ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธงฉาน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
YiFeiBot (คุย | ส่วนร่วม)
Bot: Migrating 7 langlinks, now provided by Wikidata on d:q4881037
ป้ายระบุ: ลบลิงก์ข้ามภาษา
CommonsDelinker (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ภาพ Naval_Ensign_of_Germany.svg ด้วย Naval_ensign_of_Germany.svg จากวิกิพีเดียคอมมอนส์
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
<gallery>
<gallery>
ไฟล์:Thailand Naval Jack (Thong Chan).svg|[[ธงฉาน (กองทัพเรือไทย)|ธงฉาน]][[กองทัพเรือไทย]]
ไฟล์:Thailand Naval Jack (Thong Chan).svg|[[ธงฉาน (กองทัพเรือไทย)|ธงฉาน]][[กองทัพเรือไทย]]
ไฟล์:Naval Ensign of Germany.svg|[[ธงนาวีบุนเดซเวร์|ธงนาวีเยอรมนี]] (ใช้เป็นธงฉานด้วย)
ไฟล์:Naval ensign of Germany.svg|[[ธงนาวีบุนเดซเวร์|ธงนาวีเยอรมนี]] (ใช้เป็นธงฉานด้วย)
ไฟล์:Naval Jack of the United States.svg|[[ธงฉาน (สหรัฐอเมริกา)|ธงฉาน]][[กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา]]
ไฟล์:Naval Jack of the United States.svg|[[ธงฉาน (สหรัฐอเมริกา)|ธงฉาน]][[กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา]]
ไฟล์:Naval Jack of Brazil.svg|[[ธงฉาน (บราซิล)|ธงฉาน]][[กองทัพเรือบราซิล]]
ไฟล์:Naval Jack of Brazil.svg|[[ธงฉาน (บราซิล)|ธงฉาน]][[กองทัพเรือบราซิล]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:00, 22 กุมภาพันธ์ 2561

การชักธงฉานที่หัวเรือรบ (ในภาพเป็นธงฉานของกองทัพเรือไอร์แลนด์)

ธงฉาน (อังกฤษ: Jack; ฝรั่งเศส: Pavillon de beaupré; เยอรมัน: Gösch; สเปน: Bandera de proa) คือธงชาติที่บัญญัติให้ใช้เพิ่มเติมสำหรับชักที่เสาหัวเรือรบและเรือประเภทอื่นๆ บางชนิด ปกติแล้วจะชักขึ้นในเวลาที่เรือไม่ได้ออกปฏิบัติการและเมื่อมีการตกแต่งเรือด้วยธงต่างๆ ในวาระพิเศษ[1] ในบางประเทศจะใช้ธงนี้สำหรับหมายยศนายทหารชั้นนายพลเรือด้วย เช่น ธงหมายยศจอมพลเรือของสหราชอาณาจักรใช้ธงฉานของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร (ธงเดียวกันกับธงยูเนี่ยนแจ็ค ซึ่งใช้เป็นธงชาติด้วย แต่กำหนดสัดส่วนของธงไว้ที่ 1:2)[2] เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจใช้ในหน้าที่อื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายโดยเฉพาะ เช่น ในกองทัพเรือไทย ธงฉานจะใช้เป็นธงหมายเรือพระที่นั่ง และเรือหลวง และเป็นธงประจำกองทหารสำหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้นไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล[3]

ในภาษาไทยโบราณ คำว่าธงฉานหมายถึง ธงนำกระบวนกลองชนะ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ความหมายในปัจจุบันหมายเอาถึงธงฉานของกองทัพเรือ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522[4]

ตัวอย่างธงฉานของประเทศต่างๆ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม