ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมซุท เออซิล"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Panda Fonnapha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ย้อนการก่อกวน 1 ครั้งของ Panda Fonnapha (พูดคุย) ไปยังรุ่นโดย 27.145.43.179.ด้วย[[WP...
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ infobox football biography 2
{{ infobox football biography 2
| image = [[ไฟล์:Mesut Özil (9881761465) Cropped.jpg|200px]]
| image = [[ไฟล์:Mesut Özil (9881761465) Cropped.jpg|200px]]
| fullname = เมซุท เอ๋อซิล
| fullname = เมซุท เออซิล
| dateofbirth = {{birth date and age|1988|10|15|df=y}}
| dateofbirth = {{birth date and age|1988|10|15|df=y}}
| cityofbirth = [[เกลเซนเคียร์เชิน]],
| cityofbirth = [[เกลเซนเคียร์เชิน]],

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:34, 10 ธันวาคม 2560

เมซุท เออซิล
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม เมซุท เออซิล
เกิด (1988-10-15) 15 ตุลาคม ค.ศ. 1988 (35 ปี)
เกิดที่ เกลเซนเคียร์เชิน, เยอรมนีตะวันตก
สูง 1.81 m (5 ft 11 in)[1]
ตำแหน่ง กองกลางตัวรุก / ปีก
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน อาร์เซนอล
หมายเลข 11
ชุดเยาวชน
1995-1998 เวสต์ฟาเลีย 04 เกลเซนเคียร์เชิน
1998-1999 ทอยโทเนียชัลเคอ-นอร์ด
1999-2000 ฟัลเคอเกลเซนเคียร์เชิน
2000-2005 รอท-ไวสส์เอสเซิน
2005-2006 ชาลเก 04
ชุดใหญ่*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2006-2008 ชาลเก 04 30 (0)
2008-2010 แวร์เดอร์เบรเมิน 71 (13)
2010-2013 เรอัลมาดริด 105 (15)
2013- อาร์เซนอล 107 (21)
ทีมชาติ
2006-2007 เยอรมนีชุดยู 19 23 (4)
2007- เยอรมนีชุดยู 21 16 (5)
2009- เยอรมนี 84 (21)
  • จำนวนนัดที่ลงเล่นให้ชุดใหญ่และจำนวนประตูนับเฉพาะลีกท้องถิ่นเท่านั้น และ เป็นข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2014.

† ลงเล่น (ประตู)

‡ จำนวนนัดที่ลงเล่นและจำนวนประตูในนามทีมชาติ ข้อมูล ณ วันที่ 21 กันยายน 2014

เมซุท เออซิล (เยอรมัน: Mesut Özil; เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1988 ที่เมืองเกลเซนเคียร์เชิน) เป็นนักฟุตบอลชาวเยอรมันเชื้อสายตุรกี[2] โดยเป็นที่รู้จักกันดีจากการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวในฐานะนักฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้

เออซิลเล่นให้กับแวร์เดอร์เบรเมินและทีมชาติเยอรมนี ต่อมาได้ย้ายไปเรอัลมาดริด และได้ย้ายมาอาร์เซนอลด้วยค่าตัวราว 42.5 ล้านปอนด์ในไม่กี่ชั่วโมงก่อนปิดการซื้อขายตัวนักฟุตบอล ในช่วงต้นฤดูกาล 2013–14 เออซิลเป็นผู้เล่นตัวทำเกมที่มากความสามารถ โดยยิงประตูให้เรอัลมาดริดถึง 74 ลูก ในปี 2010–13

โดยการย้ายมาอาร์เซนอลครั้งนี้ นับเป็นการทำสถิติการซื้อตัวนักฟุตบอลที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ของอาร์เซนอล[3]

ในฤดูกาล 2014–15 เออซิลถูกวิจารณ์ว่าการเล่นตกลงไป ไม่โดดเด่นเหมือนฤดูกาลที่แล้ว ในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 ขณะที่เดินทางกลับไปเยอรมนี เออซิลได้ถูกตรวจพบว่าได้รับบาดเจ็บที่หัวเข่า ต้องพักรักษาเป็นเวลาราว 3 เดือน[4] ก่อนที่จะเริ่มกลับมาซ้อมและกลับมาลงเล่นอีกครั้งได้ในต้นปี ค.ศ. 2015[5] ในฐานะตัวสำรอง ที่เปลี่ยนตัวลงไปในนาทีที่ 73 แทนที่ออลีวีเย ฌีรู ที่ถูกเปลี่ยนออก ในนัดที่อาร์เซนอลพบกับสโตกซิตี ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม ผลการแข่งขันอาร์เซนอลชนะไป 3-0[6] เออซิลถูกส่งลงแข่งขันเป็นตัวจริงนัดแรกหลังจากหายบาดเจ็บกลับมา ในรายการเอฟเอคัพรอบสี่ ที่อาร์เซนอลบุกไปเอาชนะไบรตัน & โฮปอัลเบียน ไปได้ 3-2 โดยเป็นผู้ยิงประตูที่ 2 ได้ในนาทีที่ 24 ด้วย[7] และยิงเป็นครั้งแรกในพรีเมียร์ลีกหลังจากหายอาการบาดเจ็บกลับมา ในนัดที่ 23 ของฤดูกาล ที่อาร์เซนอลเป็นฝ่ายเอาชนะแอสตันวิลลา ไปได้ถึง 5-0 ที่สนามเอมิเรตส์สเตเดียม โดยเออซิลยิงได้ในนาทีที่ 56 นับเป็นประตูที่ 2 ของการแข่งขันนัดนี้[8]

