ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ดูมาตรา ๒ ครับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 15: บรรทัด 15:
| วันลงนามรับรอง = 30 กันยายน 2560
| วันลงนามรับรอง = 30 กันยายน 2560
| วันประกาศ = 7 ตุลาคม 2560
| วันประกาศ = 7 ตุลาคม 2560
| วันเริ่มใช้ = ตุลาคม 2560
| วันเริ่มใช้ = 8 ตุลาคม 2560
| ท้องที่ใช้ = {{flagicon|Thailand}} ทั่วประเทศไทย
| ท้องที่ใช้ = {{flagicon|Thailand}} ทั่วประเทศไทย
| ผู้รักษาการ =
| ผู้รักษาการ =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:53, 9 มีนาคม 2561

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
ข้อมูลทั่วไป
ผู้ตราสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผู้ลงนามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
วันลงนาม30 กันยายน 2560
ผู้ลงนามรับรองพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
วันลงนามรับรอง30 กันยายน 2560
วันประกาศ7 ตุลาคม 2560
วันเริ่มใช้8 ตุลาคม 2560
ท้องที่ใช้ไทย ทั่วประเทศไทย
การยกร่างในชั้นสภาล่าง
วาระที่หนึ่ง21 เมษายน 2560
คำสำคัญ
พรรคการเมือง
เว็บไซต์
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายไทย ประเภทพระราชบัญญัติ ซึ่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้ตราขึ้น โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร พระมหากษัตริย์ ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2560 และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2560 และมีผลใช้บังคับในวันเดียวกัน

การร่าง

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีความสำคัญต่อวันเลือกตั้งในประเทศไทยครั้งถัดไป เนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 กำหนดให้มีการเลือกตั้งภายใน 150 วันนับจากประกาศใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครบ 4 ฉบับ[1]

ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้สมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งพรรคร่วมจ่ายทุนประเดิม และให้สมาชิกพรรคการเมืองจ่ายค่าบำรุงพรรคการเมืองรายปีเพื่อให้ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของพรรคการเมือง และห้ามบุคคลที่ไม่ใช่สมาชิกพรรคเข้ามาควบคุม ครอบงำหรือชี้นำการดำเนินกิจการของพรรคการเมือง เพื่อป้องกันการเกิด "พรรคนอมินี" ซึ่งเป็นเหตุของคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 และคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551 พรรคการเมืองที่ไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 ครั้งติดต่อกันจะถูกยุบพรรค และพรรคการเมืองใดที่นำมวลชนไปชุมนุมข้างถนนอาจเข้าข่ายล้มล้างการปกครองซึ่งมีโทษยุบพรรค[1]

นโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต้องแจ้งวงเงินที่จะใช้ แหล่งทุน ความคุ้มค่า และความเสี่ยงในการดำเนินนโยบายต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งพรรคเพื่อไทยตั้งคำถามว่า "จะทำให้กกต. กลายเป็นผู้เห็นชอบนโยบายของพรรคการเมืองหรือไม่"[1]

นอกจากนี้ ยังเพิ่มบทบาทของ กกต. ให้สามารถขอความร่วมมือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดูเส้นทางการเงินของผู้ที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงได้ และนำหลักฐานนั้นไปดำเนินคดีกับทั้ง 2 ฝ่ายได้ รวมถึงสามารถขอความคุ้มครองพยานจากคดีการเลือกตั้งได้[1]

อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ไม่มีการบังคับให้พรรคการเมืองที่มีอยู่เดิม 72 พรรคไปจดทะเบียนตั้งพรรคการเมืองใหม่[1]

นักการเมืองคัดค้านร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ดังกล่าวเพราะมองว่าเป็น "แผนทำลายพรรค" คือ ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอ[1]

อ้างอิง