ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ประธานคณะกรรมการ
| หัวหน้า1_ตำแหน่ง = ประธานคณะกรรมการ
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[ศาสตราจารย์พิเศษ]] [[ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม]]
| หัวหน้า1_ชื่อ = [[ศาสตราจารย์พิเศษ]] [[ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม]]
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/1.PDF ประกาศพระราชโองการ เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (นายประจักษ์ บุญยัง)] เล่ม ๑๓๕ ตอน ๔๙ ง พิเศษ หน้า ๑ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ </ref>
| หัวหน้า2_ตำแหน่ง = ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/049/1.PDF ประกาศพระราชโองการ แต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (นายประจักษ์ บุญยัง)] เล่ม ๑๓๕ ตอน ๔๙ ง พิเศษ หน้า ๑ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ </ref>
| หัวหน้า2_ชื่อ = [[ประจักษ์ บุญยัง]]
| หัวหน้า2_ชื่อ = [[ประจักษ์ บุญยัง]]
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
| หัวหน้า3_ตำแหน่ง = รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:43, 6 มีนาคม 2561

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ภาพรวมหน่วยงาน
งบประมาณประจำปี1,977.5059 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
เว็บไซต์สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (อังกฤษ: Office of the Auditor General of Thailand) หรือ สตง. (OAG) เป็นองค์กรอิสระ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณ การปฏิบัติงาน และการดำเนินการอื่น ที่เกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาล โดยมี ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (Auditor General) เป็นหัวหน้าสำนักงาน

ประวัติ

สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้กำหนดให้เป็นองค์กรตรวจสอบอิสระและเป็นกลาง ประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดยให้เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และคณะรัฐมนตรี ตามตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2542

ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีผลใช้บังคับ และกำหนดให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระ โดยมี คตง. 10 คน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน 1 คน จึงได้มีการสรรหาผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน แต่ประสบปัญหาล่าช้า เนื่องจากผู้สมัครขาดคุณสมบัติ จึงมีผู้เสนอชื่อให้คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และได้รับเลือกเป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก[3]

หลังการรัฐประหารในปี 2549 ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ (คตส.)[4] และให้ทำหน้าที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2549 จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง[5]

ต่อมาในปี 2553 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ว่าพ้นจากตำแหน่งนับตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 65 ปี[6] พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ได้เรียกร้องให้คุณหญิงจารุวรรณ ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยดังกล่าว จนเกิดความขัดแย้งกันภายใน สตง. กระทั่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ศาลปกครองกลางได้ตัดสินให้การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินของคุณหญิงจารุวรรณ สิ้นสิ้นลงเมื่อมีอายุครบ 65 ปีบริบูรณ์แล้ว[7]

คณะกรรมการการตรวจเงินแผ่นดิน

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. ประกาศพระราชโองการ แต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (นายประจักษ์ บุญยัง) เล่ม ๑๓๕ ตอน ๔๙ ง พิเศษ หน้า ๑ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (นางจารุวรรณ เมณฑกา)
  4. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๓๐ เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
  5. ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ ๑๒ เรื่อง ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญบางฉบับมีผลใช้บังคับต่อไป
  6. เปิดคำวินิจฉัยกฤษฎีกา'จารุวรรณ'พ้นผู้ว่าสตง.
  7. ศาลปกครองพิพากษา'จารุวรรณ'พ้นตำแหน่งผู้ว่าสตง.

ดูเพิ่ม

วิกิซอร์ซ

แหล่งข้อมูลอื่น