ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บัณฑิต เอื้ออาภรณ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
| footnotes =
| footnotes =
|predecessor=[[ภิรมย์ กมลรัตนกุล|ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล]]}}
|predecessor=[[ภิรมย์ กมลรัตนกุล|ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล]]}}
'''ศาสตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์''' [[อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]คนปัจจุบัน อดีตคณบดี[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนผู้บริหารและอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 20 เมษายน 2559. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/090/2.PDF (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref>
'''ศาสตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์''' [[อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]คนปัจจุบัน อดีตคณบดี[[คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนผู้บริหารและอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย<ref>ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 20 เมษายน 2559. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/090/2.PDF (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).</ref> บัณฑิตเป็นอธิการบดีคนที่ 2 ในวาระการดำรงตำแหน่ง[[รายนามนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ และเป็นอธิการบดีคนแรกในวาระการดำรงตำแหน่ง[[รายนามนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย|นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ของศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์[[ภิรมย์ กมลรัตนกุล]]


หลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามคำสั่งหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ที่ 34/2560<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/179/61.PDF</ref><ref>"หัวหน้า คสช.เปลี่ยน “กุนซือบอร์ดบีโอไอ” ดึง “อธิการบดีจุฬาฯ-เลขาธิการ สวทน.” เสียบ." Manager Online. July 12, 2017. Accessed July 15, 2017. https://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000070967.</ref>ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 <ref>[https://www.thairath.co.th/content/865567 นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!]</ref> กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF</ref>
หลัง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557]] ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามคำสั่งหัวหน้า[[คณะรักษาความสงบแห่งชาติ]] ที่ 34/2560<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/179/61.PDF</ref><ref>"หัวหน้า คสช.เปลี่ยน “กุนซือบอร์ดบีโอไอ” ดึง “อธิการบดีจุฬาฯ-เลขาธิการ สวทน.” เสียบ." Manager Online. July 12, 2017. Accessed July 15, 2017. https://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000070967.</ref>ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 <ref>[https://www.thairath.co.th/content/865567 นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!]</ref> กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:01, 7 มีนาคม 2561

บัณฑิต เอื้ออาภรณ์
ไฟล์:บัณฑิต เอื้ออาภรณ์คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬา.jpg
อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เริ่มดำรงตำแหน่ง
18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ก่อนหน้าศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล
คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดำรงตำแหน่ง
พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ก่อนหน้ารศ. ดร.บุญสม เลิศหิรัญวงศ์
ถัดไปรศ. ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 (58 ปี)
ประเทศไทย

ศาสตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคนปัจจุบัน อดีตคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนผู้บริหารและอดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] บัณฑิตเป็นอธิการบดีคนที่ 2 ในวาระการดำรงตำแหน่งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ และเป็นอธิการบดีคนแรกในวาระการดำรงตำแหน่งนายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 34/2560[2][3]ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [4] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา[5]

ประวัติ

ศาสตราจารย์ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ หรือ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 เป็นหัวหน้าโครงการจัดทำแผนแม่บทพลังงานของประเทศ 20 ปี ซึ่งในการกำหนดแผนฯครั้งนี้ มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนมาตั้งแต่เริ่ม โดยไม่ใช่ร่างแผนแม่บทเสร็จแล้วขอความเห็นจากประชาชน แต่เป็นการขอความเห็นตั้งแต่ต้นเพื่อร่างแผนแม่บทฯ ว่าปัจจัยขับเคลื่อนที่ประชาชนเห็นว่าสำคัญมีอะไรบ้าง จากนั้นเรานำมาประกอบการทำแผนฯครั้งนี้ นับเป็นแผนฯที่ผ่านความคิดเห็นของภาคประชาชนมาตั้งแต่ต้น หลังจากนั้นจะนำข้อคิดเห็นเหล่านี้มาใช้ปรับปรุงผลการศึกษาและใช้เป็นข้อมูลต่อยอดการพัฒนาแผนแม่บทพลังงานในระยะที่ 2 คาดว่าจะใช้เวลาอีก 6 เดือน ก่อนที่จะเขียนแผนแม่บทฯ[6]

