ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วินัย ทองสอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 12: บรรทัด 12:
| footnotes =
| footnotes =
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2500|4|21}}
| birth_date = {{วันเกิดและอายุ|2500|4|21}}
| birth_place = [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]]
| birth_place = [[จังหวัดฉะเชิงเทรา]] มีบุตรชาย1คน สิรวิชญ์ เพชรคงหรือทองสอง
| allegiance = [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]
| allegiance = [[สำนักงานตำรวจแห่งชาติ]]
| serviceyears = - พ.ศ.2560
| serviceyears = - พ.ศ.2560

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:24, 12 กุมภาพันธ์ 2561

พลตำรวจเอก วินัย ทองสอง
ไฟล์:Winai thongsong.jpg
ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555
(ย้ายไปช่วยราชการสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ)
ก่อนหน้าพลตำรวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา
ถัดไปพลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2500 (66 ปี)
จังหวัดฉะเชิงเทรา มีบุตรชาย1คน สิรวิชญ์ เพชรคงหรือทองสอง
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ประจำการ- พ.ศ.2560
ยศ พลตำรวจเอก

พลตำรวจเอก วินัย ทองสอง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและนายตำรวจราชสำนัก[1] อดีตรองจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ9) อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 อดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2

เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2500 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา[2] จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 32 (นรต.32) เริ่มรับราชการด้วยการเป็นนายเวรผู้บังคับการตำรวจภูธร 12 จังหวัดยะลา จนกระทั่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม ในปี พ.ศ. 2547 ด้วยยศ พลตำรวจตรี (พล.ต.ต.) ในยุครัฐบาลที่มีพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี

พล.ต.ท.วินัย ได้ชื่อว่าเป็นนายตำรวจที่มีความสนิทสนมและเกี่ยวพันกับตระกูลชินวัตร เนื่องจากภริยามีศักดิ์เป็นหลานสาวของ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งในคืนวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ขณะที่เกิดการรัฐประหารเกิดขึ้น พล.ต.ท.วินัย ซึ่งในขณะนั้นมีตำแหน่งเป็นผู้บังคับการกองปราบฯ ได้รับคำสั่งทางสายโทรศัพท์จาก พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่นครนิวยอร์ก ให้นำกองกำลังเข้าทำการควบคุมตัว พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ถึงที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ อันเป็นบ้านพักส่วนตัว แต่ยังมิทันได้ดำเนินการ เนื่องมีกองกำลังทหารและรถถังเข้าอารักขาไว้หมดแล้ว และในคืนวันนั้น พล.ต.ท.วินัย เองก็ถูกควบคุมตัวด้วย[3][4]

ต่อมาในกลางปี พ.ศ. 2554 พล.ต.ท.วินัย ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล แทนที่ พล.ต.ท.จักรทิพย์ ชัยจินดา ที่ได้รับคำสั่งโยกย้ายไปเป็นผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 แทน[5] [6]

ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555 พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้มีคำสั่งให้ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปช่วยราชการที่สำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นระยะเวลา 4 เดือน พร้อมกับมอบให้ พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 เข้ามารักษาราชการ และปฏิบัติหน้าที่แทน โดยให้มีผลทันที เชื่อว่าเป็นผลมาจากการควบคุมการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน (เสื้อหลากสี) ที่บริเวณหน้าอาคารรัฐสภาไม่ได้ ซึ่งชุมนุมคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแห่งชาติ (พ.ร.บ.นิรโทษกรรม) ของรัฐบาล[7]

จากนั้นก็ได้มีการเลื่อนยศ พล.ต.ต.คำรณวิทย์ ให้เป็น พลตำรวจโท (พล.ต.ท.) และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ขณะที่ พล.ต.ท.วินัย ย้ายไปเป็น ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 [8]

และต่อมาก็ได้ย้ายเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ดูแลงานด้านกองบัญชาการตำรวจนครบาล[9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/031/13.PDF
  2. สืบเสาะเจาะข่าว โดย สืบพงษ์ อุณหรัตน์ ทาง F.M. 92.25 MHz: วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2555
  3. "พลเอกเปรม ติณสูลานนท์" เสาหลักการเมืองไทย
  4. กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
  5. วินัย ทองสอง จากไทยรัฐ
  6. กลั่นกรองนายพลฉลุย เด็ก “เพื่อไทย” ยึดเก้าอี้สำคัญ! จากผู้จัดการออนไลน์
  7. ฟ้าผ่า!! เด้ง "วินัย ทองสอง" พ้นเก้าอี้ ผบช.น.ช่วยราชการ 4 เดือน ให้ "คำรณวิทย์" มีผลทันที จากมติชน
  8. ก.ตร.มติเอกฉันท์! "คำรณวิทย์"นั่ง ผบช.น.-"วินัย"นั่ง ผบช.ภ.1 จากผู้จัดการออนไลน์
  9. "โยก 8 ผบช. เข้ากรุ ปฏิรูปตั้งกระทรวงตร". ผู้จัดการออนไลน์. 25 May 2014. สืบค้นเมื่อ 29 May 2014.
  10. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘ [จำนวน ๑๐,๘๗๖ ราย ๑. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ ฯลฯ ]
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/B/024/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๘ ตอน ๒๔ ข หน้า ๒๔ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