ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เด็กแว้น"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
เพื่มนิยามของ "เด็กแว้น" ให้ชัดเจนขึ้น , เพิ่มหัวข้อ "ประโยชน์ของเด็กแว้น"
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:เด็กแว้น.jpg|thumb|280px|การแข่งมอเตอร์ไซค์ซิ่งตามถนนใหญ่]]
[[ไฟล์:เด็กแว้น.jpg|thumb|280px|การแข่งมอเตอร์ไซค์ซิ่งตามถนนใหญ่]]
'''เด็กแว้นหรือสวะ''' (มีการสะกด '''เด็กแว๊น''') หรือ '''เด็กแซป''' หมายถึงผู้ที่อายุประมาณ 15-28 ปี ที่ออกขับ[[มอเตอร์ไซค์]]ไปเป็นกลุ่มในเวลากลางคืน มีลักษณะการแต่งกาย และทรงผม รวมถึงรสนิยมการฟังเพลง ที่คล้ายกัน เป็นสวะบนท้องถนน มักอยู่ในกลุ่มเต้น เป็นขยะเปียกของสังคม และมักจะคิดว่าตัวเองเท่ ตัวเองเก่ง ตัวเองเจ๋ง อีกทั้งยังมีความฝันที่จะเป็นนักแข่งอีกต่างหาก
'''เด็กแว้นหรือสวะ''' (มีการสะกด '''เด็กแว๊น''') หรือ '''เด็กแซป''' หมายถึงผู้ที่อายุประมาณ 15-28 ปี ที่ออกแข่ง[[มอเตอร์ไซค์]]บนถนนสาธารณะเป็นกลุ่มในเวลากลางคืน มักก่อมลพิษทางเสียงและความรำคาญแก่ประชาชนบริเวณนั้นๆ มีลักษณะการแต่งกาย และทรงผม รวมถึงรสนิยมการฟังเพลง ที่คล้ายกัน เป็นสวะบนท้องถนน มักอยู่ในกลุ่มเต้น เป็นขยะเปียกของสังคม และมักจะคิดว่าตัวเองเท่ ตัวเองเก่ง ตัวเองเจ๋ง อีกทั้งยังมีความฝันที่จะเป็นนักแข่งอีกต่างหาก


แต่ส่วนมากมักเป็นพวกก่อความรำคาญบนท้องถนน
แต่ส่วนมากมักเป็นพวกก่อความรำคาญบนท้องถนน
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


สำหรับเรื่องราวในภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กแว้น ในภาพยนตร์เรื่อง 13 เกมสยอง มีฉากที่แก็งเด็กแว้นถูกเส้นลวดที่ขึดอยู่กลางถนน ตัดคอขาดยกแก็ง และในภาพยนตร์ปี 2552 เรื่อง ''[[ห้าแพร่ง]]'' ในตอน "หลาวชะโอน" ที่เก้า จิรายุ รับบทเป็นเด็กแว้น แก๊งปาหิน<ref>[http://www.majorcineplex.com/movie_detail.php?mid=101 5 เรื่องที่คุณอาจจะไม่รู้เกี่ยวกับ 5 แพร่ง]</ref> และในภาพยนตร์ผีอีกเรื่องอย่าง ''ตายโหง'' ตอน "ขึ้นครู" ที่[[คชาภา ตันเจริญ]]และ[[รัชชานนท์ สุขประกอบ]] รับบทเป็นเด็กแว้น ขับรถชมสาว (ขายบริการ) รอบ[[สวนลุมพินี]]<ref>[http://www.siamdara.com/movie/100120_98428.html ''กาย รัชชานนท์'' ประกบ ''มดดำ'' เพื่อนซี้เด็กแว้นใน ภ.ตายโหง]</ref>
สำหรับเรื่องราวในภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กแว้น ในภาพยนตร์เรื่อง 13 เกมสยอง มีฉากที่แก็งเด็กแว้นถูกเส้นลวดที่ขึดอยู่กลางถนน ตัดคอขาดยกแก็ง และในภาพยนตร์ปี 2552 เรื่อง ''[[ห้าแพร่ง]]'' ในตอน "หลาวชะโอน" ที่เก้า จิรายุ รับบทเป็นเด็กแว้น แก๊งปาหิน<ref>[http://www.majorcineplex.com/movie_detail.php?mid=101 5 เรื่องที่คุณอาจจะไม่รู้เกี่ยวกับ 5 แพร่ง]</ref> และในภาพยนตร์ผีอีกเรื่องอย่าง ''ตายโหง'' ตอน "ขึ้นครู" ที่[[คชาภา ตันเจริญ]]และ[[รัชชานนท์ สุขประกอบ]] รับบทเป็นเด็กแว้น ขับรถชมสาว (ขายบริการ) รอบ[[สวนลุมพินี]]<ref>[http://www.siamdara.com/movie/100120_98428.html ''กาย รัชชานนท์'' ประกบ ''มดดำ'' เพื่อนซี้เด็กแว้นใน ภ.ตายโหง]</ref>

