ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 249: บรรทัด 249:
== พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ==
== พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ==
{{บทความหลัก|พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
{{บทความหลัก|พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช}}
[[ไฟล์:Royal crematorium of Bhumibol Adulyadej - 2017-11-03 (01).jpg|thumb|400x400px|พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
[[ไฟล์:Royal crematorium of Bhumibol Adulyadej - 2017-11-05.jpg|thumb|400x400px|พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
[[ไฟล์:The second procession of the King Bhumibol Adulyadej's royal cremation ceremony.jpg|thumb|320px|ริ้วกระบวนเชิญ[[พระมหาพิชัยราชรถ]]ทรงพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
[[ไฟล์:The second procession of the King Bhumibol Adulyadej's royal cremation ceremony.jpg|thumb|320px|ริ้วกระบวนเชิญ[[พระมหาพิชัยราชรถ]]ทรงพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:59, 12 พฤศจิกายน 2560

การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ไฟล์:King Bhumibol Adulyadej's golden urn.jpg
วันที่13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (สวรรคต)
26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 (พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ)
ที่ตั้งพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
ผู้เข้าร่วมราชวงศ์ไทย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 15.52 นาฬิกา ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช รัฐบาลประกาศไว้ทุกข์ถวายความอาลัยเป็นเวลา 1 ปี สำนักพระราชวังมีหมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตและวันหยุดราชการเพื่อให้ประชาชนน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ[1] [2] และได้กำหนดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพขึ้นในวันที่ 25 - 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560[3] รวมถึงได้ประกาศให้วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพเป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ[4]

พระอาการประชวร

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 สำนักพระราชวังแจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จะเสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ ชั้น 16 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช ตามคำกราบบังคมทูลเชิญเพื่อมาตรวจพระวรกายของคณะแพทย์ ผลการตรวจพบว่าพระโลหิต อุณหภูมิพระวรกาย ความดันพระโลหิตพระหทัย และระบบการหายพระทัยเป็นปกติ[5]

ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์ประชวร ว่ามีพระปรอทต่ำ หายพระทัยเร็ว มีพระเสมหะ พระปับผาสะซ้ายอักเสบ มีพระโลหิตเป็นกรด และพบว่ามีน้ำคั่งในช่องเยื่อหุ้มพระปัปผาสะเล็กน้อย[6]

ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีความดันพระโลหิตลดต่ำลง คณะแพทย์จึงรักษาด้วยพระโอสถปฏิชีวนะ และใช้สายสวนเข้าหลอดพระโลหิตดำเพื่อฟอกพระโลหิตระยะยาว แต่มีพระความดันพระโลหิตต่ำจึงใช้เครื่องช่วยหายพระทัย และมีการฟอกไต พระอาการไม่คงที่[7] ก่อนที่พระอาการจะเริ่มทรุดลงเรื่อย ๆ ทรงมีการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปกติ และมีแถลงการณ์สำนักพระราชวัง ฉบับที่ 38 ความว่า[8]

วันนี้ คณะแพทย์ผู้ถวายการรักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความดันพระโลหิตลดต่ำลงอีก พระชีพจรเร็วขึ้น ร่วมกับภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้นอีก ผลของการถวายตรวจพระโลหิตบ่งชี้ว่า มีภาวะการติดเชื้อและการทำงานของพระยกนะ (ตับ) ผิดปรกติ คณะแพทย์ฯ ได้ถวายพระโอสถปฏิชีวนะและแก้ไขภาวะพระโลหิตมีความเป็นกรด ตลอดจนถวายพระโอสถควบคุมความดันพระโลหิตเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งถวายเครื่องช่วยหายพระทัย (Ventilator) และถวายการรักษาด้วยวิธีทดแทนไต (CRRT) พระอาการประชวรโดยรวมยังไม่คงที่ ต้องควบคุมด้วยพระโอสถ คณะแพทย์ฯ ได้เฝ้าติดตามพระอาการและถวายการรักษาอย่างใกล้ชิด

วันที่ 12 ตุลาคม พระราชโอรส-ธิดาทั้งสี่พระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ และพระเจ้าหลานเธออีกสองพระองค์เข้าเยี่ยมพระอาการประชวร[9] โดยนับตั้งแต่สำนักพระราชวังได้แถลงการณ์พระอาการประชวร ฉบับที่ 37 ประชาชนจำนวนมากได้เดินทางมายังโรงพยาบาลศิริราชเพื่อถวายพระพรให้ทรงหายจากพระอาการประชวร กิจกรรมสำคัญคือการสวดบทโพชฌังคปริตร ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นบทสวดมนต์ปัดเป่าโรคร้าย[10] พร้อมทั้งมีการเชิญชวนประชาชนสวมเสื้อสีชมพูซึ่งเป็นสีเสริมดวงพระราชสมภพและมีการร่วมกันถวายพระพรทั่วทั้งสื่อสังคม[11] วันที่ 13 ตุลาคม พระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์เสด็จฯ มายังโรงพยาบาลศิริราช[12]

สวรรคต

สำนักพระราชวังมีประกาศเรื่องพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร สวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ความว่า

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปประทับรักษาพระอาการประชวร ณ โรงพยาบาลศิริราช ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ตามที่สำนักพระราชวังได้แถลงให้ทราบเป็นระยะแล้วนั้น แม้คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างใกล้ชิดจนสุดความสามารถ แต่พระอาการประชวรหาคลายไม่ ได้ทรุดหนักลงตามลำดับ ถึงวันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 เวลา 15 นาฬิกา 52 นาที เสด็จสวรรคต ณ โรงพยาบาลศิริราช ด้วยพระอาการสงบ สิริพระชนมพรรษาปีที่ 89 ทรงครองราชสมบัติได้ 70 ปี

— สำนักพระราชวัง 13 ตุลาคม พุทธศักราช 2559

มีคลิปศาสตราจารย์ นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ แพทย์ผู้อยู่ถวายการรักษาขณะสวรรคต ให้สัมภาษณ์ว่าเสด็จสวรรคตด้วยภาวะเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย[13] หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ถูกเลิกจ้าง โดยคำสั่งคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุเหตุผลว่า "...เนื่องจากได้มีการนำข้อมูลของผู้ป่วยไปเผยแพร่ในที่สาธารณะ"[14]

