ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ปรับปรุงเนื้อหาครั้งใหญ่
Dfddtdt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Royal crematorium of Bhumibol Adulyadej - 2017-11-03 (01).jpg|thumb|400x400px|พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
[[ไฟล์:Aerial view of the royal crematorium of Rama IX by Supawat Denamporn (2).jpg|thumb|400x400px|พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]
'''พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]''' เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลัง[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|การเสด็จสวรรคต]]ของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] จัดขึ้น ณ [[พระเมรุมาศ]] มณฑลพิธี[[ท้องสนามหลวง]] ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันถวายพระเพลิง [[คณะรัฐมนตรี]]จึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ<ref name=":04">{{Cite web|url=http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%9E-%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A326-%E0%B8%95%E0%B8%8460|title=พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หยุดราชการ26 ต.ค.60|publisher=[[ไทยโพสต์]]|date=25 เมษายน 2560|accessdate=26 เมษายน 2560}}</ref>
'''พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]''' เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลัง[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|การเสด็จสวรรคต]]ของ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] จัดขึ้น ณ [[พระเมรุมาศ]] มณฑลพิธี[[ท้องสนามหลวง]] ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันถวายพระเพลิง [[คณะรัฐมนตรี]]จึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ<ref name=":04">{{Cite web|url=http://www.thaipost.net/?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%96%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%9E-%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A326-%E0%B8%95%E0%B8%8460|title=พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หยุดราชการ26 ต.ค.60|publisher=[[ไทยโพสต์]]|date=25 เมษายน 2560|accessdate=26 เมษายน 2560}}</ref>


บรรทัด 26: บรรทัด 26:
* '''6 กรกฎาคม''' ติดตั้งกล้องและเครื่องเสียงในการถ่ายทอดสดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ<ref name="rln2">{{Cite web|url=http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNSOC6007060010044|title=กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ติดตั้งระบบถ่ายทอดสดพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|publisher=[[กรมประชาสัมพันธ์]]|date=6 กรกฎาคม 2560|accessdate=10 กรกฎาคม 2560}}</ref>
* '''6 กรกฎาคม''' ติดตั้งกล้องและเครื่องเสียงในการถ่ายทอดสดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ<ref name="rln2">{{Cite web|url=http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNSOC6007060010044|title=กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ติดตั้งระบบถ่ายทอดสดพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช|publisher=[[กรมประชาสัมพันธ์]]|date=6 กรกฎาคม 2560|accessdate=10 กรกฎาคม 2560}}</ref>
* '''21 กันยายน''' บวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ<ref>{{Cite web|url=http://news.sanook.com/3595370/|title=นายกฯ บวงสรวงราชรถพระยานมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิง|publisher=[[สนุก.คอม]]|accessdate=21 กันยายน 2560|date=21 กันยายน 2560}}</ref>
* '''21 กันยายน''' บวงสรวงการอัญเชิญราชรถและพระยานมาศ<ref>{{Cite web|url=http://news.sanook.com/3595370/|title=นายกฯ บวงสรวงราชรถพระยานมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิง|publisher=[[สนุก.คอม]]|accessdate=21 กันยายน 2560|date=21 กันยายน 2560}}</ref>
* '''2 ตุลาคม''' พล.อ.[[ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร]]&nbsp;รองนายกรัฐมนตรี ตรวจความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ<ref>{{Cite web|url=http://morning-news.bectero.com/social-crime/03-Oct-2017/111490|title='พลเอกธนะศักดิ์' ตรวจการจัดสร้างพระเมรุมาศ คืบหน้าแล้ว 98.6%|publisher=[[เรื่องเล่าเช้านี้]]|date=3 ตุลาคม 2560|accessdate=4 ตุลาคม 2560}}</ref>
* '''2 ตุลาคม''' พล.อ.[[ธนะศักดิ์&nbsp;ปฏิมาประกร]]&nbsp;รองนายกรัฐมนตรี ตรวจความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ<ref>{{Cite web|url=http://morning-news.bectero.com/social-crime/03-Oct-2017/111490|title='พลเอกธนะศักดิ์' ตรวจการจัดสร้างพระเมรุมาศ คืบหน้าแล้ว 98.6%|publisher=[[เรื่องเล่าเช้านี้]]|date=3 ตุลาคม 2560|accessdate=4 ตุลาคม 2560}}</ref>
* '''4 ตุลาคม''' มีการเปิดเผยว่าพระเมรุมาศจะเสร็จสิ้นการก่อสร้างในวันที่ 10 ตุลาคม<ref>{{Cite web|url=http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=814175|publisher=สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น|title=กรมศิลป์ยันอีก6วันงานก่อสร้างพระเมรุมาศสมบูรณ์|date=4 ตุลาคม 2560|accessdate=5 ตุลาคม 2560}}</ref>
* '''4 ตุลาคม''' มีการเปิดเผยว่าพระเมรุมาศจะเสร็จสิ้นการก่อสร้างในวันที่ 10 ตุลาคม<ref>{{Cite web|url=http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=814175|publisher=สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น|title=กรมศิลป์ยันอีก6วันงานก่อสร้างพระเมรุมาศสมบูรณ์|date=4 ตุลาคม 2560|accessdate=5 ตุลาคม 2560}}</ref>
* '''11 ตุลาคม''' คณะทูตานุทูตจาก 65 ประเทศเข้าเยี่ยมชมการก่อสร้างพระเมรุมาศและราชรถ<ref>{{Cite web|url=https://www.dailynews.co.th/education/603753|title=ทูต65ประเทศชมพระเมรุมาศ-ราชรถงานออกพระเมรุในหลวงร.9|publisher=[[เดลินิวส์]]|date=11 ตุลาคม 2560|accessdate=12 ตุลาคม 2560}}</ref>
* '''11 ตุลาคม''' คณะทูตานุทูตจาก 65 ประเทศเข้าเยี่ยมชมการก่อสร้างพระเมรุมาศและราชรถ<ref>{{Cite web|url=https://www.dailynews.co.th/education/603753|title=ทูต65ประเทศชมพระเมรุมาศ-ราชรถงานออกพระเมรุในหลวงร.9|publisher=[[เดลินิวส์]]|date=11 ตุลาคม 2560|accessdate=12 ตุลาคม 2560}}</ref>
บรรทัด 210: บรรทัด 210:


==นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ==
==นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ==
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีชื่อว่า "พระเมรุมาศพิมานนฤมิต สรรพศาสตร์ ศิลป์พร้อม น้อมถวายพระราชาผู้ทรงธรรม" จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณผ่านพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมกับเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณีไทย ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ซึ่งได้รับการสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยการจัดแสดง 5 ส่วน ดังนี้
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีชื่อว่า "พระเมรุมาศพิมานนฤมิต สรรพศาสตร์ ศิลป์พร้อม น้อมถวายพระราชาผู้ทรงธรรม" จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณผ่านพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมกับเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณีไทย ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ซึ่งได้รับการสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน&nbsp;ประกอบด้วยการจัดแสดง 5 ส่วน ดังนี้
# พระเมรุมาศ อนุญาตให้เดินชมได้โดยรอบลานอุตราวัฏ หรือพื้นรอบฐาน[[พระเมรุมาศ]] มี[[สระอโนดาต]]ทั้ง 4 ทิศและ[[เขามอ]]จำลอง ภายในสระประดับด้วยประติมากรรม[[สัตว์หิมพานต์]] ได้แก่ ช้าง โค สิงห์ ม้า และสัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ
# พระเมรุมาศ&nbsp;อนุญาตให้เดินชมได้โดยรอบลานอุตราวัฏ หรือพื้นรอบฐาน[[พระเมรุมาศ]] มี[[สระอโนดาต]]ทั้ง 4 ทิศและ[[เขามอ]]จำลอง ภายในสระประดับด้วยประติมากรรม[[สัตว์หิมพานต์]] ได้แก่ ช้าง โค สิงห์ ม้า และสัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ
# พระที่นั่งทรงธรรม ผู้เข้าชมนิทรรศการจะมีโอกาสได้ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ จำนวน 3 ภาพ คือภาพจิตรกรรมฝาผนัง[[โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]]จากภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ขนาดความสูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร ยาว 12 เมตร ประดับมุขด้านขวาของพระที่นั่งทรงธรรม (ยืนหันหน้าเข้าสู่พระเมรุมาศ) มุขกลางพระที่นั่งทรงธรรม เป็นภาพจิตกรรมฝาผนังโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาและพระราชดำริในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 19 โครงการ มุขซ้ายประดับภาพจิตรกรรมฝาผนังฝั่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากภาคกลางและภาคใต้ 14 โครงการ ภายในโถงพระที่นั่งทรงธรรมจัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ แบ่งเป็น 5 หัวข้อที่ตั้งชื่อร้อยเรียงอย่างไพเราะ ดังนี้
# พระที่นั่งทรงธรรม ผู้เข้าชมนิทรรศการจะมีโอกาสได้ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ จำนวน 3 ภาพ คือภาพจิตรกรรมฝาผนัง[[โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]]จากภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ขนาดความสูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร ยาว 12 เมตร ประดับมุขด้านขวาของพระที่นั่งทรงธรรม (ยืนหันหน้าเข้าสู่พระเมรุมาศ) มุขกลางพระที่นั่งทรงธรรม เป็นภาพจิตกรรมฝาผนังโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาและพระราชดำริในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 19 โครงการ มุขซ้ายประดับภาพจิตรกรรมฝาผนังฝั่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากภาคกลางและภาคใต้ 14 โครงการ ภายในโถงพระที่นั่งทรงธรรมจัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ แบ่งเป็น 5 หัวข้อที่ตั้งชื่อร้อยเรียงอย่างไพเราะ ดังนี้
## เมื่อเสด็จอวตาร นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่เสด็จพระราชสมภพ เช่น ภาพถ่ายสำเนาลายพระราชหัตถ์[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานพระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" และเรื่องราวเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วย [[วังสระปทุม]] ที่ประทับแห่งแรกในประเทศไทย อาทิ การจำลองตู้ขายของของเจ๊กตู้ ซึ่งเป็นที่มาของของเล่นเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พร้อมพระรูปที่หาชมยาก อาทิ พระรูปทรงฉายร่วมกับ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]] สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และ[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] สมเด็จพระเชษฐภคินี บนดาดฟ้าแฟลตที่ประทับ เลขที่ 63 ถนนลองวูด เมืองบรูคลายน์ ชานเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา, พระรูปทรงฉายกับ[[หม่อมเจ้ากุสุมา เกษมสันต์]] ซึ่งรัชกาลที่ 9ทรงเรียกว่า "ป้าจุ่น" ขณะทรงนำเสด็จไปถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในโอกาสเปิด[[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] เดือนเมษายน พ.ศ. 2475
## เมื่อเสด็จอวตาร&nbsp;นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่เสด็จพระราชสมภพ เช่น ภาพถ่ายสำเนาลายพระราชหัตถ์[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]พระราชทานพระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" และเรื่องราวเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วย [[วังสระปทุม]] ที่ประทับแห่งแรกในประเทศไทย อาทิ การจำลองตู้ขายของของเจ๊กตู้ ซึ่งเป็นที่มาของของเล่นเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พร้อมพระรูปที่หาชมยาก อาทิ พระรูปทรงฉายร่วมกับ[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]] สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และ[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]] สมเด็จพระเชษฐภคินี บนดาดฟ้าแฟลตที่ประทับ เลขที่ 63 ถนนลองวูด เมืองบรูคลายน์ ชานเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา, พระรูปทรงฉายกับ[[หม่อมเจ้ากุสุมา เกษมสันต์]] ซึ่งรัชกาลที่ 9ทรงเรียกว่า "ป้าจุ่น" ขณะทรงนำเสด็จไปถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในโอกาสเปิด[[สะพานพระพุทธยอดฟ้า]] เดือนเมษายน พ.ศ. 2475
## รัชกาลที่ร่มเย็น นำเสนอข้อมูลการทรงงานด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทรงริเริ่มออกแบบและทดลองโครงการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนชาวไทยผ่านการจัดแสดง ‘อุปกรณ์ทรงงาน’ หลายอย่าง ซึ่งเป็นอุปกรณ์จำลอง โดยใช้ของรุ่นเดียวกัน แต่ไม่ใช่ของที่ใช้งานจริง อาทิ โต๊ะทรงงาน, และภาพยนตร์ส่วนพระองค์ รวมทั้งงานมัลดิมีเดียผ่านการใช้[[รหัสคิวอาร์]]ของสมาร์ทโฟนผู้เข้าชมนิทรรศการ อาทิ คลิปพระสุรเสียงของรัชกาลที่ 9 ขณะทรงติดต่อสนทนากับ[[ศูนย์ควบคุมค่ายวิทยุสายลม]] โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน [[วีอาร์ 009]] ในช่วงปี พ.ศ. 2528 ซึ่งกรุงเทพมหานครเกิดน้ำท่วม ทรงแนะนำเรื่องการใช้วิทยุสื่อสารให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการแก้ปั­ญหาน้ำท่วมในครั้งนั้น ทรงใช้คำพูดในการสนทนาแบบเรียบง่าย
## รัชกาลที่ร่มเย็น&nbsp;นำเสนอข้อมูลการทรงงานด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทรงริเริ่มออกแบบและทดลองโครงการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนชาวไทยผ่านการจัดแสดง ‘อุปกรณ์ทรงงาน’ หลายอย่าง ซึ่งเป็นอุปกรณ์จำลอง โดยใช้ของรุ่นเดียวกัน แต่ไม่ใช่ของที่ใช้งานจริง อาทิ โต๊ะทรงงาน, และภาพยนตร์ส่วนพระองค์ รวมทั้งงานมัลดิมีเดียผ่านการใช้[[รหัสคิวอาร์]]ของสมาร์ทโฟนผู้เข้าชมนิทรรศการ อาทิ คลิปพระสุรเสียงของรัชกาลที่ 9 ขณะทรงติดต่อสนทนากับ[[ศูนย์ควบคุมค่ายวิทยุสายลม]] โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน [[วีอาร์ 009]] ในช่วงปี พ.ศ. 2528 ซึ่งกรุงเทพมหานครเกิดน้ำท่วม ทรงแนะนำเรื่องการใช้วิทยุสื่อสารให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการแก้ปั­ญหาน้ำท่วมในครั้งนั้น ทรงใช้คำพูดในการสนทนาแบบเรียบง่าย
## เพ็ญพระราชธรรม อธิบาย [[ทศพิธราชธรรม]] จากหนังสือ "พระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทยทรงครองราชย์ครบหมื่นวัน" จัดพิมพ์พระราชทานในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวารถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื้อหาครอบคลุมทศพิธราชธรรม 10 ประการ จากธรรมกถาในพิธีบำเพ็ญจิตภาวนาพุทโธโดย[[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)|สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก]] รวมทั้งนิทรรศการความเป็นมา รูปลักษณ์ และความหมายของ [[พระพุทธนวราชบพิตร]] ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงออกแบบเพื่อพระราชทานแก่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2509
## เพ็ญพระราชธรรม&nbsp;อธิบาย [[ทศพิธราชธรรม]] จากหนังสือ "พระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทยทรงครองราชย์ครบหมื่นวัน" จัดพิมพ์พระราชทานในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวารถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื้อหาครอบคลุมทศพิธราชธรรม 10 ประการ จากธรรมกถาในพิธีบำเพ็ญจิตภาวนาพุทโธโดย[[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)|สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก]] รวมทั้งนิทรรศการความเป็นมา รูปลักษณ์ และความหมายของ [[พระพุทธนวราชบพิตร]] ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงออกแบบเพื่อพระราชทานแก่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2509
## นำพระราชไมตรี นำเสนอการทรงงานด้านการต่างประเทศ นับตั้งแต่แรกทรงครองสิริราชสมบัติ คือการทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะและการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศในทวีป[[เอเชีย]] จากนั้นจึงเสด็จเยือน[[สหรัฐ]] ต่อด้วย 13 ประเทศใน[[ทวีปยุโรป]] และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ จนถึงครั้งที่เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิด[[สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)]] ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งนอกจากการเผยแพร่พระเกียรติคุณให้นานาประเทศรู้จักแล้ว ผลจากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยังนำมาซึ่งสัมพันธไมตรีที่ดีกับมิตรประเทศเหล่านั้น ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและความร่วมมืออีกมากมายตราบปัจจุบัน
## นำพระราชไมตรี&nbsp;นำเสนอการทรงงานด้านการต่างประเทศ นับตั้งแต่แรกทรงครองสิริราชสมบัติ คือการทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะและการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศในทวีป[[เอเชีย]] จากนั้นจึงเสด็จเยือน[[สหรัฐ]] ต่อด้วย 13 ประเทศใน[[ทวีปยุโรป]] และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ จนถึงครั้งที่เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิด[[สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์)]] ในปี พ.ศ. 2537&nbsp;ซึ่งนอกจากการเผยแพร่พระเกียรติคุณให้นานาประเทศรู้จักแล้ว ผลจากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยังนำมาซึ่งสัมพันธไมตรีที่ดีกับมิตรประเทศเหล่านั้น ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและความร่วมมืออีกมากมายตราบปัจจุบัน
## พระจักรีนิวัตฟ้า ประมวลภาพหลัง[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ประชาชนแต่งกายไว้ทุกข์ชุดดำนับหมื่นนับแสนหลั่งไหลเพื่อให้ได้เฝ้าส่งเสด็จขบวนพระบรมศพ ภาพประชาชนทั่วทุกสารทิศเดินทางกราบถวายบังคมพระบรมศพตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งผู้นำประเทศต่างๆ ที่ร่วมรับรู้ความรู้สึกสูญเสียบุคคลสำคัญของโลก โดยมีพระราชสาส์นและแถลงการณ์แสดงความอาลัย มายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนชาวไทยโดยทั่วกัน
## พระจักรีนิวัตฟ้า&nbsp;ประมวลภาพหลัง[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] ประชาชนแต่งกายไว้ทุกข์ชุดดำนับหมื่นนับแสนหลั่งไหลเพื่อให้ได้เฝ้าส่งเสด็จขบวนพระบรมศพ ภาพประชาชนทั่วทุกสารทิศเดินทางกราบถวายบังคมพระบรมศพตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งผู้นำประเทศต่างๆ ที่ร่วมรับรู้ความรู้สึกสูญเสียบุคคลสำคัญของโลก โดยมีพระราชสาส์นและแถลงการณ์แสดงความอาลัย มายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนชาวไทยโดยทั่วกัน
# ศาลาลูกขุน 6 หลัง จัดแสดงนิทรรศการพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ งานบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ แยกตามศาลาลูกขุนดังนี้
# ศาลาลูกขุน 6 หลัง&nbsp;จัดแสดงนิทรรศการพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ งานบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ แยกตามศาลาลูกขุนดังนี้
## สมมติเทวพิมาน จัดแสดงนิทรรศการสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ เล่าเรื่องแนวคิด คติความเชื่อเกี่ยวกับการก่อสร้างพระเมรุมาศที่สืบทอดมาจากสมัยสุโขทัย ซึ่งมีพัฒนาการเชิงรูปแบบสถาปัตยกรรมและความหมายที่เป็นต้นแบบของพระเมรุมาศรัชกาลที่ 9
## สมมติเทวพิมาน&nbsp;จัดแสดงนิทรรศการสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ เล่าเรื่องแนวคิด คติความเชื่อเกี่ยวกับการก่อสร้างพระเมรุมาศที่สืบทอดมาจากสมัยสุโขทัย ซึ่งมีพัฒนาการเชิงรูปแบบสถาปัตยกรรมและความหมายที่เป็นต้นแบบของพระเมรุมาศรัชกาลที่ 9
## ณ วิธานสถาปกศาลา เล่าเรื่องขั้นตอนการออกแบบ-ก่อสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ  โดยจำลองบรรยากาศ ‘วิธานสถาปกศาลา’ หรือ ‘โรงแบบขยายแบบเท่าจริง’ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ที่มีลักษณะเฉพาะและมีระเบียบแบบแผนในการวางองค์ประกอบ จึงต้องขยายแบบเท่าจริงลงบนกระดาษขนาดใหญ่ เพื่อตรวจทานมิให้รูปแบบผิดเพี้ยน โดยเฉพาะรูปแบบ ‘เรือนยอด’ ที่มีลักษณะเรียวแหลม อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘อากาศกิน’ คือมวลของยอดที่สูงพุ่งไปในอากาศจะถูกมองเห็นว่าเล็กลีบเกินความเป็นจริง ซึ่งไม่สามารถคาดเดาหรือคำนวณการถูกอากาศกินได้ จึงจำเป็นต้องเขียนแบบเท่าขนาดจริง เพื่อตรวจทานมุมมองที่อยู่สูงขึ้นไป รวมทั้งเครื่องมือ-อุปกรณ์เขียนแบบซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในการร่วมเขียนแบบขยายด้วยพระองค์เอง รวมทั้ง ‘พระมาลา’ ทรงสวมขณะทรงพระดำเนินลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุมาศหลายครั้ง และยังจัดแสดงโต๊ะทำงานที่ [[ก่อเกียรติ ทองผุด]] ใช้ร่างแบบพระเมรุมาศรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโต๊ะที่ได้รับสืบทอดมาจาก พล.อ.ต.[[อาวุธ เงินชูกลิ่น]] [[ศิลปินแห่งชาติ]] และอดีตอธิบดี[[กรมศิลปากร]] ซึ่ง พล.อ.ต.อาวุธ ได้รับสืบทอดโต๊ะทำงานตัวนี้มาจาก อ.[[ประเวศ ลิมปรังษี]] อดีตอาจารย์[[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] และผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7]] ร่วมด้วยการจัดแสดงวีดิทัศน์ฉายภาพลำดับการก่อสร้างในพื้นที่สนามหลวงตั้งแต่เริ่มวางฐานรากจนถึงการประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ
## ณ วิธานสถาปกศาลา เล่าเรื่องขั้นตอนการออกแบบ-ก่อสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ &nbsp;โดยจำลองบรรยากาศ ‘วิธานสถาปกศาลา’ หรือ ‘โรงแบบขยายแบบเท่าจริง’ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ที่มีลักษณะเฉพาะและมีระเบียบแบบแผนในการวางองค์ประกอบ จึงต้องขยายแบบเท่าจริงลงบนกระดาษขนาดใหญ่ เพื่อตรวจทานมิให้รูปแบบผิดเพี้ยน โดยเฉพาะรูปแบบ ‘เรือนยอด’ ที่มีลักษณะเรียวแหลม อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘อากาศกิน’ คือมวลของยอดที่สูงพุ่งไปในอากาศจะถูกมองเห็นว่าเล็กลีบเกินความเป็นจริง ซึ่งไม่สามารถคาดเดาหรือคำนวณการถูกอากาศกินได้ จึงจำเป็นต้องเขียนแบบเท่าขนาดจริง เพื่อตรวจทานมุมมองที่อยู่สูงขึ้นไป รวมทั้งเครื่องมือ-อุปกรณ์เขียนแบบซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในการร่วมเขียนแบบขยายด้วยพระองค์เอง รวมทั้ง ‘พระมาลา’ ทรงสวมขณะทรงพระดำเนินลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุมาศหลายครั้ง และยังจัดแสดงโต๊ะทำงานที่ [[ก่อเกียรติ ทองผุด]] ใช้ร่างแบบพระเมรุมาศรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโต๊ะที่ได้รับสืบทอดมาจาก พล.อ.ต.[[อาวุธ เงินชูกลิ่น]] [[ศิลปินแห่งชาติ]] และอดีตอธิบดี[[กรมศิลปากร]] ซึ่ง พล.อ.ต.อาวุธ ได้รับสืบทอดโต๊ะทำงานตัวนี้มาจาก อ.[[ประเวศ ลิมปรังษี]] อดีตอาจารย์[[คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร|คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์]] [[มหาวิทยาลัยศิลปากร]] และผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี|สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7]] ร่วมด้วยการจัดแสดงวีดิทัศน์ฉายภาพลำดับการก่อสร้างในพื้นที่สนามหลวงตั้งแต่เริ่มวางฐานรากจนถึงการประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ
## ประติมาสร้างสรรค์ จัดแสดงลำดับขั้นตอนการจัดสร้างงานประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นการทำงานของ[[ช่างสิบหมู่|สำนักช่างสิบหมู่]] ร่วมกับ ช่างปั้นปูนสดเมืองเพชรบุรี คณาจารย์จาก[[วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์]] และกลุ่มช่างฝีมือ[[ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิดและสีบัวทอง]] รวมทั้งจิตรกรจิตอาสา
## ประติมาสร้างสรรค์&nbsp;จัดแสดงลำดับขั้นตอนการจัดสร้างงานประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นการทำงานของ[[ช่างสิบหมู่|สำนักช่างสิบหมู่]] ร่วมกับ ช่างปั้นปูนสดเมืองเพชรบุรี คณาจารย์จาก[[วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์]] และกลุ่มช่างฝีมือ[[ศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิดและสีบัวทอง]] รวมทั้งจิตรกรจิตอาสา
## สวรรค์บรรจงวาด จำลองภาพจิตรกรรมบนฉากบังเพลิงทั้ง 4 ทิศของพระเมรุมาศ ในอัตราส่วน 1 : 2 โดยการถ่ายภาพและพิมพ์ลงบนผืนผ้าใบ เพื่อให้เห็นรายละเอียดอย่างใกล้ชิด รวมทั้งกล่าวถึงการจัดสร้างจิตรกรรมฝาผนังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ติดตั้งบนผนังขนาดใหญ่ 3 ผนังของพระที่นั่งทรงธรรม
## สวรรค์บรรจงวาด&nbsp;จำลองภาพจิตรกรรมบนฉากบังเพลิงทั้ง 4 ทิศของพระเมรุมาศ ในอัตราส่วน 1 : 2 โดยการถ่ายภาพและพิมพ์ลงบนผืนผ้าใบ เพื่อให้เห็นรายละเอียดอย่างใกล้ชิด&nbsp;รวมทั้งกล่าวถึงการจัดสร้างจิตรกรรมฝาผนังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ติดตั้งบนผนังขนาดใหญ่ 3 ผนังของพระที่นั่งทรงธรรม
## ยาตรากฤษฎาธาร จัดแสดงเรื่องราวการทำงานในส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ รวมทั้งราชรถราชยานที่สร้างขึ้นใหม่ครั้งนี้ คือ[[ราชรถปืนใหญ่]] เพื่อใช้อัญเชิญ[[โกศ|พระบรมโกศ]]เวียนอุตราวัฏรอบ[[พระเมรุมาศ]] และ [[พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย]] เพื่อใช้อัญเชิญ[[เถ้ากระดูก|พระบรมราชสรีรางคาร]]แทนพระ[[วอสีวิกากาญจน์]] ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง[[กรมศิลปากร]] [[กรมสรรพาวุธทหารบก]] และ[[กรมอู่ทหารเรือ]] รวมทั้งได้แรงสนับสนุนจากจิตอาสาเข้ามาช่วยงานในหลายส่วน
## ยาตรากฤษฎาธาร&nbsp;จัดแสดงเรื่องราวการทำงานในส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ รวมทั้งราชรถราชยานที่สร้างขึ้นใหม่ครั้งนี้ คือ[[ราชรถปืนใหญ่]] เพื่อใช้อัญเชิญ[[โกศ|พระบรมโกศ]]เวียนอุตราวัฏรอบ[[พระเมรุมาศ]] และ [[พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย]] เพื่อใช้อัญเชิญ[[เถ้ากระดูก|พระบรมราชสรีรางคาร]]แทนพระ[[วอสีวิกากาญจน์]] ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง[[กรมศิลปากร]] [[กรมสรรพาวุธทหารบก]] และ[[กรมอู่ทหารเรือ]] รวมทั้งได้แรงสนับสนุนจากจิตอาสาเข้ามาช่วยงานในหลายส่วน
## ตระการวิจิตรศิลปกรรม จัดแสดงงานประณีตศิลป์ในพระราชพิธี ประกอบด้วยการเล่าขั้นตอนการจัดสร้างและชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นพระโกศจันทน์ จัดแสดงฟืนไม้จันทน์ ภาพพระโกศทรงพระบรมอัฐิทองคำลงยา จำนวน 6 องค์ จัดทำโดยกรมศิลปากรและ[[สถาบันสิริกิติ์]] และยังจัดแสดงแบบเครื่องสังเค็ด ภาพแสดงขั้นตอนการทำช่อไม้จันทน์ ทูลเกล้าฯ ถวาย [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] และ[[พระบรมวงศานุวงศ์]] ซึ่งมีความแตกต่างจากเดิมที่มีลักษณะเป็นงานซ้อนไม้ลายใบเทศ โดยเปลี่ยนเทคนิคการสร้างงานเป็นการแกะสลักไม้จันทน์ในลักษณะนูนต่ำ เพื่อให้ช่อไม้จันทน์มีมิติเพิ่มมากขึ้น โดยครั้งนี้[[สำนักช่างสิบหมู่]] [[กรมศิลปากร]] จัดทำช่อไม้จันทน์ซึ่งผูกลายให้มีความแตกต่างกันตามอย่างลำดับชั้น ทั้งหมด 7 แบบ ได้แก่ ช่อไม้จันทน์ของ[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]], [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9]], [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]], [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]], ท่านผู้หญิง[[ทัศนาวลัย ศรสงคราม]] (พระธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]]) ตลอดจน[[พระบรมวงศานุวงศ์]]ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงตัวอย่างงานเครื่องสดทั้งภาพและชิ้นงานจริง อาทิ ฝีพระหัตถ์[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงถักตาข่ายดอกรักชั้นที่ 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรือนยอด 9 ชั้นในงานเครื่องสดประดับพระ[[จิตกาธาน]]
## ตระการวิจิตรศิลปกรรม&nbsp;จัดแสดงงานประณีตศิลป์ในพระราชพิธี ประกอบด้วยการเล่าขั้นตอนการจัดสร้างและชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นพระโกศจันทน์ จัดแสดงฟืนไม้จันทน์ ภาพพระโกศทรงพระบรมอัฐิทองคำลงยา จำนวน 6 องค์ จัดทำโดยกรมศิลปากรและ[[สถาบันสิริกิติ์]] และยังจัดแสดงแบบเครื่องสังเค็ด&nbsp;ภาพแสดงขั้นตอนการทำช่อไม้จันทน์ ทูลเกล้าฯ ถวาย [[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]] และ[[พระบรมวงศานุวงศ์]] ซึ่งมีความแตกต่างจากเดิมที่มีลักษณะเป็นงานซ้อนไม้ลายใบเทศ โดยเปลี่ยนเทคนิคการสร้างงานเป็นการแกะสลักไม้จันทน์ในลักษณะนูนต่ำ เพื่อให้ช่อไม้จันทน์มีมิติเพิ่มมากขึ้น โดยครั้งนี้[[สำนักช่างสิบหมู่]] [[กรมศิลปากร]] จัดทำช่อไม้จันทน์ซึ่งผูกลายให้มีความแตกต่างกันตามอย่างลำดับชั้น ทั้งหมด 7 แบบ ได้แก่ ช่อไม้จันทน์ของ[[สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร]], [[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ|สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9]], [[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]], [[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี]], ท่านผู้หญิง[[ทัศนาวลัย ศรสงคราม]] (พระธิดาใน[[สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์]]) ตลอดจน[[พระบรมวงศานุวงศ์]]ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงตัวอย่างงานเครื่องสดทั้งภาพและชิ้นงานจริง อาทิ ฝีพระหัตถ์[[สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี]] ทรงถักตาข่ายดอกรักชั้นที่ 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรือนยอด 9 ชั้นในงานเครื่องสดประดับพระ[[จิตกาธาน]]
# ทับเกษตร ในหัวข้อ นำสัมผัสพระสุเมรุ เป็นนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตา จัดแสดงแผนผังบริเวณมณฑลพิธีแบบนูนต่ำ พร้อมอักษรเบรลล์กำกับให้ทราบว่าแต่ละส่วนคืออาคารใด พระเมรุมาศจำลองขนาดย่อส่วน และสัตว์หิมพานต์ให้ได้ลองสัมผัส เพราะตามปกติแล้วผู้พิการทางสายตาไม่มีโอกาสชมความงามของงานศิลปกรรม แม้ได้ยินการอธิบายความงามเป็นคำพูด แต่ก็จินตนาการลำบาก จนกว่าจะได้คลำชิ้นงาน แต่นิทรรศการในส่วนนี้ทำให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ความงามของงานศิลปกรรมไทยได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะงานประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ที่ทำให้ประหลาดใจราวกับเห็นภาพจริงๆ จากคำกล่าวที่ว่าจิตรกรไทยนำจุดเด่นของสัตว์หลายชนิดมาสร้างเป็นสัตว์หิมพานต์แต่ละตัว เช่น [[สุบรรณเหรา]] ที่มีลำตัวเป็น[[ครุฑ]] หางเป็นพวงเหมือน[[ไก่]] มีเขาเหมือน[[มังกร]]และหงอนของ[[พญานาค]]นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งหากงานเหล่านี้มีโอกาสจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ก็น่าจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศได้เรียนรู้ความงามของศิลปกรรมไทยซึ่งเป็นมรดกของชาติได้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งอาจเรียกความสนใจจากผู้พิการทางสายตาจากทั่วโลกให้เดินทางมาชมและศึกษาศิลปกรรมไทย ซึ่งใน[[สหรัฐ]]และ[[สหราชอาณาจักร]]ต่างก็มีตัวอย่างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยทับเกษตรและศาลาลูกขุนแต่ละหลัง มีข้าราชการกรมศิลปากรปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่นำชมนิทรรศการประจำแห่งละ 4 คน คอยให้คำอธิบายและตอบข้อสงสัย หมุนเวียนกัน 2 รอบต่อวัน
# ทับเกษตร ในหัวข้อ นำสัมผัสพระสุเมรุ เป็นนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตา จัดแสดงแผนผังบริเวณมณฑลพิธีแบบนูนต่ำ พร้อมอักษรเบรลล์กำกับให้ทราบว่าแต่ละส่วนคืออาคารใด พระเมรุมาศจำลองขนาดย่อส่วน และสัตว์หิมพานต์ให้ได้ลองสัมผัส เพราะตามปกติแล้วผู้พิการทางสายตาไม่มีโอกาสชมความงามของงานศิลปกรรม แม้ได้ยินการอธิบายความงามเป็นคำพูด แต่ก็จินตนาการลำบาก จนกว่าจะได้คลำชิ้นงาน แต่นิทรรศการในส่วนนี้ทำให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ความงามของงานศิลปกรรมไทยได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะงานประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ที่ทำให้ประหลาดใจราวกับเห็นภาพจริงๆ จากคำกล่าวที่ว่าจิตรกรไทยนำจุดเด่นของสัตว์หลายชนิดมาสร้างเป็นสัตว์หิมพานต์แต่ละตัว เช่น [[สุบรรณเหรา]] ที่มีลำตัวเป็น[[ครุฑ]] หางเป็นพวงเหมือน[[ไก่]] มีเขาเหมือน[[มังกร]]และหงอนของ[[พญานาค]]นั้นเป็นอย่างไร ซึ่งหากงานเหล่านี้มีโอกาสจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ก็น่าจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศได้เรียนรู้ความงามของศิลปกรรมไทยซึ่งเป็นมรดกของชาติได้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งอาจเรียกความสนใจจากผู้พิการทางสายตาจากทั่วโลกให้เดินทางมาชมและศึกษาศิลปกรรมไทย ซึ่งใน[[สหรัฐ]]และ[[สหราชอาณาจักร]]ต่างก็มีตัวอย่างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยทับเกษตรและศาลาลูกขุนแต่ละหลัง มีข้าราชการกรมศิลปากรปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่นำชมนิทรรศการประจำแห่งละ 4 คน คอยให้คำอธิบายและตอบข้อสงสัย หมุนเวียนกัน 2 รอบต่อวัน
# ภูมิทัศน์ด้านหน้าพระเมรุมาศ สะท้อนให้เห็น[[พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] และ[[โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] อาทิ พันธุ์ข้าวพระราชทาน [[หญ้าแฝก]] ต้น[[ยางนา]] [[มะม่วงมหาชนก]] และ[[กังหันน้ำชัยพัฒนา]]<ref>{{Cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/780559|title=พระเมรุมาศพิมานนฤมิต|publisher=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|date=10 พฤศจิกายน 2560|accessdate=11 พฤศจิกายน 2560}}</ref>
# ภูมิทัศน์ด้านหน้าพระเมรุมาศ สะท้อนให้เห็น[[พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] และ[[โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ]] อาทิ พันธุ์ข้าวพระราชทาน [[หญ้าแฝก]] ต้น[[ยางนา]] [[มะม่วงมหาชนก]] และ[[กังหันน้ำชัยพัฒนา]]<ref>{{Cite web|url=http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/780559|title=พระเมรุมาศพิมานนฤมิต|publisher=[[กรุงเทพธุรกิจ]]|date=10 พฤศจิกายน 2560|accessdate=11 พฤศจิกายน 2560}}</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:55, 12 พฤศจิกายน 2560

ไฟล์:Aerial view of the royal crematorium of Rama IX by Supawat Denamporn (2).jpg
พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระราชพิธีที่รัฐบาลไทยจัดขึ้นเพื่อแสดงความอาลัยเป็นครั้งสุดท้าย ภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จัดขึ้น ณ พระเมรุมาศ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เป็นวันถวายพระเพลิง คณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ[1]

สำหรับการดำเนินการพระราชพิธีฯ นั้น คณะทำงานทุกฝ่ายได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบ เช่น พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุน เป็นต้น ส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธีนั้น ได้มีการซ่อมแซมพระมหาพิชัยราชรถ พระยานมาศสามลำคาน ราชรถน้อย และพระที่นั่งราเชนทรยาน เพื่อให้พร้อมใช้ในพิธีจริง นอกจากนี้ยังมีการจัดสร้างราชรถ ราชยานขึ้นมาใหม่ คือ ราชรถปืนใหญ่และพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย[2] รวมทั้งประติมากรรมประกอบพระเมรุมาศในพระราชพิธีครั้งนี้ได้มีการปรับปรุงให้มีความร่วมสมัย[3][4] โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์วินิจฉัยในการจัดสร้างพระเมรุมาศ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอำนวยการพระราชพิธี[5]

การเตรียมงาน

พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขณะดำเนินการก่อสร้าง

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ เริ่มเตรียมการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2559 เรื่อยมา มีการสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ การบูรณปฏิสังขรณ์พระมหาพิชัยราชรถ ราชยาน และเครื่องประกอบพระราชพิธี รวมถึงการเตรียมงานมหรสพในงานออกพระเมรุมาศ โดยสรุปแล้วเรียงลำดับการเตรียมงานได้ดังนี้

พ.ศ. 2559

พ.ศ. 2560

  • 27 กุมภาพันธ์ บวงสรวงยกเสาเอกเพื่อเริ่มการก่อสร้างพระเมรุมาศ[11]

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

พระเมรุมาศระหว่างการถวายพระเพลิงพระบรมศพ

คณะรัฐมนตรีรับทราบมติที่คณะอนุกรรมการฯ ฝ่ายจัดการพระราชพิธีฯ กำหนดวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในระหว่างวันที่ 25-29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งพิจารณาหมายกำหนดการพระราชพิธีฯ และกำหนดจำนวนริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศไว้เป็นที่เรียบร้อย[27][1] โดยมีพระราชพิธีสำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในวันที่ 25 ตุลาคม, พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ และถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษด้วย, พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิและเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับเข้าสู่พระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 27 ตุลาคม, พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ ในวันที่ 28 ตุลาคม, พระราชพิธีเลี้ยงพระ และเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ในวันที่ 29 ตุลาคม[28]

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ

วันพุธที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุมาศ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมศพ ทรงจุดธูปเทียนนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจำพระชนมวาร ทรงประเคนพัดกรองที่ระลึกงานออกพระเมรุแด่สมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระราชาคณะ พระราชาคณะที่จะถวายพระธรรมเทศนา และพระราชาคณะที่จะสวดศราทธพรต 30 รูป พระสงฆ์ที่จะสดับปกรณ์ 89 รูป เท่าพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์ที่จะสวดพระอภิธรรม 8 รูป บรรพชิตจีนและญวน 20 รูป พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนา ถวายไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดผ้าไตรถวายพระเทศนา พระสงฆ์สวดศราทธพรต พระสงฆ์สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา บรรพชิตจีนและญวนสวดมาติกา สดับปกรณ์ และถวายอนุโมทนา ทรงจุดธูปเทียนที่แท่นเตียงพระสวดพระอภิธรรม แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ

อนึ่ง สำหรับพัดรองที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนแด่พระพิธีธรรมนั้น ด้านหน้าปักรูปครุฑ อัญเชิญพระปรมาภิไธย ภปร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎเหนือบัลลังก์บุษบก โดยศึกษาจากพัดรองในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[29]

พระราชพิธีเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ

ริ้วขบวนที่ 1 อัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เลียบพระบรมมหาราชวังไปยังหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ไฟล์:The third procession of the King Bhumibol Adulyadej's royal cremation ceremony.jpg
ริ้วขบวนที่ 3 อัญเชิญพระโกศพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงราชรถปืนใหญ่ เวียนรอบพระเมรุโดยอุตราวัฎ 3 รอบ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 07:24 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปในการเชิญพระบรมโกศออกพระเมรุมาศ ในการนี้ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมศพและเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจําพระชนมวาร ทรงทอดผ้าไตร ก่อนอัญเชิญพระบรมโกศพระราชาคณะ 30 รูป สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลื้องพระโกศทองใหญ่เชิญพระลอง ลงจากพระแท่นสุวรรณเบญจดลไปประดิษฐานที่พระยานมาศสามลําคาน ที่ ประตูกําแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯตามไปส่งที่ชาลาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขเหนือ อัญเชิญพระบรมโกศด้วย พระยานมาศสามลําคานออกจากพระบรมมหาราชวัง ถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตรคันดาลกางกั้น แล้วยาตราขบวนพระบรมราชอิสริยยศไปยังพระมหาพิชัยราชรถ หน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดําเนินไปยังพลับพลายกหน้าวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงทอดผ้าไตร 20 ไตร ที่ท้ายเกรินบันไดนาคพระมหาพิชัยราชรถ พระสงฆ์สดับปกรณ์เที่ยวละ 5 รูป อัญเชิญพระบรมโกศ ขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระมหาพิชัยราชรถ ยาตราขบวนแห่อัญเชิญพระบรมโกศ ไปยังพระเมรุมาศท้องสนามหลวง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯตาม เมื่อขบวนพระบรมราชอิสริยยศแห่อัญเชิญพระบรมโกศเข้าสู่ท้องสนามหลวง ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯไปประทับรอที่พลับพลายกนอกราชวัติพระเมรุมาศ เมื่อเทียบพระมหาพิชัยราชรถอัญเชิญพระบรมโกศลงจากพระมหาพิชัยราชรถโดยเกรินบันไดนาคประดิษฐานพระบรมโกศบนราชรถปืนใหญ่เพื่อตั้งขบวนพระบรมราชอิสริยยศ สําหรับเวียนพระเมรุมาศ เสร็จแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯตามพระบรมโกศเวียนพระเมรุมาศ ครบ 3 รอบแล้ว สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จฯไปประทับ ณ พระที่นั่งทรงธรรม เทียบราชรถปืนใหญ่ที่เกรินบันไดนาคพระเมรุมาศอัญเชิญพระบรมโกศขึ้นประดิษฐาน ณ พระจิตกาธาน ปิดพระฉากและพระวิสูตร ประกอบพระโกศจันทน์ ตั้งแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว เปิดพระฉากและพระวิสูตร สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นพระเมรุมาศ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมศพ เสด็จลงจากพระเมรุมาศ เสด็จขึ้นผ่านพระที่นั่งทรงธรรมไปประทับรถยนต์พระที่นั่งหลังพระที่นั่งทรงธรรม เสด็จพระราชดําเนินกลับ

พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

ไฟล์:The Royal Cremation of Bhumibol Adulyadej.jpg
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จขึ้นไปถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระราชพิธีทางการ)

ระหว่างที่พระบรมศพประดิษฐานที่พระเมรุมาศ จะมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมบนบุษบกซ่างทั้ง 4 ซ่าง ทั้งกลางวันและกลางคืน จนกว่าจะได้อัญเชิญพระบรมอัฐิกลับ และมีชาวพนักงานประโคมกระทั่ง มโหระทึก สังข์ แตร กลองชนะ ปี่พาทย์และประโคมยามตามเวลา

พระราชพิธีทางการ

วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17:15 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปยัง พระที่นั่งทรงธรรม ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย สําหรับพระบรมศพทรงธรรมที่พระเมรุมาศ สมเด็จพระสังฆราชถวายพระธรรมเทศนาจบ พระราชาคณะ 50 รูป สวดศราทธพรต ถวายไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์และทรงทอดผ้าไตร ถวายพระเทศน์และพระสงฆ์ที่สวดศราทธพรตสดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระที่นั่งทรงธรรม เสด็จฯไปประทับที่มุขหน้าพระที่นั่งทรงธรรม ผู้แทนจิตอาสาเชิญดอกไม้จันทน์ 9 พานผ่านพระที่นั่งทรงธรรม ถวายความเคารพแล้วเดินออกจากมณฑลพิธี จากนั้นเสด็จขึ้นพระเมรุมาศ ทหารกองเกียรติยศพระบรมศพเป่าแตรนอน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนดอกไม้จันทนถวายพระเพลิงพระบรมศพ ชาวพนักงาน ประโคมกระทั่งมโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่ กลองชนะและปี่พาทย์ ทหารกองเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ ถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี และยิงปืนเล็กยาว 9 นัด พร้อมกับทหารปืนใหญ่ยิงปืนใหญ่ถวาย พระเกียรติ 21 นัด เสด็จ ฯ ไปประทับ มุขหน้าพระที่นั่งทรงธรรม จากนั้น คณะบุคคลต่างๆ จะได้ขึ้นถวายพระเพลิงพระบรมศพ[30] สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปฏิสันถารกับพระประมุข พระราชวงศ์ และผู้แทนรัฐบาลจากต่างประเทศ แล้วเสด็จพระราชดําเนินกลับ[31]