== ประโยชน์ของแด็กแว้น ==
ประโยชน์ของเด็กแว้นที่มีต่อสังคมได้แก่
* สนับสนุนกิจการด้านสาธารณสุขจากการใช้จ่ายในโรงพยาบาลเมื่อบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
* กระตุ้นและอุดหนุนธุรกิจการทำโลงศพรวมถึงออร์แกไนซ์ที่รับจัดงานศพ
* ทำนุบำรุงศาสนาด้วยการบริจาคปัจจัยต่างๆให้แก่วัดตอนจัดงานศพ


== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:39, 13 มีนาคม 2561

ไฟล์:เด็กแว้น.jpg
การแข่งมอเตอร์ไซค์ซิ่งตามถนนใหญ่

เด็กแว้นหรือสวะ (มีการสะกด เด็กแว๊น) หรือ เด็กแซป หมายถึงผู้ที่อายุประมาณ 15-28 ปี ที่ออกแข่งมอเตอร์ไซค์บนถนนสาธารณะเป็นกลุ่มในเวลากลางคืน มักก่อมลพิษทางเสียงและความรำคาญแก่ประชาชนบริเวณนั้นๆ มีลักษณะการแต่งกาย และทรงผม รวมถึงรสนิยมการฟังเพลง ที่คล้ายกัน เป็นสวะบนท้องถนน มักอยู่ในกลุ่มเต้น เป็นขยะเปียกของสังคม และมักจะคิดว่าตัวเองเท่ ตัวเองเก่ง ตัวเองเจ๋ง อีกทั้งยังมีความฝันที่จะเป็นนักแข่งอีกต่างหาก

แต่ส่วนมากมักเป็นพวกก่อความรำคาญบนท้องถนน

ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของคำไว้ว่า "วัยรุ่นผู้ชายที่ชอบเร่งเครื่องมอเตอร์ไซค์ให้มีเสียงดังแว้น ๆบรึ้นๆ "[1]

ที่มาของคำและความหมาย

เด็กแว้นหรือแซปนั้น มีผู้สันนิษฐานว่ามาจาก "แซปคุง" (Zabbkung) ซึ่งเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นมาในโอกาสครบรอบ 7 ปีของสตูดิโอเขียนการ์ตูน มอนสเตอร์คลับ (สตูดิโอของคนไทย ผู้วาดการ์ตูนเรื่อง Joe the Sea-cret Agent) ส่วนคำว่าแว้นนั้น มาจากเสียงท่อไอเสียที่ดัดแปลงให้เสียงดังขึ้น รวมไปถึงเสียงดังที่เกิดจากการบิดหนีตำรวจ แต่ก่อนสมัยเครื่องยนต์ 2 จังหวะ เมื่อบิดก็จะเกิดเสียงดัง "แว้น ๆๆๆ"[2]