เคลื่อนพระบรมศพสู่พระบรมมหาราชวัง

ไฟล์:King Bhumibol's body transferred to palace.jpg
ขบวนเคลื่อนพระบรมศพฯ จากโรงพยาบาลศิริราช ไปยังพระบรมมหาราชวัง

วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเคลื่อนพระบรมศพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชไปพระบรมมหาราชวัง เพื่อประกอบพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ ณ พระที่นั่งพิมานรัตยา โดยขบวนเคลื่อนออกจากโรงพยาบาลศิริราชทางถนนอรุณอมรินทร์ ผ่านไปยังแยกอรุณอมรินทร์ขึ้นสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า เคลื่อนต่อไปถนนราชดำเนินในสู่พระบรมมหาราชวังทางถนนหน้าพระลานที่ประตูพิมานไชยศรีและประตูเทวาภิรมย์[15]

ประชาชนถวายน้ำสรงพระบรมศพ

ตั้งแต่เวลา 08.00–14.00 น. สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายน้ำสรงพระบรมศพ หน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง[16]

ประชาชนถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์

สำนักพระราชวังให้ประชาชนเข้าถวายสักการะหน้าพระบรมฉายาลักษณ์[17] และได้จัดสมุดลงนามถวายความอาลัย ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จนถึงวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ณ ศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง

ประชาชนถวายสักการะพระบรมศพ

ประชาชนต่อแถวเพื่อรอเข้าสักการะพระบรมศพ

สำนักพระราชวังได้รับพระราชานุญาต ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เวลา 05.00–21.00 น. และร่วมบริจาคเงินสมทบทุน ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2559[18] จนถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560[19] ยกเว้นกรณีต่อไปนี้ ซึ่งมีประกาศให้งดการถวายสักการะพระบรมศพจากสำนักพระราชวัง

วันที่ พระราชพิธีหรืองานสำคัญ อ้างอิง
1 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559 พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน) [20]
1 มกราคม พ.ศ. 2560 วันขึ้นปีใหม่ พ.ศ. 2560 [21]
20 – 21 มกราคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร (100 วัน) [22]

ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ สำนักพระราชวังได้สรุปยอดรวมมีประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพรวม 12,739,531 คน[23]รวมระยะเวลาที่สำนักพระราชวังเปิดให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระบรมศพ 337 วัน

การแสดงความอาลัย

ภายในประเทศ

พระบรมฉายาลักษณ์ประดับไว้เพื่อการแสดงความอาลัย ณ ท้องสนามหลวง
ธงครึ่งเสาที่หน้ากระทรวงกลาโหม กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย แสดงความเสียใจต่อการสวรรคต ขอให้ประชาชนร่วมถวายความอาลัยและดำเนินชีวิตต่อไป[24]

รัฐบาลประกาศให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และสถานศึกษาทุกแห่งลดธงครึ่งเสา มีกำหนด 30 วัน และให้ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจไว้ทุกข์ มีกำหนด 1 ปี เริ่มนับแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559[25] โดยต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาไว้ทุกข์ต่อไปอีก 14 วัน[26](ยกเว้นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม[27] และในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2560 เฉพาะงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9[28]) รวมทั้งยังมีประกาศขอความร่วมมือให้งดจัดงานรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน ส่งผลให้การแสดงรื่นรมย์ต่าง ๆ เช่น คอนเสิร์ต งานมหกรรม กิจกรรมกีฬา การแสดงต่าง ๆ ต่างยกเลิกหรือเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด รวมทั้งสถานบันเทิงต่าง ๆ หลายแห่งปิดการให้บริการชั่วคราว[29] และยังมีการประกาศให้วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นวันหยุดราชการด้วย[30]

การแสดงความอาลัยในสื่อสังคม

เว็บไซต์ในประเทศไทยเปลี่ยนสีเป็นขาว-ดำหรือสเกลสีเทา เพื่อแสดงความอาลัย

ในสื่อสังคมต่าง ๆ มีการแสดงความอาลัยเป็นจำนวนมาก เช่นในเฟซบุ๊ก มีผู้ใช้งานจำนวนมากเปลี่ยนภาพผู้ใช้เพื่อแสดงความอาลัย เพจดังต่าง ๆ ลงภาพแสดงความอาลัยและงดลงเนื้อหาบันเทิงเป็นการชั่วคราว[31] รวมทั้งทางเฟซบุ๊กยังประกาศงดโฆษณาในเว็บไซต์ภาคภาษาไทยอย่างไม่มีกำหนดเพื่อแสดงความอาลัย,[32] กูเกิลประเทศไทยมีการเปลี่ยนดูเดิลเป็นสีดำเพื่อแสดงความอาลัย,[33] ยูทูบงดโฆษณา 7 วันเช่นกัน, ดาราและนักแสดงต่างร่วมกันแสดงความอาลัยผ่านทางอินสตาแกรมและทวิตเตอร์[34] นอกจากนี้เว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วประเทศได้เปลี่ยนสีเว็บเป็นขาวดำเพื่อแสดงความอาลัยด้วย [35]จนกระทั่งภายหลังได้ปรับสีเว็บเข้าสู่สีปกติ โดยมีการประดับริบบิ้นสีดำที่มุมหน้าจอ

และชาวต่างประเทศ อาทิ โชโกะ คาริยาซากิ โยชิมิ โทคุอิ ฮัม อึนจอง ถวายความอาลัยผ่านยูทูบและอินสตาแกรม[36]

การดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ภายหลังการสวรรคต

สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องออกอากาศรายการพิเศษจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เป็นการฉายสารคดีพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชตลอดรัชกาล สลับกับการแถลงการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสวรรคต วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีการถ่ายทอดสดการเชิญพระบรมศพจากโรงพยาบาลศิริราชไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยาในพระบรมมหาราชวัง และพระราชพิธีสรงน้ำพระบรมศพ กระทั่งเวลา 00.00 น. วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2559 จึงเริ่มการออกอากาศรายการต่าง ๆ ตามปกติ เดิมพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด แถลงว่า รัฐบาลขอความร่วมมืองดรายการตามปกติและรับสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยเป็นเวลา 30 วัน ก่อนถูกยกเลิกไป[37] สำนักงาน กสทช. ได้ขอความร่วมมือให้งดรายการรื่นเริงต่าง ๆ เป็นเวลา 30 วัน[38]