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559 ที่ประชุมสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 788 มีมติเห็นชอบให้เสนอชื่อ ศาสตราจารย์ ดร. บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ (คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์) เพื่อขอพระราชทานโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คนต่อไป โดยมีวาระ 18 พฤษภาคม 2559 - 17 พฤษภาคม 2563 แทน ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล ที่หมดวาระ[7][8]

ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีในช่วงเวลาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีอายุ 100 ปี หรือในปี พ.ศ. 2560 ทำให้ในวาระการดำรงตำแหน่งของเขามีโครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยทยอยเปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น โครงการก่อสร้างอุทยานจุฬาฯ 100 ปีและถนนจุฬาฯ 100 ปี งานนิทรรศทางวิชาการขนาดใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เรียกว่า "จุฬาฯ Expo 2017" และอื่น ๆ[9]

ประวัติการศึกษา

  • ปริญญาเอก Ph.D. 2535 Imperial College, University of London
  • ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต 2532 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต 2530 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบัน

  • อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญในอดีต

  • คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนผู้บริหาร
  • รองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมการการไฟฟ้านครหลวง
  • รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการพลังงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • อนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบกิจการไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
  • อนุกรรมการกลั่นกรองโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

แนวคิดนวัตกรรม

นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่ ศ.ดร.บัณฑิต ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาริเริ่ม "กองทุนนวัตกรรม วิศวฯ จุฬาฯ" เพื่อเป็นกองทุนส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมในคณะวิศวกรรมศาสตร์[10] หลังจากได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดี เขาได้ให้สัมภาษณ์กับสุทธิชัย หยุ่น ว่า "นวัตกรรมต่างจากสิ่งประดิษฐ์ตรงที่สิ่งประดิษฐ์ ประดิษฐ์ตามใจฉัน คนใช้ไม่ใช้ช่างมัน แต่นวัตกรรมทำออกมาแล้วต้องมีคนใช้ และที่สำคัญใช้แล้วต้องสบายขึ้น"[11] แสดงให้เห็นถึงความสนใจในนวัตกรรม และมุ่งให้การผลิตนวัตกรรมเป็นเป้าหมายหลักของจุฬาฯ เพื่อใช้พัฒนาสังคม จนนำมาสู่แนวคิดหลักของงานนิทรรศการใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2560 คืองานจุฬาฯวิชาการ ครั้งที่ 15 หรือ "จุฬาฯ Expo 2017" ที่ว่า "จุฬาฯ 100 ปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม"[12] รวมถึงโครงการอื่น ๆ ในวาระการดำรงตำแหน่งอธิการบดีของเขา ที่นำคำว่านวัตกรรมไปเป็นจุดเด่น[13][14]