และต่อมาได้รับรางวัลนักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมนักฟุตบอลอาชีพ (PFA) ประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 2015[9]

ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2015–16 รอบแบ่งกลุ่ม อาร์เซนอลอยู่ในกลุ่มเอฟ และมีสถานการณ์บีบบังคับให้ต้องชนะบาเยิร์นมิวนิกให้ได้ที่สนามเอมิเรตส์ เนื่องจากอาร์เซนอลก่อนหน้านั้นแพ้มาแล้ว 2 นัด ยังไม่มีคะแนนเลย ขณะที่บาเยิร์นมิวนิกตั้งแต่เปิดฤดูกาลมายังไม่เคยแพ้ใคร ซ้ำยังเป็นผู้ชนะติดต่อกันรวด 12 นัดในทุกรายการ และผู้เล่นทุกคนเล่นได้อย่างโดดเด่นมาก โดยเฉพาะรอแบร์ต แลวันดอฟสกี กองหน้าของทีม ที่ยิงในบุนเดสลีกาได้ถึง 5 ลูกก่อนหน้านั้น แต่ในครั้งนี้ เออซิลสามารถยิงประตูได้ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บนาทีที่ 4 ของครึ่งหลัง นับเป็นประตูที่ 2 จบการแข่งขันอาร์เซนอลชนะบาเยิร์นมิวนิกไป 2-0 ทำให้ยังมีโอกาสพลิกสถานการณ์เข้ารอบต่อไป และทำให้บาเยิร์นมิวนิกแพ้เป็นนัดแรกของฤดูกาลอีกด้วย[10]

ในฤดูกาล 2015–16 เออซิลได้ทำสถิติใหม่ ด้วยเป็นผู้จ่ายส่งลูกบอลให้เพื่อนร่วมทีมทำประตูได้ในลีกมากที่สุด โดยลงเล่นทั้งหมด 57 นัดทำไป 21 การจ่ายส่ง คิดเป็นจ่าย 1 ประตูต่อ 2.71 นัด และยังทำสถิตินี้ติดต่อกันถึง 10 ครั้งด้วยกัน ชนิดที่ไม่มีผู้เล่นคนไหนทำได้มาก่อน[11] ทำลายสถิติเดิมของเอริก ก็องโตนา ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ที่เคยทำไว้ที่ 1 ประตูต่อ 2.79 นัด[12]

ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 เออซิลได้ออกหนังสืออัตชีวประวัติในชื่อ The Magic of the Game / Gunning for Greatness[13][14]

อ้างอิง

  1. "Biography for Mesut Özil".
  2. White, Duncan (12 June 2010). "Germany v Australia: Mesut Ozil at head of the vanguard for new generation". Telegraph. สืบค้นเมื่อ 17 June 2010.
  3. หน้า 20 กีฬา, มองการบริหารจัดการจาก 'ตลาดนักเตะ'. "ฟรีสไตล์" โดย ณัฐวุฒิ ประคองศิลป์. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,340: เสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556
  4. "'ปืน'ปวดตับ! 'อินทรี'ยัน'โอซิล' เข่าพังพักยาว 12 วีค". ไทยรัฐ. 8 October 2014. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  5. "เวนเกอร์เผยโอซิลกระสันโชว์ฟอร์มแจ่ม". สยามสปอร์ต. 11 January 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  6. "อเล็กซิสเบิ้ล!ปืนยิงสลุตรัวช่างปั้นหม้อยับ3-0". สยามสปอร์ต. 11 January 2015. สืบค้นเมื่อ 12 January 2015.
  7. ""ปืนโต" เชือดหวิว 3-2 "วัลคอตต์-โอซิล" คัมแบ็กซัด". ผู้จัดการออนไลน์. 26 January 2015. สืบค้นเมื่อ 26 January 2015.
  8. หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, ปืนใหญ่ยิงสลุตวิลลายับ 5-0. "ปืนใหญ่รัวฆ่าสิงห์ผงาด". เดลินิวส์ฉบับที่ 23,853: วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะเมีย
  9. "โอซิล ผงาดซิวนักเตะยอดเยี่ยม PFA เดือนเมษายน". arsenal.in.th. 1 May 2015. สืบค้นเมื่อ 2 May 2015.
  10. "Arsenal 2 - 0 Bayern Munich". livescore.net. 2015-05-31. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  11. "ราชาแอสซิสต์". ไทยรัฐ. 2015-11-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
  12. ""โอซิล" ขึ้นแท่น "ราชาแอสซิสต์" แห่งพรีเมียร์ฯ แซง "ก็องโต"". ผู้จัดการออนไลน์. 2015-10-27. สืบค้นเมื่อ 2015-11-11.
  13. "Revealed: How Mesut Ozil pleaded with Arsenal manager Arsene Wenger to end his Real Madrid hell". Metro.co.uk. 3 March 2017. สืบค้นเมื่อ 13 March 2017.
  14. "Arsenal's Mesut Özil was called a 'coward' by Jose Mourinho in blistering dressing-room row at Real Madrid". Independent.co.uk. 2 March 2017. สืบค้นเมื่อ 13 March 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น