ต่อมาในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559 สำนักงาน กสทช. ออกแนวปฏิบัติในการนำเสนอรายการทางโทรทัศน์ โดยในช่วง 15-30 วันหลังการสวรรคต ให้สถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ระมัดระวังและตรวจสอบการนำเสนอเนื้อหา การวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งแสดงถึงหรือกล่าวถึงความขัดแย้งในด้านต่าง ๆ ที่อาจนำไปสู่ความแตกแยกในสังคม และขอความร่วมมือในการปรับสีรายการต่าง ๆ ไม่ให้ฉูดฉาดจนเกินไป ในช่วง 31-37 วันถัดมา สามารถนำรายการเด็ก รายการทั่วไป และรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ออกอากาศได้ โดยมีการควบคุมเนื้อหา และตั้งแต่วันที่ 38-100 หลังการสวรรคต สามารถนำรายการแนะนำเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ออกอากาศได้ แต่ไม่ควรมีเรื่องของความรุนแรง เรื่องทางเพศ และถ้อยคำหยาบคาย[39]

ต่อมาในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 สำนักงาน กสทช. ได้ออกแนวปฏิบัติในการนำเสนอรายการทางโทรทัศน์ เมื่อล่วงพ้นระยะเวลา 100 วัน หลังการเสด็จสวรรคต โดยให้นำรายการปกติมาออกอากาศได้ แต่ต้องปฏิบัติตามประกาศ หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการกำกับเนื้อหารายการผังรายการ และการจัดระดับความเหมาะสมของรายการตามที่ กสทช. กำหนดโดยเคร่งครัด รวมทั้งควรสอดแทรกรายการที่เกี่ยวกับการพระราชกรณียกิจ แนวความคิด และปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสารคดีเทิดพระเกียรติพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์อย่างต่อเนื่อง จนกว่าจะเสร็จสิ้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ นอกจากนี้ กรณีที่มีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และพระราชพิธีต่าง ๆ รวมถึงรายการ "ศาสตร์แห่งพระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน" จากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ให้ทุกสถานีเชื่อมโยงสัญญาณในทันที[40]สถานีโทรทัศน์ยังรายงานกรณีบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้าถวายความเคารพพระบรมศพอาทิ หมี เสว่[41]ดินีช เมธา[42]

ระดับนานาชาติ

ผลกระทบ

ประชาชนบางส่วนโจมตีผู้ไม่สวมเสื้อสีดำ แสดงการไว้ทุกข์ เกิดเหตุการณ์ล่าแม่มด บางส่วนมีพฤติกรรมรุนแรง ถึงขั้นประจานทางสื่อออนไลน์[43] จากเหตุการณ์ดังกล่าว พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด รักษาการอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอให้ประชาชนที่ไม่สามารถจัดหาเสื้อผ้าสีดำหรือสีขาวมาร่วมแสดงความอาลัยได้ ติดริบบิ้นหรือโบสีดำบนหน้าอกเสื้อหรือที่แขนเสื้อบริเวณต้นแขนเพื่อเป็นการแสดงสัญลักษณ์ความอาลัยแทน[44][45]

นอกจากนี้ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่งในจังหวัดภูเก็ตปิดล้อมบ้านของลูกชายเจ้าของร้านน้ำเต้าหู้ที่โพสต์ข้อความที่เข้าข่ายผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112[46] เจ้าหน้าที่ตำรวจแจ้งว่าโพสต์นั้นมิได้มีเนื้อหาหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่สุดท้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมตัวชายคนนั้นในข้อหาดังกล่าว นอกจากนี้ยังเกิดเหตุการณ์คล้ายกันในจังหวัดพังงา[47]

กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ประกาศใส่เสื้อสีแดงในวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและป้อนภาพลงสู่เฟซบุ๊ก อาทิ จรรยา ยิ้มประเสริฐ ปวิน ชัชวาลย์พงศ์พันธุ์ และ เอกชัย หงส์กังวาน

รายการผู้แทนต่างประเทศที่ร่วมพระราชพิธีพระบรมศพ

ผู้นำและประมุขของแต่ละประเทศ ตลอดจนผู้แทนพระองค์หรือผู้แทนพิเศษของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ และเดินทางมาร่วมวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และลงพระนามและลงนามแสดงความอาลัย ณ ศาลาว่าการพระราชวัง และอาคารสำนักราชเลขาธิการ มีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้

พระราชพิธีถวายน้ำสรงพระบรมศพ

ไฟล์:King Bhumibol's Funeral Bathing Ceremony.jpg
พระราชพิธีถวายน้ำสรงบรมพระศพ

วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เวลา 17.00 นาฬิกาโดยประมาณ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ครั้งยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินยังพระที่นั่งพิมานรัตยา ในพระบรมมหาราชวังในการถวายสรงน้ำพระบรมศพ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จเข้าสู่ภายในพระฉาก ซึ่งพระบรมศพบรรทมอยู่บนพระแท่น

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสำหรับพระบรมศพบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร จุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยราชสักการะพระบรมศพ ทรงรับขวดน้ำพระสุคนธ์ โถน้ำอบไทยและโถน้ำขมิ้น ถวายสรงที่พระบาทพระบรมศพ ต่อจากนั้น ทรงหวีเส้นพระเจ้าพระบรมศพขึ้นครั้งหนึ่ง หวีลงอีกครั้งหนึ่ง แล้วหวีขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แล้วทรงหักพระสางนั้นวางไว้ในพานซึ่งเจ้าพนักงานเชิญอยู่ จากนั้นเสด็จฯ ไปทรงถวายซองพระศรีบรรจุดอกบัวและธูปเทียน แผ่นทองคำจำหลักลายปิดพระพักตร์ พระชฎาห้ายอดวางข้างพระเศียรพระบรมศพ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานเชิญพระบรมศพลงสู่หีบ ทหารราชวัลลภรักษาพระองค์เชิญหีบพระบรมศพไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารและพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินและเสด็จตาม ตำรวจหลวงเชิญหีบพระบรมศพขึ้นประดิษฐานเหนือพระแท่นแว่นฟ้าเบื้องหลังพระฉากและพระแท่นสุวรรณเบญจดล ประกอบพระลองทองใหญ่ ภายใต้นพปฎลเศวตฉัตร แวดล้อมด้วยเครื่องสูงหักทองขวาง บังแทรก ชุมสาย ต้นไม้ทองเงิน ณ มุขตะวันตก พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท

