ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหิดล"

พิกัด: 13°47′36″N 100°19′21″E / 13.793406°N 100.322514°E / 13.793406; 100.322514
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
Payajam (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 637: บรรทัด 637:
| width="10%" |<small>'''QS GER''' (2018)</small>|| width="5%" |<small>2(301-500)</small>
| width="10%" |<small>'''QS GER''' (2018)</small>|| width="5%" |<small>2(301-500)</small>
|-
|-
| width="10%" |<small>'''UI Green (Overall)''' (2016)</small>|| width="5%" |<small>1(86)</small>
| width="10%" |<small>'''UI Green (Overall)''' (2017)</small>|| width="5%" |<small>1(86)</small>
|-
|-
| width="10%" |<small>'''Webometrics''' (2017)</small> || width="5%" |<small>2(551)</small>
| width="10%" |<small>'''Webometrics''' (2017)</small> || width="5%" |<small>2(551)</small>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:02, 16 ธันวาคม 2560

มหาวิทยาลัยมหิดล
ไฟล์:Logo Mahidol.png
ชื่อย่อม.มหิดล / MU
คติพจน์อตฺตานํ อุปมํ กเร (พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง)
Wisdom of the Land (ปัญญาของแผ่นดิน)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ
สถาปนา2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (81 ปี)[1]
2 มีนาคม พ.ศ. 2512 (55 ปี) (วันพระราชทานนาม)
อธิการบดีศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ
อธิการบดีศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ
อุปนายกสภาฯศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ไกรสิทธิ์ ตันติศิรินทร์
ผู้ศึกษา32,675 คน[2] (ปีการศึกษา 2558)
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

เลขที่ 999 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร เลขที่ 272 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
วิทยาเขตมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เลขที่ 199 หมู่ 9 ถนนแสงชูโต ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ เลขที่ 402/1 หมู่ 5 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 60130

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ เลขที่ 259 หมู่ 13 ถนนชยางกูร ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ 37000
สี  สีน้ำเงิน[3]
เครือข่ายAUN, ASAIHL
เว็บไซต์เว็บไซต์มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล (อังกฤษ: Mahidol University; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์[1] และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งประกาศในราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512[4]

มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย จากการจัดอันดับของสำนักจัดอันดับหลายสำนัก และได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น แพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2552 และเป็นสมาชิก เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน(AUN)

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 17 คณะ 6 วิทยาลัย 9 สถาบัน 3 วิทยาเขต และหน่วยงานต่าง ๆ รวมทั้งหมด 629 หลักสูตร โดยมีที่ตั้งหลายพื้นที่ ได้แก่มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร(ประกอบด้วยพื้นที่บางกอกน้อย พญาไทและวิทยาลัยการจัดการ) มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ และมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

อดีตผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล

ประวัติ

ดูบทความหลักที่ ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเป็นมาจากโรงศิริราชพยาบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง[5] ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล และตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร"[6] จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า "โรงเรียนราชแพทยาลัย" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460[7] โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้น โดยที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติว่า สมควรกำหนดฐานะระเบียบแบบแผนสำหรับการศึกษาในกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ กระทรวงการสาธารณสุข โดยแยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"[8] สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน บัณฑิตวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท และคณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ตามลำดับ ต่อมาได้มีการปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยการโอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนต่างๆ ออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คืนไปยังต้นสังกัดเดิม ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ไปเป็น คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนกลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม[9]

เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล[10] เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนภายในคณะ วิทยาลัย สถาบัน และหน่วยงานต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

ตราประจำมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ไฟล์:PB140182.jpg
ดอกกันภัยมหิดล

ตรามหาวิทยาลัย เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 ทางมหาวิทยาลัยได้ใช้ตราวงกลม 2 ชั้น ภายในเป็นรูปงูพันคบเพลิง วงนอกด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยเรื่อยมา

จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยมหิดล" เป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อเดิม ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยให้นายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน เป็นผู้ออกแบบและอาจารย์กอง สมิงชัย เป็นผู้ช่วยร่างแบบ เมื่อออกแบบเสร็จแล้วจึงนำเสนอทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง ในการปรับแก้ไขตรีและพระมหามงกุฏของตราให้เป็นแบบไทยและพระราชทานตราให้แก่มหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[11] ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม 2 ชั้น โดยวงกลมชั้นในมีพื้นหลังเป็นสีน้ำเงิน ตรงกลางเป็นตราประจำราชสกุลมหิดลสีเหลืองทอง ส่วนวงกลมชั้นนอกนั้นมีพื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีเหลืองทองด้านบนเขียนว่า "อตฺตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" คั่นด้วยดอกประจำยามสีเหลืองทอง[12]

สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีน้ำเงินแก่ เป็นสีแห่งความเป็นราชขัติยนุกูลแห่งบรมราชวงศ์ ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชทานเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2512[13]

ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ ต้นกันภัยมหิดล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ประทานพระราชวินิจฉัยชี้ขาดให้ "ต้นกันภัยมหิดล" เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[14]

ทำเนียบอธิการบดี

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อำมาตย์ตรี พระอัพภันตราพาธพิศาล (กำจร พลางกูร) 12 มีนาคม พ.ศ. 2485 - 16 เมษายน พ.ศ. 2488
2. ศาสตราจารย์อุปการคุณ นายแพทย์ หลวงเฉลิมคัมภีร์เวชช์ (เฉลิม พรหมมาส) 17 เมษายน พ.ศ. 2488 - 15 กันยายน พ.ศ. 2500
3. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ หลวงพิณพากย์พิทยาเภท (พิณ เมืองแมน) 16 กันยายน พ.ศ. 2500 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2501
4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สวัสดิ์ แดงสว่าง 16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2507
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชวาล โอสถานนท์ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2507 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2512
มหาวิทยาลัยมหิดล
อธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
5. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ชัชชวาล โอสถานนท์ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2512 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 [15]
6. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ กษาน จาติกวนิช 9 ธันวาคม พ.ศ. 2514 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2516 (วาระที่ 1) [16]

9 ธันวาคม พ.ศ. 2516 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2518 (วาระที่ 2) [17]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2518 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2520 (วาระที่ 3) [18]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2520 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2522 (วาระที่ 4) [19]

7. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2522 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2534 (วาระที่ 1) [20]

9 ธันวาคม พ.ศ. 2524 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2526 (วาระที่ 2) [21]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2526 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2528 (วาระที่ 3) [22]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2528 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2530 (วาระที่ 4) [23]
9 ธันวาคม พ.ศ. 2530 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2534 (วาระที่ 5) [24]

8. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์ ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี 9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538 [25]
9. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542 [26]
10. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (วาระที่ 1) [27]

9 ธันวาคม พ.ศ. 2546 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (วาระที่ 2) [28]

11. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร 9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554 [29]
12. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน 26 มกราคม พ.ศ. 2555 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 [30]
13. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ อุดม คชินทร 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 [31]
14. ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ รักษาการ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน [32]

ที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล มีที่ตั้งหลายแห่ง ได้แก่ [33]

ไฟล์:Music.mahidol.jpg
การเรียนการสอนของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร ได้แก่
    • มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย ตั้งอยู่ ณ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ เป็นที่ตั้งที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2432
    • มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท ตั้งอยู่ ณ แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี มี 3 บริเวณย่อย ได้แก่
      • บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา และอาคารสำนักคอมพิวเตอร์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      • บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะทันตแพทยศาสตร์
      • บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์
    • วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ ณ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท
    • ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่ ณ แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด
  • มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตั้งอยู่ ณตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นที่ตั้งของคณะกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยราชสุดา วิทยาลัยศาสนศึกษา โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดีของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงแรม Salaya Pavilion ของวิทยาลัยนานาชาติ โรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล และหน่วยงานอื่นๆ
  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตั้งอยู่ ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ ณ ตำบลโนนหนามแท่ง อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ

โครงสร้างการบริหารและการศึกษา

ภูมิทัศน์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 629 สาขาวิชา ข้อมูลสิ้นสุดสภามหาวิทยาลัยมหิดล ครั้งที่ 512 (9/2559) วันที่ 21 กันยายน 2559 [34] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ[35] ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด [36] และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล[37]

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนงานและกลุ่มภารกิจในสังกัด ประกอบด้วย สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี 17 คณะ 9 สถาบัน 6 วิทยาลัย 2 ศูนย์ และ 3 วิทยาเขต [38] นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบอีกหลายแห่ง ซึ่งนักศึกษาของบางสถาบันเข้าร่วมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยมหิดล ในขณะที่บางสถาบันมีหลักสูตรเป็นเอกเทศ[39] ประกอบด้วยหน่วยงาน ดังนี้

สำนักงานสภามหาวิทยาลัยมหิดล

สำนักงานอธิการบดี

คณะ

วิทยาลัย

สถาบัน

ศูนย์

  • ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา
  • ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

กลุ่มภารกิจ

วิทยาเขต

สถาบันสมทบ/สถาบันร่วม

การบริการ

โรงพยาบาล

ไฟล์:ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์.jpg
โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

โรงแรม

  • โรงแรม Salaya Pavilion เป็นโรงแรมของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดของนักศึกษาในสาขา Travel Industry Management และเปิดให้บุคคลภายนอกใช้บริการ มี 150 ห้องพัก ระบบอำนวยความสะดวกและความบันเทิงครบตามมาตรฐานโรงแรมชั้นนำของประเทศ มีห้องจัดสัมมนาและการประชุมอย่างสมบูรณ์แบบ [42]

หอสมุดและคลังความรู้

ห้องสมุดมหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติพัฒนาการเช่นเดียวกับพัฒนาการของมหาวิทยาลัย กล่าวคือ มีฐานเดิมจากแผนกห้องสมุด สำนักงานเลขานุการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ตามหลักฐานปรากฏว่า มี "ห้องอ่านหนังสือ" ของโรงแพทยากร ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 จึงได้ตั้งเป็น "ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์" ในปี พ.ศ. 2499 ตามกฤษฎีกาการจัดวางระเบียบราชการของกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ห้องสมุดมีฐานะเป็น "แผนก ห้องสมุด" ในสำนักงานเลขานุการ กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลด้วย

เมื่อแผนกห้องสมุดได้รับการยกฐานะเป็น "กองห้องสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 4 สิงหาคม 2520 โดยมีฐานที่ตั้งอยู่ที่หอสมุดศิริราช และในเวลาต่อมากองห้องสมุดได้รับการสถาปนา เป็น "สำนักหอสมุด" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 103 ตอนที่ 140 วันที่ 8 สิงหาคม 2529 มีฐานะเทียบเท่าคณะโดยรวมห้องสมุดคณะ สถาบัน ต่างๆ ในมหาวิทยาลัยให้มีการดำเนินงานที่เป็นรูปแบบในมาตรฐานเดียวกัน ลดการจัดตั้งห้องสมุดใหม่และให้ใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกันอย่างคุ้มค่ามหาวิทยาลัยได้มีนโยบายย้ายสำนักงานผู้อำนวยการสำนักหอสมุดจากอาคารหอสมุดศิริราชไปที่อาคารหอสมุดศาลายา

ปัจจุบันสำนักหอสมุดให้บริการวิชาการเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการค้นคว้าวิจัยของอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรตามหลักสูตรและนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยดำเนินงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติเชื่อมโยงห้องสมุดต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน มีทรัพยากรห้องสมุดในรูปแบบหลากหลาย โดยการจัดหาในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สามารถให้บริการแบบบูรณาการแก่ห้องสมุดเครือข่ายทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย

โอกาสที่มหาวิทยาลัยปรับระบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจึงมีการปรับส่วนงานเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2552 สภามหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีประกาศการแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีการ เปลี่ยนชื่อ "สำนักหอสมุด" เป็น "หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล" เป็นส่วนงานหนึ่งในระดับคณะ นับเป็นก้าวสำคัญอีกครั้งในการปรับพันธกิจของ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยในยุคข้อมูลข่าวสารและสังคมฐานความรู้ [43]

พื้นที่ศาลายา


พื้นที่บางกอกน้อย


พื้นที่พญาไท-วิทยาลัยการจัดการ-วิทยาลัยนานาชาติ(สาทร)


วิทยาเขตและอื่นๆ

พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุแห่งปัญญา

มหาวิทยาลัยมหิดล ถือกำเนิดขึ้นเพื่อจัดการเรียนการสอน สร้างงานด้านวิชาการ การวิจัย และการบริการแก่สังคมไทยมานานกว่า ๑๒๗ ปี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนานของมหาวิทยาลัยได้เดินทางไปพร้อมกับการสั่งสมคุณค่าทางปัญญานานัปการ จนเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการของไทยและนานาชาติอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของมหาวิทยาลัย จึงมีนโยบายพัฒนางานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยสนับสนุนการทำงานเป็นเครือข่าย และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีงานจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลมีหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ที่เปิดให้บริการเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาและเผยแพร่เกียรติคุณของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์สืบไป [44]

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศาลายา

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พิ้นที่บางกอกน้อย

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2558
  • พิพิธภัณฑ์พยาธิวิทยาเอลลิส
  • พิพิธภัณฑ์นิติเวชศาสตร์ สงกรานต์ นิยมเสน
  • พิพิธภัณฑ์และห้องปฏิบัติการเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ สุด แสงวิเชียร
  • พิพิธภัณฑ์ปรสิตวิทยา
  • พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์คองดอน
  • พิพิธภัณฑ์สัมผัส เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ
  • ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก
  • ห้องมหิดลอดุลเดช หอสมุดศิริราช
  • หอจดหมายเหตุศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
  • พิพิธภัณฑ์ประวัติการพยาบาลไทย
  • พิพิธภัณฑ์ศิริราชพิมุขสถาน

หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ พื้นที่พญาไท

http://muarms.mahidol.ac.th/ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พิพิธภัณฑ์สตางค์ มงคลสุข
  • หอเกียรติยศนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น
  • หอเกียรติยศอาจารย์ดีเด่น
  • พิพิธภัณฑ์ยุงและคลังตัวอย่างแมลงและสัตว์ขาข้อ
  • เส้นทางศึกษาชีววิทยาและธรณีศาสตร์
  • พิพิธภัณฑ์เครื่องมือวิทยาศาสตร์
  • พิพิธภัณฑ์หอย
  • หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี
  • สิรินธรทันตพิพิธ
  • พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้โรคเขตร้อน
  • พิพิธภัณฑ์พืชสมุนไพร


หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ วิทยาเขตกาญจนบุรี

  • พิพิธภัณฑ์พืชแห่งภาคตะวันตก

สถานีโทรทัศน์

Mahidol Channel

เป็นการนำเสนอเนื้อหาจาก 17 คณะ 6 วิทยาลัย 7 สถาบัน ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ คณะทันตแพทยศาสตร์, คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะเทคนิคการแพทย์, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน, คณะพยาบาลศาสตร์, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะสาธารณสุขศาสตร์, คณะเภสัชศาสตร์, คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย, คณะศิลปศาสตร์, คณะกายภาพบำบัด และคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, วิทยาลัยการจัดการ, วิทยาลัยราชสุดา, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์, วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, วิทยาลัยนานาชาติ และ วิทยาลัยศาสนศึกษา, สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้, สถาบันโภชนาการ, สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน, สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย[45][46]

รางวัล

เว็บไซต์ Youtube มอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่มหิดลแชนแนล (Mahidol Channel) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ช่องของสถาบันการศึกษาของไทยเพียงแห่งเดียวที่ได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณเพื่อการันยอดผู้ติดตาม (subscribe) ถึง 100,000 subscribe และยอดการเข้าชมถึง 29,000,000 views (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ตุลาคม 2558)

มหิดลแชนแนล (Mahidol Channel) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล กำลังก้าวขึ้นสู่ปีที่ 4 เรายังคงมุ่งมั่นที่จะผลิตรายการสาระความรู้ดีๆ เพื่อผู้ชมทุกท่าน ดั่งปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ว่า “ปัญญาของแผ่นดิน” [47]

งานวิจัย

มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย โดยในปัจจุบันมีกลุ่มงานวิจัยใน 5 สาขาหลักด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม[48] เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2549 [49] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ[50] และเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศ[51]


อันดับและมาตรฐานของมหาวิทยาลัย

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
CWTS (2016) 2(440)
CWUR (2016) 2(522)
Nature Index (2016) 2 (-)
QS (Asia) (2018) 2(58)
QS (World) (2018) 2(334)
RUR (2016) 2(484)
RUR reputation (2016) 3(385)
RUR research (2016) 3(457)
SIR (2016) 1(450)
THE (Asia-Pacific) (2017) 1(101-110)
THE (Asia) (2017) 1(97)
THE (World) (2018) 1(501-600)
THE (BRICS) (2017) 1(76)
URAP (2016-2017) 1(432)
U.S. News (2018) 1(509)

การประเมินคุณภาพมหาวิทยาลัย

ใน พ.ศ. 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย"[52] โดยในภาพรวมผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดด้านการวิจัยและกลุ่มดัชนีชี้วัดตามด้านการเรียนการสอน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทยได้คะแนน 61.11% จากคะแนนเต็ม 80% และเป็นอันดับ 1 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยได้คะแนน 100.00% จากคะแนนเต็ม 100%[53]