คำกล่าวของเขาในพิธีอธิการปติประทานการ (พิธีเข้ารับตำแหน่งอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ความตอนหนึ่งกล่าวว่า ตั้งใจจะนำพาจุฬาฯ ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยนวัตกรรม ที่มุ่งสร้างสรรค์ความรู้และผลผลิตจากการศึกษาวิจัย และผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้สร้างนวัตกรรมและปรับเปลี่ยนสังคมไทยให้สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าจากทรัพยากรที่มีอยู่[15] บ่งบอกว่านวัตกรรมจะเป็นปัจจัยสำคัญในการบริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยของเขา[16] นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงการสร้างความเหนียวแน่นภายในประชาคมจุฬาฯ และนิสิตเก่า เพื่อเสริมสร้างปัจจัยสนับสนุนงานวิจัยและภารกิจของมหาวิทยาลัยทุกด้านอีกด้วย[17][18]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 20 เมษายน 2559. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/090/2.PDF (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/179/61.PDF
  3. "หัวหน้า คสช.เปลี่ยน “กุนซือบอร์ดบีโอไอ” ดึง “อธิการบดีจุฬาฯ-เลขาธิการ สวทน.” เสียบ." Manager Online. July 12, 2017. Accessed July 15, 2017. https://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9600000070967.
  4. นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/205/111.PDF
  6. เครื่อข่ายข้อมูลการเมืองไทย. ข้อมูลบุคคล: บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ . http://www.tpd.in.th/person/dscper_ge.php?id=004058&politicianID= (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  7. สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระเบียบวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 788. 28 มกราคม 2559. http://www.council.chula.ac.th/images/agenda/2559/788.pdf (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  8. สภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัย. 28 มกราคม 2559. http://www.council.chula.ac.th/images/file/minutes/short/สรป_788.pdf (12 พฤษภาคม 2559 ที่เข้าถึง).
  9. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย . “จุฬาฯ Expo 2017 จุฬาฯ ๑๐๐ ปี นวัตกรรม คิดทำเพื่อสังคม .” เว็บไซต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 24 กุมภาพันธ์ 2560. http://www.chula.ac.th/th/archive/57084 (22 มีนาคม 2560 ที่เข้าถึง).
  10. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. “ขอเชิญร่วมบริจาค กองทุนนวัตกรรม วิศวฯ จุฬาฯ (Innovation Endowment Fund).” เว็บไซต์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 3 ตุลาคม 2557. http://www.eng.chula.ac.th/node/1874 (22 มีนาคม 2560 ที่เข้าถึง).
  11. คม-ชัด-ลึก เปิดใจ 'อธิการบดีจุฬาฯ' คนใหม่. โดย รายการ คม-ชัด-ลึก ยูทิวบ์ชาแนล.https://www.youtube.com/watch?v=U_sRLfXW4RI . 2559.
  12. ไทยรัฐออนไลน์. “จุฬาฯ Expo 2017 โชว์นวัตกรรม "คิดทำเพื่อสังคม".” เว็บไซต์ ไทยรัฐออนไลน์. 12 มีนาคม 2560. http://www.thairath.co.th/content/881395 (22 มีนาคม 2560 ที่เข้าถึง).
  13. "จุฬาฯร่วมฟู้ดอินโนโพลิสเฟสสอง : eureka." จุฬาฯร่วมฟู้ดอินโนโพลิสเฟสสอง : eureka. Accessed March 21, 2017. http://eureka.bangkokbiznews.com/detail/634627.
  14. "จุฬาฯประกาศเป็นInnovation hub." Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด. May 26, 2016. Accessed March 21, 2017. http://www.thaipost.net/?q=จุฬาฯประกาศเป็นinnovation-hub.
  15. ศูนย์บริหารกลาง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คำกล่าวของ ศาสตราจารย์ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์. 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559. http://www.cca.chula.ac.th/protocol/images/stories/president-gave/statement/president-statement59.pdf (เข้าถึง 27 มีนาคม พ.ศ. 2569)ใ
  16. ไทยรัฐออนไลน์. "ผลิตคน สร้างนวัตกรรม เปลี่ยนประเทศไทย วิชั่น อธิการบดีจุฬาฯ คนใหม่." Www.thairath.co.th. May 19, 2016. Accessed May 07, 2017. http://www.thairath.co.th/content/622795.
  17. Bangkokbiznews. "อธิการบดีคนใหม่ ตั้งเป้าผลักดันจุฬาฯ สู่มหา'ลัยระดับโลก." Http://www.bangkokbiznews.com/. May 17, 2016. Accessed May 14, 2017. http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/698573.
  18. Thyme D Plus. "สมาคมนิสิตเก่าจุฬา จับมือศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวโครงการจุฬาฯเพื่อความเป็นเลิศของไทย ( CUTE ) พร้อมให้การสนับสนุนเงินลงทุน คำแนะนำกับผู้ประกอบการธุรกิจ สตาร์ทอัพที่มีนวัตกรรม." สมาคมนิสิตเก่าจุฬา จับมือศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาว... May 16, 2017. Accessed May 17, 2017. http://www.thaipr.net/education/778764.