ในอดีตระหว่างคำสองคำนี้จะใช้แตกต่างกัน "เด็กแซป" นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะวงการมอเตอร์ไซด์ แต่จะเหมารวมถึงกลุ่มเด็กที่ชอบทำตัวให้โดดเด่นสะดุดสายตาชาวบ้านด้วยวิธีการผิด ๆ เพื่อให้เป็นที่สนใจ เช่น การชกต่อยในงานฟรีคอนเสิร์ต ใส่เสื้อผ้าสีสันบาดตา ไม่เรียนหนังสือ มั่วสุมอยู่แถวโต๊ะสนุกเกอร์ แต่ที่พวกเด็กแซปชื่นชอบมากเป็นพิเศษ คือ การดัดแปลงรถมอเตอร์ไซค์ และรวมตัวกันเป็นแก๊ง และในที่สุดก็ได้พัฒนากลายมาเป็น "เด็กแว้น"[2]

ราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์ "พจนานุกรมคำใหม่ เล่ม 1" หรือพจนานุกรมฉบับวัยรุ่น โดยมี ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล เป็นประธานคณะกรรมการจัดทำ ซึ่งรวมถึงความหมายของคำว่า เด็กแว้น ไว้ด้วย[3] โดยได้ให้ความหมายไว้ว่า "วัยรุ่นผู้ชายที่ชอบเร่งเครื่องมอเตอร์ไซค์ให้มีเสียงดังแว้น ๆ "[1]

เอกลักษณ์และพฤติกรรม

เอกลักษณ์

เด็กแว้นมักจะใส่กางเกงขากระบอก3ส่วนลายสก๊อตหรือกางเกงยีนกระบอกปลายลากพื้น พร้อมเสื้อสกีนหรือเสื้อปัก หรือเสื้อที่มีสกรีนลายชื่อนักร้องวงต่างๆ บางรายอาจจะแสดงความมั่นใจขึ้นมาอีกระดับหนึ่งด้วยการใส่เสื้อลายตัดอ้อยและกางเกงขาสั้น ส่วนใหญ่จะใส่รองเท้าแตะเทวินหรือไม่ก็คอนเวิร์ส[2]

ทรงผม

เด็กแว้นมักจะมีทรงผมประจำที่เป็นทรงยอดฮิตในหมู่เด็กแว้น โดยเป็นการตัดผมด้านข้างสั้นและไว้ผมด้านหลังยาว เรียกกันว่า ทรงลากไทร

สถานที่เด็กแว้น หรือแซป นัดพบ

ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณถนนรอบเมืองและรอยต่อปริมณฑล ลานพระบรมรูปทรงม้า แยกกองทัพภาคที่ 1 หน้าสวนอัมพร ถถนหลวงพระราม5 ถนนกาญจนาภิเษก (ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี) [2] ซึ่งเคยดำเนินคดีเด็กแว้น 137 ราย และสาวสก๊อยซ้อนท้ายอีก 17 ราย ที่ใช้ถนนประลองความเร็วบนเส้นทางนี้[4] หรือที่นัดพบจุดสำคัญอีกที่หนึ่งคือ สะพานพุทธ ซึ่งวันที่สะดวกที่สุดคือวันหยุดสุดสัปดาห์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ พฤติกรรมการชอบขับรถซิ่ง จากการสำรวจการร้องเรียนเกี่ยวกับแก๊งเด็กแว้น หรือกลุ่มวัยรุ่นแข่งซิ่งบนถนน ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม - 31 ธันวาคม 2551 พบว่าถนนที่มีการปิดถนนแข่งรถมากที่สุดอันดับ 1 คือ ถนนบางนา-ตราด และถนนประเสริฐมนูกิจ หรือถนนเกษตร-นวมินทร์, อันดับ 2 ถนนกาญจนาภิเษก และถนนตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี อันดับ 3 ถนนราชพฤกษ์, อันดับ 4 ถนนสุวินทวงศ์, อันดับ 5 ถนนวิภาวดีรังสิต, อันดับ 6 ทางยกระดับจตุรทิศ พระราม 9 - ศรีอยุธยา, อันดับ 7 ครุยซิ่งซาวน่า อันดับ 8 ถนนแจ้งวัฒนะ, อันดับ 9 ถนนศรีนครินทร์ และอันดับ 10 ถนนกำแพงเพชร 6 หรือโลคัลโรด[5]