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษา ผลปรากฏว่าในการการประเมินครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2553) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ,สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา, สาขาวิชาเคมี ภาคเคมี, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ,สาขาวิชาศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์, สาขาวิชากายภาพบำบัด ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาอายุรศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และในการประเมินครั้งที่ 3 (พ.ศ. 2554) มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการประเมินในระดับดีมากในสาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ, สาขาวิชาฟิสิกส์ ภาควิชาฟิสิกส์, สาขาวิชาพรีคลินิก ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา พยาธิชีววิทยา และเภสัชวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สาขาวิชาจุลชีววิทยาและอณูชีววิทยา สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชาเภสัชศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล[54][55]


การจัดอันดับมหาวิทยาลัย

นอกจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยหน่วยงานในประเทศไทยแล้ว ยังมีหน่วยงานจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศอีกหลายหน่วยงาน ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีเกณฑ์การจัดอันดับและการให้คะแนนที่แตกต่างกัน ได้แก่


การจัดอันดับโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย Centrum voor Wetenschap en Technologie Studies หรือ CWTS Leiden University ประจำปี 2016 ของประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏชื่ออยู่ในฐานข้อมูล Web of Science database มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 440 ของโลก[56]


การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings

การจัดอันดับโดย Center for World University Rankings หรือ CWUR ที่มีเกณฑ์การจัดอันดับคือ คุณภาพงานวิจัย บัณฑิตที่จบไป คุณภาพการศึกษา คุณภาพของอาจารย์ และภาควิชาต่าง ๆ ประจำปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 522 ของโลก[57]


การจัดอันดับโดย Nature Index

Nature Index ซึ่งจัดโดยวารสารในเครือ Nature Publishing Group ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงชั้นนำของโลก โดยการนับจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ต่อปีในวารสารที่ในเครือ Nature Publishing Group สำหรับปี 2016 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย[58][59]


การจัดอันดับโดย Quacquarelli Symonds

แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ QS จัดอันดับมหาวิทยาลัยในสองส่วน คือ การจัดอันดับเป็นระดับโลก(QS World University Rankings) และระดับทวีปเอเชีย(QS University Rankings: Asia) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

QS World

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ จากการสำรวจมหาวิทยาลัยทั่วโลก ผลของการสำรวจคัดกรองจาก สาขาที่ได้รับการตอบรับว่ามีความเป็นเลิศโดยมหาวิทยาลัยสามารถส่งสาขาให้ได้รับการคัดเลือกตั้งแต่ 2 สาขาขึ้นไป โดยจะมีผู้เลือกตอบรับเพียงหนึ่งสาขาจากที่มหาวิทยาลัยเลือกมา
  2. การสำรวจผู้ว่าจ้าง เป็นการสำรวจในลักษณะคล้ายกับในด้านชื่อเสียงทางวิชาการแต่จะไม่แบ่งเป็นคณะหรือสาขาวิชา โดยนายจ้างจะได้รับการถามให้ระบุ 10 สถาบันภายในประเทศ และ 30 สถาบันต่างประเทศที่จะเลือกรับลูกจ้างที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันนั้น ๆ รวมถึงคุณสมบัติสำคัญที่ต้องการ 2 ข้อ
  3. งานวิจัยที่อ้างต่อ 1 ชิ้นรายงาน โดยข้อมูลที่อ้างอิงจะนำมาจาก Scopus ในระยะ 5 ปี
  4. H-index ซึ่งคือการชี้วัดจากทั้งผลผลิต และ อิทธิพลจากการตีพิมพ์ผลงานทั้งจากนักวิทยาศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 334 ของโลก[60]

น้ำหนักการชี้วัด การแบ่งคะแนนจะต่างกันในแต่ละสาขาวิชา เช่น ทางด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีอัตราการเผยแพร่งานวิจัยสูง การวัดการอ้างอิงและh-index ก็จะคิดเป็น 25 เปอร์เซนต์ สำหรับแต่ละมหาวิทยาลัย ในทางกลับกันสาขาที่มีการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่น้อยกว่า เช่น สาขาประวัติศาสตร์ จะคิดเป็นร้อยละที่ต่ำกว่าคือ 15 เปอร์เซนต์ จากคะแนนทั้งหมด ในขณะเดียวกันสาขาศิลปะและการออกแบบ ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์น้อยก็จะใช้วิธีการวัดจากผู้ว่าจ้างและการสำรวจด้านวิชาการ[61]

QS Asia

  1. ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
  2. การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
  3. อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
  4. การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์) และผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน scopusและ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้นๆเอง
  5. บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
  6. สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
  7. สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)[62]

โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 58 ของเอเชีย[63]

การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject[64]

การจัดอันดับโดย QS World University Rankings by Subject
อันดับที่ 101 – 150 ของโลก
  • Medicine
  • Pharmacy & Pharmacology
อันดับที่ 201 – 250 ของโลก
  • Biological Sciences
  • Linguistics
อันดับที่ 251 – 300 ของโลก
  • Sociology
อันดับที่ 351 – 400 ของโลก
  • Chemistry
อันดับที่ 401 - 500 ของโลก
  • Arts and Humanities

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของ QS World University Rankings by Subject ประจำปี พ.ศ. 2560 ได้มีสาขาวิชาต่างๆ ที่ติดอันดับของโลก ดังนี้ อันดับที่ 101 – 150 ของโลก ได้แก่ สาขา Medicine, Pharmacy & Pharmacology , Life Sciences and Medicine(115) อันดับที่ 201 – 250 ของโลก ได้แก่ สาขา Biological Sciences, Linguistics อันดับที่ 251 – 300 ของโลก ได้แก่ สาขา Sociology อันดับที่ 351 – 400 ของโลก ได้แก่ สาขา Chemistry , Social Sciences and Management (399) และอันดับที่ 401 - 500 ของโลก ได้แก่ สาขา Arts and Humanities

และยังมีสาขาวิชา Anatomy & Physiology, Biological Sciences, Medicine, Nursing, Pharmacy & Pharmacology, Sociology และ Theology, Divinity & Religious Studies ที่ได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย

การจัดอันดับโดย QS Graduate Employability Rankings 2018

เป็นการจัดอันดับคุณภาพการจ้างงานของบัณฑิต โดยพิจารณาจาก ชื่อเสียงและความเชื่อมั่นของผู้จ้างงาน ผลผลิตของบัณฑิต อัตราการจ้างงานบัณฑิต เป็นต้น มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 2 ในประเทศไทยและอยู่ในช่วงอันดับ 301 - 500 ของโลก [65]

การจัดอันดับโดย Round University Rankings

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก Round University Rankings 2016 โดย RUR Rankings Agency ของประเทศรัสเซีย เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (a ranking of leading world universities) ในปี ค.ศ. 2016 มีเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับโดยการพิจารณาตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในระดับสากล 4 ด้าน 20 ตัวชี้วัด คือด้านการสอน (Teaching) 5 ตัวชี้วัด คิดเป็น 40% การวิจัย (Research) 5 ตัวชี้วัด 40% ด้านความเป็นนานาชาติ (International Diversity) 5 ตัวชี้วัด 10% และด้านความยั่งยืนทางการเงิน (Financial Sustainability) 5 ตัวชี้วัด 10% มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอันดับที่ 484 ของโลก[66]


การจัดอันดับโดย SCImago Institutions Ranking

อันดับมหาวิทยาลัยโดย SCImago Institutions Ranking หรือ SIR ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งจะไม่ใด้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล ในปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 450 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [67]


การจัดอันดับโดย The Times Higher Education

การจัดอันดับโดย The Times Higher Education หรือ THE ที่จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก (Times Higher Education World University Rankings) , จัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย (Times Higher Education Asia University Rankings) และการจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings) มีระเบียบวิธีจัดอันดับ ดังนี้

THE World

  1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 501-600 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [68]

THE Asia

  1. Teaching: The learning environment (25%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: Staff, students and research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (7.5%) ความสามารถของมหาวิทยาลัยในการมีส่วนช่วยภาคอุตสาหกรรม ด้วยนวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ และการให้คำปรึกษา ถ่ายทอดความรู้สู่ภาคอุตสาหกรรม วัดจาก รายได้ทางอุตสาหกรรมจากงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 97 ของเอเชีย และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [69]

THE Asia-Pacific

  1. Teaching: The learning environment (30%) คุณภาพการสอน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน
  2. Research: Volume, income, reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (30%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: staff, students,research (7.5%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก เจ้าหน้าที่, นักศึกษาและงานวิจัยนานาชาติ
  5. Industry income: knowledge transfer (2.5%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 101–110 เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [70]