เสร็จแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงวางพวงมาลาที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยและเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงกราบ แล้วทรงจุดเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ เจ้าพนักงานนิมนต์พระสงฆ์เที่ยวละ 10 รูป ทรงทอดผ้าไตรเที่ยวละ 10 ไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์ เมื่อครบ 100 รูป ทรงหลั่งทักษิโณทก ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระโกศพระบรมศพ ทรงกราบ และเสด็จพระราชดำเนินไปที่หน้าพระพุทธรูปประจำพระชนมวารที่ประดิษฐานอยู่บนพระแท่นมหาเศวตฉัตร ทรงกราบ จากนั้นทรงจุดธูปเทียนเครื่องบูชากระบะมุกที่หน้าพระแท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม ณ มุขหน้าพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จากนั้น เสด็จลงบันไดมุขกระสันด้านทิศเหนือพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ

การบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ

หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ

สำนักพระราชวัง กำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ดังนี้[82]

พระราชพิธี ระยะเวลา วันที่
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร 7 วัน 19 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร 15 วัน 27 – 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร 50 วัน 1 – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสตมวาร 100 วัน 20 – 21 มกราคม พ.ศ. 2560
พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลครบรอบ 1 ปี วันสวรรคต 365 วัน 13 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พิธีถวายเลี้ยงภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระพิธีธรรม

ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการถวายภัตตาหารเช้าและเพลแด่พระภิกษุสงฆ์ ระหว่างการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระศพ ครบทั้ง 100 วัน ถึง วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง เวลา 7 นาฬิกา และเวลา 11 นาฬิกา

พระพิธีธรรมพิธีสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ

ตั้งแต่คืนวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559 พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมศพฯ ในการพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพตลอด 100 วัน ถึงวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในเวลา 15 นาฬิกา เวลา 19 นาฬิกา และเวลา 21 นาฬิกา

การบำเพ็ญกุศลพิธีกงเต็กถวายพระบรมศพ

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้คณะสงฆ์จีนนิกาย คณะสงฆ์อนัมนิกาย นายกองเอก[83] เจริญ สิริวัฒนภักดี และ คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี พร้อมครอบครัวสิริวัฒนภักดี สมาคมนักธุรกิจสัมพันธ์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง เป็นเจ้าภาพบำเพ็ญกุศลพิธีกงเต็ก ถวายพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560 วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 และวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2560 ตามลำดับ[84]

การให้หน่วยงานหรือบุคคลต่าง ๆ ร่วมเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ราชสกุล องคมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม องค์กรอิสระ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน ร่วมเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมพระบรมศพ หลังจากการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัญญาสมวาร (50 วัน)

หีบพระบรมศพ

นายพรเทพ สุริยา เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวว่า สำนักพระราชวังได้ติดต่อให้จัดสร้างหีบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยสร้างหีบพระบรมศพทรงหลุยส์ผสมทองคำแท้ 100% จากแผ่นไม้สักทองอายุมากกว่า 100 ปีขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียวไม่มีรอยต่อ ขนาดความกว้าง 29 นิ้ว ความยาว 2.15 เมตร วัดรอบหีบทั้งใบ 229 นิ้ว ทั้งนี้ใช้เวลาประกอบทันทีหลังการเสด็จสวรรคต เจ้าของร้านสุริยาหีบศพ กล่าวเพิ่มเติมว่า หีบพระบรมศพดังกล่าวแกะสลักลายกุหลาบไทยผสมผสานลายหลุยส์ รอบหีบปิดด้วยทองคำแท้ ภายในหีบพระบรมศพ ใช้ผ้าไหมสีงาช้าง มีที่รองที่บรรทม และซีลภายในเพื่อความแข็งแรง ส่วนผ้าคลุมเป็นผ้าไหมปักดิ้นทอง ซึ่งทางสุริยาเป็นผู้ออกแบบเองทั้งหมด[85]

การประโคมย่ำยาม

ในการประโคมงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีหน่วยงานเข้าร่วมประโคม วงประโคมของงานเครื่องสูง สำนักพระราชวัง (วงแตรสังข์และวงปี่ไฉนกลองชนะและกลองมโหรทึก) และวงปี่พาทย์นางหงส์ ของกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ใช้ชื่อว่า "เย็นศิระ เพราะพระบริบาล" จัดขึ้น ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง เปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 โดยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จไปทรงเปิดนิทรรศการด้วยพระองค์เอง ภายในนิทรรศการมีการจัดนิทรรศการทั้งหมด 5 โซน ได้แก่ โซนที่ 1 บุญของแผ่นดินไทย โซนที่ 2 พระราชาผู้ทรงธรรม (ทำ) โซนที่ 3 กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ โซนที่ 4 พระมิ่งขวัญชาวไทย และโซนที่ 5 ร้อยใจไทย นอกจากนั้นในบริเวณจัดแสดงนิทรรศการยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิตด้วย[86]

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 เจ้าหน้าที่กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณโดยรอบพระบรมมหาราชวัง ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนที่กำลังรอคิวเข้าสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชว่า นิทรรศการนี้จะเปิดให้เข้าชมในวันที่ 15 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้าย และวันที่ 16 พฤษภาคม จะให้คณะรัฐมนตรีเข้าชมอีกครั้งก่อนจะปิดนิทรรศการ

