ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หม่อมไกรสร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
The Royal Lineage (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มไฮเปอร์ลิงค์ของเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ในรัชกาลที่ 1
The Royal Lineage (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มลิ้งค์เชื่อมไปยังข้อมูลของต้นราชสกุล พึ่งบุญ
บรรทัด 25: บรรทัด 25:
}}
}}


'''หม่อมไกรสร''' เดิมคือ '''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ''' (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391) เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]และ[[เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ในรัชกาลที่ 1|เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว]] ทรงเป็นต้น[[ราชสกุลพึ่งบุญ|ราชสกุล พึ่งบุญ]] และ สกุล อนิรุทธเทวา
'''หม่อมไกรสร''' เดิมคือ '''พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ''' (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391) เป็นพระราชโอรสใน[[พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก]]และ[[เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ในรัชกาลที่ 1|เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว]] ทรงเป็นต้น[[:หมวดหมู่:ราชสกุลพึ่งบุญ|ราชสกุล พึ่งบุญ]] และ สกุล อนิรุทธเทวา


== พระประวัติ ==
== พระประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:10, 26 มีนาคม 2561

หม่อมไกรสร พึ่งบุญ
เกิด26 ธันวาคม พ.ศ. 2334
เสียชีวิต13 ธันวาคม พ.ศ. 2391 (56 ปี)
ชื่ออื่นพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ
บุตร11 คน
บิดามารดาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
เจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว

หม่อมไกรสร เดิมคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไกรสร กรมหลวงรักษ์รณเรศ (26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 – 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ทรงเป็นต้นราชสกุล พึ่งบุญ และ สกุล อนิรุทธเทวา

พระประวัติ

หม่อมไกรสรเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกกับเจ้าจอมมารดาน้อยแก้ว ธิดาพระจักรีเมืองนครศรีธรรมราช พระองค์เจ้าไกรสรประสูติเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2334 ตรงกับวันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้นสองค่ำ ปีกุน สัมฤทธิศก จ.ศ. 1210 พระประวัติเมื่อทรงพระเยาวน์นั้น ก.ศ.ร. กุหลาบบันทึกไว้ว่า "พระองค์ท่านเปนจอมปราชญ์ จินตะกระวีบัณฑิตย์ ชาติ์ราชตระกูลสุริยวงศ์อันประเสริฐ" และจากวารสารภาษาอังกฤษที่ชื่อ Siam Repository กล่าวถึงความโดดเด่นโดยเฉพาะด้านการศาสนาและโหราศาสตร์ ว่า "ทรงมีความรู้ทางด้านพุทธศาสนาอย่างดีเยี่ยม เหนือกว่าพระบรมวงศานุวงศ์อื่น ๆ"[1] ด้วยเหตุนี้รัชกาลที่ 2 จึงทรงสถาปนาเป็น กรมหมื่นรักษรณเรศร กำกับกรมสังฆการี ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงกำกับกรมวังและอธิบดีกรมพระคชบาลต่อจาก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภัยทัต กรมหลวงเทพพลภักดิ์ ซึ่งเป็นพระเชษฐา

นอกจากนี้หม่อมไกรสร เมื่อยังทรงเป็นกรมหมื่นรักษรณเรศรได้ทรงงานเคียงคู่กับกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 และในฐานะพระปิตุลาหรือ "อา" ทรงงานรับใช้ราชการเคียงคู่กับพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเกือบตลอดรัชกาล โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหลวงรักษ์รณเรศ และโปรดให้กำกับกรมวัง

ผลงานของหม่อมไกรสร ทรงมีอำนาจหน้าที่อย่างกว้างขวางทั้งในทางการตัดสินคดีความ กำกับกรมวัง ดูแลการจ่ายเบี้ยหวัดประจำปีของพระราชวงศ์และขุนนาง

ในปี พ.ศ. 2381 หม่อมไกรสรเป็นตุลาการชำระความคดีเจ้าจอมอิ่มกับพระสุริยภักดี ซึ่งแม้จำเลยทั้งสองคนจะไม่เคยพบกันคุยตัวต่อตัว แต่มีพ่อสื่อแม่ชักเป็นตัวกลางให้ทั้งสองคน แต่ก็ได้รับพิพากษาประหารชีวิตทั้งชายหญิง[2]

พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3 ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) บันทึกเกี่ยวกับหม่อมไกรสร มีประเด็นคำพิพากษา คือ หม่อมไกรสรประพฤติกำเริบ ทำตนเทียมเจ้าในงานลอยกระทง เกลี้ยกล่อมเจ้านาย ขุนนางและซ่องสุมกองทหารรามัญไว้เป็นพวกพ้อง แต่ถูกสอบสวนว่าซ่องสุมผู้คนไว้มากเพื่อคิดกบฏหรือไม่ หม่อมไกรสรตอบปฏิเสธว่า "ไม่ได้คิดกบฏ" แต่เมื่อถามว่า หากเปลี่ยนแผ่นดินเมื่อไหร่ก็จะไม่ยอมเป็นข้าใคร[3] ตุลาการในสมัยนั้นจึงมีคำตัดสินออกมาส่วนหนึ่ง ว่า "...กรมหลวงรักษ์ณรเรศมีความผิด ต้องลดอิสริยศักดิ์สมญาเป็นหม่อม ตลอดทั้งวงศ์วาน..."[4]

นอกจากนี้มูลเหตุอีกอย่างหนึ่งที่พระองค์เจ้าไกรสรถูกถอดอิสริยยศคือ ทรงเลี้ยงโขนผู้ชายไว้มากมาย บรรทมอยู่แต่กับพวกโขนละคร ไม่บรรทมกับพวกหม่อมห้ามในวังเลย รัชกาลที่ 3 มีรับสั่งให้เอาพวกโขนละครมาไต่สวน ได้ความสมกันว่า "...ทรงเป็นสวาทกับพวกละคร ไม่ถึงกับชำเรา แต่เอามือพวกละครและมือของพระองค์ท่านกำคุยหฐานของทั้งสองฝ่ายจนภาวธาตุเคลื่อน..." [5]

หม่อมไกรสรถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อวันพุธ เดือนอ้าย แรม 3 ค่ำ ปีวอก สัมฤทธิศก จ.ศ. 1210 ตรงกับวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2391 รวมพระชันษา 56 ปี และเป็นพระราชวงศ์องค์สุดท้ายที่ถูกสำเร็จโทษด้วยวิธีนี้[6]

พระโอรส-พระธิดา (ดูสายเครือญาติผ่าน แผนภูมิลำดับเชื้อสาย)

หม่อมไกรสรเป็นต้นราชสกุล พึ่งบุญ ได้รับพระราชทานเป็นลำดับที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่แปลกกว่าราชสกุลอื่นตรงที่จะนำพระนามของต้นสกุลมาตั้งออกพระนาม ส่วนราชสกุล "พึ่งบุญ" กลับไม่ใช้พระนามของพระองค์เจ้าไกรสร หม่อมไกรสรมีหม่อมหลายท่านแต่ไม่ปรากฏนาม มีพระบุตรทั้งหมด 11 องค์ เดิมมียศเป็น หม่อมเจ้า ที่ต่อมาถูกลดเป็น หม่อม ทั้งหมด ได้แก่

  1. หม่อมเจ้าหญิงนิลบน พึ่งบุญ
  2. หม่อมเจ้าหญิงอุบลรัศมี พึ่งบุญ
  3. หม่อมเจ้าหญิงขนิษฐา พึ่งบุญ
  4. หม่อมเจ้าชายสิงหรา พึ่งบุญ (พ.ศ. 2362 - ไม่มีข้อมูล)
  5. หม่อมเจ้าชายกรุง พึ่งบุญ (พ.ศ. 2366 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2431)[7]
  6. หม่อมเจ้าชายนก พึ่งบุญ
  7. หม่อมเจ้าหญิงบุษบง พึ่งบุญ
  8. หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม
  9. หม่อมเจ้าชายเผือก พึ่งบุญ
  10. หม่อมเจ้าชายโกเมศ พึ่งบุญ
  11. หม่อมเจ้าอำพล พึ่งบุญ

ต้นตระกูล , พึ่งบุญ ณ อยุธยา (กทม), ไกรสรฤทธิ์ , เกษร (มาเก๊า), เท่าที่ปรากฏ[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1. Siam J. Smith. Siam Repository, Vol 1, January 1869, p. 337.
  2. เจ้าพระยาทิพากรวงศ์. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 3. (กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2538) น. 76.
  3. เหตุประหาร "หม่อมไกรสร" เพื่อนยากในรัชกาลที่ 3
  4. ภาณุพันธุวงศ์วรเดช, สมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยา. เรื่องเดิม, หน้า 117-118.
  5. นัดดา อิศรเสนา ณ อยุธยา. เรื่องเดิม, หน้า 23.
  6. การประหารด้วยท่อนจันทน์ครั้งสุดท้าย
  7. "ข่าวตาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (13): 112. 2 สิงหาคม พ.ศ. 2431. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8