BRICS & Emerging Economies การจัดอันดับมหาวิทยาลัยประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (BRICS & Emerging Economies Rankings)

  1. Teaching: The learning environment (30%) สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลสำรวจด้านชื่อเสียง คุณภาพการสอน สัดส่วนจำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา
  2. Research: Volume, Income, Reputation (30%) คุณภาพงานวิจัย ปริมาณ รายได้ และชื่อเสียงของงานวิจัย
  3. Citations: Research influence (20%) การอ้างอิงในงานวิจัย การนำงานวิจัยของสถาบันไปใช้อ้างอิง
  4. International outlook: Staff, Students and Research (10%) ความเป็นนานาชาติจากสายตาภายนอก อาจารย์ นักศึกษา งานวิจัยนานาชาติ และความร่วมมือกับต่างประเทศ
  5. Industry income: knowledge transfer (10%) รายได้ทางอุตสาหกรรม นวัตนกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ในวงวิชาการที่มหาวิทยาลัยได้คิดค้นขึ้น

โดยในปี 2017 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ช่วงอันดับที่ 76 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย [71]


การจัดอันดับโดย University Ranking by Academic Performance

อันดับที่จัดโดย University Ranking by Academic Performance หรือ URAP ปี พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 432 ของโลก[72] โดยมีพื้นฐานทางด้านวิชาการตรงตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คุณภาพและปริมาณของบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ บทความวิจัย การเผยแพร่ และการอ้างอิง

การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report

U.S. News & World Report นิตยสารการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับมากที่สุดของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกล่าสุด “Best Global Universities Rankings 2018” จากการสำรวจมหาวิทยาลัย 60 ประเทศทั่วโลก และมีเกณฑ์จัดอันดับหลายด้าน เช่น ชื่อเสียงการวิจัยในระดับโลก และระดับภูมิภาค สื่อสิ่งพิมพ์ การถูกนำไปอ้างอิง ความร่วมมือระหว่างประเทศ จำนวนบุคลากรระดับปริญญาเอก เป็นต้น โดยมีมหาวิทยาลัยของไทยติดอันดับ 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยมหิดลถูกจัดอันดับให้เป็นอันดับที่ 1 ของประเทศไทย และอันดับที่ 509 ของโลก[73]

อันดับของมหาวิทยาลัยในด้านอื่นๆ

อันดับมหาวิทยาลัย
อันดับในประเทศ(อันดับนานาชาติ)
สถาบันที่จัด อันดับ
QS GER (2018) 2(301-500)
UI Green (Overall) (2017) 1(86)
Webometrics (2017) 2(551)
4 International Colleges & Universities (2017) 3(598)

การจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking

เป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยสีเขียวที่จัดโดยมหาวิทยาลัยอินโดนีเซีย ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนการเป็นมหาวิทยาลัยยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลก มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 86 ของโลก[74]

การจัดอันดับโดย Webometrics

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยของเว็บโอเมตริกซ์ ประจำปี พ.ศ. 2560 จัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่าง ๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก อันดับ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน โดยพิจารณาจากจำนวน Link ที่เชื่อมโยงเข้าสู่เว็บนั้น ๆ จากเว็บภายนอกโดยวัดจากการสืบค้นด้วยSearch Engine และนับจำนวนเอกสารตีพิมพ์ออนไลน์ในกลุ่มของไฟล์ .pdf .ps .ppt และ .doc และจำนวนเอกสารที่มีการอ้างอิง (Citation) แบบออนไลน์ผ่านกูเกิลสกอลาร์ (Google Scholar) โดยจะจัดอันดับปีละ 2 ครั้ง ได้แก่ เดือนมกราคม และ เดือนกรกฎาคม โดยล่าสุดการจัดอันดับรอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2560 มหาวิทยาลัมมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 2 ของประเทศไทย และอยู่ในอันดับที่ 551 ของโลก[75]

การจัดอันดับโดย 4 International Colleges & Universities

การจัดอันดับของ 4 International Colleges & Universities หรือ 4ICU เป็นการจัดอันดับความนิยมของเว็บไซต์มหาวิทยาลัย ในปี 2016 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับความนิยมเว็บไซต์เป็นอันดับที่ 3 ของประเทศไทยและอันดับ 598 ของโลก [76]

ชีวิตในมหาวิทยาลัย

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ร่วมกันเป็นเวลาหนึ่งปีหรือนานกว่า จากนั้นแยกย้ายกันไปตามคณะของตนตามพื้นที่ต่างๆ บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามีความหลากหลายมากเพราะนักศึกษาแต่ละคนมาจากต่างคณะกัน เช่น แพทยศาสตร์ ดุริยางคศิลป์ วิทยาศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ แต่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในปีแรก มีกิจกรรมมากมายเช่น งานรักน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น มีสถานที่ออกกำลังกายและลานกีฬาให้นักศึกษาได้เลือกตามความต้องการ บรรยากาศในศาลายาจะมีจุดเด่นคือ การสัญจรหลักของนักศึกษาคือจักรยานหรือรถราง รวมถึงรถรับส่งระหว่างพื้นที่ต่างๆ จากพื้นที่ศาลายาไปยังพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและเมื่อเข้าใกล้ช่วงสอบในแต่ละภาคเรียน จะพบนักศึกษาจำนวนมากที่นั่งอ่านทบทวนหนังสือตามสถานที่ต่างๆ ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติรอบมหาวิทยาลัย

การพักอาศัยของนักศึกษามหิดล [77]

ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) จะเรียกว่า บ้านมหิดล โดยบริเวณที่พักมีการจัดเป็นสัดส่วน อยู่บริเวณทางด้านหลัง ใกล้ๆ กับศูนย์การเรียนรู้มหิดล (Mahidol Learning Center) บ้านมหิดล ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ การให้บริการระดับโลก Know what is needed, go extra miles and be advocate และ พันธกิจคือ ให้บริการและจัดสวัสดิการรวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยอย่างเป็นสุข ประกอบไปด้วย อาคารหอพัก 6 อาคาร ดังนี้

  1. บ้านพุทธรักษา (หอ1-2)
  2. บ้านอินนิล (หอ3-4)
  3. บ้านชัยพฤกษ์ (หอ6-7)
  4. บ้านกันภัยมหิดล (หอ8-9)
  5. บ้านลีลาวดี (หอ10)
  6. บ้านศรีตรัง (หอ11)

หอพักหญิง

  • บ้านพุทธรักษา (หอ1-2) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง
  • บ้านลีลาวดี (หอ10) เป็นอาคารเดียวสูง 4 ชั้น เชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง
  • บ้านศรีตรัง (หอ11) เป็นอาคารเดียวสูง 14 ชั้น เชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง

หอพักชาย

  • บ้านอินนิล (หอ3-4) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 2 คนต่อห้อง
  • บ้านชัยพฤกษ์ (หอ6-7) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 2 คนต่อห้อง
  • บ้านกันภัยมหิดล (หอ8-9) เป็นอาคารแฝดสูง 4 ชั้น สองอาคารเชื่อมต่อกัน นักศึกษาพักได้ 4 คนต่อห้อง

การบริการหอพักให้แก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาพรวมแบ่งได้ดังนี้

พื้นที่ศาลายา

พื้นที่อื่นๆ

การเดินทาง

นักศึกษา บุคคลากร และประชาชนทั่วไปสามารถเดินทางมายังมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้ดังนี้ [78]

รถร่วมบริการ/รถประจำทาง

รถประจำทางปรับอากาศ รถประจำทางไม่ปรับอากาศ
Salaya link ปอ.515 ปอ.547 84ก 124 125 164 388
  • สาย 84ก วงเวียนใหญ่ - หมู่บ้านเอื้ออาทรศาลายา (04:30 - 21:30)
  • สาย 124 สนามหลวง - ม.มหิดล ศาลายา (04.00 – 21.00 น.)
  • สาย 125 สถานีรถไฟสามเสน - ม.มหิดล ศาลายา
  • สาย 164 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ม.มหิดล ศาลายา
  • สาย 388 ปากเกร็ด สนามบินน้ำ บางบัวทอง บางใหญ่ - ม.มหิดล ศาลายา
  • สาย ปอ.515 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ - ม.มหิดล ศาลายา ขึ้นได้ที่อนุเสาวรีย์ ป้ายหน้า รพ.ราชวิถี (05.00 – 22.00 น.)
  • สาย ปอ.547 สีลม - ม.มหิดล ศาลายา ถ.เพชรเกษม เข้า ถ.พุทธมณฑล สาย 4

รถตู้ปรับอากาศ

  • รถตู้ปรับอากาศ สายอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ – ม.มหิดล ศาลายา (สามารถขึ้นได้ที่หน้าร้านวัตสัน ฝั่งเกาะพญาไท)
  • รถตู้ปรับอากาศ สายเซ็นทรัลปิ่นเกล้า – ม.มหิดล ศาลายา

รถศาลายาลิงก์

  • รถศาลายาลิงก์ (Salaya Links) ม.มหิดล ศาลายา - BTS บางหว้า

เป็นรถไมโครบัสสีขาวคาดน้ำเงิน มีโลโก้มหาวิทยาลัยมหิดล Shuttle Bus ซึ่งขับวนรับส่งจาก ม.มหิดล ศาลายา มายังสถานี รถไฟฟ้า BTS บางหว้า ใครเดินทางมาจาก BTS ให้ออกจาก BTS ที่ทางออกที่ 1-2 จะเจอรถศาลายาลิงก์ จอดอยู่ตรงบริเวณป้ายรถเมล์ ค่าโดยสาร 30 บาท [79]

รถไฟ

ไฟล์:สถานีรถไฟศาลายา.jpg
สถานีรถไฟศาลายา

เส้นทางรถไฟ-รถไฟสายใต้ ขึ้นได้ที่สถานีรถไฟธนบุรี (ใกล้ รพ.ศิริราช) หรือสถานีรถไฟหัวลำโพง(สถานีรถไฟกรุงเทพ) หรือสถานีรถไฟนครปฐม โดยขบวนเที่ยวต่างๆ จะผ่านสถานีศาลายา ให้ลงที่สถานีศาลายาแล้วเข้าทางประตู 5 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

รถส่วนตัว

มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 กิโลเมตร สามารถเดินทางมาได้หลายเส้นทาง ตามนี้

  • สนามบินสุวรรณภูมิ – ม.มหิดล ศาลายา

จาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – ออกมาทางทิศใต้ เข้าสู่ ถ.บางนา-ตราด (ใต้ทางด่วนบูรพาวิถี) – เข้าสู่ ถ.วงแหวนตะวันออก (สาย 9) – ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานกาญจนาภิเษก – เข้าสู่ ถ.วงแหวนตะวันตก (สาย 9) – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี หรือ ถ.ปิ่นเกล้า–นครชัยศรี (สาย 338) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา

  • สนามบินดอนเมือง – ม.มหิดล ศาลายา

จาก ท่าอากาศยานดอนเมือง – มาตาม ถ.วิภาวดีรังสิต (ใต้ทางด่วนโทลเวย์) – เข้าสู่ ถ.รัชดาภิเษก ถ.วงศ์สว่าง – ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 7 – ถ.จรัญสนิทวงศ์ – ถ.สิรินธร – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี (หรืออาจขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา

  • สถานีขนส่งเอกมัย – ม.มหิดล ศาลายา

จาก สถานีขนส่งเอกมัย – ถ.สุขุมวิท – เลี้ยวซ้ายเข้า ถ.สุขุมวิท 21 (หรือ ถ.รัชดาภิเษก) – เลี้ยวขวาเข้าสู่ ถ.พระราม 4 – ขึ้นทางด่วนที่ ‘ด่านพระราม 4 ที่ 1’ – ไปตามทางพิเศษเฉลิมมหานคร – ข้ามสะพานพระราม 9 – ลงทางด่วนเข้าสู่ ถ.พระราม 2 – เข้าสู่ ถ.วงแหวนตะวันตก (สาย 9) – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี หรือ ถ.ปิ่นเกล้า–นครชัยศรี (สาย 338) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา

  • สถานีขนส่งหมอชิต – ม.มหิดล ศาลายา

จาก สถานีขนส่งหมอชิต – มาตาม ถ.กำแพงเพชร 2 – เข้าสู่ ถ.รัชดาภิเษก – ถ.วงศ์สว่าง – ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระราม 7 – ถ.จรัญสนิทวงศ์ – ถ.สิรินธร – เข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี (หรืออาจขึ้นทางคู่ขนานลอยฟ้า) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา

  • สถานีขนส่งสายใต้ – ม.มหิดล ศาลายา

จากสถานีขนส่งสายใต้ – มาตาม ถ.บรมราชชนี (ทิศทางไป จ.นครปฐม) – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา

  • สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) – ม.มหิดล ศาลายา

จาก สถานีรถไฟกรุงเทพฯ (หัวลำโพง) – เข้า ถ.เยาวราช – ถ.จักรเพชร – ข้ามสะพานพระปกเกล้า – ถ.ประชาธิปก – ผ่านวงเวียนใหญ่ – ถ.อินทรพิทักษ์ – ถ.เพชรเกษม – ผ่านแยกท่าพระ – เลี้ยวขวาเข้าสู่ ถ.ราชพฤกษ์ – เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ถ.บรมราชชนนี – เข้าสู่ ถ.พุทธมณฑล สาย 4 – เข้าประตู 3 ของ ม.มหิดล ศาลายา

รถราง (Tram) ภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

รถราง หรือ รถแทรม เป็นยานพาหนะที่ให้บริการ(ฟรี) แก่ นักศึกษา บุคคลากร และช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยมหิดลศาลายา เพื่อลดการใช้ยานพาหนะส่วนตัวภายในมหาวิทยาลัย ให้บริการทั้งหมด 4 สาย ดังนี้

  • รถรางสายสีเขียว

บ้านมหิดล - สวนเจ้าฟ้า - คณะวิทยาศาสตร์ - ลานมหิดล - คณะสังคมศาสตร์ฯ - วิทยาลัยนานาชาติ - สำนักงานอธิการบดี - คณะวิศวกรรมศาสตร์ - คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - หอสมุด - คณะสิ่งแวดล้อมฯ - สถาบันวิจัยโภชนาการ - วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา - อาคารอเนกประสงค์ (โรงพละ) - บ้านมหิดล

  • รถรางสายสีน้ำเงิน

บ้านมหิดล - อาคารอนุรักษ์ - ลานจอดรถ4 - คณะสัตวแพทย์ - สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว - คอนโด - สนามฟุตบอล3 - คณะศิลปศาสตร์ - คณะกายภาพบำบัด - โรงเรียนพยาบาลรามาธิปดี - คณะเทคนิคการแพทย์ - สถาบันวิจัยประชากรและสังคม - สถาบันโมเลกุล - ประตู3 - สำนักงานอธิการบดี - สถาบันอาเซียน - เรือนไทย - ศูนย์ศาลายา - ลานจอดรถ2 - อุทยานสิรีรุกชาติ - บ้านมหิดล

  • รถรางสายสีแดง

บ้านมหิดล - สวนเจ้าฟ้า - คณะวิทยาศาสตร์ - เรือนศิลปิน - วิทยาลัยดุริยางค์ - ลานจอดรถ2 - ลานมหิดล - คณะสังคมศาสตร์ - วิทยาลัยนานาชาติ - สำนักงานอธิการบดี - คณะวิศวกรรมศาสตร์ - แปลงผักปลอดสารพิษ - โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี - หอพักพยาบาลรามาธิบดี - คอนโด - สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว - คณะศาสนศึกษา - สนามเปตอง - อาคารอเนกประสงค์ (โรงพละ) - บ้านมหิดล

  • รถรางสายสีเหลือง

อาคารศูนย์การเรียนรู้ - คณะวิทยาศาสตร์ - เรือนศิลปิน - วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ - ลานจอดรถ2 - ลานมหิดล - คณะสังคมศาสตร์ - วิทยาลัยนานาชาติ - สำนักงานอธิการบดี - สถาบันสุขภาพอาเซียน - เรือนไทย - ศูนย์ศาลายา - ลานจอดรถ4 [80]

จักรยานสาธารณะ

มหาวิทยาลัยมหิดลมีจักรยานสาธารณะให้บริการแก่นักศึกษา บุคลากรและประชาชนทั่วไป มีชื่อที่เรียกกันทั่วไปว่า จักก้า นักศึกษา บุคลากรและประชาชนสามารถยืมจักรยานฟรีได้ที่ จักก้า เซ็นเตอร์ ตั้งอยู่หน้าหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยต้องแลกบัตรนักศึกษาหรือบัตรประชาชน

วันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช
  • วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายนของทุกปี อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขของไทย โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ประกาศให้วันดังกล่าวเป็นวันมหิดลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494 เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ท่าน เพราะพระราชกรณียกิจที่ได้รทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้นได้เสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นให้แก่โรงเรียนแพทย์และพัฒนาการเรียนการสอนตลอดจนการผลิตแพทย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอันเป็นการวางรากฐานแก่การแพทย์และการสาธารณสุขให้เจริญพัฒนาก้าวหน้าทัดเทียมอารยะประเทศในกาลต่อมา [81]


  • วันพระราชทานนามมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดลมีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 127 ปี นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระราชทานกำเนิดโรงศิริราชพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2431 พัฒนาเป็นราชแพทยาลัย โรงเรียนแพทย์แห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2433 และได้รับการสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2486 ประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยมหิดลเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระนามาภิไธย "มหิดล" ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นนามใหม่ของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2512 และได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทให้พัฒนามหาวิทยาลัย ขยายขอบข่ายวิชาการให้กว้างขวางเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบเช่นในปัจจุบัน[82]

พิธีพระราชทานปริญญาบัตร

มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ในระหว่างเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่ 2 นั้น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้เสด็จมาพระราชทานปริญญาบัตร ณ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2489 ซึ่งเป็นการพระราชทานปริญญาบัตรเป็นครั้งสุดท้ายในรัชสมัยของพระองค์

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในรัชกาลปัจจุบันเมื่อวันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธาน ณ ปะรำพิธีหน้าตึกรังสีวิทยา โรงพยาบาลศิริราช เมื่อครั้งยังเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยมีบัณฑิตจากคณะต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรต่อหน้าพระพักตร์ จำนวน 200 คน งานพิธีพระราชทานปริญญาบัตรยังคงจัดขึ้นที่หอประชุมราชแพทยาลัย ภายในโรงพยาบาลศิริราช เป็นประจำเรื่อยมาทุกปีจนถึงปี พ.ศ. 2520 ต่อมาเมื่อผู้สำเร็จการศึกษามีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนมาจัดที่สวนอัมพร[83]

ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตเป็นประจำทุกปี โดยพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยในแต่ละปีการศึกษา โดยใช้หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เป็นสถานที่พระราชทานปริญญาบัตร ตั้งแต่บัณฑิตปีการศึกษา 2556 เป็นต้นไป[84]

การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวและยั่งยืน

มหาวิทยาลัยสีเขียว

ตามผังแม่บทมหาวิทยาลัยมหิดล ฉบับปี พ.ศ. 2551 คณะผู้บริหารต้องการสร้างมหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็น "มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน" ให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังแนวคิดที่ว่า "A promised place to live and learn with nature" ด้วยความมุ่งมั่นที่จะพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ให้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green Campus) ที่มีสภาพแวดล้อมน่าอยู่ รื่นรมย์ เอื้อต่อวิถีชีวิตที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา บุคลากรและชุมชนโดยรอบ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการปรับปรุงในทุกๆ ด้านอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ภูมิทัศน์ ระบบสัญจร ระบบสาธารณูปโภค และพัฒนาโครงการต่างๆ เพื่อให้การพัฒนาไม่หยุดเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิตขอผู้คนซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีการปรับนโยบายในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับความสำคัญและเอื้อต่อการทำกิจกรรม เช่น

  • การพัฒนาการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    • จัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมประเภทเดียวกัน อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือต่อเนื่องกัน
    • เพิ่มความหนาแน่นการใช้ที่ดิน รักษาพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่า 70% ของพื้นที่ทั้งหมด
    • จัดกลุ่มพื้นที่กิจกรรมเป็นระบบบล็อกย่อย (Sub-block System)
    • กำหนดพื้นที่สีเขียวและที่ว่างสำคัญ
  • การพัฒนาระบบภูมิทัศน์
    • อนุรักษ์พื้นที่สีเขียวและระบบนิเวศของพื้นที่แต่ละส่วนให้มีสภาพความเป็นธรรมชาติให้มากที่สุด
    • นำพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวมาพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมกีฬา นันทนาการ หรือกิจกรรมการศึกษา
    • สร้างแนวแกนสีเขียวและเส้นทางสีเขียว (Green Way) เชื่อมต่อพื้นที่ทุกส่วนของมหาวิทยาลัยเข้าด้วยกัน
  • การควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง
    • ควบคุมอาคารและสิ่งก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวของอาคารในอนาคต โดยการควบคุมระบบการวางผังอาคารและสิ่งก่อสร้างโดยคานึงถึงหลักเกณฑ์การเกิดอาคารและการออกแบบอาคาร เช่น รูปผังอาคาร ความสูง และระยะถอยร่นอาคาร
  • การพัฒนาระบบการสัญจร
    • ลดความสำคัญของการสัญจรทางรถยนต์ โดยการปรับลดผิวถนนหลัก 3 เลน เป็นทางเท้าและทางจักรยาน
    • จัดทางสัญจรทางรถให้ครอบคลุมพื้นที่ที่มีการพัฒนาใหม่เท่าที่จำเป็น
    • ควบคุมเส้นทางสัญจรทางรถไว้ที่พื้นที่รอบนอกกลุ่มอาคาร เพื่อรักษาพื้นที่ภายในส่วนการศึกษาไว้สำหรับการเดินและการขี่จักรยาน
    • เน้นบริการรถขนส่งสารธารณะและการสัญจรในมหาวิทยาลัยด้วยการเดินและขี่จักรยาน
  • การพัฒนาระบบสารธารณูปโภคสาธารณูปการ
    • ปรับปรุงสารธารณูปโภคเพื่อรองรับการขยายตัวพื้นที่ในอนาคต โดยคำนึงถึงการลดพลังงาน การักษาสิ่งแวดล้อม และการลดการใช้ทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ชุมชน[85][86]


มหาวิทยาลัยยั่งยืน

การปรับกระบวนทัศน์ความคิดในการบริหารจัดการองค์กรสถาบันอุดมศึกษาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงใน ศตรวรรษที่ ๒๑ ด้วยเป้าหมายหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ที่มุ่งสร้างให้เกิดดุลยภาพขององค์ประกอบพื้นฐานในมิติสำคัญ ๓ มิติ ได้แก่ มิติเชิงเศรษฐกิจ (Economic) มิติเชิงสิ่งแวดล้อม (Ecology) และมิติเชิงสังคม (Social) โดยคาดหวังผลลัพธ์ของการก่อให้เกิดความเท่าเทียม (Equity) ความมีประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร (Efficient) และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Quality of Life)

มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและภูมิภาค มีปณิธานสำคัญของการเป็น "ปัญญาของแผ่นดิน" ด้วยวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก โดยมีพันธกิจของสร้างความเป็นเลิศศทางด้านสุขภาพ ศาสตร์ ศิลป์ และนวัตกรรม บนพื้นฐานของคุณธรรม เพื่อสังคมไทย และประโยชน์สุขแก่มวลมนุษยชาติ [87]

มหาวิทยาลัยจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน ปี 2558-2562 โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญ เริ่มด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร (Resources Efficiency) โดยจะให้ความสำคัญกับการลดปริมาณกากของเสีย เน้นการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการควบคุมอาคาร รวมถึงจัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันยังมีกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมความเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการส่งเสริมให้เกิดพันธกิจสัมพันธ์กับชุมชน (Community Engagement) ทั้งการถ่ายทอดองค์ความรู้และการศึกษา การวิจัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยสีเขียว ด้านความปลอดภัยและความเสี่ยง ตลอดจนการสนับสนุนโยบายความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่กำลังจะทำคือ Organic Food ให้ชาวบ้านมาปลูกผักในมหาวิทยาลัย และมีนโยบายให้นักศึกษาปลูกผักเอง เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลมีคณะเทคนิคการแพทย์และสถาบันโภชนาการที่สามารถเข้ามาช่วยตรวจวัดปริมาณสารเคมี เพื่อคนจะได้กินผักปลอดสารพิษ ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีโครงการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้แก่ ธนาคารขยะรีไซเคิล, ปุ๋ยหมักชีวภาพ, แปลงผักปลอดสารพิษ, จักก้าเซ็นเตอร์และจักรยานสีขาว (จักรยานสาธารณะ), บริการขนส่งสาธารณะ (รถรางNGV), การงดใช้กล่องโฟมในพื้นที่มหาวิทยาลัย, การจัดระบบบำบัดน้ำเสียในทุกอาคาร เป็นต้น [88]

อุทยานธรรมชาติ

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ

อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ในระยะแรกของการดำเนินการ ใช้ชื่อว่า “โครงการปลูกสวนสมุนไพร” โดยดำริของ ศ.นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลในระยะนั้น และ ศ.พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ เป็นผู้วางรากฐานและรูปแบบภูมิสถาปัตย์