โดยสาเหตุที่ต้องปิดนิทรรศการเร็วขึ้นเนื่องจากกรมศิลปากรกังวลเรื่องการก่อสร้างพระเมรุมาศ ถ้าต้องปิดตามกำหนดเดิมวันที่ 15 มิถุนายน แล้วค่อยส่งคืนพื้นที่จะทำให้งานล่าช้าหรืออาจเสร็จไม่ทัน เพราะขณะนี้เริ่มจะเข้าสู่ฤดูฝนแล้ว และยังต้องใช้เวลารื้อถอนประมาณ 15 วัน ซึ่งงานก่อสร้างพระเมรุมาศเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก จึงจำเป็นต้องปิดการเข้าชมให้เร็วกว่าที่กำหนดไว้ 1 เดือน ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีประชาชนเข้าชมแล้วประมาณ 4 แสนคน สำหรับที่ตั้งนิทรรศการเย็นศิระฯ แห่งใหม่ยังไม่ได้กำหนด แต่จะเก็บรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ไว้จัดแสดงไว้ก่อน ถ้าได้สถานที่ที่เหมาะสม ก็จะนำกลับไปติดตั้งตามเดิม[87]

และภายหลังจากที่รัฐบาลได้จัดนิทรรศการนี้บริเวณท้องสนามหลวง ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เป็นต้นมา เพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยทั้งชาติ และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ล่าสุดมีจำนวนผู้เข้าชม 395,050 คน ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย และหลังจากนี้กรมศิลปากรจะใช้พื้นที่ภายในท้องสนามหลวงเป็นเส้นทางขนส่งวัสดุอุปกรณ์ เพื่อเร่งก่อสร้างพระเมรุมาศพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกอบพระเมรุมาศให้แล้วเสร็จตามกำหนด รัฐบาลจึงได้ปิดให้เข้าชมนิทรรศการดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา โดยมีการจัดทำนิทรรศการในรูปแบบเสมือนจริง ผ่านทางเว็บไซต์ เย็นศิระ ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน เพื่อจำลองบรรยากาศของนิทรรศการที่จัดแสดง ณ ท้องสนามหลวง รวมทั้งผู้เข้าชมและประมวลภาพกิจกรรมต่าง ๆ จนถึงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ให้ประชาชนได้เข้าชมและเรียนรู้เรื่องราวของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยได้ทุกที่ ทุกเวลา รวมทั้งเก็บบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ให้แก่คนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป[88]

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ไฟล์:The second procession of the King Bhumibol Adulyadej's royal cremation ceremony.jpg
ริ้วกระบวนเชิญพระมหาพิชัยราชรถทรงพระโกศทองใหญ่ทรงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดเพื่อถวายความอาลัยเป็นครั้งสุดท้ายแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยรัฐบาลกำหนดวันพระราชพิธีระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 และได้ประกาศให้วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ[89]

สำหรับการดำเนินการพระราชพิธีฯ นั้น คณะทำงานทุกฝ่ายได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ เช่น พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน เป็นต้น ส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน รวมทั้งประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความร่วมสมัย[90] คาดการณ์ว่าการจัดสร้างพระเมรุมาศจะแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน พ.ศ. 2560[91] โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงเป็นองค์วินิจฉัยในการจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธี[92] และเครื่องประกอบพระราชพิธีนั้น ได้มีการซ่อมแซมพระมหาพิชัยราชรถ พระยานมาศสามลำคาน ราชรถน้อย พระที่นั่งราเชนทรยาน และพระวอสีวิกากาญจน์ เพื่อพร้อมใช้ในพิธีจริง นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างราชรถ ราชยานขึ้นมาใหม่ คือ ราชรถปืนใหญ่และพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย[93] ซึ่งราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบเหล่านี้ได้ใช้ในการซ้อมย่อยเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม และ 15 ตุลาคม รวมถึงการการซ้อมใหญ่ในวันที่ 21 ตุลาคม

คณะรัฐมนตรีได้กำหนดการพระราชพิธีถวายเพลิงพระบรมศพ โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 25 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 27 ตุลาคม, พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม[94]

ไฟล์:The Royal Cremation of Bhumibol Adulyadej.jpg
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15:01 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 07:24 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยพระราชาคณะ 30 รูป สดับปกรณ์ก่อนเชิญพระบรมโกศลงจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท โปรดเกล้า ฯ ให้เปลื้องพระลองทองใหญ่ประกอบพระบรมโกศออก และอัญเชิญพระบรมโกศไปประดิษฐานที่พระยานมาศสามลำคาน

หลังจากนั้น ริ้วขบวนที่ 1 จะอัญเชิญพระบรมโกศ โดยพระยานมาศสามลำคาน จากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ไปยังพระมหาพิชัยราชรถที่รออยู่ที่บริเวณหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เส้นทางจากประตูศรีสุนทร ประตูเทวาภิรมย์ ถนนมหาราช ถนนท้ายวังและถนนสนามไชย

จากนั้น ริ้วขบวนที่ 2 จะอัญเชิญพระบรมโกศโดยพระมหาพิชัยราชรถจากหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง เส้นทางจากหน้าวัดพระเชตุพนฯ ถนนสนามไชย ถนนราชดำเนิน เข้าถนนกลาง ท้องสนามหลวง

ต่อด้วย ริ้วขบวนที่ 3 เชิญพระบรมโกศโดยราชรถปืนใหญ่ เวียนรอบพระเมรุมาศโดยอุตราวัฎ (เวียนซ้าย) 3 รอบ แล้วอัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐานบนพระเมรุมาศ

เวลา 17:15 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[95] และในเวลา 22:30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นพระเมรุมาศ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพ (จริง)[96]

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวงในการพระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและอัญเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับสู่พระบรมมหาราชวัง

โดยริ้วขบวนที่ 4 อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิโดยพระที่นั่งราเชนทรยานและอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารโดยพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย จากพระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ไปยังพระบรมมหาราชวัง เส้นทางจากถนนกลางท้องสนามหลวง ออกถนนราชดำเนินใน เลี้ยวขวาเข้าถนนหน้าพระลาน เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง และแยกเป็น 2 สาย โดยสายพระที่นั่งราเชนทรยานจะอัญเชิญพระบรมอัฐิไปประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และสายพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประดิษฐานพักไว้ในพระศรีรัตนเจดีย์[97]

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17:32 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ[98]

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10:43 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ในการพระราชพิธีพระราชพิธีเลี้ยงพระและเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โดยริ้วขบวนที่ 5[99] และในเวลา 17:28 น. เสด็จพระราชดําเนินไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามและวัดบวรนิเวศวิหาร โดยริ้วขบวนที่ 6 ในการพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร[100]

