ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาณาจักรละโว้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 5: บรรทัด 5:


== '''ประวัติ''' ==
== '''ประวัติ''' ==
ตามข้อมูลที่ปรากฏ เกี่ยวกับเมืองละโว้   มีข้อมูลอยู่ในพงศาวดารเหนือพอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๐๐๒ แล้ว มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ทางภาคกลางในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่ชัยนาทลงมาจนถึงเขตประจวบคีรีขันธ์ ทางด้านตะวันตก จดมะริด ทวาย ด้านตะวันออกจดนครราชสีมา
ตามข้อมูลที่ปรากฏ เกี่ยวกับเมืองละโว้   มีข้อมูลอยู่ในพงศาวดารเหนือพอจะสรุปไ[[ด้านมืดของพลัง|ด้]]ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๐๐๒ แล้ว มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ทางภาคกลางในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่ชัยนาทลงมาจนถึงเขตประจวบคีรีขันธ์ ทางด้านตะวันตก จดมะริด ทวาย ด้านตะวันออกจดนครราชสีมา


ลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวารวดีมาก่อนเคยมีความรุ่งเรืองในด้านพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ ตำนานบูลศาสน์ กล่าวว่าพระเจ้ากรุงละโว้ได้ส่ง พระนางจามเทวี ราชธิดาไปครอง เมืองหิริภุญชัย (ลำพูน)เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ
ลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวารวดีมาก่อนเคยมีความรุ่งเรืองในด้านพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ ตำนานบูลศาสน์ กล่าวว่าพระเจ้ากรุงละโว้ได้ส่ง พระนางจามเทวี ราชธิดาไปครอง เมืองหิริภุญชัย (ลำพูน)เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:02, 22 มกราคม 2561

อาณาจักรละโว้ บ้างเรียก ลวรัฐ หรือ ละโว้โยทิยา[1] เป็นอาณาจักรโบราณในมณฑลอำนาจแห่งหนึ่งในอดีต ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถาปนาขึ้นราวปลายยุคทวารวดี แรกเริ่มมีศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ลวปุระ (ปัจจุบันคือเมืองลพบุรี) ต่อมาย้ายไปที่อโยธยา (ปัจจุบันคือเมืองอโยธยา) ซึ่งต่อมาได้ถูกสถาปนาเป็นอาณาจักรอยุธยา

ประวัติ

ตามข้อมูลที่ปรากฏ เกี่ยวกับเมืองละโว้   มีข้อมูลอยู่ในพงศาวดารเหนือพอจะสรุปได้ว่าเมืองละโว้มีมาตั้งแต่ พ.ศ. ๑๐๐๒ แล้ว มีเมืองลพบุรีเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ทางภาคกลางในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตตั้งแต่ชัยนาทลงมาจนถึงเขตประจวบคีรีขันธ์ ทางด้านตะวันตก จดมะริด ทวาย ด้านตะวันออกจดนครราชสีมา

ลพบุรีเคยเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรทวารวดีมาก่อนเคยมีความรุ่งเรืองในด้านพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ ตำนานบูลศาสน์ กล่าวว่าพระเจ้ากรุงละโว้ได้ส่ง พระนางจามเทวี ราชธิดาไปครอง เมืองหิริภุญชัย (ลำพูน)เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ

จากการขุดค้นทางโบราณคดีปรากฏว่าตั้งแต่อำเภอชัยบาดาล ถึงอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรีล้วนแต่มีหลักฐานเกี่ยวกับมนุษย์ในอดีตที่ยาวนานมาแล้วจากชุมชนขนาดย่อมขยายเป็นเมืองเล็กๆ จนกระทั่งรวมตัวกันเป็นอาณาจักรหรือเขตปกครองที่เป็นส่วนย่อยของประเทศราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๒ ละโว้กลายเป็นอาณาจักรหรือเมืองขนาดใหญ่แล้วและในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ อาณาจักรละโว้มีความรุ่งเรืองอย่างมากโดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนา

อาณาจักรละโว้ มีความเจริญมากขึ้นเรื่อยๆจนมีอิทธิพลครอบคลุมดินแดนภาคกลางตอนบนตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์เรื่อยมาจนถึงภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยบางส่วนศูนย์กลางของอาณาจักรละโว้ในตอนต้นสันนิษฐานว่าอยู่ที่เมืองลพบุรี และประมาณพุทธศตวรรษที่๑๗ ได้ย้ายมาอยู่ที่เมืองอโยธยา ภายหลังต่อมาเมื่อใน พ.ศ. ๑๘๙๓ ได้มีการสถาปนาอาณาจักรอยุธยาขึ้นนั้นให้ละโว้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา

เมื่อเทียบเคียงกับอาณาจักรร่วมสมัยก็จะพบว่าอาณาจักรละโว้อยู่ในยุคเดียวกันกับอาณาจักรทวารวดี และอาณาจักรเจนละพื้นที่อิทธิพลบางส่วนก็ถือว่าเป็นพื้นที่เดียวกันประกอบกับตามหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีบ่งบอกว่า ทวารวดีได้รับอิทธิพลจากอินเดียหลายอย่าง เช่นด้านการปกครอง รับความเชื่อเรื่องการปกครองโดยกษัตริย์สันนิษฐานว่าการปกครองสมัยทวารวดีแบ่งออกเป็นแคว้น มีเจ้านายปกครองตนเองแต่มีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติการแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็นชนชั้นปกครองกับชนชั้นที่ถูกปกครอง

จึงมีความเป็นไปได้ว่าละโว้ก็เป็นแคว้นหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของอาณาจักรทวารวดีดังนั้นข้อมูลบางประการที่ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับอาณาจักรละโว้อาจจะเป็นข้อมูลของอาณาจักรทวารวดี ขณะเดียวกันข้อมูลบางประการที่เกี่ยวกับอาณาจักรทวารวดีก็อาจจะหมายถึงข้อมูลของอาณาจักรละโว้ก็เป็นไปได้ แต่การเสื่อมอำนาจของทั้งสองอาณาจักรนี้ไม่พร้อมกันก็น่าจะเป็นเพราะการขยายอำนาจของขอมนั้นค่อยๆลิดรอนอำนาจเดิมในพื้นที่ด้วยการตีเอาเมืองต่างๆของอาณาจักรทวารวดีไปที่ละเมืองสองเมือง จึงทำให้ความเป็นอาณาจักรทวารวดีสูญสิ้นไปก่อน ความเป็นอาณาจักรละโว้

หลังจากพุทธศตวรรษที่๑๖ เป็นต้นมา อาณาจักรขอมได้ขยายอิทธิพลเข้ามายังบริเวณนี้ ทำให้ความสำคัญของอาณาจักรละโว้ลดลงอิทธิพลศิลปวัฒนธรรมของขอมได้แพร่เข้ามาในดินแดนประเทศไทยโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา และเลยมาทางตะวันตกได้แก่ ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี และในช่วงเวลาดังกล่าวละโว้เป็นศูนย์กลางที่สำคัญทางภาคกลางจึงได้รับอิทธิพลศิลปะขอม โดยนำมาผสมผสานรูปแบบให้เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ได้แก่พระปรางค์สามยอด และเทวสถานปรางค์แขก จังหวัดลพบุรีแม้จะมีลักษณะสถาปัตยกรรมรูปพระปรางค์ตามขอมแต่เป็นการสร้างเลียนแบบขอมเท่านั้นเอง ทางด้านประติมากรรมศิลปะลพบุรีมักมีส่วนผสมกับศิลปะทวารวดี ทั้งนี้เพราะถิ่นที่ตั้งของอาณาจักรละโว้ก็เป็นพื้นที่ของอาณาจักรทวารวดี ที่อยู่ร่วมสมัยกัน

ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่๑๗ การค้าขายระหว่างอาณาจักรละโว้กับจีนเจริญรุ่งเรืองขึ้นแต่เนื่องจากอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมกว่าศูนย์กลางการค้าขายจึงเปลี่ยนจากลพบุรีไปอยู่ที่อยุธยาและในที่สุดเมื่อพระเจ้าอู่ทองสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรละโว้ก็ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา จึงเป็นอันสิ้นสุดความเป็นอาณาจักรละโว้ ตั้งแต่นั้นมา

การเปลี่ยนแปลงดินแดน

พื้นที่อาณาจักรละโว้จะระบายด้วยสีฟ้า

อ้างอิง

  1. จิตร ภูมิศักดิ์. ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : ชนนิยม. 2556, หน้า 120