ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนครราชสีมา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Krijthanaphat penbunprasert (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขด้วยแอปสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 59: บรรทัด 59:
* พ.ศ. 2558 สายการบินกานต์แอร์ เปิดเส้นทางการบินเชื่อมภูมิภาค นครราชสีมา - เชียงใหม่ เริ่มทำการบินวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 และต่อมาต้องยกเลิกการทำการบิน เนื่องจากปัญหาด้านใบอนุญาตทำการบิน
* พ.ศ. 2558 สายการบินกานต์แอร์ เปิดเส้นทางการบินเชื่อมภูมิภาค นครราชสีมา - เชียงใหม่ เริ่มทำการบินวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 และต่อมาต้องยกเลิกการทำการบิน เนื่องจากปัญหาด้านใบอนุญาตทำการบิน


* พ.ศ. 2560 สายการบินนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดให้บริการเส้นทางบิน นครราชสีมา - เชียงใหม่, ภูเก็ต และดอนเมือง ในเดือนธันวาคม
* พ.ศ. 2560 สายการบินนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดให้บริการเส้นทางบิน นครราชสีมา - เชียงใหม่, ภูเก็ต และดอนเมือง ในเดือนธันวาคม ต่อมาสายการบินดังกล่าว ได้ทำการลดเที่ยวบินภูเก็ตและเชียงใหม่ จากบินทุกวันเป็น 4 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ต่อมาไม่นานสายการบินก็ได้ทำการยกเลิกเส้นทางการบินภูเก็ตแบบไม่มีกำหนด และลดเที่ยวบินเชียงใหม่เป็น 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์เพราะจำนวนผู้โดยสารใช้งานไม่มากประกอบกับสนามบินที่ไกลจากตัวเมืองทำให้เกิดการยกเลิกขึ้น
* พ.ศ. 2561 สายการบินพัทยา แอร์เวย์ เตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบบินตรงข้ามภูมิภาคจากเมืองชายฝั่งอย่าง เมืองพัทยา-ระยอง(ท่าอากาศยานานาชาติอู่ตะเภา) ถึงภาคอีสาน เมืองนครราชสีมา แบบเที่ยวบินประจำทุกวันไม่มีวันหยุด ประมาณช่วงกลางปี 2561 อีกด้วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นสายการบินลำดับที่ 2 ที่จะเปิดให้บริการในเส้นทางนี้รองจากสายการบินนิวเจนแอร์เวย์ที่ทำการบินอยู่แล้วก่อนหน้านี้ และนอกจากนั้น บริษัท พัทยาเอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ สายการบินพัทยาแอร์เวย์ ได้เข้าร่วมหารือประชุมกับสภาหอการค้าและบริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุนในจังหวัดนครราชสีมาเกี่ยวกับการจัดตั้งสายการบินท้องถิ่น นามว่า '''ราชสีมา แอร์เวย์''' เพื่อมอบเป็นของขวัญแห่งความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวโคราชได้ใช้บริการกันอีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อมและดำเนินการด้านใบอนุญาตในการทำการบิน คาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดดำเนินการทำการบินได้ประมาณ ช่วงกลางปี 2561
* พ.ศ. 2561 สายการบินพัทยา แอร์เวย์ เตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบบินตรงข้ามภูมิภาคจากเมืองชายฝั่งอย่าง เมืองพัทยา-ระยอง(ท่าอากาศยานานาชาติอู่ตะเภา) ถึงภาคอีสาน เมืองนครราชสีมา แบบเที่ยวบินประจำทุกวันไม่มีวันหยุด ประมาณช่วงกลางปี 2561 อีกด้วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นสายการบินลำดับที่ 2 ที่จะเปิดให้บริการในเส้นทางนี้รองจากสายการบินนิวเจนแอร์เวย์ที่ทำการบินอยู่แล้วก่อนหน้านี้ และนอกจากนั้น บริษัท พัทยาเอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ สายการบินพัทยาแอร์เวย์ ได้เข้าร่วมหารือประชุมกับสภาหอการค้าและบริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุนในจังหวัดนครราชสีมาเกี่ยวกับการจัดตั้งสายการบินท้องถิ่น นามว่า '''ราชสีมา แอร์เวย์''' เพื่อมอบเป็นของขวัญแห่งความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวโคราชได้ใช้บริการกันอีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อมและดำเนินการด้านใบอนุญาตในการทำการบิน คาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดดำเนินการทำการบินได้ประมาณ ช่วงกลางปี 2561



รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:03, 10 มีนาคม 2561

ท่าอากาศยานนครราชสีมา
  • IATA: NAK
  • ICAO: VTUQ
    NAKตั้งอยู่ในประเทศไทย
    NAK
    NAK
    ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดนครราชสีมา
สถานที่ตั้งตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา
ฐานการบินนิวเจนแอร์เวย์ ราชสีมาแอร์เวย์
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล233 เมตร / 765 ฟุต
พิกัด14°56′58″N 102°18′45″E / 14.94944°N 102.31250°E / 14.94944; 102.31250
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
06/24 2,100 6,890 ยางมะตอย
สถิติ (2560)
ผู้โดยสาร6,975
เที่ยวบิน152
แหล่งข้อมูล: http://www.aviation.go.th

ท่าอากาศยานนครราชสีมา หรือ สนามบินโคราช (อังกฤษ: Nakhon Ratchasima Airport) ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าช้าง อ.เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติหนองเต็ง-จักราช ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมาไปทางทิศเหนือระยะทางประมาณ 26 กิโลเมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 4,625 ไร่[1] เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] สร้างขึ้นเพื่อใช้แทนท่าอากาศยานกองบิน 1 นครราชสีมา ซึ่งเป็นท่าอากาศยานของกองทัพอากาศ

ท่าอากาศยานนครราชสีมาได้รับการประกาศให้เป็นท่าอากาศยานศุลกากร สามารถรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศได้ [3]

ประวัติ

  • พ.ศ. 2529 ท่าอากาศยานนครราชสีมาเริ่มเปิดทำการบินเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก โดยตั้งอยู่ที่ในตัวเมือง และใช้ทางวิ่งและลานจอดของกองทัพอากาศกองบิน 1 ในการทำการบิน แต่ก็ยังประสบปัญหา เนื่องจากต้องใช้พื้นที่ของกองทัพบกซึ่งอยู่ห่างจากลานจอดประมาณ 2 กิโลเมตร ในการสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร เพราะกองทัพอากาศไม่สามารถจัดสรรพื้นที่บริเวณติดกับลานจอดให้กรมการบินพาณิชย์ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสาร และยังมีปัญหาเข้าออกสนามบินของผู้โดยสาร เนื่องจากอยู่ในเขตทหารซึ่ง มีมาตรการรักษาความปลอดภัยค่อนข้าง เข้มงวด
  • พ.ศ. 2537 กรมการบินพาณิชย์ จึงจัดหาที่ก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ โดยได้พื้นที่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติหนองเต็ง – จักราช – ตำบลสีสุก ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และได้เริ่มก่อสร้าง
  • พ.ศ. 2540 โดยเริ่มเปิดใช้บริการในวันที่ 5 ธันวาคมสายการบินพานิชย์ที่ให้บริการในขณะนั้นจึง ย้ายไปใช้ท่าอากาศยานแห่งใหม่ทั้งหมด แต่ก็มีปัญหาเรื่องความสะดวกสบาย เพราะตั้งอยู่ห่างไกล จึงทยอยยกเลิกการบินจนหมด[4]
  • พ.ศ. 2553 สายการบินแฮปปี้แอร์เปิดเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพฯ-นครราชสีมาอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 16 ตุลาคม และแผนเปิดเส้นทางบินไปยังเชียงใหม่และหัวหิน
  • พ.ศ. 2554 สายการบินไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ส เริ่มทำการบินกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในวันที่ 2 กันยายน
  • แต่เนื่องจากท่าอากาศยานแห่งใหม่นี้อยู่ห่างตัวเมืองมาก กอปรกับปัญหาด้านการคมนาคมเข้าสู่สนามบิน ทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้บริการ จนสายการบินต้องยกเลิกทำการบินไปในที่สุด
  • พ.ศ. 2558 สายการบินกานต์แอร์ เปิดเส้นทางการบินเชื่อมภูมิภาค นครราชสีมา - เชียงใหม่ เริ่มทำการบินวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2558 และต่อมาต้องยกเลิกการทำการบิน เนื่องจากปัญหาด้านใบอนุญาตทำการบิน
  • พ.ศ. 2560 สายการบินนิวเจน แอร์เวย์ส เปิดให้บริการเส้นทางบิน นครราชสีมา - เชียงใหม่, ภูเก็ต และดอนเมือง ในเดือนธันวาคม ต่อมาสายการบินดังกล่าว ได้ทำการลดเที่ยวบินภูเก็ตและเชียงใหม่ จากบินทุกวันเป็น 4 เที่ยวบิน/สัปดาห์ ต่อมาไม่นานสายการบินก็ได้ทำการยกเลิกเส้นทางการบินภูเก็ตแบบไม่มีกำหนด และลดเที่ยวบินเชียงใหม่เป็น 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์เพราะจำนวนผู้โดยสารใช้งานไม่มากประกอบกับสนามบินที่ไกลจากตัวเมืองทำให้เกิดการยกเลิกขึ้น
  • พ.ศ. 2561 สายการบินพัทยา แอร์เวย์ เตรียมเปิดให้บริการเต็มรูปแบบบินตรงข้ามภูมิภาคจากเมืองชายฝั่งอย่าง เมืองพัทยา-ระยอง(ท่าอากาศยานานาชาติอู่ตะเภา) ถึงภาคอีสาน เมืองนครราชสีมา แบบเที่ยวบินประจำทุกวันไม่มีวันหยุด ประมาณช่วงกลางปี 2561 อีกด้วย ซึ่งนับได้ว่าเป็นสายการบินลำดับที่ 2 ที่จะเปิดให้บริการในเส้นทางนี้รองจากสายการบินนิวเจนแอร์เวย์ที่ทำการบินอยู่แล้วก่อนหน้านี้ และนอกจากนั้น บริษัท พัทยาเอวิเอชั่น กรุ๊ป จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ สายการบินพัทยาแอร์เวย์ ได้เข้าร่วมหารือประชุมกับสภาหอการค้าและบริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุนในจังหวัดนครราชสีมาเกี่ยวกับการจัดตั้งสายการบินท้องถิ่น นามว่า ราชสีมา แอร์เวย์ เพื่อมอบเป็นของขวัญแห่งความภาคภูมิใจของพี่น้องชาวโคราชได้ใช้บริการกันอีกด้วย ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัยผลกระทบต่อสุขภาพ สภาพแวดล้อมและดำเนินการด้านใบอนุญาตในการทำการบิน คาดว่าจะแล้วเสร็จ และสามารถเปิดดำเนินการทำการบินได้ประมาณ ช่วงกลางปี 2561