ศ.นพ.ดร.ณัฐ ภมรประวัติ ได้เขียนบทความในหนังสือ “สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ” ที่ว่า “ในระยะเวลาที่มีการเตรียมการก่อสร้างที่ศาลายา ได้มีแนวคิดสำคัญประการหนึ่ง คือจะใช้พื้นที่ศาลายาเป็นพื้นที่นันทนาการสำหรับนักศึกษา เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยและบุคคลภายนอกด้วย ทั้งนี้โดยคำนึงถึงชุมชนใหม่ระหว่างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ากับศาลายาที่คาดว่าจะเริ่มพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ. 2520 เป็นต้นไป” “ท่านศาสตราจารย์พเยาว์ ได้ทุ่มเทชีวิตจิตใจดำเนินการสร้างสวนแห่งนี้อย่างเต็มที่ นับเป็นโชคดีที่สามารถส่งเสริมให้คนที่รู้วิชาการเภสัชพฤกษศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ได้ทำงานที่ต้องการจะทำ แม้จะไม่มีเงินทองหรือผู้ช่วยที่มากมาย แต่การทำงานด้วยใจรัก ก็สามารถทำให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้” ซึ่งหนังสือ “สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ” เป็นหนังสือที่ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา พ.ศ. 2539 สื่อถึงแนวคิดและวัตถุประสงค์ที่จะให้สวนสมุนไพรแห่งนี้เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทยสำหรับการศึกษา วิจัย พัฒนาและการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ และเป็น “ปอดสีเขียว” ให้บุคลากรในพื้นที่วิทยาเขตศาลายา โดยเริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2524 หลังจากปลูกไม้ร่มเงาแล้วจึงนำสมุนไพรไทยทั้งไม้ยืนต้นและไม้พุ่มจัดปลูกลงตามที่สถาปนิกวางรูปแบบไว้ รวบรวมสมุนไพรที่มีศักยภาพและมีรายงานการวิจัยสนับสนุนในพื้นที่ 12 ไร่ พืชสมุนไพรเจริญเติบโตขึ้นเป็นลำดับ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานชื่อว่า "สิรีรุกขชาติ" และเป็นสวนที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำรัส เมื่อเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดสวนสมุนไพรแห่งนี้ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2531 ว่า

สวนสวยดี และช่างคิดที่นำสมุนไพรมาใช้เป็นไม้ประดับ

— สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ปัจจุบันสวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติภายใต้การดูแลและดำเนินการของภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 38 ไร่ รวบรวมพันธุ์สมุนไพรไว้ประมาณ 800 ชนิด จัดปลูกไว้อย่างสวยงาม พร้อมป้ายชื่อพืชสมุนไพรที่ระบุทั้งชื่อไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อวงศ์ ส่วนที่ใช้และสรรพคุณ และเป็นห้องเรียนธรรมชาติสำหรับ นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ รวมทั้งผู้สนใจที่ได้เข้าเยี่ยมชมเพิ่มขึ้นทุกปี จนได้รับรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการบริการ เมื่อปี พ.ศ. 2536 และคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาให้เป็นโครงการดีเด่นแห่งชาติ สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ด้านสมุนไพร) ประจำปี พ.ศ. 2539 ภายในอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มีทั้งพรรณไม้สมุนไพรที่พบทั่วไปและใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และสมุนไพรที่เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่หาได้ยาก พื้นที่ในสวนสมุนไพรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน

  • ส่วนแรก เป็นเรือนเพาะชำ ซึ่งปลูกสมุนไพรที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ ไม่ต้องการแสงแดดจัด และขนาดไม่ใหญ่มาก เช่น ดองดึง หญ้าหวาน รวมทั้งพืชที่มีพิษ เช่น ช้างร้อง สลอด เป็นต้น
  • ส่วนที่สอง เป็นพื้นที่สวนหย่อมสมุนไพร พื้นที่ประมาณ 12 ไร่ จัดปลูกสมุนไพรเป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ไม้เลื้อย และไม้ล้มลุกที่ตกแต่งไว้อย่างสวยงามเหมาะกับการพักผ่อน และเรียนรู้พืชสมุนไพร ได้แก่ มะเกลือ ส้มเสี้ยว กันเกรา สารภี สีเสียด เป็นต้น
  • ส่วนสุดท้าย ปลูกในลักษณะสวนป่าในพื้นที่ประมาณ 26 ไร่ เพื่อแสดงระบบนิเวศที่สมุนไพรเติบโตอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นไม้ต้น และไม้เล็กที่ขึ้นแซมไม้ใหญ่ ให้ความร่มรื่นเหมาะกับผู้ที่สนใจศึกษาสมุนไพรอย่างเป็นธรรมชาติ พืชในส่วนนี้ เช่น สมอไทย สมอพิเภก สมอดีงู การบูร อบเชย โมกมัน เป็นต้น

นอกจากนี้อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มีสมุนไพรที่หาชมได้ยากหลายชนิด เช่น โมกราชินี สิรินธรวัลลี สามสิบกีบน้อย และจิกดง ซึ่งเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก มะลิซาไกสมุนไพรหายากที่ใช้เป็นยาคุมกำเนิดของชนเผ่าซาไก กำแพงเจ็ดชั้น กวาวเครือขาว และกวาวเครือแดงสมุนไพรบำรุงกำลังของไทย รวมทั้งสมุนไพรที่เป็นพืชผักพื้นบ้านอีกหลากหลายชนิด

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้และประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อดูแล ป้องกันและรักษาสุขภาพ พร้อมไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ศ.นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร อธิการบดีขณะนั้น จึงดำริที่จะยกระดับพื้นที่สวนสมุนไพรสิรีรุกขชาติ และพื้นที่อนุรักษ์ข้างเคียงบริเวณด้านทิศใต้จำนวน 171 ไร่ ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติและระดับนานาชาติ ในลักษณะ Botanical Garden เพื่อเป็นอุทยานการเรียนรู้ทางธรรมชาติวิทยา ต่อยอดภูมิปัญญาไทย ให้สามารถเป็นต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เป็นแหล่งรวบรวมพืช ผลิตและทดลองพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยา แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติที่หลากหลาย เป็นสวนสาธารณะและแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ทางด้านพฤกษศาสตร์และสมุนไพรของจังหวัดนครปฐม และภูมิภาคตะวันตกของประเทศ โดยเริ่มได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินในปี ๒๕๕๔ และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อสวนสมุนไพร “สิรีรุกขชาติ” เป็น "อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ" ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553[89]

ประกอบด้วย 7 อาคาร 7 ลาน ดังนี้

  • อาคารใบไม้สามใบ อาคารต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมเข้าสู่ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ พร้อมจัดแสดงนิทรรศการถาวร “สมุนไพร ภูมิปัญญาไทยสู่สากล”
  • ลานนานาสมุนไพร ลานจัดแสดงสมุนไพรไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก ในกระถางขนาดใหญ่รูปดอกไม้บนลานหินกว้าง
  • บ้านหมอยา อาคารให้บริการ ส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย และให้คำปรึกษาการใช้ยาสมุนไพร พร้อมการนวดรักษาแบบราชสำนัก
  • สวนสมุนไพร พื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานฯ จัดปลูกในรูปแบบสวนสาธารณะ มีไม้ยืนต้นเป็นหลัก พร้อมทั้งไม้เลื้อยขนาดใหญ่ และแซมด้วยพรรณไม้ชนิดอื่นๆ ทำให้มีความร่มรื่นสามารถใช้ศึกษาพืชสมุนไพรและพักผ่อนไปพร้อมๆ กัน
  • หอดูนก 1 พื้นที่ชุ่มน้ำของอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ เป็นแหล่งพักพิงของนกนานาชนิด หอดูนกทั้ง 2 หอจึงเป็นอาคารที่ใช้เพื่อ เฝ้าดูนกและสังเกตพฤติกรรมต่างๆ ของนก กิจกรรมการศึกษาจำแนกชนิดนกสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตรอบตัว
  • หอดูนก 2
  • ลานไม้เลื้อย ลานรวบรวมไม้เลื้อยสมุนไพรขนาดกลางและเล็กปลูกไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการศึกษาเปรียบเทียบ
  • ลานสมุนไพรวงศ์ขิง ลานปลูกกลุ่มพืชหัววงศ์ขิงที่มีคุณค่าเป็นยา และเป็นพืชในเขตร้อนที่มีความสำคัญทั้งในการใช้ระดับชุมชน และการวิจัยพัฒนายาใหม่
  • อาคารใบไม้ใบเดียว อาคารสาธิต การขยายพันธุ์และห้องปฏิบัติการสำหรับการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองแก่ผู้พิการ เพื่อการปรับใช้ด้วยตนเอง
  • ลานสมุนไพรเพื่อคนพิการ ลานสมุนไพรที่อำนวย ความสะดวกในการศึกษาสมุนไพรเป็นพิเศษสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุแห่งแรกในประเทศไทย โดยใช้สื่อการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ ขึ้นเป็นพิเศษ ผู้พิการทางสายตาจะสามารถสัมผัส ดม และชิมให้เกิดความรู้เชิงประจักษ์
  • ศาลาหมอชีวกโกมารภัจน์ ประดิษฐานรูปหล่อหมอชีวกโกมารภัจน์แพทย์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านเป็นบรมครูแห่งการแพทย์ แผนโบราณ ซึ่งหมอแผนไทยผู้ที่กำลังศึกษาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร รวมทั้งประชาชนทั่วไป ให้ความเคารพ ศรัทธา และกราบไหว้บูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล
  • ลานสมุนไพรเพื่อสุขภาพ รวบรวมสมุนไพรจำนวน 69 ชนิด ที่ผ่านการวิจัย ว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีความปลอดภัย สามารถนำไปใช้ป้องกันและรักษาอาการป่วยพื้นฐานในชีวิตประจำวันได้ มีลานสาธิต และทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ พร้อมลานพักผ่อนสันทนาการและเผยแพร่ความรู้
  • อาคารสัมมนาห้องอบรมเชิงปฏิบัติการเฉพาะทางเรื่องการใช้ประโยชน์ สมุนไพรไทย สำหรับประชาชนทั่วไป พร้อมส่วนบริการห้องอาหาร 180 ที่นั่ง ซึ่งจะเน้นอาหารเพื่อสุขภาพ
  • อาคารวิจัยและพิพิธภัณฑ์พืช ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2ด้าน ได้แก่ ชั้นที่ 1 ห้องปฏิบัติการวิจัยการขยายพันธุ์สมุนไพรพืช ด้วยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ชั้นที่ 2 พิพิธภัณฑ์สมุนไพร (Herbarium) ที่รวบรวมตัวอย่างพรรณไม้สมุนไพรแห้ง เพื่อเป็นมาตรฐานเปรียบเทียบให้บริการตรวจสอบชนิดและสร้างเครือข่ายติดต่อกับ พิพิธภัณฑ์พืชในต่างประเทศ รวมทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ อนุรักษ์พันธุ์พืชในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อีกด้วย