พระราชพิธีจริง (ส่วนพระองค์)

วันเดียวกัน เวลา 22:30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งทรงธรรม พระสงฆ์สวดมาติกา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 30 รูป สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระที่นั่งทรงธรรรม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นพระเมรุมาศ พร้อมพระบรมวงศานุวงศ์ ทรงจุดไฟดอกไม้จันทน์ถวายพระเพลิงพระบรมศพ อีกสักครู่ ประชาชนจึงเห็นควันลอยออกมาจากพระเมรุมาศ จากนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ไปประทับมุขหน้าพระที่นั่งทรงธรรม เจ้าพนักงานปฏิบัติการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว ทรงทอดผ้าไตรที่พระจิตกาธาน พระสงฆ์ 10 รูป สดับปกรณ์เสร็จแล้ว เสด็จพระราชดําเนินกลับ [32]

อนึ่ง พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แจ้งผ่านสื่อมวลชนว่าเป็นพระราชพิธีส่วนพระองค์ ไม่มีการถ่ายทอดสด[33] ส่วนโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ได้ขึ้นข้อความให้ประชาชนในท้องสนามหลวงได้ทราบและปฏิบัติตามโดยทั่วกันเมื่อเวลา 22:00 น. ว่า "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ขอจงทุกท่านหันหน้าเบื้องพระเมรุมาศเพื่อถวายความเคารพสูงสุด"[32]

พระราชพิธีเก็บพระบรมอัฐิ เชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารกลับสู่พระบรมมหาราชวัง

ไฟล์:Removal of the royal ashes and relics of the King Bhumibol Adulyadej's from the crematorium.jpg
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูรทรงเก็บพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ไฟล์:The fourth procession of the King Bhumibol Adulyadej's royal cremation ceremony.jpg
ริ้วขบวนที่ 4 อัญเชิญพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เคลื่อนจากมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เข้าสู่พระบรมมหาราชวัง

วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 8:43 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดำเนินไปยังพระเมรุมาศ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จขึ้นพระเมรุมาศ เจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้าเยียรบับที่ถวายคลุมพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะพระบรมอัฐิ ถวายสรงพระบรมอัฐิด้วยน้ําพระสุคนธ์ทั่วแล้ว เจ้าพนักงานภูษามาลาถวายผ้าเยียรบับคลุมพระบรมอัฐิ ทรงจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อยสําหรับพระบรมอัฐิบูชาพระสงฆ์ ทรงทอดผ้าไตรถวายพระ 3 หาบ พระสงฆ์ขึ้นสดับปกรณ์พระบรมอัฐิ พระสงฆ์สดับปกรณ์ครบ 9 รูป แล้ว เจ้าพนักงานภูษามาลาเปิดผ้าคลุมพระบรมอัฐิทรงเก็บพระบรมอัฐิสรงพระสุคนธ์แล้วประมวลลงในพระโกศทองคําลงยารวม 6 พระโกศ

ทรงพระราชทานพระโกศพระบรมอัฐิแก่พระบรมวงศ์แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิลงจากพระเมรุมาศไปยังพระที่นั่งทรงธรรม เสด็จฯตามประทับที่หน้าอาสน์สงฆ์เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานในบุษบกเหนือพระแท่นแว่นฟ้า ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมอัฐิแล้วทรงประเคนโตกสํารับภัตตาหาร 3 หาบ แด่พระสงฆ์ 9 รูป พระสงฆ์ 3 หาบ รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว เสด็จฯไปถวายเครื่องสังเค็ดงานถวายพระเพลิงพระบรมศพแด่พระสงฆ์ 3 หาบและพระสงฆ์ 30 รูป พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระที่นั่ง พระสงฆ์อีก 30 รูป ขึ้นนั่งยังอาสน์สงฆ์ สวดมาติกา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระที่นั่งตั้งขบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิและพระบรมราชสรีรางคาร เข้าไปยังพระบรมมหาราชวัง

เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานในบุษบกพระที่นั่งราเชนทรยานและอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารประดิษฐานในบุษบกพระที่นั่งราเชนทรยานน้อย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯตามพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เข้าริ้วไปยังพระบรมมหาราชวังยาตราขบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิพระบรมราชสรีรางคาร ขบวนพระบรมราชสรีรางคารเกยเข้าวัดพระศรีรัตนศาสดารามทางประตูเกยหลังวัด อัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพักไว้ที่ พระศรีรัตนเจดีย์ ขบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิเข้าประตูพิมานไชยศรี เทียนพระที่นั่งราเชนทรยานที่พระนั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นทรงรับที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ จากพระที่นั่งราเชนทรยานขึ้นพระที่นั่ง ดุสิตมหาปราสาท ประดิษฐานที่บุษบก แว่นฟ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯตาม เมื่อประดิษฐานพระโกศพระบรมอัฐิ เรียบร้อยแล้วสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมอัฐิ เสด็จพระราชดําเนินกลับ [34]

พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิ

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 17:32 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดําเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะพระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่ประดิษฐานบนพระแท่นมหาเศวตฉัตรและทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งประดิษฐาน ณ พระแท่นแว่นฟ้า แล้วทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธรูปประจําพระชนมวารสมเด็จพระบรมราชบุพการีและพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แล้วทรงประเคนพัดรองที่ระลึกงานทรงบําเพ็ญพระราชกุศลพระบรมอัฐิแด่พระราชาคณะที่ถวายพระธรรมเทศนา พระราชาคณะ 31 รูป ที่สวดพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ที่รับอนุโมทนา 4 รูป พระสงฆ์ที่สวดมาติกาและสดับปกรณ์ 12 รูป ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์พระบรมอัฐิถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงศีล พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนาจบ ถวายอนุโมทนา (บนธรรมาสน์) พระสงฆ์ 4 รูปรับอนุโมทนา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์ และทรงทอดผ้าไตรถวายพระเทศน์และพระสงฆ์ที่รับอนุโมทนา รวม 5 รูป ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง ทรงทอดผ้าไตรพระสงฆ์ 12 รูป สวดมาติกา สดับปกรณ์พระบรมอัฐิและพระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการีที่อัญเชิญออกมาในการพระราชกุศลนี้ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง เสด็จพระราชดําเนินกลับ[35]

พระราชพิธีเลี้ยงพระและเชิญพระบรมอัฐิประดิษฐาน ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เวลา 10:43 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จพระราชดําเนินไปยังพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง ทรงจุดธูปเทียนถวายราชสักการะพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธรูปประจําพระชนมวาร ที่หน้าพระแท่นมหาเศวตฉัตร พระสงฆ์ 30 รูป ที่สวดพระพุทธมนต์แต่วันก่อนถวายพระพร ทรงประเคนภัตตาหาร พระสงฆ์รับพระราชทานฉัน แล้วทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง ทรงจุด ธูปเทียนเครื่องทรงธรรม ทรงศีล พระราชาคณะถวายพระธรรมเทศนาจบแล้ว ถวายอนุโมทนา พระสงฆ์ 4 รูปรับอนุโมทนา ทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมบูชากัณฑ์เทศน์แล้วทรงทอดผ้าไตร ถวายพระเทศน์และพระสงฆ์ที่รับอนุโมทนา รวม 5 รูป สดับปกรณ์ ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา ออกจากพระที่นั่ง พระสงฆ์ 89 รูป เท่าพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นนั่งยัง อาสน์สงฆ์สวดมาติกา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์สดับปกรณ์เป็นเที่ยวๆ จบครบ 89 รูป (เที่ยวแรก 12 รูป สดับปกรณ์ แล้วถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ถวายพระพรลา เที่ยวต่อไปเที่ยวละ 11 รูป จํานวน 7 เที่ยว ขึ้นสดับปกรณ์แล้วลงจากพระที่นั่ง)

จากนั้นเจ้าพนักงานเทียบพระที่นั่งราเชนทรยานที่พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาท ตั้งขบวนพระบรมราชอิสริยยศอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯตามพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ อัญเชิญ พระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานที่พระวิมาน บนพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เรียบร้อยแล้ว เสด็จพระราชดําเนินกลับ [36]

พระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร

วันเดียวกัน เวลา 17:28 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ไปยังศาลาสหทัยสมาคม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์เฝ้าฯ รับเสด็จเจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยพระราชยานจากพระศรีรัตนเจดีย์ มีตํารวจหลวงนํา ไปออกประตูเกยหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อัญเชิญไปถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ รถยนต์พระที่นั่ง แล้วรถพระที่นั่งเคลื่อนเข้าริ้วขบวนที่ 6

ขบวนกองทหารม้านําและตามตั้งขบวน พร้อมอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยรถยนต์พระที่นั่ง ออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูวิเศษไชยศรีไปยังวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยขบวนทหารม้านํา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีประทับรถยนต์พระที่นั่งทรงอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร กองทหารม้าตาม เจ้าพนักงานภูษามาลาอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารจากรถยนต์พระที่นั่งเข้าประตูวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปยังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงวางพุ่มดอกไม้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะ แล้วเสด็จฯไปยังพระอุโบสถ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธอังคีรส พระประธาน พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระราชสรีรางคารสมเด็จพระนางเจ้ารําไพพรรณีพระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 และพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์สวดมาติกา ทรงทอดผ้าไตรพระสงฆ์ 30 รูป สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วทรงบรรจุพระบรมราชสรีรางคารที่ ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธอังคีรส ทรงวางพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ชาวพนักงานประโคมกระทั่งมโหระทึก สังข์ แตร กลองชนะ ทหารกองเกียรติยศ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี [37]