สายการบินและเส้นทางบินที่ให้บริการในปัจจุบัน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง [5] หมายเหตุ
นิวเจนแอร์เวย์ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ให้บริการ 2 เที่ยวบิน/สัปดาห์
กรุงเทพ (ดอนเมือง) (DMK)[6] ให้บริการ 1 เที่ยวบิน/สัปดาห์

สายการบินที่กำลังจะเปิดให้บริการเร็วๆนี้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[7] หมายเหตุ
พัทยาแอร์เวย์

ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา

คาดว่าจะเริ่มให้บริการ ประมาณกลางปี2561 อยู่ระหว่างดำเนินการด้านใบอนุญาตทำการบิน
ราชสีมาแอร์เวย์

ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า ท่าอากาศยานเช็กแล็บก็อก

คาดว่าจะเริ่มให้บริการ ประมาณกลางปี2561 อยู่ระหว่างดำเนินการด้านใบอนุญาตทำการบิน

สายการบินที่เคยให้บริการทำการบิน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[8] หมายเหตุ
นิวเจนแอร์เวย์

ภูเก็ต (HKT)

ภายในประเทศ
การบินไทย กรุงเทพ (ดอนเมือง) (DMK) ภายในประเทศ
บางกอกแอร์เวย์ กรุงเทพ (ดอนเมือง) (DMK) ภายในประเทศ
แอร์เอเชีย กรุงเทพ (ดอนเมือง) (DMK) ภายในประเทศ
แฮปปี้แอร์ กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) (BKK) ภายในประเทศ
ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ กรุงเทพ (สุวรรณภูมิ) (BKK) ภายในประเทศ
กานต์แอร์ เชียงใหม่ (CNX) ภายในประเทศ

[9]อ้างอิง

ดูเพิ่ม