ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หมากรุกไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
{{ตารางหมากรุก|=
{{ตารางหมากรุก|=
| tright
| tright
| check=no
|
| =
| =
| rd|nd|bd|qd|kd|bd|nd|rd|=
| rd|nd|bd|qd|kd|bd|nd|rd|=

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:37, 17 มีนาคม 2561

rd
abcdefgh
8
a8 black knight
b8 black bishop
c8 black queen
d8 black king
e8 black bishop
f8 black knight
g8 black rook
h7 black pawn
a6 black pawn
b6 black pawn
c6 black pawn
d6 black pawn
e6 black pawn
f6 black pawn
g6 black pawn
h4 white pawn
a3 white pawn
b3 white pawn
c3 white pawn
d3 white pawn
e3 white pawn
f3 white pawn
g3 white pawn
h2 white rook
a1 white knight
b1 white bishop
c1 white king
d1 white queen
e1 white bishop
f1 white knight
g1 white rook
8
77
66
55
44
33
22
11
abcdefgh
การเล่นหมากรุกไทย
ชุดหมากรุกไทยสมัย 100 ปีก่อน พ.ศ. 2555
ชุดหมากรุกไทยสมัย 200 ปีก่อน พ.ศ. 2555 โดยตัวเบี้ยเป็นเปลือกหอย
ชุดหมากรุกไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ที่ตัวหมากรุกทำจากเขาควายเผือก และเขาควายดำ

หมากรุกไทย เป็นเกมกระดานที่พัฒนามาจากหมากรุกของอินเดียที่ชื่อเกมว่าจตุรังกา ลักษณะการเล่นเกมใกล้เคียงกับหมากรุกสากล นอกจากนี้ในประเทศกัมพูชามีเกมหมากรุก ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหมากรุกไทยนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย

หมากรุกไทย มีประวัติเริ่มในอินเดีย โดยมาจากตำนานของรามเกียรติ์ ตามตำนานกล่าวว่า ฝ่ายทศกัณฐ์นั้น เมื่อมีศึกเข้าประชิด นางมณโฑ มเหสีของทศกัณฐ์ เห็นทศกัณฐ์เครียดกับการศึกจึงคิดหาเกมให้สวามีได้ผ่อนคลาย โดยคิดเป็นเกมหมากรุกขึ้น โดยแต่เดิมใช้คนเล่น 4 คน เรียกว่า จตุรังกา แต่ในภายหลังได้รับการปรับปรุงจนสามารถใช้ผู้เล่นเพียง 2 คนได้

แชมป์หมากรุกโลก วลาดีมีร์ ครัมนิค ระบุว่าหมากรุกไทย เป็นเกมที่ต้องใช้กลยุทธ์มากกว่าหมากรุกสากล ที่ต้องมีการวางแผนอย่างระมัดระวังในช่วงท้ายเกม[1]

ตัวหมากรุก

  • ขุน เป็นตัวหมากรุกที่สำคัญที่สุด มีการเดินและกินไปในทิศทางรอบตัวได้ แต่ไม่สามารถเดินเข้าไปในตากินของฝ่ายตรงข้ามได้
  • เม็ด มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้าน
  • โคน มีการเดินและกินไปในแนวทแยงทั้ง 4 ด้านและเดินไปทางข้างหน้า
  • ม้า เดินเหมือนม้าของหมากรุกสากล เดินและกินในแนวทแยงไขว้แบบ 2x3 (ลักษณะตัว L) 8 ทิศทาง สามารถข้ามหมากตัวอื่นได้
  • เรือ มีการเดินและกินไปในแนวตั้ง-แนวนอน ระยะยาว ไม่สามารถข้ามหมากตัวอื่นได้เหมือนเรือของหมากรุกชาติอื่น
  • เบี้ย มีการเดินไปทางข้างหน้าและกินในแนวทแยงด้านหน้า เมื่อเบี้ยไปถึงแนววางเบี้ยของฝ่ายตรงข้ามจะกลายเป็นเบี้ยหงาย และมีการเดินและกินเช่นเดียวกับเม็ดทุกประการ

