ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สรพงศ์ ชาตรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kunluangjed (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 670: บรรทัด 670:
*เพชตัดเพชร 2544 รับบท มานพ ช่อง7
*เพชตัดเพชร 2544 รับบท มานพ ช่อง7
* [[ขุนทรัพย์แม่น้ำแคว]] (2544) ช่อง 7 รับบท มหาเหน่
* [[ขุนทรัพย์แม่น้ำแคว]] (2544) ช่อง 7 รับบท มหาเหน่
* ตกกระได หัวใจพลอยโจน (2545) ช่อง 3
* [[ตกกระได หัวใจพลอยโจน]] (2545) ช่อง 3
* [[เปรตวัดสุทัศน์]] (2546) ช่อง 7 รับบทเป็น พระธุดงค์มาก
* [[เปรตวัดสุทัศน์]] (2546) ช่อง 7 รับบทเป็น พระธุดงค์มาก
* [[ครูสมศรี]] (2546) ช่อง 7 รับบทเป็น นายสม
* [[ครูสมศรี]] (2546) ช่อง 7 รับบทเป็น นายสม
บรรทัด 678: บรรทัด 678:
* [[เล่ห์รตี]] (2547) ช่อง 5 รับบทเป็น พัทธพล
* [[เล่ห์รตี]] (2547) ช่อง 5 รับบทเป็น พัทธพล
* [[แหวนทองเหลือง]] (2547) ช่อง 7
* [[แหวนทองเหลือง]] (2547) ช่อง 7
* ขอพลิกฟ้าตามล่าเธอ (2547) ช่อง 3
* [[ขอพลิกฟ้าตามล่าเธอ]] (2547) ช่อง 3
* พ่อ..ตัวจริงของแท้ (2547) ช่อง 3
* พ่อ..ตัวจริงของแท้ (2547) ช่อง 3
* รอยลิขิต (2548) ช่อง 3
* รอยลิขิต (2548) ช่อง 3

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:32, 1 กุมภาพันธ์ 2561

สรพงษ์ ชาตรี
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด8 ธันวาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
สรพงศ์ ชาตรี
คู่สมรสทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์
พิมพ์จันทร์ ใจวงศ์
ดวงเดือน จิไธสงค์
อาชีพนักแสดง
ผลงานเด่นหมอกานต์ จาก เขาชื่อกานต์ (2516)
ไอ้ขวัญ จาก แผลเก่า (2520)
จ่าแร่ม จาก มือปืน 2 สาละวิน (2536)
นายอำเภอวู้ดดี้ จาก ทอย สตอรี่ 1, 2, 3 (2538-2553)
จ่าเวศ จาก ตะวันตัดบูรพา (2558) "หมื่นราชเสน่หานอกราชการ/พระยาภักดีนุชิต" จาก สุริโยไท (2544) "พระมหาเถรคันฉ่อง" จาก ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2550-2559) "พระพิชัย/ท่านพระ" จาก พันท้ายนรสิงห์ (2558) "พระสุวรรณราชา" จากสายโลหิต (2538-2539)
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2551 - สาขาศิลปะการแสดง (นักแสดงภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์)
พระสุรัสวดีนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2518/19 - สัตว์มนุษย์
พ.ศ. 2520 - ชีวิตบัดซบ
พ.ศ. 2526 - มือปืน
พ.ศ. 2536 - มือปืน 2 สาละวิน

พ.ศ. 2539 - เสียดาย 2
สุพรรณหงส์นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2524 - ถ้าเธอยังมีรัก
พ.ศ. 2526 - มือปืน
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2551 - องค์บาก 2
ชมรมวิจารณ์บันเทิงนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม

พ.ศ. 2536 - สาละวิน

พ.ศ. 2551 - องค์บาก 2
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

สรพงษ์ ชาตรี หรือชื่อจริง กรีพงษ์ เทียมเศวต[1] หรือ พิทยา เทียมเศวต ชื่อเล่น เอก นักแสดงชายชั้นแนวหน้าของไทย ผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ในปี พ.ศ. 2551 และในปี พ.ศ. 2552 ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ศิลปศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา[2] ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ประธานมูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมตตาบารมี อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา

ประวัติ

สรพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จบชั้น ป.4 แล้วบวชเรียนตั้งแต่อายุ 8 ปี ที่วัดเทพสุวรรณ พระนครศรีอยุธยา และวัดดาวดึงส์ บางยี่ขัน ธนบุรี จนกระทั่งลาสิกขาบทเมื่อ พ.ศ. 2512

สรพงษ์ ชาตรี มีบุตรทั้งหมด 4 คน คือ พิมพ์อัปสร (ขวัญ), พิศุทธินี (เอิง), พิศรุตม์ (เอม) และพิทธกฤต เทียมเศวต (อั้ม) ซึ่งพิมพ์อัปสร บุตรคนแรกเกิดแต่ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ ส่วนบุตรคนที่สองถึงสี่เกิดแต่พิมพ์จันทร์ ใจวงศ์ (แอ๊ด)[3][4] ปัจจุบันสมรสกับ ดวงเดือน จิไธสงค์ รองมิสไทยแลนด์เวิลด์ พ.ศ. 2529 และรองนางสาวไทย พ.ศ. 2530

การเริ่มงานแสดง

เมื่ออายุได้ 19 ปี และได้พบกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งชักชวนให้มาอาศัยอยู่ที่วังละโว้ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

