ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Krijthanaphat penbunprasert (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| destinations = 2
| destinations = 2
| founded = พ.ศ. 2538 ({{อายุ|2538|1|1}} ปี)
| founded = พ.ศ. 2538 ({{อายุ|2538|1|1}} ปี)
| hubs = [[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] [[ท่าอากาศยานดอนเมือง]] [[ท่าอากาศยานภูเก็ต]]
| hubs = [[ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง]]
| headquarters = [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]]
| headquarters = [[กรุงเทพมหานคร]] [[ประเทศไทย]]
| key_people = [[อุดม ตันติประสงค์ชัย]] ([[CEO]])
| key_people = [[อุดม ตันติประสงค์ชัย]] ([[CEO]])

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:07, 3 มีนาคม 2561

โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์
Orient Thai Airlines
ไฟล์:Orientthai-logo login.png
IATA ICAO รหัสเรียก
OX OEA ORIENT THAI
ก่อตั้งพ.ศ. 2538 (29 ปี)
ท่าหลักท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง
ขนาดฝูงบิน19
จุดหมาย2
สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
บุคลากรหลักอุดม ตันติประสงค์ชัย (CEO)
เว็บไซต์http://www.flyorientthai.com

โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ (อังกฤษ: Orient Thai Airlines) เปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2538 เดิมใช้ชื่อว่า โอเรียนท์ เอ็กซ์เพรส แอร์ โดยเปิดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศระหว่างภูมิภาค ด้วยเครื่องบินแบบโบอิง 727 จำนวน 2 ลำ บินจากเชียงใหม่ไปยังอุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น ฯลฯ และในปลายปี พ.ศ. 2539 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ และได้นำเข้าเครื่องบินแบบล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ จำนวน 2 ลำ บินจากกรุงเทพมหานครไปเชียงใหม่และภูเก็ต โดยแวะพักที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ด้วยสาเหตุที่ประเทศไทยยังไม่เปิดเสรีการบิน น่านฟ้าผูกขาดโดย การบินไทย หลังจากนั้นสายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จึงได้งดให้บริการเที่ยวบินเส้นทางภายในประเทศชั่วคราว และหันไปเปิดให้บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำร่วมกับสายการบิน กัมพูเชีย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียวกัน และในปี พ.ศ. 2544 เมื่อประเทศไทยเปิดเสรีการบิน น่านฟ้าไม่มีการผูกขาด สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จึงได้นำเข้าเครื่องบินแบบโบอิง 747 คลาสสิก จำนวน 2 ลำ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ได้เปิดเส้นทางไปยังฮ่องกง และในเดือนเมษายนปีเดียวกัน ได้เปิดเส้นทางไปยังโซล (อินชอน) ในปี พ.ศ. 2545 ได้นำเข้าเครื่องบินแบบ โบอิง 747 คลาสสิก และล็อกฮีต แอล-1011 ไทรสตาร์ มาประจำการเพิ่มเติม และได้เปิดเส้นทางเพิ่มเติมไปยังกัวลาลัมเปอร์ โดยแวะพักที่สิงคโปร์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2546 จึงได้ก่อตั้ง วัน-ทู-โก โดย สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นสายการบินราคาประหยัดสายการบินแรกของประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานของ สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ ซึ่งเป็นบริษัทแม่

สายการบินโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ได้ให้บริการไปยังจุดหมายดังต่อไปนี้

จุดหมายปลายทางอื่นๆของ สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ เป็นบริการเที่ยวบินพิเศษ และบริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำซึ่งส่วนใหญ่เป็นเส้นทางในประเทศจีน

ฝูงบิน

ปัจจุบัน สายการบิน โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ มีจำนวนเครื่องบินทั้งหมด 17 ลำ ได้แก่

  • เครื่องบินโดยสาร
โบอิง 747 B747 Series (747)
  • B747-400 (744)
    • B747-422 (HS-STA) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นธุรกิจ 14 ที่นั่ง / ชั้นประหยัด 467 ที่นั่ง
    • B747-441 (HS-STB) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นธุรกิจ 2 ที่นั่ง / ชั้นประหยัด 458 ที่นั่ง
    • B747-412 (HS-STC) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นธุรกิจ 9 ที่นั่ง / ชั้นประหยัด 451 ที่นั่ง
    • B747-4Q8 (HS-STI) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นหนึ่ง 14 ที่นั่ง / ชั้นธุรกิจ 58 ที่นั่ง / ชั้นประหยัด 380 ที่นั่ง
โบอิง 767 B767 Series (767)
  • B767-300 (763)
    • B767-3W0/(ER) (HS-BKA / HS-BKE) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นประหยัด 310 ที่นั่ง
    • B767-346 (HS-BKB / HS-BKD) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นธุรกิจ 42 ที่นั่ง / ชั้นประหยัด 219 ที่นั่ง
    • B767-346 (HS-BKH / HS-BKI) ความจุผู้โดยสาร : ชั้นประหยัด 270 ที่นั่ง
โบอิง 737 B737 Series (737)
  • B737-300 (733)
    • B737-3T0 (Winglets) (HS-BRA / HS-BRB) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นประหยัด 145 ที่นั่ง
    • B737-3Z0 (HS-BRI / HS-BRJ / HS-BRK) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นประหยัด 145 ที่นั่ง
    • B737-3J6 (HS-BRL / HS-BRQ) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นประหยัด 145 ที่นั่ง
  • B737-400 (734)
    • B737-429 (HS-BRD / HS-BRE) ความจุผู้โดยสาร: ชั้นประหยัด 162 ที่นั่ง

บริการพิเศษ

  • บริการเที่ยวบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ และภายในประเทศ

อุบัติเหตุ

การพักใช้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ เครื่องบินแบบ MD-80 Series

กรมการขนส่งทางอากาศ ได้ทำการตรวจสอบเกี่ยวกับการปฏิบัติการบินและการบำรุงรักษาอากาศยานของ บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด และ บริษัท วัน ทู โก แอร์ไลน์ จำกัด โดยในส่วนของ บริษัท โอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จำกัด ได้พิจารณาว่าการใช้เครื่องบินแบบ MD-80 Series ทางบริษัทไม่เป็นไปตามคู่มือที่ได้รับความเห็นชอบจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ และไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยที่กรมการขนส่งทางอากาศกำหนด จึงพักใช้ใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศของบริษัท ในส่วนของเครื่องบินแบบ MD-80 Series เป็นระยะเวลา 30 วัน นับถัดจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง[1]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น