ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภูมิศาสตร์ไต้หวัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lvbu199 (คุย | ส่วนร่วม)
วรรคตอน
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่[[เหมา เจ๋อตง]]มีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศจีนทั้งสองประเทศ คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนบนแผ่นดินใหญ่ กับผู้นำ'''สาธารณรัฐจีน'''บนเกาะไต้หวัน ต่างแย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของ[[จีนแผ่นดินใหญ่]] จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า
ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่[[เหมา เจ๋อตง]]มีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศจีนทั้งสองประเทศ คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนบนแผ่นดินใหญ่ กับผู้นำ'''สาธารณรัฐจีน'''บนเกาะไต้หวัน ต่างแย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของ[[จีนแผ่นดินใหญ่]] จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า


ในปี [[พ.ศ. 2514]] (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล '''[[เจียง ไคเช็ก]]''' (General Chiang Kaishek) ([[ภาษาจีน]]:蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การ[[สหประชาชาติ]] ได้สูญเสียสมาชิกภาพ ในฐานะรัฐบาลตัวแทนของประชาชนชาวจีนให้กับ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ในปี [[พ.ศ. 2521]] (ค.ศ. 1978) [[สหประชาชาติ]]ก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่ และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ทั้ง[[สหรัฐอเมริกา]]ก็ได้ถอนการรับรองว่า[[ไต้หวัน]]มีฐานะเป็น[[รัฐ]] สถานะทางการเมืองของไต้หวันจึงซับซ้อนยุ่งยากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้เกาะไต้หวันจะปกครองตนเองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช และกลายเป็นเกาะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่า เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งแค่รอเวลาที่จะกลับมารวมกับจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง และพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังประกาศอีกว่า หากจำเป็น ก็จะใช้กำลังทางทหารเข้าจัดการ หากไต้หวันประกาศเอกราชแยกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในปี [[พ.ศ. 2514]] (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล '''[[เจียง ไคเช็ก]]''' (General Chiang Kaishek) ([[ภาษาจีน]]:蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การ[[สหประชาชาติ]] ได้สูญเสียสมาชิกภาพ ในฐานะรัฐบาลตัวแทนของประชาชนชาวจีนให้กับ[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]] ในปี [[พ.ศ. 2521]] (ค.ศ. 1978) [[สหประชาชาติ]]ก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่ และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ทั้ง[[สหรัฐอเมริกา]]ก็ได้ถอนการรับรองว่า[[ไต้หวัน]]มีฐานะเป็น[[รัฐ]] สถานะทางการเมืองของไต้หวันจึงซับซ้อนยุ่งยากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้เกาะไต้หวันจะปกครองตนเองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช และกลายเป็นเกาะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่า เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งแค่รอเวลาที่จะกลับมารวมกับจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง และพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังประกาศอีกว่า หากจำเป็น ก็จะใช้กำลังทางทหารเข้าจัดการ หากไต้หวันประกาศเอกราชแยกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน


== ภูมิศาสตร์ ==
== ภูมิศาสตร์ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:37, 10 กุมภาพันธ์ 2561

เกาะไต้หวัน

เกาะไต้หวัน (จีนตัวย่อ: 台湾; จีนตัวเต็ม: 臺灣/台灣; พินอิน: Táiwān ไถวาน; ภาษาไต้หวัน: Tâi-oân) เป็นเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้จีนแผ่นดินใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันปกครองโดยสาธารณรัฐจีน แยกเป็นเอกเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ในทางการเมืองระหว่างประเทศ ถือว่าสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวันไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช แม้เรามักจะเรียกกันติดปากว่าประเทศไต้หวันก็ตาม

แต่เดิมเกาะไต้หวันมีชื่อว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa) หรือ Ilha Formosa ในภาษาโปรตุเกส แปลว่า "เกาะสวยงาม" เนื่องจากประเทศโปรตุเกสเคยเดินทางมายังเกาะนี้และได้ตั้งชื่อเอาไว้ แต่ก็ไม่ได้ยึดเอามาเป็นอาณานิคม

ประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเกี่ยวกับเกาะไต้หวันมีอยู่ไม่มากนัก เดิมทีเกาะไต้หวันมีชาวพื้นเมืองซึ่งเป็นชาวหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกอาศัยอยู่มาก่อน สันนิษฐานว่าพวกชาวเกาะมาตั้งถิ่นฐานอยู่ตั้งแต่หมื่นปีมาแล้ว ในขณะที่ชาวจีนเพิ่งอพยพมาจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอยู่ที่ไต้หวันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15

ปี พ.ศ. 2060 (ค.ศ. 1517) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสแล่นเรือมาถึงเกาะไต้หวันและได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า เกาะฟอร์โมซา (Formosa; Ilha Formosa) เป็นภาษาโปรตุเกสแปลว่า "เกาะที่สวยงาม (Beautiful Island)"

ในปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) ชาวดัตช์เข้ามารุกรานและยึดครองเกาะไต้หวัน แล้วตั้งบ้านเมืองขึ้นที่ไถหนาน (Tainan) อีก 2 ปีต่อมา กองเรือสเปนยกกำลังเข้ามาบุกรุกแย่งเกาะไต้หวันไปครอง แต่ชาวดัตช์ได้ต่อสู้แย่งชิงเอาเกาะกลับคืนมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2184 (ค.ศ. 1641)

