ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ลบlogo20ปี
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| สถานปฏิบัติการ = [http://hospital.tu.ac.th โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ]
| สถานปฏิบัติการ = [http://hospital.tu.ac.th โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ]
}}
}}
'''คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์''' เป็น[[ส่วนราชการ]]ระดับ[[คณะวิชา]] สังกัด[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[กระทรวงศึกษาธิการ]] โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 11 ของมหาวิทยาลัย และเป็นสถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ ตามที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2533 ตามแผนการขยายการเรียนการสอนในสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับเป็นคณะแรกในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียนแพทย์ใดริเริ่มการเรียนการสอนดังกล่าว
'''คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์''' เป็น[[ส่วนราชการ]]ระดับ[[คณะวิชา]] สังกัด[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] [[กระทรวงศึกษาธิการ]] โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 11 ของมหาวิทยาลัย และเป็นสถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 10 ของประเทศ ตามที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2533 ตามแผนการขยายการเรียนการสอนในสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับเป็นคณะแรกในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียนแพทย์ใดริเริ่มการเรียนการสอนดังกล่าว


การเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระยะแรกของการก่อตั้ง ทางคณะได้จัดให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ 100% [[Problem-based learning]] และ 0% Lectures ตามแนวทางการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแผนใหม่ โดยมีช่วงเวลาที่ให้นักศึกษาได้เพิ่มเติมความรู้โดยตนเองเป็นผู้กำกับ (Self-directed learning) ภายหลังได้มีการปรับสัดส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับ 80% Problem-based learning และ 20% Lectures หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 โดยในระดับพรีคลินิค (ชั้นปีที่ 2-3) มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Hybrid Problem-based Learning (Hybrid PBL) คือมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย ประกอบกับการใช้โจทย์ปัญหาในกระบวนการกลุ่มย่อยที่อ้างอิงทางคลินิก และในระดับคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) มีการจัดการเรียนการสอนคล้ายคลึงกับสถาบันอื่น ๆ โดยเน้นการปฏิการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
การเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระยะแรกของการก่อตั้ง ทางคณะได้จัดให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ 100% [[Problem-based learning]] และ 0% Lectures ตามแนวทางการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแผนใหม่ โดยมีช่วงเวลาที่ให้นักศึกษาได้เพิ่มเติมความรู้โดยตนเองเป็นผู้กำกับ (Self-directed learning) ภายหลังได้มีการปรับสัดส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับ 80% Problem-based learning และ 20% Lectures หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 โดยในระดับพรีคลินิค (ชั้นปีที่ 2-3) มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Hybrid Problem-based Learning (Hybrid PBL) คือมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย ประกอบกับการใช้โจทย์ปัญหาในกระบวนการกลุ่มย่อยที่อ้างอิงทางคลินิก และในระดับคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) มีการจัดการเรียนการสอนคล้ายคลึงกับสถาบันอื่น ๆ โดยเน้นการปฏิการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:10, 27 กุมภาพันธ์ 2561

คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Medicine,
Thammasat University
ตราสัญลักษณ์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาปนา20 มีนาคม พ.ศ. 2533[1]
(ครบรอบ 34 ปี)
คณบดีรศ.นพ.ดิลก ภิยโยทัย
ที่อยู่
95 หมู่ 8 ถนนพหลโยธิน คลองหนึ่ง คลองหลวง ปทุมธานี 12120
วารสารธรรมศาสตร์เวชสาร
สี  สีเขียว
สถานปฏิบัติโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
เว็บไซต์www.med.tu.ac.th

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 11 ของมหาวิทยาลัย และเป็นสถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 10 ของประเทศ ตามที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2533 ตามแผนการขยายการเรียนการสอนในสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับเป็นคณะแรกในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community-Based Learning : CBL) ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียนแพทย์ใดริเริ่มการเรียนการสอนดังกล่าว

การเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระยะแรกของการก่อตั้ง ทางคณะได้จัดให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ 100% Problem-based learning และ 0% Lectures ตามแนวทางการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแผนใหม่ โดยมีช่วงเวลาที่ให้นักศึกษาได้เพิ่มเติมความรู้โดยตนเองเป็นผู้กำกับ (Self-directed learning) ภายหลังได้มีการปรับสัดส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับ 80% Problem-based learning และ 20% Lectures หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 โดยในระดับพรีคลินิค (ชั้นปีที่ 2-3) มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Hybrid Problem-based Learning (Hybrid PBL) คือมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย ประกอบกับการใช้โจทย์ปัญหาในกระบวนการกลุ่มย่อยที่อ้างอิงทางคลินิก และในระดับคลินิก (ชั้นปีที่ 4-6) มีการจัดการเรียนการสอนคล้ายคลึงกับสถาบันอื่น ๆ โดยเน้นการปฏิการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ประวัติ

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมีศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิกษ์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ

การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531 ในการดำเนินการได้มีการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการผลิตบัณฑิตแพทย์พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2533

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 มีผลใช้บังคับในวันถัดมา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะแพทย์อันดับที่ 9 ของประเทศไทย มีการแบ่งส่วนราชการของคณะแพทยศาสตร์ เป็น 4 ส่วน คือ สำนักงานเลขานุการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก สถานวิทยาศาสตร์คลินิก และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ในปี พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้น ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เป็นนายสภามหาวิทยาลัย มีคำสั่งให้การบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นอิสระโดยสังกัดสำนักงานอธิการบดี แยกออกจากคณะแพทยศาสตร์ ดังนั้นด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะจึงได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารคณะ โดยถือหลักการปรับโครงสร้างของคณะแพทยศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ ของคณะแพทยศาสตร์

และในปี พ.ศ. 2553 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลาครบ 20 ปี จึงได้มีโครงการจัดทำหนังสืออนุสรณ์ กิจกรรมทางวิชาการรวมถึงการประชุมวิชาการต่าง ๆ และมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว อีกทั้งได้มีการจัดทำตราสัญลักษณ์ "20 ปี แพทย์ธรรมศาสตร์" เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของคณะตลอดปีการศึกษาอีกด้วย

การแบ่งส่วนราชการ

ทำเนียบคณบดี

ลำดับที่ นาม ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อารี วัลยะเสวี 9 เม.ย. 2533 - 30 ก.ย. 2539
2 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุชาติ อินทรประสิทธิ์ 1 ต.ค. 2539 - 8 ส.ค. 2542
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิม วราวิทย์ (รักษาราชการ) 9 ส.ค. 2542 - 30 พ.ย. 2542
3 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กัมมาล กุมาร ปาวา 1 ธ.ค. 2542 - 30 พ.ย. 2548
4 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จิตตินัดด์ หะวานนท์ 1 ธ.ค. 2548 - 30 ก.ย. 2554
5 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล 1 ม.ค. 2555 - 31 ธ.ค.2560
6 รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดิลก ภิยโยทัย 1 ม.ค. 2561 - ปัจจุบัน

รายนามผู้บริหาร

รายนามผู้บริหารชุดปัจจุบัน[2]