ในระดับนานาชาติ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ ได้รับการยกย่องเป็น Medicinal Plant Garden แห่งเดียวของประเทศไทย ที่เข้าตามหลักเกณฑ์ที่ที่ประชุมร่วมอาเซียนและกำหนดขึ้น กิจกรรมการเรียนรู้และจะเป็นแหล่งศึกษาดูงานที่สำคัญของภูมิภาคบริการวิชาการต่างๆ ที่สำคัญยังถือเป็นสำหรับประชาชน แหล่งเรียนรู้เพื่อปลุกกระแสให้คนไทยหันมาร่วมกันสร้างป่าสมุนไพรในเมืองนักเรียน นักศึกษา เพื่อสุขภาพที่ดีนักวิชาการและความมั่นคงด้านยารักษาโรคนักวิจัย ทั้งวันนี้และอนาคตตลอดไป”


บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล

ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น


การเป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล

มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐสมบูรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 68 ก เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ จากนี้สถานภาพของพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการ และข้าราชการมีสิทธิที่จะขอเปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานได้ ภายในระยะเวลา 90 วัน และจะไม่มีข้าราชการเพิ่มขึ้นอีกตามมาตรา 78 ของพระราชบัญญัติ[90]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยสาตร
  2. [1]
  3. [2], เข้าถึงวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
  4. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ว่าด้วยกอมิตีผู้จัดการโรงพยาบาล ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดตั้งโรงพยาบาล (ที่วังกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลัง (วังหลัง), เล่ม ๔, ตอน ๕, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๓๔
  6. แจ้งความกระทรวงพระธรรมการ แผนกกรมพยาบาล เปิดโรงเรียนแพทยากร
  7. ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  8. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖
  9. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒
  10. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๐
  11. ที่มาแห่งตรามหาวิทยาลัยมหิดล
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗, ตอนพิเศษ ๙๘ ง, ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๓, หน้า ๘๘
  13. สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย : สีน้ำเงินแก่
  14. ต้นกันภัยมหิดล
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2512/D/116/2.PDF
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/141/1.PDF ราชกิจจานุเบกษา ศ.กษาน
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2517/D/014/219.PDF
  18. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2519/D/005/1.PDF
  19. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2521/D/018/413.PDF
  20. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2523/D/001/5.PDF
  21. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/017/4.PDF
  22. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2527/D/015/1.PDF
  23. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2529/D/010/24.PDF
  24. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2531/D/017/587.PDF
  25. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/202/11738.PDF
  26. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/096/2.PDF
  27. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2542/D/097/1.PDF
  28. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/00134472.PDF
  29. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/D/005/41.PDF
  30. [3]
  31. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล รักษาการราชกิจจานุเบกษา โปรดเกล้าฯ
  32. คำสั่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล รักษาการ
  33. ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล
  34. Mahidol University : จำนวนหลักสูตร
  35. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันและระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2546, สำนักส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  36. รายงานประจำปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  37. PM Award ประเภทธุรกิจบริการกลุ่มการศึกษานานาชาติที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศมากที่สุด
  38. http://www.mahidol.ac.th/th/fac_dept_mu.htm
  39. https://www.mahidol.ac.th/th/history_current.htm
  40. การรับวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
  41. การรับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี เข้าเป็นสถาบันสมทบของมหาวิทยาลัยมหิดล
  42. http://asiatravel.com/thailand/salaya/index.html
  43. [4], ประวัติหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล.
  44. [5], พิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุแห่งปัญญา.
  45. Mahidol Channel
  46. เปิดตัวสถานีโทรทัศน์ Mahidol Channel
  47. Youtube มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ
  48. Mahidol University : Research
  49. Svasti MRJ, Asavisanu R. Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005) ScienceAsia 2006;32 (2) :101-106.
  50. Svasti MRJ, Asavisanu R., Four Decades of Excellence in Research - Revealed by International Database Searches., ใน "48 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2501-2549)" หนังสือที่ระลึก 4 รอบ แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 21 ตุลาคม 2549 หน้า 67-70.
  51. Mahidol University : Notable facts - Has highest budget of any university in Thailand
  52. สถาบันจัดอันดับแห่งประเทศไทย ฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย เรียกดูวันที่ 2013-02-21
  53. เปิด 50 อันดับมหาวิทยาลัยไทย
  54. สกว.ประเมินครั้งที่ 2 พ.ศ. 2553
  55. สกว.ประเมินครั้งที่ 3 พ.ศ. 2554
  56. [6]
  57. [7]
  58. http://www.natureindex.com/annual-tables/2016/institution/all/all/countries-Thailand
  59. http://www.natureindex.com/institution-outputs/thailand/chulalongkorn-university-cu/513906bb34d6b65e6a000175
  60. https://www.topuniversities.com/university-rankings/world-university-rankings/2018
  61. QS. QS World University Rankings: Methodology. September 11, 2015. http://www.topuniversities.com/university-rankings-articles/world-university-rankings/qs-world-university-rankings-methodology (accessed june 29, 2016).
  62. QS. QS University Rankings: Asia methodology. 13 June 2016. http://www.topuniversities.com/asia-rankings/methodology (accessed 29 June 2016).
  63. https://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2018
  64. https://www.mahidol.ac.th/th/latest_news60/QsRanking2017.html
  65. https://www.topuniversities.com/university-rankings/employability-rankings/2018
  66. [8]
  67. [9]
  68. [10]
  69. [11]
  70. [12]
  71. BRICS & Emerging Economies
  72. [13]
  73. การจัดอันดับโดย U.S. News & World Report
  74. http://greenmetric.ui.ac.id/overall-ranking-2016/
  75. http://www.webometrics.info/en/Asia/Thailand
  76. http://www.4icu.org/th/
  77. ที่พักอาศัยสำหรับนักศึกษา
  78. การเดินทาง
  79. ศาลายาลิงก์
  80. รถราง
  81. ประวัติวันมหิดล
  82. ประเพณีและวันสำคัญ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
  83. พิธีพระราชทานปริญญาบัตร
  84. พิธีเปิด "มหิดลสิทธาคาร" เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2557
  85. มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน
  86. มหาวิทยาลัยสีเขียว
  87. มหาวิทยาลัยยั่งยืน (Sustainable University)
  88. "มหิดล" มุ่งคาร์บอนฟุตพรินต์
  89. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/siri/index.php?page=about
  90. พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2550 [14]

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

13°47′36″N 100°19′21″E / 13.793406°N 100.322514°E / 13.793406; 100.322514


มหาวิทยาลัยมหิดล (แก้ไข | คุย | ประวัติ | ลิงก์ | เฝ้าดู | ปูม)ลงคะแนนและเสนอแนะ เสนอวันที่ 25/11/2559