กติกาการเล่น

  • ผู้เล่นแต่ละคนผลัดกันเดินหมากของฝ่ายตนเองครั้งละ 1 ตัว
  • ถ้าเดินหมากของฝ่ายตัวเองไปในตำแหน่งที่หมากของฝ่ายตรงข้ามตั้งอยู่ หมากของฝ่ายตรงข้ามจะถูกกินและนำออกนอกกระดาน ยกเว้นขุนจะถูกกินไม่ได้
  • ถ้าเดินหมากไปในตำแหน่งที่ตาต่อไปสามารถกินขุนของฝ่ายตรงข้ามได้ จะเรียกว่ารุก โดยตาต่อไปฝ่ายตรงข้ามต้องป้องกันหรือเดินหนีไม่ให้ขุนอยุ่ในตำแหน่งที่จะถูกกิน
  • ถ้าขุนถุกรุกอยู่และไม่สามารถเดินหนีหรือป้องกันการรุกได้ จะถือว่ารุกจนและเป็นฝ่ายแพ้
  • ถ้าขุนไม่ถูกรุก แต่ในตาต่อไปไม่สามารถเดินหมากตัวใด ๆ ได้เลย จะเรียกว่าอับ และจะเสมอกัน

การนับศักดิ์

การนับศักดิ์ หรือบางครั้งเรียกว่า การนับเพื่อขอเสมอ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปลายกระดาน มีเฉพาะในหมากรุกไทยเท่านั้น โดยเมื่อมีการนับจนครบตามเงื่อนไข จะถือว่าทั้งสองฝ่ายเสมอกัน ไม่มีการแพ้-ชนะเกิดขึ้น

การนับศักดิ์ จะนับโดยฝ่ายที่เป็นรองฝ่ายเดียวเท่านั้น โดยนับในขณะที่ตนเป็นฝ่ายเดินหมาก หากลืมนับในตาใด ให้ถือว่าเป็นความผิดของฝ่ายเป็นรอง ดังนั้นเมื่อถึงตาถัดไปหรือเมื่อนึกได้ ให้นับเลขต่อจากที่นับตัวสุดท้าย ห้ามมิให้มีการนับข้ามเด็ดขาด (เว้นแต่ฝ่ายเป็นต่อจะอนุญาต) เช่น หากนับถึง 10 แล้วลืมนับไป 3 ตา จึงนึกขึ้นได้ ตาต่อไปที่เดินก็ให้นับ 11 (ไม่ให้นับ 14)

การนับศักดิ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ การนับศักดิ์กระดาน และการนับศักดิ์หมาก

การนับศักดิ์กระดาน

การนับโดยวิธีนี้จะเริ่มนับเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่มีเบี้ยคว่ำ และฝ่ายเป็นรองเหลือหมากตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยให้เริ่มต้นนับตั้งแต่ 1 ไปจนถึง 64 (ฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว) โดยเมื่อฝ่ายเป็นรองนับเลข 64 ฝ่ายเป็นต่อจะมีโอกาสเดินอีก 1 ตา ถ้ารุกจน จะถือว่าชนะ (ต้องนับ 65 ถึงจะเสมอ)

ถ้าระหว่างนับศักดิ์กระดานฝ่ายเป็นต่อถูกกินหมากจนกลับเป็นรอง ก็มีสิทธิขอนับศักดิ์กระดานได้ โดยให้นับใหม่ตั้งแต่ 1 และหากฝ่ายเป็นต่อกลับมาได้เปรียบอีกครั้ง (ได้เปรียบ>เสียเปรียบ>กลับมาได้เปรียบ) ฝ่ายเป็นรองก็มีสิทธิขอนับศักดิ์กระดานได้ใหม่ แต่ต้องเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ 1 ห้ามนับต่อจากเดิมเด็ดขาด

ถ้าระหว่างนับศักดิ์กระดานฝ่ายเป็นรองถูกกินหมากจนเหลือขุนเพียงตัวเดียว ฝ่ายเป็นรองมีสิทธิเลือกที่จะนับศักดิ์กระดานต่อจนครบ 64 หรือเปลี่ยนไปนับศักดิ์หมากก็ได้

การนับศักดิ์หมาก

การนับโดยวิธีนี้จะเริ่มนับก็ต่อเมื่อฝ่ายเป็นรองเหลือขุนเพียงตัวเดียว และบนกระดานไม่มีเบี้ยคว่ำเหลืออยู่ โดยเริ่มนับตัวหมากของทั้งสองฝ่ายที่อยู่บนกระดานก่อน ได้จำนวนเท่าใดก็ให้เริ่มนับศักดิ์หมากต่อจากนั้น เช่น ฝ่ายเป็นต่อมีหมาก 4 ตัว (ขุน โคน และเบี้ยหงายอีก 2 ตัว) ฝ่ายเป็นรองมีหมาก 1 ตัว (เหลือขุนเพียงตัวเดียว ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการนับศักดิ์หมากด้วย) เท่ากับว่ามีตัวหมากอยู่บนกระดาน 5 ตัว ในการนับศักดิ์หมากก็ให้เริ่มนับต่อที่ 6 โดยฝ่ายเป็นรองเป็นผู้นับฝ่ายเดียว เมื่อฝ่ายเป็นต่อมีศักดิ์ของหมากดังนี้