ตำแหน่ง นาม
คณบดี รศ.นพ. ดิลก ภิยโยทัย
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รศ.พญ. นงลักษณ์ คณิตทรัพย์
รองคณบดีฝ่ายการคลังและแผน รศ.พญ. อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์
รองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพ ผศ.นพ. สกล มนูสุข
รองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ ศ.ดร.นพ. ประกิตพันธุ์ ทมทิตชงค์
รองคณบดีฝ่ายวิจัย รศ.นพ. สมบัติ มุ่งทวีพงษา
รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา รศ. ศิริเพ็ญ ต่ออุดม
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายนโยบายและแผน ผศ.นพ.ประกาศิต สงวนจิตร
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ ผศ.พญ. ศิริภัทร เกียรติพันธ์สดใส
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ รศ.พญ. วินิทรา นวลละออง
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย รศ.พญ. ทิพาพร ธาระวนิช
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษา ผศ.นพ. อัสนี ทองอยู่
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา รศ.นพ. ภาสกร ศรีทิพย์สุโข
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายการคลังและแผน อ.พญ. นิพัทธา วินะยานุวัติคุณ
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ อ.ดร.นพ. สิระ นันทพิศาล
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพ รศ.นพ. ธนา ขอเจริญพร
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพ อ.พญ. เรือนขวัญ กัณหสิงห์
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ รศ.พญ. อารยา ศรัทธาพุทธ
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.ดร. กัลยา อารีย์
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.นพ. ภัทรวิน ภัทรนิธิมา
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิชาการ ผศ.นพ. อินทนนท์ อิ่มสุวรรณ
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา ผศ.นพ. ชินกาจ บุญญสิริกูล
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษา ผศ.ดร. นันทวรรณ ศูนย์กลาง
ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิจัย อ.ดร. ปรรณณวัชญ์ ไชยวัฒนนันทน์

Facts & Figures

อัตรากำลัง

  1. อาจารย์ 296 คน
  2. บุคลากรสายสนับสนุน 265 คน

หลักสูตรการศึกษา

ปริญญาตรี

  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)[3]
  • หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)[4]
  • หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)[5]

บัณฑิตศึกษา

แพทย์ประจำบ้าน

  • เวชศาสตร์ครอบครัว (ไม่ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะ)
  • อายุรศาสตร์
  • กุมารเวชศาสตร์
  • สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
  • ศัลยศาสตร์
  • ออร์โธปิดิกส์
  • รังสีวิทยาวินิจฉัย
  • วิสัญญีวิทยา
  • เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
  • จักษุวิทยา
  • โสต ศอ นาสิกวิทยา
  • จิตเวชศาสตร์
  • ประสาทวิทยา
  • จิตวิทยา
  • ประสาทศัลยศาสตร์
  • อายุรศาสตร์โรคเลือด
  • พยาธิวิทยากายวิภาค (ไม่ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะ)
  • ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา

แพทย์ประจำบ้านต่อยอด

  • จักษุวิทยากระจกตา และการผ่าตัดแก้ไขสายตา
  • จักษุวิทยาโรคจอประสาทตา
  • จักษุวิทยาโรคต้อหิน
  • ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์กระดูกสันหลัง
  • ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ข้อสะโพกข้อเข่า
  • ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ทางมือ
  • ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์เวชศาสตร์การกีฬา
  • อายุรศาสตร์โรคไต
  • อายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร
  • อายุรศาสตร์โรคหัวใจ

อาคารและสถานที่

ด้านการเรียนการสอน

ไฟล์:อาคารคุณากร ธรรมศาสตร์.jpg
อาคารคุณากร ที่ทำการคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอาคารหลักคือ "อาคารคุณากร" (รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ) ความสูง 9 ชั้น โดยในปัจจุบันอาคารดังกล่าวเป็นสถานที่ติดต่อราชการ ที่ทำการสถานและสาขาวิชา และห้องประชุมต่าง ๆ ดังนี้

ชั้น 1 : ประชาสัมพันธ์, ลานอเนกประสงค์, สำนักงานคณะกรรมการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ (กนพ.), ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาคณะแพทยศาสตร์, ร้านถ่ายเอกสาร, สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาศูนย์สุขศาสตร์, สมาคมศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ (Self Directed Learning;SDL)

ชั้น 2 : ห้องประชุมแพทย์โดม 1 (ห้องประชุมทางไกลแพทย์โดม), ห้องประชุมแพทย์โดม 2 และ 3, สำนักงานคณบดี, สำนักงานเลขนุการคณะ, พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (ลานพระบิดา)

