ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานหัวหิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Krijthanaphat penbunprasert (คุย | ส่วนร่วม)
Krijthanaphat penbunprasert (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 57: บรรทัด 57:
{{airport-dest-list
{{airport-dest-list
|[[นกมินิ]] | [[ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง]]
|[[นกมินิ]] | [[ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง]]
|[[กานต์แอร์]] | [[ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่]]
|[[กานต์แอร์]] | [[ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่]]
|[[ไทยไลอ้อนแอร์]] | [[ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง]]
}}
}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:43, 12 มีนาคม 2561

พิกัดภูมิศาสตร์: 12°38′10″N 099°57′05″E / 12.63611°N 99.95139°E / 12.63611; 99.95139

ท่าอากาศยานหัวหิน
  • IATA: HHQ
  • ICAO: VTPH
    HHQตั้งอยู่ในประเทศไทย
    HHQ
    HHQ
    ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมการบินพลเรือน
สถานที่ตั้งตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล19 เมตร / 62 ฟุต
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
16/34 2,100 6,890 ยางมะตอย
สถิติ (2559)
ผู้โดยสาร12,085
เที่ยวบิน613

ท่าอากาศยานหัวหิน หรือเดิมคือ สนามบินบ่อฝ้าย ตั้งอยู่ในเขต ตำบลบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอาคารผู้โดยสารขนาด 7,200 ตารางเมตร และพื้นที่ลานจอดเครื่องบินขนาด 31,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 240 คนต่อชั่วโมง นอกจากนี้ท่าอากาศยานหัวหินยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน และ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน ซึ่งดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน

หัวทางวิ่งของท่าอากาศยานหัวหินด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะอยู่คร่อมทางรถไฟสายใต้ และถนนเพชรเกษม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผู้ใช้เส้นทางเข้าตัวเมืองหัวหินจะต้องขับรถลอดผ่านอุโมงค์ใต้ทางวิ่งไป

ประวัติ

ท่าอากาศยานหัวหินแต่เดิมมีชื่อว่า สนามบินบ่อฝ้าย ยังไม่มีการใช้งานอย่างเป็นทางการ เนื่องจากแต่เดิมมีเพียงเครื่องบินที่ใช้ในการทหารเท่านั้น ซึ่งมีทหารอากาศเพียงสังกัดหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการเดินหรือการขนส่งทางอากาศ ทางกองทัพอากาศได้มีการสำรวจพื้นที่ซึ่งเป็นของทางราชการ และมีการปรับปรุงให้สามารถใช้ประโยชน์กับพื้นที่นั้น ๆ จึงได้มีการย้ายสนามบินของกองทัพอากาศ จากที่เดิม สนามบินหนองบ้วย อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เนื่องจากพื้นที่ของสนามบินหนองบ้วยนั้นไม่สามารถขยายให้เครื่องบินที่มีขนาดใหญ่ขึ้น-ลง ได้ มาใช้พื้นที่ ที่ได้มีการปรับปรุงไว้เรียบร้อยแล้ว คือ สนามบินบ่อฝ้าย ตำบลบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ตั้งปัจจุบัน ซึ่งในระยะแรกเป็นการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สนามบินเพื่อทางการทหารเท่านั้น

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2498 การขนส่งทางอากาศได้เป็นที่แพร่หลาย บริษัท เดินอากาศไทย จำกัด ได้นำเครื่องบินแบบ DC-3 หรือ DAKOTA มาทำการบินขึ้น-ลง ณ สนามบินบ่อฝ้าย เฉพาะฤดูตากอากาศเท่านั้น โดยมีกองทัพอากาศคอยควบคุมดูแล และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2504 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกของสนามบิน เป็นท่าอากาศยานหัวหิน โดยมีการส่งมอบพื้นที่ความรับผิดชอบจากของกองทัพอากาศ มาเป็นพื้นที่เขตความรับผิดชอบของกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม[4] หรือกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[5] ในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2561 สายการบินแอร์เอเซียมาเลเซีย(AK) ได้ดำเนินการเปิดเส้นทางบินตรงแบบประจำ ระหว่างท่าอากาศยานหัวหินไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย 4 เที่ยวบินต่อสัปดาห์[6]โดยทำการบินด้วยเครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ320 ส่งผลให้ท่าอากาศยานหัวหินกลับมามีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากสายการบินกานต์แอร์มีปัญหาเกี่ยวกับใบอนุญาตในการทำการบินไปก่อนหน้านี้ ซึ่งนับว่าเป็นท่าอากาศยานแห่งที่ 11 ของประเทศไทย ที่ให้บริการรองรับผู้โดยสารระหว่างประเทศ

สายการบินที่เปิดให้บริการในปัจจุบัน

*** ปัจจุบันไม่มีสายการบินพาณิชย์เปิดให้บริการในเส้นทางนี้ ***

สายการบินที่จะเปิดให้บริการในอนาคต

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
แอร์เอเชียมาเลเซีย ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

เริ่มให้บริการเที่ยวบินแรก 18 พฤษภาคม 2561

สายการบินที่เคยเปิดให้บริการ

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
นกมินิ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
กานต์แอร์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่
ไทยไลอ้อนแอร์ ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง

ท่าอากาศยานหัวหินในปัจจุบัน

ท่าอากาศยานหัวหินในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน เป็นสถานที่ฝึกสอนหลักสูตรภาคอากาศ(นักบิน) โดยใช้ทางวิ่งของท่าอากาศยานในการขึ้น-ลงของอากาศยานฝึกบิน มีอาคารและโรงจอดอากาศยานของศูนย์ฝึกการบินตั้งอยู่บริเวณใกล้กับหัวทางวิ่งฝั่งที่ติดกับทะเล และจะกลับมาเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์อีกครั้งในเดือนพฤษภาคม 2561

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น