ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าเตียน"

พิกัด: 13°44′46.9″N 100°29′27.6″E / 13.746361°N 100.491000°E / 13.746361; 100.491000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{สำหรับ|ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2516|ท่าเตียน (ภาพยนตร์)}} ภาพ:Phra Borom Maha Ratcha...
 
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27: บรรทัด 27:


==อ้างอิง==
==อ้างอิง==
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง|2}}
==แหล่งข้อมูลอื่น==
==แหล่งข้อมูลอื่น==
{{commonscat|Tha Tian area|ท่าเตียน}}
{{commonscat|Tha Tian area|ท่าเตียน}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:06, 20 กุมภาพันธ์ 2561

ประชาชนทั่วไปและนักท่องเที่ยวลงเรือข้ามฟาก
ร้านค้าและอาคารพาณิชย์ทางเข้าตลาดท่าเตียน หลังการปรับปรุง

ท่าเตียน เป็นท่าเรือและตลาดแห่งหนึ่ง ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนถนนมหาราช

ท่าเตียน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยที่ชื่อ "ท่าเตียน" มีที่มาต่าง ๆ กันไป บ้างก็ว่าเกิดจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่แถบนี้เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนราบเรียบเหี้ยนเตียน หรือเชื่อว่ามาจาก "ฮาเตียน" เมืองท่าแห่งหนึ่งในตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเกียนซาง ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินแดนของไทย ในชื่อ บันทายมาศ หรือ พุทไธมาศ[1]) เนื่องจากแถบนี้ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนอพยพ และเรียกเพี้ยนมาเป็นท่าเตียนในที่สุด[2]

และยังมีตำนานเมืองที่โด่งดังมาก คือ เรื่องของยักษ์เฝ้าประตูวัดสองฟากต่อสู้กัน คือ ยักษ์วัดแจ้ง จากฝั่งธนบุรี ต่อสู้กับ ยักษ์วัดโพธิ์ แห่งฝั่งพระนคร เนื่องจากผิดใจกันเรื่องการขอยืมเงินกัน จนในที่สุดที่บริเวณนี้เหี้ยนเตียนราบเรียบไปทั้งหมด[3]

ปัจจุบัน ท่าเตียนเป็นทั้งตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม มีร้านอาหารและร้านกาแฟเป็นจำนวนมาก[4] ในส่วนของตลาด เป็นตลาดที่นับว่าใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น[5] เป็นตลาดที่มีสินค้าหลากหลายประเภทขายทั้งสินค้าทางการเกษตรหรือข้าวของเครื่องใช้ เนื่องจากเป็นท่าจอดเรือที่มีชัยภูมิเหมาะสม จนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีการสร้างอาคารขึ้นมาอย่างเป็นรูปร่าง และสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น และกลายมาเป็นแหล่งค้าส่งแห่งแรก ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัสดุก่อสร้าง, เครื่องตัดหญ้า, อะไหล่รถยนต์, ผักและผลไม้, น้ำตาล, ลูกอมหรือท็อฟฟี่ เป็นต้น[6] อีกทั้ง อาคารพาณิชย์ตลอดจนบ้านเรือนต่าง ๆ ยังได้รับการบูรณะปรับปรุงโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ให้แลดูใหม่และสวยงามยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ท่าช้างที่อยู่ใกล้เคียง โดยทำการปรับปรุงทั้งสิ้น 55 คูหา[7]

ในส่วนที่เป็นท่าเรือ เป็นท่าเรือสำหรับเรือข้ามฟากไปยังท่าวัดอรุณ ของฝั่งธนบุรี โดยสามารถมองเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯและป้อมวิไชยประสิทธิ์ได้อย่างชัดเจนจากฟากนี้[5] และเป็นท่าเรือที่ให้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาอีกด้วย เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์–วันศุกร์ ในเวลา 06:00–19:00 น.[8]

สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง

อ้างอิง

  1. "ประวัติศาสตร์การอพยพของชาวเวียดนาม". หอจดหมายเหตุ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. 2015-10-19. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  2. "ชุมชนท่าเตียน". ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  3. พรรณลึก, เฟรม - สลิตา (2017-11-11). ""ท่าเตียน" จากเมือง "ท่า" สู่เมือง "เที่ยว"". เนชั่นทีวี. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  4. Time Out Bangkok staff (2017-09-19). "รวมร้านอาหารอร่อยและคาเฟ่น่านั่ง ย่านท่าเตียน-วัดโพธิ์". TimeOut. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  5. 5.0 5.1 "ถอดรหัส "ท่าเตียน" ผ่านอดีตสู่ปัจจุบัน ยลเสน่ห์ริมเจ้าพระยา วัดอรุณ - วัดโพธิ์". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-11-24. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  6. "ย้อนวันวานย่านเก่า "ท่าเตียน" เปิดบันทึกประวัติศาสตร์บางกอก". เดลินิวส์. 2014-10-08. สืบค้นเมื่อ 2018-01-20.
  7. "ตึกแถวถนนมหาราช บริเวณท่าเตียน". ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.
  8. "16ท่าเรือข้ามฟาก แม่น้ำเจ้าพระยา ท่าเตียน-ท่าวัดอรุณฯ บริเวณตลาดท่าเตียน เขตพระนคร". สวัสดีดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 2018-02-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

N33
ปากเกร็ด
N32
วัดกลางเกร็ด
N31/1
บ้านพักข้าราชบริพารติวานนท์
N31
กระทรวงพาณิชย์
N30/1
พระนั่งเกล้า
สะพานพระนั่งเกล้า ไทรม้า – แยกนนทบุรี 1
N30
นนทบุรี (พิบูลสงคราม 3)
สะพานพระราม 5
N29/1
N29
พิบูลสงคราม 2
ไม่จอด
วัดเขียน
N28
วัดตึก
N27
N26
วัดเขมา
N25
พิบูลสงคราม 1
ไม่จอด
พระราม 7
N24
ข้ามเขต
จังหวัด
นนทบุรี
กรุงเทพ
N23
วัดสร้อยทอง
บางโพ บางอ้อ – เตาปูน
N22
บางโพ
N21
เกียกกาย
N20
เขียวไข่กา
จอดเป็นบางเที่ยว
N19
กรมชลประทาน
จอดเป็นบางเที่ยว
N18
พายัพ
วัดเทพากร
N17/1
ไม่จอด
วัดเทพนารี
N17
ไม่จอด
สะพานกรุงธน
N16
N15
เทเวศร์
พระราม 8
N14
ไม่จอด
N13
พระอาทิตย์
พระปิ่นเกล้า
N12
ท่ารถไฟ
N11
พรานนก (วังหลัง)
N10
N9
ท่าช้าง
N8
ท่าเตียน
ปิดปรับปรุง จอดที่ท่าวัดอรุณแทน
วัดอรุณ
สนามไชย อิสรภาพ – สามยอด
N7
ราชินี
N6/1
ยอดพิมาน
ไม่จอด
N6
สะพานพุทธ
N5
ราชวงศ์
N4
กรมเจ้าท่า
N3
สี่พระยา
ไอคอนสยาม
N2/1
สายธงส้มเพิ่มจุดจอดชั่วคราว
N2
วัดม่วงแค
ไม่จอด
N1
โอเรียนเต็ล
สะพานตากสิน กรุงธนบุรี – สุรศักดิ์
CEN
สาทร
S1
วัดเศวตฉัตร
ปิดปรับปรุง
S2
วัดวรจรรยาวาส
จอดเป็นบางเที่ยว
S3
วัดราชสิงขร
ข้อมูล ณ วันที่ 26 ธันวาคม 2565


13°44′46.9″N 100°29′27.6″E / 13.746361°N 100.491000°E / 13.746361; 100.491000