สรพงษ์ เริ่มงานแสดงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2512 เป็นตัวประกอบ และเป็นเด็กยกของในกองถ่ายละครเรื่อง นางไพรตานี ฉายทางช่อง 7 และเล่นเป็นตัวประกอบในละคร ห้องสีชมพู และ หมอผี ซึ่งหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้กำกับหลังจากเดินทางกลับจากเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา

ชื่อ สรพงษ์ ชาตรี ที่ใช้ในการแสดง ผู้ตั้งให้คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ และหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา โดยคำว่า "สร" มาจาก อนุสรมงคลการ, "พงศ์" มาจาก สุรพงศ์ โปร่งมณี (ผู้พามาฝากตัวกับหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม) และ "ชาตรี" มาจาก ชาตรีเฉลิม

สรพงษ์ ชาตรี รับบทพระเอกครั้งแรก ในภาพยนตร์เรื่อง มันมากับความมืด (พ.ศ. 2514) ผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม จากนั้นได้รับบทในภาพยนตร์ของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม แทบทุกเรื่อง ทั้งบทพระเอก พระรอง ตัวประกอบ และเป็นผู้ช่วยผู้กำกับในบางครั้ง มีผลงานแสดงกว่า 500 เรื่อง ได้รางวัลตุ๊กตาทองครั้งแรกจากเรื่อง ชีวิตบัดซบ และ สัตว์มนุษย์ สองปีติดต่อกัน และมีชื่อเสียงในต่างประเทศจากเรื่อง แผลเก่า (พ.ศ. 2520) กำกับโดยเชิด ทรงศรี นับว่าประสบความสำเร็จสูงสุด

สรพงษ์ ได้รับรางวัลทางการแสดงจากหลายสถาบัน เช่น รางวัลตุ๊กตาทองพระสุรัสวดี ดารานำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง สัตว์มนุษย์ ชีวิตบัดซบ มือปืน มือปืน 2 สาละวิน เสียดาย 2 รางวัลสุพรรณหงส์ ดารานำชายยอดเยี่ยม จากภาพยนตร์เรื่อง ถ้าเธอยังมีรัก มือปืน และนักแสดงประกอบชายจากเรื่อง องค์บาก 2 ส่วนรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง นักแสดงชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง มือปืน 2 สาละวิน

ผลงานแสดง

ภาพยนตร์

ละครโทรทัศน์

ไฟล์:ไอ้ขวัญ-อีเรียม.jpg
สรพงศ์ ชาตรี รับบทไอ้ขวัญ จากเรื่อง แผลเก่า คู่กับนันทนา เงากระจ่าง

งานพากย์

ผลงานเพลง

โฆษณา

  • รณรงค์เพื่อความปลอดภัยในการใช้ทางม้าลายหรือสะพานลอย คณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี[2]
  • ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร Air - x
  • โฆษณาสูงอายุ สุขใจ จาก Allianz Direct [สูงอายุ สุขใจ]

รางวัล

  • เจ้าของ 5 รางวัลตุ๊กตาทอง จากการเข้าชิง ดารานำชาย 14 ครั้งติดต่อกัน ระหว่าง พ.ศ. 2517 - 2539
    • ชีวิตบัดซบ (2518) กำกับโดย เพิ่มพล เชยอรุณ
    • สัตว์มนุษย์ (2519) กำกับโดย ฉลอง ภักดีวิจิตร
    • มือปืน (2526) กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
    • มือปืน 2 สาละวิน (2536) กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
    • เสียดาย 2 (2539) กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
  • รางวัลตุ๊กตาทอง ตัวที่ 6 ดาราสมทบชาย จาก
    • องค์บาก 2 (2551) กำกับโดย จา พนม ยีรัมย์
    • และได้รางวัล Nine Entertain Awards 2008 ตัวที่ 1 บันเทิงเทิดธรรม
  • เจ้าของ 2 รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ จากการเข้าชิง 9 ครั้งติดต่อกัน ระหว่าง พ.ศ. 2522 - 2545
    • ถ้าเธอยังมีรัก (2524) กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
    • มือปืน (2526) กำกับโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
  • รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ตัวที่ 3 ดาราสมทบชาย จาก
  • เป็นพระเอกที่ได้เข้าชิง และได้รับรางวัลมากที่สุด จาก 2 สถาบันหลักของประเทศไทย คือ สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง (พระสุรัสวดี)และ สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ (สุพรรณหงส์)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. "'แม่ผ่องศรี' ชู 'ในหลวง' ต้นแบบสู้วิกฤติน้ำท่วม" (Press release). ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. สรพงษ์ ปลื้มเตรียมรับพระราชทานปริญญา 29 พ.ย. นี้
  3. http://www.chiangmaithailand.tht.in/aticle98.html
  4. http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=2851&page=9&keyword=
  5. http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=1859&page=8&keyword=
  6. http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=6065&page=2&keyword=
  7. http://www.thaifilmdb.com/th/tt01388
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พ.ศ. 2524 เล่ม, 98 ตอนที่ 206, 17 ธันวาคม 2524, ฉบับพิเศษ หน้า 3021.
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ประจำปี 2552 เล่ม 126, ตอนที่ 17 ข, 5 ธันวาคม 2552, หน้า 126.

แหล่งข้อมูลอื่น