ชั้น 3 : งานบริการการศึกษา, กลุ่มห้องบรรยาย, ห้องปฏิบัติการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก, หน่วยส่งเสริมการวิจัย

ชั้น 4 : สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก, ห้องประชุมสโมสรคณะแพทยศาสตร์, ห้องเรียนกลุ่มย่อย, ห้องบรรยาย, ชุมนุมและนันทนาการ, สำนักงานสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์

ชั้น 5 : ห้องพักอาจารย์สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก, ห้องเรียนกลุ่มย่อย

ชั้น 6 และ 7 : ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self-directed Learning : SDL), งานเทคโนโลยีทางการศึกษา

ชั้น 8 : สถานวิทยาศาสตร์เวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว

ชั้น 9 : สำนักงานสาขากายวิภาคศาสตร์, ห้องปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์, ห้องปฏิบัติการมหกายวิภาคศาสตร์, ห้องประชุมแพทย์โดมชั้น 9

ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายขยายพื้นที่ทำการของคณะเพื่อรองรับการเรียนการสอนตามหลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 ที่มีการขยายจำนวนรับนักศึกษาแพทย์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จึงได้มีการต่อเติมอาคารราชสุดา ชั้น 3-8 (โครงการก่อสร้างอาคารราชสุดาในระยะที่ 2) โดยมีการสร้างห้องบรรยายขนาดใหญ่ อีกทั้งยังได้ย้ายสำนักงานสาขากายวิภาคศาสตร์, ห้องปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์ และห้องปฏิบัติการมหกายวิภาคศาสตร์ มายังอาคารราชสุดา เพื่อความคล่องตัวของการจัดการเรียนการสอน

ด้านสวัสดิการ

เนื่องจากจำนวนผู้ที่เข้าพักอาศัยในหอพักแพทย์และพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถรองรับนักศึกษาแพทย์ทั้งหมดได้ ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีโครงการก่อสร้างอาคารหอพักสำหรับนักศึกษาแพทย์โดยเฉพาะ และทั้งนี้ยังมีการสร้างศูนย์กีฬาคณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้มีสถานที่สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ ตามลักษณะพึงประสงค์ของบัณฑิตแพทย์ธรรมศาสตร์ ข้อที่ 9 ในหัวข้อ "ดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ"

หน่วยงานสนับสนุนการศึกษา

การเดินทาง[6]

  • รถเมล์ประจำทาง
    • สาย 29 รังสิต–หัวลำโพง
    • สาย 39 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต–อนุสาวรีย์ชัยฯ
    • สาย 510 รังสิต–อนุสาวรีย์ชัยฯ
  • รถตู้ประจำทาง
    • อนุสาวรีย์ชัยฯ-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    • BTS หมอชิต-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
    • ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์-ศูนย์รังสิต (รถบริการของทางมหาวิทยาลัย)
  • รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (เริ่มให้บริการประมาณปี 2560)
  • รถประจำทางภายในมหาวิทยาลัย

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จังหวัด สังกัด
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันร่วมผลิตแพทย์ จังหวัด สังกัด
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสระบุรี จังหวัดสระบุรี กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี กระทรวงสาธารณสุข
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา กระทรวงสาธารณสุข

อ้างอิง

  1. "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทบวงมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2533" (pdf). ราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (เล่ม 107, ตอนที่ 44, ฉบับพิเศษ): 7. 1990-03-19. สืบค้นเมื่อ 2014-04-09.
  2. รายนามผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  3. http://medtu.tv/edu-service/wp-content/uploads/2017/12/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%9556.pdf หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)
  4. http://medtu.tv/edu-service/wp-content/uploads/2017/12/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A256.pdf หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)
  5. http://medtu.tv/edu-service/wp-content/uploads/2017/12/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B8%B4%E0%B8%9556-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9.pdf หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)
  6. http://www4.tu.ac.th/visitingtu

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:คณะการแพทย์แผนไทย