ของที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีพระบรมศพ

หนังสือที่ระลึกงานพระบรมศพ

หนังสือพระราชทาน

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักราชเลขาธิการจัดพิมพ์หนังสือพระราชทาน สำหรับพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ พระราชวงศ์ องคมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และผู้ที่เข้าร่วมในการพระราชพิธีเป็นที่ระลึกอนุสรณ์วิทยาทาน เนื่องในโอกาสพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ครบ 7 วัน 15 วัน 50 วัน และ 100 วัน[101][102][103]

หนังสือที่จัดทำโดยรัฐบาล

ทางรัฐบาลและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงาน องค์กรในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ร่วมกันจัดทำหนังสือเพื่อเทิดพระเกียรติเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการฝ่ายจัดทำหนังสือที่ระลึกและจดหมายเหตุงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เห็นชอบให้จัดทำหนังสือจดหมายเหตุและหนังสือที่ระลึกงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพจำนวน 11 รายการ ดังนี้[104]

  • หนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • หนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฉบับประชาชน
  • หนังสือจดหมายเหตุงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากหนังสือพิมพ์ ฉบับสื่อมวลชน
  • หนังสือจดหมายเหตุและซีดีบทเพลงแสดงความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • หนังสือจดหมายเหตุกานท์กวีคีตการปวงประชา น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

จดหมายเหตุทั้ง 4 เล่มนี้จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร

  • หนังสือพระเมรุมาศสมัยรัตนโกสินทร์และพระเมรุ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช' 'จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร
  • หนังสือนวมินทราศิรวาทราชสดุดี ร้อยกรองเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • หนังสือพระราชพิธีในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  • หนังสือพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพในงานด้านศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
  • หนังสือศาสตร์ของพระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

หนังสือทั้ง 4 เล่มนี้จัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

  • หนังสือเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจัดพิมพ์โดย กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร

สิ่งเทิดพระเกียรติอื่นๆ

สปริงกรุ๊ป ได้จัดทำสมุดภาพเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ชุดสรรเสริญพระบารมี จำนวน 2 เล่ม เล่มแรกมีตอนเดียวคือ "นพพระภูมิบาล" ส่วนเล่มที่ 2 มี 4 ตอน คือ "เอกบรมจักริน" "พระสยามินทร์" "พระยศยิ่งยง" ซึ่งในสมุดภาพทั้งสองเล่มรวมสี่ตอนนี้จะเป็นการถ่ายทอดพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และตอนพิเศษ "ยงยศยงศักดา มหาวชิราลงกรณ" ซึ่งเป็นการถ่ายทอดพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รวมถึงยังได้รวบรวมเพลงสรรเสริญพระบารมีจำนวน 9 รูปแบบ มาไว้ในสมุดภาพเล่มที่ 2 ด้วย โดยผ่านการคัดสรรจากหน่วยงาน องค์กร และบุคคลที่มีความเชื่อมโยงกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชแล้ว[105][106]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดวันสำคัญของชาติไทย (วันที่ ๒๘ กรกฎาคม และวันที่ ๑๓ ตุลาคม)
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ ๒๓) พ.ศ. ๒๕๖๐
  3. โปรดเกล้าฯ กำหนดวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ 26 ตุลาคม 2560
  4. ครม.ให้ 26ต.ค.60 หยุดราชการ เพื่อ ปชช.ร่วมถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9
  5. ""ในหลวง"เสด็จ"รพ.ศิริราช" แพทย์ถวายตรวจพระอาการ". เดลินิวส์. 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "แถลงการณ์พระอาการ "ในหลวง" ฉบับที่ 36". มติชน. 1 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "แถลงฉบับที่ 37-พระอาการ "ในหลวง" คณะแพทย์เฝ้าติดตามถวายการรักษาใกล้ชิด". ข่าวสด. 10 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "แถลงการณ์ ฉ.38 ในหลวงพระโลหิตติดเชื้อ พระอาการไม่คงที่ ถวายรักษาใกล้ชิด". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จฯ รพ.ศิริราช". ไทยรัฐ. 12 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "พสกนิกรทยอย"ศิริราช"ร่วมสวดมนต์ถวายพระพร". โพสต์ทูเดย์. 13 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "คนไทยถวายพระพรในหลวงผ่านโซเชียลฯ". วอยซ์ทีวี. 13 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "พระบรมวงศานุวงศ์เสด็จศิริราชครบทุกพระองค์ พสกนิกรเปล่งเสียง"ทรงพระเจริญ"". ข่าวสด. 13 ตุลาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. คลิปหลุด หมอนิพนธ์ เล่าวันสุดท้ายแห่งพระชนชีพ ร.9
  14. ที่ ศธ 0517.07/17489 เรื่อง ขอยกเลิกสัญญาจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย. ฝ่ายทรัพยากรบุคคล สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ลงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559
  15. พระบรมฯ อัญเชิญ พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
  16. พสกนิกรนับหมื่นร่วมถวายน้ำสรงพระบรมศพ ปลายแถวยาวถึงเชิงสะพานปิ่นเกล้า
  17. ประกาศ การถวายสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
  18. สำนักพระราชวัง ให้เข้าถวายสักการะ “พระบรมศพ” บนพระที่นั่งดุสิตเริ่ม 29 ต.ค. ตั้งแต่ 08.00–21.00 น.
  19. โปรดเกล้าฯ เลื่อนกำหนดวันสุดท้าย กราบถวายบังคมพระบรมศพ 'ร.9' ถึง 5 ต.ค. 60
  20. "สำนักพระราชวังแจ้งงดสักการะพระบรมศพ 1-2 ธ.ค. และ 5-6 ธ.ค.พระราชพิธีทักษิณานุปทาน ร.9". มติชน. 22 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "งดถวายสักการะพระบรมศพ 'ร.9' ในวันขึ้นปีใหม่". กรุงเทพธุรกิจ. 20 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "งดเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ 20-21 ม.ค." โพสต์ทูเดย์. 6 มกราคม 2560. สืบค้นเมื่อ 23 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. สำนักพระราชวังสรุปยอดประชาชนเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพฯ รวม 12.7 ล้านคน
  24. นายกฯ แถลงเรื่องในหลวง"เสด็จสวรรคตวันที่ 13 ต.ค.59
  25. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสวรรคต
  26. ลดธงครึ่งเสา หยุดราชการ 26 ต.ค.วันเดียว งดรายการบันเทิงตลอดเดือน
  27. ประกาศสำนักจุฬาฯ มุสลิมแต่งดำไว้ทุกข์ผิดหลักอิสลาม
  28. กำหนดการและการแต่งกาย วันที่ 12 สิงหาคม 2560 เนื่องในวันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9
  29. รัฐบาลประกาศขอความร่วมมือ สถานประกอบการ-สถานบันเทิง งดกิจกรรมรื่นเริง
  30. ครม.อนุมัติ14ตค.เป็นวันหยุดราชการ-งดจัดงานรื่นเริงมหรสพ 1 เดือน
  31. หัวใจสลาย...โลกออนไลน์กลายเป็นสีดำ
  32. Facebook ประกาศ งดลงโฆษณาในไทยชั่วคราว
  33. Google ร่วมถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
  34. คนบันเทิงน้อมถวายความอาลัย"พ่อหลวง"เสด็จสู่สวรรคาลัย
  35. ความเปลี่ยนแปลงของโซเชียลมีเดียในไทย ต่อกรณีสวรรคต
  36. สองศิลปินจากแดนปลาดิบส่งคลิปถวายความอาลัยแด่ในหลวงรัชกาลที่๙ พร้อมให้กำลังใจคนไทย
  37. 'ไก่อู' แจง รบ.ขอความร่วมมือทีวีงดรายการปกติ เป็นเวลา 30วัน ตลอด 24ชม.
  38. กสทช.แจ้ง 'วิทยุทีวี' งดรายการบันเทิง30วัน
  39. กสท.สรุปข้อปฏิบัติรายการทีวีใน 30 วันห้ามฉายเนื้อหาสร้างความแตกแยก
  40. "กสทช." แจงเกณฑ์ออกทีวีหลังครบ100วันในหลวงร.9ทุกช่องยังต้องเชื่อมสัญญาณจากทรท.อย่างเคร่งครัด
  41. 'หมีเซียะ' เข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพ รัชกาลที่ 9
  42. นักแสดงซีรีส์ "พระพุทธเจ้า" เดินทางมาร่วมสักการะพระบรมศพ
  43. Ultra-Royalists Guilt-Shame People Who Don’t Wear Mourning Black
  44. [www.komchadluek.net/news/politic/246179 นายกฯ เชื่อคนไทยรักในหลวง แม้ไม่มีเสื้อดำใส่ทุกวัน]
  45. รัฐบาล แนะ ติดริบบิ้นดำทดแทนชุดขาว-ดำได้ ขอสังคมอย่าจับผิด
  46. ชาวภูเก็ตฮือล้อมบ้านลูกชายร้านเต้าหู้กลางดึก อ้างโพสต์FBจาบจ้วง-แจ้งความม.112แล้ว
  47. ฝูงชนพังงาปิดล้อมร้านโรตีไล่ล่าผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าโพสต์หมิ่น
  48. "Bhutanese royals pay respects to King". Bangkok Post. 2016-10-16. สืบค้นเมื่อ 2016-10-18.
  49. "Bahraini PM pays respects to late king". Bangkok Post. 2016-10-19. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  50. "PM Lee Hsien Loong pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok". Straits Times. 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  51. "Special Envoy of the President departs to Thailand to pay respect to the Late King". The President Office. 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  52. "Death of King Bhumibol felt by all in Southeast Asia, says Najib". New Straits Times. 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  53. "นายกฯ กัมพูชาถวายสักการะพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9". Dailynews. 2016-10-22. สืบค้นเมื่อ 2016-10-22.
  54. "Special envoy of Chinese president pays respects to late Thai King". Global Times. 2016-10-23. สืบค้นเมื่อ 2016-10-24.
  55. "ปธน.สิงคโปร์-นายกฯ ลาว วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". The Straits Times. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  56. "President Tony Tan pays respects to late Thai King Bhumibol Adulyadej in Bangkok". The Straits Times. 2016-10-24. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  57. "Jokowi pays respects to King". Bangkok Post. 2016-10-25. สืบค้นเมื่อ 2016-10-25.
  58. "ผู้นำต่างประเทศวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". The Government Public Relations Department. 2016-10-26. สืบค้นเมื่อ 2016-10-27.
