ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขของ 171.4.111.249 (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Addbot
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 56: บรรทัด 56:
* '''[[วิกิพีเดีย:หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ|หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ]]'''
* '''[[วิกิพีเดีย:หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ|หลีกเลี่ยงถ้อยคำคลุมเครือ]]'''
: พึงหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงหรือความเห็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะทำให้ข้อความไม่ชัดเจนและอาจเข้าใจผิดได้
: พึงหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงหรือความเห็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะทำให้ข้อความไม่ชัดเจนและอาจเข้าใจผิดได้

== ดูเพิ่ม ==
* [[วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ]]
* [[วิกิพีเดีย:ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย]]


{{หลักการของวิกิพีเดีย}}
{{นโยบายและแนวปฏิบัติ}}
[[หมวดหมู่:แนวปฏิบัติวิกิพีเดีย| ]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:20, 25 พฤศจิกายน 2560

รายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมด นี้เป็นการสรุปแนวปฏิบัติซึ่งได้มีการใช้และได้รับการยอมรับโดยทั่วกันของผู้ใช้วิกิพีเดีย แนวปฏิบัติแตกต่างจากนโยบายตรงที่ แนวปฏิบัติจะเป็นสิ่งที่ยืดหยุ่นได้มากกว่า และมักจะมีข้อยกเว้นในบางครั้ง รวมไปถึง อาจได้รับการแก้ไขหรือเพิ่มเติมได้อย่างรวดเร็ว

อ่านหน้า วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ เพื่อให้เข้าใจภาพรวมว่าแนวปฏิบัติต่าง ๆ คืออะไร จุดประสงค์ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออะไร และทำไมต้องมีแนวปฏิบัติเหล่านี้ คุณสามารถดูรายชื่อแนวปฏิบัติทั้งหมดในวิกิพีเดียไทยได้ที่ หมวดหมู่:แนวปฏิบัติวิกิพีเดีย

รายชื่อแนวปฏิบัติสามารถแบ่งออกได้เป็นหมวดหมู่ ดังนี้:

  • พฤติกรรม: เป็นการสรุปพฤติกรรมที่ผู้ใช้วิกิพีเดียพึงมีในการติตต่อกันระหว่างผู้ใช้วิกิพีเดียด้วยกัน
  • เนื้อหา: เป็นการสรุปการพัฒนาตัวบทความและส่วนประกอบของตัวบทความ ในการพัฒนาสารานุกรม
  • การแก้ไข: เป็นการแนะนำการจัดหมวดหมู่ หน้าเปลี่ยนทาง และแนวปฏิบัติในการแก้ไขเพิ่มเติมบทความอื่น ๆ
  • ความสำคัญของเนื้อหา: เป็นการสรุปว่าเรื่องใดเหมาะสมแก่การเขียนเป็นบทความในวิกิพีเดีย
  • แนวทางการเขียน: เป็นการสรุปแนวทางในการเขียนบทความในวิกิพีเดีย

พฤติกรรม

นอกเหนือจากว่าคุณจะมีหลักฐานที่หนาแน่นชัดเจน พยายามเชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาที่ดีในการเข้ามาแก้ไขวิกิพีเดีย ไม่ใช่มาทำลายมัน
อย่าใช้วิกิพีเดียเป็นสถานที่ในการโฆษณาตัวบุคคล สถานที่ หรือเว็บไซต์
ผู้ใช้วิกิพีเดียทั้งหลายย่อมมีความแตกต่างกันเป็นเรื่องธรรมดา คุณควรจะปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ จะเป็นการช่วยในการสร้างสารานุกรมที่ดีได้
ผู้ใช้ใหม่จำนวนมากอาจยังไม่เข้าใจนโยบายของวิกิพีเดีย โปรดเข้าใจว่าผู้ใช้ใหม่เป็นสมาชิกของสังคมวิกิพีเดียและเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีค่าของเรา
อย่าลืมลงชื่อท้ายข้อความของคุณในหน้าอภิปรายหรือหน้าพูดคุยโดยการพิมพ์ ~~~~ ทุกครั้งเพื่อให้ผู้อื่นสามารถแบ่งแยกข้อความของบุคคลอื่นๆ ได้ แต่อย่าลงชื่อในหน้าบทความ
คุณสามารถเพิ่มเติมข้อมูลที่เกี่ยวกับตัวคุณได้ แต่ต้องไม่ละเมิดนโยบายของวิกิพีเดีย

เนื้อหา

หลีกเลี่ยงการเขียนหรือแก้ไขบทความเกี่ยวกับตัวคุณเอง เว้นแต่แก้ไขข้อมูลเล็กๆ น้อยๆ ที่คลาดเคลื่อน อาทิ วันเกิด สถาบันที่จบการศึกษา
เพิ่มเติมหรือแก้ไขแหล่งที่มาของข้อมูล
อย่าใช้วิกิพีเดียเป็นช่องทางในการโฆษณา
ภาพที่ใส่ควรสัมพันธ์กับบทความ มีการอ้างอิงที่มาอย่างถูกต้อง และขนาดใหญ่เพียงพอที่จะแสดงรายละเอียดชัดเจน
การที่ข้อความใดข้อความหนึ่งทำให้เสียอรรถรสไม่เป็นเหตุให้ข้อความดังกล่าวถูกลบไปจากบทความได้

การแก้ไข

วิกิพีเดียจะพัฒนาเร็วยิ่งขึ้นถ้าหากทุกคนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงไวยากรณ์และรูปแบบของวิกิพีเดีย ใส่ข้อเท็จจริงเพิ่ม และอื่น ๆ เราต้องการให้ทุกคนที่เข้ามาในวิกิพีเดียกล้าที่จะแก้ไขบทความ
คำอธิบายอย่างย่อช่วยให้ผู้ใช้ท่านอื่นๆ ทราบการแก้ไขของคุณ
ในบางครั้งบทความอาจไม่มีเนื้อหาอย่างชัดเจน เช่น ไร้สาระ หรือไม่อาจทำความเข้าใจได้ ซึ่งไม่มีเหตุผลใดๆ ที่บทความในวิกิพีเดียจะไม่มีเนื้อหาที่ชัดเจน

ความสำคัญของเนื้อหา

บทความในวิกิพีเดียจะต้องนับได้ว่ามีคุณค่าที่จะศึกษาในฐานะที่เป็นสารานุกรม

แนวทางการเขียน

ถือเป็นแนวปฏิบัติหลักในการแก้ไขบทความทั้งหมด
เพื่อให้เนื้อหาและรูปแบบมีแนวทางสอดคล้องกัน
พึงหลีกเลี่ยงการใช้ข้อความที่ไม่มีแหล่งอ้างอิงหรือความเห็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะทำให้ข้อความไม่ชัดเจนและอาจเข้าใจผิดได้