดนตา แปลว่า เซ่นปู่ตา หมายถึง การเซ่นผีบรรพบุรุษของชาวไทยเชื้อสายเขมร เป็นประเพณีที่ชาวเขมรถือปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณ จะจัดกันในช่วง แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ถึง ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ในเดือน แคเบ็น หรือตรงกับเดือนตุลาคม เช่นเดียวกับสารทไทย แต่ที่แปลกพิสดารคือมีการจัดเซ่นที่เป็นเอกลักษณ์ตามธรรมเนียมประเพณีแบบเขมร โดยก่อนวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 สี่ถึงห้าวัน[18]

อ้างอิง

  1. ชาวไทยเชื้อสายเขมร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา
  2. 2.0 2.1 แผนที่ภาษาศาสตร์4
  3. ชาวไทยเชื้อสายเขมร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิจิตร
  4. หัวเรื่องใหม่ “ชาวไทยเขมร” หรือ “ชาวเขมรถิ่นไทย”
  5. ประกอบ ผลงาม. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์เขมรถิ่นไทย. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล , 2538, หน้า 15-16
  6. ฐานข้อมูลชาติพันธุ์ในประเทศไทย
  7. 7.0 7.1 7.2 ความนำ : ชุมชนเขมร ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครปฐม
  8. 8.0 8.1 ยายของผมเชื้อสายเขมร
  9. คนไทยเชื้อสายต่าง ๆ ในจังหวัดราชบุรี
  10. เว็บไซต์หลักเมือง
  11. วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ จากบล็อกโอเคเนชั่น
  12. การวิเคราะห์เศรษฐกิจของหมู่บ้านไทยลาว - เขมรเขตชายแดน กรณีของหมู่บ้านโซง วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาเศรษฐกิจ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  13. วัดคอนเซ็ปชัญ กรุงเทพมหานคร
  14. 14.0 14.1 ประวัติวัดแม่พระปฏิสนธินิรมล (คอนเซ็ปชัญ) เล่าเรื่องชุมชนและวัดคริสต์ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
  15. วัดคอนเซ็ปชัญ
  16. กลุ่มชาติพันธุ์ในจงหวัดสุพรรณบุรี
  17. ประเพณีไหว้พระแข
  18. เทศกาลแซนโดนตาแคเบ็นประเพณีของชาวไทยเขมรกำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว

แหล่งข้อมูลอื่น