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ ผอ.สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กล่าวว่า "วัยรุ่นที่เสพติดความสนุกสนานในลักษณะชอบความป่วนอันเนื่องมาจากปัญหาพัฒนาการโดยตรง เช่น ล้มเหลวเรื่องการเรียน ความล้มเหลวนี้ทำให้พวกเขาไปแสวงหาความสนใจหรือการได้รับการยอมรับนอกห้องเรียน"[6] จิตแพทย์ระบุว่าพฤติกรรมของเด็กแว้นถือเป็นพฤติกรรมการเสพติดชนิดหนึ่ง ซึ่งเวลาเด็กเสพความตื่นเต้นบ่อย ๆ ก็จะติด เช่นเดียวกับ การติดเกมหรือติดการพนัน[7]

ความเร็ว สร้างความเดือดร้อนทางเสียงให้กับชาวบ้าน กลับกลายเป็นแก๊งอันธพาล ยิงกัน ยกพวกตีกันปาหิน ฯลฯ เริ่มมีเรื่องของการพนัน ยาเสพติด ปัญหาทางเพศ อุบัติเหตุ ไปจนถึงการก่ออาชญากรรม บางแก๊งมีเป็นร้อยคนมีขาใหญ่คุม ตั้งแก๊งแข่งรถบนถนนสายใหญ่ ในกลุ่มมีสมาชิกตั้งแต่ไม่ถึง 10 ขวบ และยังไม่ได้เรียนหนังสือ ก็มาขอเข้ากลุ่ม และบางกลุ่มใช้แรงจูงใจให้ถอยรถมอเตอร์ไซค์ได้เพียงใช้เงิน 199 บาท ส่วนใหญ่ที่เด็กแว๊นได้นิยมพวกรถ ที่เป็นรถออโต้เมติก เช่น ฟีโน่[ต้องการอ้างอิง] หลังจากนั้นเด็กจะขอเงินพ่อแม่มาแต่งรถ ตั้งแต่หลักพันถึงหลักหมื่น เพื่อให้รถแรงแข่งชนะคนอื่น แข่งขันกันบนถนนหลวงเส้นยาว ๆ ทุกคืนวันศุกร์และเสาร์ ซึ่งบางกลุ่มยังใช้เป็นเครือข่ายส่งยาเสพติด หรือถูกหาประโยชน์จากหัวหน้ากลุ่ม [8]

เด็กแว้นในวัฒนธรรมสมัยนิยม

ในปี 2550 กลุ่มศิลปินแนวฮิปฮอป ก้านคอคลับ ได้ออกเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กแว้น ในเพลง "แว้นบอยสะก๊อยเกิร์ล" (Vanz Boy 'N' Sagoi Girl) [9]

สำหรับเรื่องราวในภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับเด็กแว้น ในภาพยนตร์เรื่อง 13 เกมสยอง มีฉากที่แก็งเด็กแว้นถูกเส้นลวดที่ขึดอยู่กลางถนน ตัดคอขาดยกแก็ง และในภาพยนตร์ปี 2552 เรื่อง ห้าแพร่ง ในตอน "หลาวชะโอน" ที่เก้า จิรายุ รับบทเป็นเด็กแว้น แก๊งปาหิน[10] และในภาพยนตร์ผีอีกเรื่องอย่าง ตายโหง ตอน "ขึ้นครู" ที่คชาภา ตันเจริญและรัชชานนท์ สุขประกอบ รับบทเป็นเด็กแว้น ขับรถชมสาว (ขายบริการ) รอบสวนลุมพินี[11]

ประโยชน์ของแด็กแว้น

ประโยชน์ของเด็กแว้นที่มีต่อสังคมได้แก่

  • สนับสนุนกิจการด้านสาธารณสุขจากการใช้จ่ายในโรงพยาบาลเมื่อบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
  • กระตุ้นและอุดหนุนธุรกิจการทำโลงศพรวมถึงออร์แกไนซ์ที่รับจัดงานศพ
  • ทำนุบำรุงศาสนาด้วยการบริจาคปัจจัยต่างๆให้แก่วัดตอนจัดงานศพ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น