จากนั้นเสด็จพระราชดําเนินไปประทับรถยนต์พระที่นั่งทรงอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร อีกส่วนหนึ่งขบวนกองทหารม้าขบวนเดิม เชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารออกจากวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ไปยังวัดบวรนิเวศวิหารโดยขบวนทหารม้านําและตามอัญเชิญพระบรมราชสรีรางคาร ากรถยนต์พระที่นั่งเข้าประตูวัดบวรนิเวศวิหารไปยังพระอุโบสถ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธชินสีห์ พระประธานพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระสงฆ์สวดมาติกา ทรงทอดผ้าไตร พระสงฆ์ 30 รูป สดับปกรณ์ ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรกแล้วทรงบรรจุพระบรมราชสรีรางคารที่ฐานพุทธบัลลังก์พระพุทธชินสีห์ ทรงวางพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อย ชาวพนักงานประโคมกระทั่งมโหระทึก สังข์ แตร กลองชนะ ทหารกองเกียรติยศ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีจบแล้วเสด็จพระราชดําเนินไปประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดําเนินกลับ[37][38]

รายการผู้แทนต่างประเทศที่ร่วมพระราชพิธีฯ

ผู้นำและประมุขของแต่ละประเทศ ตลอดจนผู้แทนพระองค์หรือผู้แทนพิเศษของประเทศต่าง ๆ ที่เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จ และเดินทางมาร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีรายพระนามและรายนามดังต่อไปนี้

รายพระนามและรายนามผู้นำ พระราชวงศ์ และผู้แทนต่างประเทศที่ร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ
ประเทศ พระนามหรือชื่อ เสด็จฯ แทนพระองค์/
เป็นผู้แทนของ
อ้างอิง
 ภูฏาน สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก พระประมุขและคู่อภิเษกสมรสเสด็จพระราชดำเนินมาด้วยพระองค์เอง [39]
สมเด็จพระราชินีเจตซุน เพมา วังชุก
 เลโซโท สมเด็จพระราชาธิบดีเลตซีที่ 3 แห่งเลโซโท [40]
สมเด็จพระราชินีมาเซเนต โมฮาโต เซเอโซ
 ตองงา สมเด็จพระราชาธิบดีตูโปอูที่ 6 [40]
สมเด็จพระราชินีนานาซีเปาอู ตูกูอาโฮ
 สวีเดน สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสวีเดน [41]
 สเปน สมเด็จพระราชินีโซเฟียแห่งสเปน สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งสเปน [40]
 เบลเยียม สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเบลเยียม [42]
 เนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชินีแม็กซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์ สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งเนเธอร์แลนด์ [43]
 ญี่ปุ่น เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ (พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิและสมเด็จพระจักรพรรดินี) สมเด็จพระจักรพรรดิ และสมเด็จพระจักรพรรดินีแห่งญี่ปุ่น [44]
เจ้าหญิงคิโกะ พระชายาฯ
 นอร์เวย์ เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ สมเด็จพระราชาธิบดี และสมเด็จพระราชินีแห่งนอร์เวย์ [45]
 เดนมาร์ก เจ้าชายเฟรเดอริก มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก สมเด็จพระราชินีนาถและเจ้าชายพระราชสวามีแห่งเดนมาร์ก [40]
 ลักเซมเบิร์ก แกรนด์ดยุกกีโยม ฌ็อง โฌเซฟ มารี รัชทายาทแห่งลักเซมเบิร์ก แกรนด์ดยุกและแกรนด์ดัชเชสแห่งลักเซมเบิร์ก [40]
 มาเลเซีย สุลต่านนริน มูอิซซัดดิน ชาห์ (สุลต่านรัฐเประห์ และรองสมเด็จพระราชาธิบดี) สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซีย [40]
ตวนกู ซาระห์ ซาลิม พระชายาแห่งสุลต่านรัฐเประห์
 บริเตนใหญ่ เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก (พระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถและดยุกแห่งเอดินบะระ) สมเด็จพระราชินีนาถแห่งสหราชอาณาจักร และดยุกแห่งเอดินบะระ [40]
 บาห์เรน เจ้าชายคอลิฟะห์ บิน ซัลมาน อัล คอลิฟะห์ (พระปิตุลาในสมเด็จพระราชาธิบดี และนายกรัฐมนตรี) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งบาห์เรน [46]
 ลีชเทินชไตน์ เจ้าหญิงมาร์กาเรธาแห่งลิกเตนสไตน์ (พระชายาของพระอนุชาในเจ้าชายพระประมุข) เจ้าชายและเจ้าหญิงพระประมุขแห่งลิกเตนสไตน์ [40]
 กาตาร์ เชคตะนี บิน ฮะมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี (พระอนุชาในเจ้าผู้ครองรัฐ) เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ [47]
 สิงคโปร์ ฮาลีมะฮ์ ยากบ (ประธานาธิบดี) ประมุขแห่งรัฐและคู่สมรสเดินทางมาด้วยตัวเอง [48]
โมฮัมเมด อับดุลละฮ์ อัลฮับชี
 พม่า ทีนจอ (ประธานาธิบดี) [40]
ซูซูลวีน
 ลาว บุนยัง วอละจิด (ประธานประเทศ) [40]
คำเมิง วอละจิด[47]
 ออสเตรเลีย ปีเตอร์ คอสโกรฟ ผู้สำเร็จราชการและคู่สมรสเดินทางมาด้วยตัวเอง [49]
ลินน์ คอสโกรฟ[47]
 แคนาดา ฌูลี พาแย็ต ผู้สำเร็จราชการเดินทางมาด้วยตัวเอง [40]
 กัมพูชา สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน (นายกรัฐมนตรี) พระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชา [40]
 เอสวาตินี บาร์นาบัส ซีบูซีโซ ดลามีนี (นายกรัฐมนตรี) สมเด็จพระราชาธิบดีและสมเด็จพระราชินีแห่งสวาซิแลนด์ [40]
 บรูไน ลิม จ็อก เส็ง (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและการค้า) สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านแห่งบรูไนดารุสซาลาม [47]
 นครรัฐวาติกัน อาร์ชบิชอป กิอัมบัตติสตา ดีควัตโตร (เอกอัครสมณทูตประจำสาธารณรัฐอินเดียและสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล) สมเด็จพระสันตะปาปา [40]
 สวิตเซอร์แลนด์ โจเซฟ ไดสส์ (อดีตประธานาธิบดี) ประธานาธิบดีแห่งสมาพันธรัฐสวิส (นางดอริส ลิวธาร์ด) [40]
 เยอรมนี คริสเตียน วูล์ฟฟ์ (อดีตประธานาธิบดี) ประธานาธิบดีเยอรมนี [40]
 อินโดนีเซีย เมกาวาตี ซูการ์โนปูตรี (อดีตประธานาธิบดี) ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย [47]
 เวียดนาม ดัง ธิ ง็อก ธินห์ (รองประธานาธิบดี) ประธานาธิบดีเวียดนาม [40]
 ฝรั่งเศส ฌ็อง-มาร์ก เอโร (อดีตนายกรัฐมนตรี) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส [40]
บริฌิต เอโร
 เกาหลีใต้ พัก จู-ซุน (รองประธานรัฐสภา) ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ [40]
 สหรัฐ เจมส์ นอร์แมน แมตทิส (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา [40]
 ศรีลังกา ทิลัก มาราพานา (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงนโยบายและแผน) ประธานาธิบดีศรีลังกา (นายไมตรีพาลา สิริเสนา) [40]
สเตลลา มาราพานา
 ปากีสถาน อวาอิส อาเหม็ด ข่าน เลการี (รัฐมนตรี) ประธานาธิบดีปากีสถาน (นายมัมนูน ฮุสไซน์) [47]
 อินเดีย เอ็ม. เจ. อักบาร์ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ประธานาธิบดีอินเดีย [40]
 จีน จาง เกาลี่ (รองนายกรัฐมนตรี) ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน [50]
 รัสเซีย โอลกา อีพิฟาโนวา (รองประธานสภาผู้แทนราษฎร) ประธานาธิบดีรัสเซีย [47]
 นิวซีแลนด์ เจมส์ บอลเกอร์ (อดีตนายกรัฐมนตรี) ผู้สำเร็จราชการนิวซีแลนด์ (นางแพทริเซีย ลี เรดดี) [47]
 ตุรกี ฟีกรี อิสิก (รองนายกรัฐมนตรี) ประธานาธิบดีตุรกี [47]
 ฟิลิปปินส์ อลัน ปีเตอร์ กาเยตาโน (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ [47]
มาเรีย ลาร์นี โลเปซ กาเยตาโน
 เนปาล พิมเสน ดาส ปราดาน (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) ประธานาธิบดีเนปาล (นางพิทยา เทวี ภัณทารี) [47]
บิดยา บันมาลี ปราดาน
 บังกลาเทศ โมฮัมเหม็ด ชาห์ริอะร์ อะลัม (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ประธานาธิบดีบังกลาเทศ [47]