  • เรือสองลำต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 8
  • เรือลำเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 16
  • โคนสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 22
  • โคนตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 44
  • ม้าสองตัวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 32
  • ม้าตัวเดียวต้องรุกให้ฝ่ายเป็นรองนับถึง 64
  • สำหรับเม็ดและเบี้ยหงายนับถึง 64

การนับศักดิ์หมากให้ไล่นับจากศักดิ์ใหญ่ก่อนเสมอ (เรียงจากบนลงล่าง) เช่น หากเหลือ เรือ 1 ตัว, โคน 1 ตัว, ม้า 2 ตัว ให้นับ 16 ถ้าหากเลือก โคน 1 ตัว, เบี้ยหงาย 3 ตัว ให้นับ 44 ถ้าหากเหลือ โคน 1 ตัว, ม้า 2 ตัว ให้นับ 44 (ไม่ใช่ 32 เพราะโคนมีศักดิ์สูงกว่าม้า) แต่บางแห่งก็บอกว่าให้ฝ่ายเสียเปรียบสามารถเลือกนับศักดิ์น้อยสุดได้

การนับศักดิ์หมากจะมีเงื่อนไขการเสมอเหมือนกับจากการนับศักดิ์กระดาน คือ เมื่อฝ่ายเป็นรองนับจนครบแล้ว ฝ่ายเป็นต่อมีสิทธิเดินได้อีก 1 ตา หากสามารถรุกจนได้ ให้ถือว่าฝ่ายเป็นต่อชนะ เช่น ถ้ามีเรือ 2 ตัว (นับ 8) พอนับถึง 8 แล้ว ฝ่ายเป็นต่อจะมีสิทธิเดินอีก 1 ครั้ง โดยที่ยังไม่เสมอ (จะเสมอเมื่อฝ่ายเป็นรองนับ 9 ได้)

ถ้าเริ่มนับศักดิ์หมากแล้วถ้าฝ่ายเป็นรองกินหมากตัวใดตัวหนึ่งของฝ่ายเป็นต่อก็มิให้เปลี่ยนแปลงการนับเป็นอย่างอื่น (มีเรือ 2 ลำ นับ 8 หากถูกกินไป 1 ลำ ก็ยังคงนับถึงแค่ 8 ไม่เปลี่ยนเป็น 16 แต่อย่างใด) แต่ถ้าคิดว่าตัวเองพลิกสถานการณ์ได้แล้ว ฝ่ายเป็นรองสามารถจะหยุดนับเมื่อใดก็ได้

นอกจากนี้การนับศักดิ์ยังช่วยเพิ่มความสนุกให้กับการแข่งขัน คือ เมื่อการแข่งขันดำเนินมาจนถึงช่วงปลายกระดาน แต่ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลง หากปล่อยไว้ก็จะใช้เวลามากและน่าเบื่อ เมื่อมีการนับศักดิ์จะทำให้การแข่งขันไม่ยืดเยื้อ และยังช่วยให้ทั้งสองฝ่ายตั้งใจเดินหมากมากขึ้น เพราะฝ่ายเป็นต่อต้องการที่จะชนะ แต่หากคิดไม่รอบคอบ โดนนับจนครบ แทนที่ตัวเองจะชนะกลับกลายเป็นได้แค่เสมอ ในขณะเดียวกัน ฝ่ายเป็นรอง ถ้าปล่อยให้เล่นยืดเยื้อไม่สิ้นสุด ย่อมมีโอกาสแพ้สูง แต่เมื่อมีการนับศักดิ์ ทำให้ฝ่ายเป็นรองเห็นจุดหมายที่จะเสมอ ทำให้ต้องคิดให้รอบคอบเพื่อที่จะได้ไม่ต้องแพ้ในกระดานนั้น ๆ

การแข่งขันหมากรุกไทยระดับประเทศ

อ้างอิง

  1. Kramnik plays Makruk Thai by Dr. René Gralla.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น