ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผลคูณไขว้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
 
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
== นิยาม ==
== นิยาม ==
[[ภาพ:Right hand cross product.png|thumb|การหาทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์ด้วย[[กฎมือขวา]] ]]
[[ภาพ:Right hand cross product.png|thumb|การหาทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์ด้วย[[กฎมือขวา]] ]]
ผลคูณไขว้ของเวกเตอร์สองอัน '''a''' และ '''b''' เขียนแทนด้วย '''a''' × '''b''' ในปริภูมิสามมิติ คือเวกเตอร์ '''c''' ที่ตั้งฉากกับทั้ง '''a''' และ '''b''' โดยมีทิศทางตาม[[กฎมือขวา]]และมีขนาดเท่ากับ[[พื้นที่]]ของ[[รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน]]ที่เวกเตอร์สองอันนั้นครอบคลุม
ผลคูณไขว้ของเวกเตอร์สองอัน '''a''' และ '''b''' ในปริภูมิสามมิติ เขียนแทนด้วย '''a''' × '''b''' (อ่านว่า ''ครอส'') คือเวกเตอร์ '''c''' ที่ตั้งฉากกับทั้ง '''a''' และ '''b''' โดยมีทิศทางตาม[[กฎมือขวา]]และมีขนาดเท่ากับ[[พื้นที่]]ของ[[รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน]]ที่เวกเตอร์สองอันนั้นครอบคลุม


ผลคูณไขว้สามารถคำนวณได้จาก[[สูตร]]
ผลคูณไขว้สามารถคำนวณได้จาก[[สูตร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:57, 21 กันยายน 2550

ผลคูณไขว้ a × b มีทิศตรงข้ามกับ b × a

ในทางคณิตศาสตร์ ผลคูณไขว้ หรือ ผลคูณเชิงเวกเตอร์ คือการดำเนินการทวิภาคบนเวกเตอร์สองอันในปริภูมิแบบยุคลิดสามมิติ ซึ่งให้ผลลัพธ์เป็นเวกเตอร์อีกอันหนึ่งที่ตั้งฉากกับสองเวกเตอร์แรก ในขณะที่ผลคูณจุดของสองเวกเตอร์จะให้ผลลัพธ์เป็นปริมาณสเกลาร์ ผลคูณไขว้ไม่มีการนิยามบนมิติอื่นนอกจากสามมิติ และไม่มีคุณสมบัติการสลับที่ เมื่อเทียบกับผลคูณจุด สิ่งที่เหมือนกันคือผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับปริภูมิอิงระยะทาง (metric space) ของปริภูมิแบบยุคลิด แต่สิ่งที่ต่างกันคือผลลัพธ์จะขึ้นอยู่กับการกำหนดทิศทาง (orientation)

นิยาม

การหาทิศทางของเวกเตอร์ลัพธ์ด้วยกฎมือขวา

ผลคูณไขว้ของเวกเตอร์สองอัน a และ b ในปริภูมิสามมิติ เขียนแทนด้วย a × b (อ่านว่า ครอส) คือเวกเตอร์ c ที่ตั้งฉากกับทั้ง a และ b โดยมีทิศทางตามกฎมือขวาและมีขนาดเท่ากับพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่เวกเตอร์สองอันนั้นครอบคลุม

ผลคูณไขว้สามารถคำนวณได้จากสูตร

เมื่อ θ คือขนาดของมุม (ที่ไม่ใช่มุมป้าน) ระหว่าง a กับ b (0° ≤ θ ≤ 180°) a กับ b ในสูตรคือขนาดของเวกเตอร์ a และ b ตามลำดับ และ คือเวกเตอร์หน่วยที่ตั้งฉากกับเวกเตอร์ a และ b ถ้าหากทั้งสองเวกเตอร์นั้นร่วมเส้นตรงกัน (คือมีมุมระหว่างเวกเตอร์เป็น 0° หรือ 180°) ผลคูณไขว้จะได้ผลลัพธ์เป็นเวกเตอร์ศูนย์ 0

ทิศทางของเวกเตอร์ ถูกกำหนดโดยกฎมือขวา ซึ่งให้นิ้วชี้แทนทิศทางของเวกเตอร์ a และนิ้วกลางแทนทิศทางของเวกเตอร์ b ทิศทางของเวกเตอร์ จะอยู่ที่นิ้วโป้ง (ดูรูปทางขวาประกอบ)