  59. "Viet Nam pays homage to Thai King". Viet Nam News. 2016-10-29. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  60. "President pays last respects to the late king of Thailand". The Official website of the President. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  61. "กษัตริย์เลโซโท เสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". Komchadluek. 2016-11-2. สืบค้นเมื่อ 2016-11-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  62. "ผู้นำหลายประเทศวางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพ". Matichon. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  63. "Duterte pays respects to King". Bangkok Post. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-9. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  64. "สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป และสมเด็จพระราชินีมาทิลเดอ แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาย Nicholas Nihon อุปทูต ณ สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม ประจำประเทศไทย ผู้แทนพระองค์ วางพวงมาลาถวายสักการะพระบรมศพฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". The Government Public Relations Department. 2016-11-9. สืบค้นเมื่อ 2016-11-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  65. "PM Narendra Modi Makes Stopover In Thailand To Pay Respects To Late King". NDTV. 2016-11-10. สืบค้นเมื่อ 2016-11-10.
  66. "รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ วางพวงมาลาถวายราชสักการะพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". The Government Public Relations Department. 2016-11-16. สืบค้นเมื่อ 2016-11-16.
  67. "มกุฎราชกุมารตูโปโตอา อูลูกาลาลาแห่งตองกา เสด็จฯ ทรงลงพระหัตถ์ถวายความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร". The Government Public Relations Department. 2016-11-15. สืบค้นเมื่อ 2016-11-18.
  68. "ผู้แทนบุคคลสำคัญ และองค์กรจากต่างประเทศ วางพวงมาลาและลงนามแสดงความอาลัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในขณะที่ประชาชนจากภูมิภาคต่าง ๆ ไปกราบถวายบังคมพระบรมศพอย่างต่อเนื่อง". Ch7. 2016-11-23. สืบค้นเมื่อ 2016-11-24.
  69. "ผู้แทนบุคคลสำคัญจากต่างประเทศ และประชาชนชาวไทย ไปถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช = Ch7". 2016-11-30. สืบค้นเมื่อ 2016-12-1. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  70. "พระราชวงศ์ภูฏานถวายสักการะพระบรมศพ". ช่อง 8. 2016-12-20. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.
  71. "จักรพรรดิญี่ปุ่นเสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". ข่าวสนุก. 2017-03-05. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.
  72. "กษัตริย์บาห์เรนเสด็จฯ ถวายราชสักการะพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9". ข่าวสด. 2017-05-05. สืบค้นเมื่อ 2017-05-14.
  73. "ประธานาธิบดีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล วางพวงมาลาถวายสักการะ และลงนามถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะที่ประชาชนเดินทางไปกราบถวายบังคมพระบรมศพ อย่างต่อเนื่อง". สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. 2017-05-12. สืบค้นเมื่อ 2017-05-15.
  74. "ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐลิทัวเนีย ถวายความอาลัยในหลวง ร.9". ข่าวสด. 2017-05-14. สืบค้นเมื่อ 2017-05-14.
  75. "อดีตประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐชิลี ถวายความอาลัยในหลวง ร.9". สปริงเรดิโอ. 2017-06-01. สืบค้นเมื่อ 2017-06-11.
  76. "คณะผู้แทนจากประเทศนิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา พร้อมคณะเดินทางมาร่วมแสดงความอาลัย ในหลวง ร.9". คมชัดลึก. 2017-07-24. สืบค้นเมื่อ 2017-07-30.
  77. "ผู้แทนพิเศษเครือรัฐออสเตรเลีย วางพวงมาลาถวายความอาลัยหน้าพระบรมโกศพระบรมศพ". ผู้จัดการ. 2017-08-03. สืบค้นเมื่อ 2017-08-13.
  78. "ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง วางพวงมาลาถวายความอาลัย". คมชัดลึก. 2017-08-04. สืบค้นเมื่อ 2017-08-05.
  79. "นายเร็กซ์ ทิลเลอร์สัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ". สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา. 2017-08-08. สืบค้นเมื่อ 2017-10-13.
  80. "สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งตองงาเสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". ข่าวสด. 2017-09-27. สืบค้นเมื่อ 2017-09-27.
  81. "สมเด็จพระราชชนนีแห่งภูฏานเสด็จฯ มาถวายราชสักการะพระบรมศพ". ช่อง 7. 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-10-13.
  82. สำนักพระราชวัง. (2559, 17 ตุลาคม). งานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช. เข้าถึงได้จาก: http://www.brh.thaigov.net/information/Buket%20Data/KingBhumibol/Data/13102016_04/4.1_13102016.pdf. (เข้าถึงเมื่อ 22 ตุลาคม 2559).
  83. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2556/B/001/10.PDF
  84. คาดช่วงปีใหม่คนนับแสน จะมาสักการะ'พระบรมศพ' . (เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2559).
  85. เปิดตัวผู้ทำหีบบรรจุพระบรมศพ ไม้สักทองแผ่นเดียวไร้รอยต่อ อายุกว่า 100 ปี
  86. "ร.10ทรงเปิด'นิทรรศการ' เย็นศิระเพราะพระบริบาล". ไทยรัฐ. 10 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  87. "15 พ.ค. เปิดให้ชมนิทรรศการ 'เย็นศิระฯ' วันสุดท้าย". มติชน. 15 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  88. "รบ.เตรียมแพร่นิทรรศการ "เย็นศิระ เพราะพระบริบาล" ผ่านเว็บไซต์ 1 มิ.ย.นี้". ผู้จัดการออนไลน์. 19 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  89. ครม.ให้ 26ต.ค.60 หยุดราชการ เพื่อ ปชช.ร่วมถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9
  90. 14 ประติมากรรม ประดับตกแต่งพระเมรุมาศ 'ร.9'
  91. เผยภาพแบบก่อสร้างพระเมรุมาศในหลวงร.9
  92. กทม. ลงปรับพื้นที่สนามหลวง เตรียมการก่อสร้างพระเมรุมาศช่วงต้นปีหน้า
  93. เตรียมสร้าง“ราชรถรางปืน-พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย”องค์ใหม่
  94. "หมายกำหนดการ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  95. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". ประชาชาติธุรกิจ. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  96. "ควันสีขาวลอยเหนือพระเมรุมาศ 'ในหลวง'เสด็จฯถวายพระเพลิงพระบรมศพจริง". ข่าวสด. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  97. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระวงศานุวงศ์ อัญเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิ สู่พระบรมมหาราชวัง". คมชัดลึก. 27 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  98. "ในหลวง ร.10 เสด็จฯ ในการพระราชกุศลพระบรมอัฐิ". ประชาชาติธุรกิจ. 28 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  99. "ในหลวงเสด็จฯริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศที่5 เชิญพระบรมอัฐิประดิษฐานพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท". ประชาชาติธุรกิจ. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  100. "พระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธฯ-วัดบวรฯ". สนุก.คอม. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  101. "พระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลสัตตมวาร"พระบรมศพ"โปรดเกล้าฯ จัดพิมพ์หนังสือพระอภิธรรมภาษาบาลีและภาษาไทย เป็นอนุสรณ์วิทยาทานผู้เข้าร่วมพระราชพิธี". Headtnews. 2016-10-20. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  102. "สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินไปในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวาร ถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". Ch7. 2016-11-18. สืบค้นเมื่อ 2016-11-19.
  103. "สมเด็จพระบรมฯ เสด็จฯ พระราชพิธี "ปัญญาสมวาร" พระเทพฯ ทรงคม". Matichon Online. 2016-12-1. สืบค้นเมื่อ 2016-12-2. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  104. "เล็งพิมพ์หนังสือที่ระลึก 5 ล้านเล่มแจกงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในหลวง ร.๙". Manager Online. 2017-01-9. สืบค้นเมื่อ 2017-01-17. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  105. "สปริง กรุ๊ปแจกสมุดภาพเทิดพระเกียรติ 15 ธ.ค.!ทั่วไทย". ฐานเศรษฐกิจ. 14 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  106. "สมุดภาพ สรรเสริญพระบารมี เอกบรมจักริน พระสยามินทร์ พระยศยิ่งยง". ฐานเศรษฐกิจ. 26 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น