ในช่วงปี พ.ศ. 2203 (ค.ศ. 1660) จักรพรรดิจีนแห่งราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเริ่มเข้ามามีบทบาทในการครอบครองเกาะไต้หวัน ในที่สุดชาวจีนก็ได้ขับไล่ชาวดัตช์ออกไปจนได้ และผนวกเอาเกาะไต้หวันเข้าไปเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของมณฑลฝูเจี้ยน ซึ่งได้กลายเป็นแหล่งพักพิงให้ผู้อยู่อพยพจากจีนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวลาต่อมา

ญี่ปุ่นใช้กำลังแย่งเกาะไต้หวันไปจากจีนในปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) และได้ยึดครองจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ญี่ปุ่นแพ้สงครามและถูกฝ่ายสัมพันธมิตรบังคับให้ยกเกาะไต้หวันคืนให้กับจีน และผลจากสงครามกลางเมืองจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้รับชัยชนะและเข้ามามีอำนาจในจีนในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่ มาตั้งหลักที่เกาะไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปยึดอำนาจในจีนต่อไป

ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่เหมา เจ๋อตงมีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศจีนทั้งสองประเทศ คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนบนแผ่นดินใหญ่ กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ต่างแย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า

ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ ได้สูญเสียสมาชิกภาพ ในฐานะรัฐบาลตัวแทนของประชาชนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่ และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน ทั้งสหรัฐอเมริกาก็ได้ถอนการรับรองว่าไต้หวันมีฐานะเป็นรัฐ สถานะทางการเมืองของไต้หวันจึงซับซ้อนยุ่งยากตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม้เกาะไต้หวันจะปกครองตนเองด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ก็ไม่ได้มีสถานะเป็นประเทศเอกราช และกลายเป็นเกาะที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนถือว่า เป็นมณฑลหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งแค่รอเวลาที่จะกลับมารวมกับจีนแผ่นดินใหญ่อีกครั้ง และพรรคคอมมิวนิสต์จีนยังประกาศอีกว่า หากจำเป็น ก็จะใช้กำลังทางทหารเข้าจัดการ หากไต้หวันประกาศเอกราชแยกจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

ภูมิศาสตร์

ไต้หวันมีพื้นที่ประมาณ 36,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดพื้นที่เล็กกว่าไทยประมาณ 14 เท่า ประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่ รวม 172 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะไต้หวันหรือเกาะฟอร์โมซา รองลงมาได้แก่เกาะเผิงหู (Penghu) จินเหมิน (Kinmen) และมาจู่ (Matsu)

ไต้หวันจัดได้ว่ามีทรัพยากรธรรมชาติน้อยมาก ที่สำคัญได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินปูน หินอ่อนและใยหิน, ในอดีตเคยมีแร่ทองคำ หยก ถ่านหิน แต่ปัจจุบันถูกขุดจนหมดแล้ว

  • เมืองหลวง: ไทเป (Taipei) เป็นศูนย์กลางการค้า เศรษฐกิจ และการเงิน
  • เมืองท่า:
    • เกาสง (Kaohsiung) เป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุด และเป็นเขตอุตสาหกรรมหนัก อุตสาหกรรมน้ำมัน อุตสาหกรรมต่อเรือ และอุตสาหกรรมประมง
    • จีหลง (Keelung) เป็นท่าเรือสำคัญทางภาคเหนือ
  • เมืองเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ:
    • ไทจง (Taichung) เป็นศูนย์รวมสินค้าบริการ (สปา, ร้านอาหาร) สินค้าเครื่องจักรกล, และเป็นท่าเรือสำคัญทางภาคกลาง
    • ซินจู๋ (Hsin Chu) เป็นเขตอุตสาหกรรมไฮเทค

ประชากร

จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2552 ไต้หวันมีประชากรทั้งสิ้น 23,063,027 คน, ชาวไต้หวันส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยนและกวางตุ้งของจีนแผ่นดินใหญ่ มาตั้งรกรากในราว ศตวรรษที่ 18 และ 19 และมีชาวจีนแผ่นดินใหญ่อพยพมาอีกระลอกหนึ่งในช่วงหลังปี ค.ศ. 1945 ซึ่งมาพร้อมกับการถอยร่นของรัฐบาลก๊กมินตั๋งที่นำโดยนายพลเจียงไคเช็ค กล่าวได้ว่าเกือบทั้งหมดเป็นชาวจีนเชื้อสายฮั่น (Han) โดยมีชาวเผ่าพื้นเมือง ประมาณ 4 แสนกว่าคนเท่านั้น ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกกลืนทางด้านวัฒนธรรมและภาษาเกือบหมด จนรัฐบาลต้องอนุรักษ์วัฒนธรรม ของชนพื้นเมืองเหล่านั้นไว้

ประชากรที่มีความเชื่อทางศาสนามีประมาณ 18.72 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 81.8 ของประชากรทั้งหมด, โดยมีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดคือร้อยละ 43.2, รองลงมาได้แก่ลัทธิเต๋า ร้อยละ 40.6, อี้กวันเต้า (Yi Guan Dao), ร้อยละ 4.3 นิกายโปแตสแตนท์ ร้อยละ 3.2, นิกายโรมันคาทอลิคร้อยละ 1.6

ภาษาที่ใช้เป็นภาษาราชการคือ ภาษาจีนกลาง (Mandarin Chinese) ภาษาจีนฮกเกี้ยนแบบไต้หวัน (Minnanese or Taiwanese) ส่วนภาษาที่ใช้ในธุรกิจคือ ภาษาจีนกลาง ภาษาจีนไต้หวัน และ ภาษาอังกฤษ

การปกครอง

สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) มีการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด (Constitutional Democracy) และมีประธานาธิบดี (President) เป็นประมุขของประเทศ มีนายกรัฐมนตรี (Premier) เป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลบริหารประเทศ

อ้างอิง