ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
| death_place =
| death_place =
<!----------พรรค---------->
<!----------พรรค---------->
| party = [[พรรคพลังพลเมืองไทย|พลังพลเมืองไทย]]
| party =
<!----------อื่นๆ---------->
<!----------อื่นๆ---------->
| spouse = ลักษณา ชัยเชาวรัตน์
| spouse = ลักษณา ชัยเชาวรัตน์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:39, 10 มีนาคม 2561

นายกองเอก เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์
ไฟล์:เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์.jpg
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
29 กันยายน พ.ศ. 2535 – 11 ธันวาคม พ.ศ. 2537
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
นายกรัฐมนตรีบรรหาร ศิลปอาชา
ดำรงตำแหน่ง
29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 – 15 สิงหาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2540 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2540
นายกรัฐมนตรีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 ธันวาคม พ.ศ. 2481 (85 ปี)
จังหวัดอุดรธานี
พรรคการเมืองพลังพลเมืองไทย
คู่สมรสลักษณา ชัยเชาวรัตน์

นายกองเอก[1] เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ (เกิด 11 ธันวาคม พ.ศ. 2481) อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี 6 สมัย

ประวัติ

เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2481 เป็นบุตรของนายเตี่ยเซ้ง กับนางหงษ์ ชัยเชาวรัตน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จาก Pacific Southern University [2]

งานการเมือง

เกียรติชัย ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุดรธานี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2526 ได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2539 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย[3] เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[4] และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[5] ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการสนับสนุนการจัดตั้งพรรคการเมืองใช้ชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

เกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 6 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคกิจสังคม
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรครวมไทย (พ.ศ. 2529)
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
  5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่
  6. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดอุดรธานี สังกัดพรรคความหวังใหม่

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2539/B/003/79.PDF
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส. กรมการปกครอง
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๘ ราย)
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
  5. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรี และแต่งตั้งรัฐมนตรี
  6. อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)เล่ม ๑๑๒ ตอน ๑๗ ข ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ หน้า ๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ชั้นสายสะพาย สมาชิกวุฒิสภา เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๗)