การจัดแสดงมหรสพสมโภชในงานออกพระเมรุ

การแสดงมหรสพจะยึดตามธรรมเนียมปฏิบัติและโบราณราชประเพณีของพระมหากษัตริย์ สำหรับครั้งนี้เวทีโขนและหนังใหญ่ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของท้องสนามหลวง เวทีละครทั้งหมดจะตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก และเวทีดนตรีสากลตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ส่วนพระเมรุมาศซึ่งเป็นประธานในมณฑลพิธีตั้งอยู่ทางทิศใต้ เนื่องจากการจัดสร้างพระเมรุมาศและอาคารประกอบครั้งนี้ใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก

เวทีมหรสพทั้ง 3 เวทีจะมีขนาดใหญ่กว่างานพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, งานพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โดยจะประสานสำนักสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เพื่อกำหนดจุดสร้างเวทีอย่างชัดเจนอีกครั้ง ส่วนแบบโรงมหรสพ โครงสร้างจอโขนและหนังใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปกรรมได้ออกแบบเสร็จแล้ว โดยส่วนนี้จะเป็นการแสดงนอกมณฑลพิธี ส่วนการแสดงหน้าพระเมรุมาศจะเป็นการแสดงโขนชุดใหญ่ ตอนยกรบ และระบำอู่ทอง ซึ่งใช้นักแสดงเป็นจำนวนมาก[51]

การแสดงมหรสพสมโภชในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ บริเวณท้องสนามหลวงฝั่งทิศเหนือประกอบด้วยการแสดงโขนหน้าไฟหน้าพระเมรุมาศ เรื่องรามเกียรติ์ ชุดพระรามข้ามสมุทร, ยกรบ, รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และระบำอู่ทอง ส่วนการแสดงมหรสพสมโภช ประกอบด้วยการแสดงหนังใหญ่ และโขนพระราชทาน ตอน รามาวตาร การแสดงละคร หุ่นหลวงและหุ่นกระบอก และการบรรเลงดนตรีสากล "ธ คือ ดวงใจไทยทั่วหล้า" ล่าสุดได้จัด เตรียมผู้แสดงทั้งในส่วนของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ 12 แห่งทั่วประเทศ ประกอบด้วยศิลปินแห่งชาติ ครูนาฏศิลป์ และนิสิต-นักศึกษา ทั้งหมดประมาณ 2,000 คน

โดยการแสดงโขนเบื้องต้นได้ประสานงานกับสำนักการสังคีต กรมศิลปากร ซึ่งมอบหมายให้ ประเมษฐ์ บุณยะชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์เป็นผู้จัดทำบทโขนพระราชทานทุกตอนเพื่อกำหนดจำนวนผู้แสดงด้านต่างๆ อาทิ ผู้แสดงโขนพระราชทานทั้งตัวพระ นาง เสนายักษ์ 18 มงกุฎ หนุมาน เสนาลิง สุครีพ ชมพูพาน ซึ่งนักแสดงบางส่วนเคยได้รับการคัดเลือกเป็นผู้แสดงโขนพระราชทานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถมาแล้ว ส่วนละครใน เรื่องอิเหนา ตอนตัดดอกไม้ฉายกริช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์จะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด นอกจากนี้ ยังมีผู้แสดงละครนอก แสดงเรื่องมโนราห์ ผู้แสดงบัลเลต์เรื่องมโนราห์ นักดนตรีสากล ส่วนนักดนตรีวงดนตรีไทยที่จะเข้าไปบรรเลงบริเวณพระเมรุมาศ ส่วนการแสดงหน้าพระเมรุมาศได้เตรียมผู้แสดงแสดงโขนพระรามข้ามสมุทร, ยกรบ, รำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และผู้แสดงระบำอู่ทอง ซึ่งจัดทำบทใหม่ โดยใช้คู่พระนางจำนวน 35 คู่ ถือว่าครั้งนี้ใช้ผู้แสดงมากที่สุดเท่าที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์และวิทยาลัยนาฏศิลป์เคยจัดการแสดงมหรสพมา โดยขณะนี้ได้เริ่มทดสอบและคัดเลือกนักศึกษาเข้าเป็นผู้ร่วมแสดงมหรสพสมโภช ทั้งโขน ละครใน ละครนอก หุ่นหลวง หุ่นกระบอก และมีการจัดทำสูจิบัตรผู้แสดงแล้ว สำหรับการแสดงมหรสพสมโภชเป็นงานที่จัดขึ้นตามจารีตประเพณีในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ ฉะนั้น ผู้แสดงต้องมีทักษะความสามารถด้านนาฏศิลป์ และมีประสบการณ์การแสดงมาพอสมควร ซึ่งขณะนี้สถาบันวางตัวผู้แสดงแล้วจากบทละครที่กำหนด ทั้งตัวพระ นาง ทหาร ระบำ แต่ละสถาบันทั้งครูและนักเรียนผู้แสดงจะแยกกันซ้อมในที่ตั้ง เมื่อใกล้งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงจะมีกำหนดการตารางซ้อมการแสดงร่วมกัน พร้อมดนตรีสด ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ควบคุม ซึ่งคาดว่าจะใช้โรงละครวังหน้าฝึกซ้อมรวม การแสดงที่สนามหลวงจัดบนเวที มีการผูกโรงแสดง ทั้งนี้การกำหนดวันซ้อมร่วมกันจะมีการแจ้งอีกครั้ง [52]

นอกจากนี้ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจะร่วมแสดงในเวทีดนตรีสากลด้วย โดยจะมีวงดนตรี 7 วง ประกอบด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ วงดนตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ทำการแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งในเบื้องต้นจะมีนักศึกษาของสถาบันฯ และวงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจำนวนประมาณ 40 คน ที่มีความสามารถด้านขับร้องประสานเสียงและเล่นดนตรีเข้าร่วมแสดงดนตรีในชุดดุจหยาดทิพย์ชโลมหล้า ร่วมกับวงดุริยางค์สากลของกรมศิลปากร สมาชิกวง อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีสหายพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงเรียนราชินี และวงดุริยางค์ซิมโฟนีกรุงเทพ สำหรับบทเพลงที่นำมาบรรเลงจะเป็นเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งหมด ได้แก่ แผ่นดินของเรา, Alexandra, ไร้จันทร์, ไร้เดือน และ No Moon นอกจากนี้ จะมีการแสดงบัลเล่ต์เรื่องมโนห์รา หนึ่งในบทพระราชนิพนธ์ ซึ่งประกอบด้วยเพลง Nature Waltz, The Hunter, Kinari Waltz, A love Story, ภิรมย์รัก และ Blue day แล้วยังมีบทเพลงเทิดพระเกียรติที่ทางสถาบันฯ จะแสดง 2 เพลง คือ พระราชาผู้ทรงธรรม และ ในหลวงของแผ่นดิน โดยนักร้องประสานเสียง 89 คน มีอาจารย์วานิช โปตะวณิช เป็นวาทยกร โดยหลังจากได้รับโน๊ตเพลงจากสำนักการสังคีต กรมศิลปากร แต่ละวงจะแยกกันฝึกซ้อม ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน จะนัดฝึกรวมซ้อมใหญ่ ณ เวทีจริง ก่อนวันประกอบพระราชพิธีจริงวันที่ 26 ต.ค. นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้รับมอบหมายให้จัดการแสดงดนตรีภายหลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพอีกด้วย โดยจะใช้วงดุริยางค์เยาวชนสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาทำการแสดงเพลงพระราชนิพนธ์ รวมถึงจะมีศิลปินรับเชิญจากต่างประเทศที่จะร่วมน้อมรำลึกถึงพระองค์ท่านด้วย และตลอดทั้งปีสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาจะจัดกิจกรรมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์มาแสดงทุกครั้ง 

เวทีดนตรีสากลในงานมหรสพครั้งนี้วงดนตรีทั้ง 7 วง จะแสดงบทเพลงพระราชนิพนธ์จำนวน 44 บทเพลง เริ่มการแสดงวงแรกตั้งแต่ 23.00 น. ของวันที่ 26 ตุลาคม ต่อเนื่องถึงเวลา 06.00 น. วันที่ 27 ตุลาคม โดยวงของสถาบันกัลยาณิวัฒนาจะเปิดการแสดงเป็นวงแรก ตามด้วยวงดนตรีสี่เหล่าทัพ วงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ปิดท้ายด้วยวงดนตรีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีกรมศิลปากรควบคุมตลอดการแสดง[53]

ของที่ระลึกในพระราชพิธี

เหรียญที่ระลึก

แบบเหรียญที่ระลึก ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ

กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้จัดทำเหรียญที่ระลึก เนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยมี 4 แบบ คือ ได้แก่[54]

  • เหรียญที่ระลึกทองคำ ราคาเหรียญละ 50,000 บาท
  • เหรียญที่ระลึกเงิน ราคาเหรียญละ 2,000 บาท
  • เหรียญที่ระลึกทองแดงรมดำพ่นทราย ราคาเหรียญละ 3,000 บาท
  • เหรียญที่ระลึกคิวโปรนิกเกิล ราคาเหรียญละ 100 บาท

ลักษณะของเหรียญที่ระลึก

เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ มีลักษณะดังนี้

  • ด้านหลัง มีรูปพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอยู่เหนือลายเมฆ เบื้องบนรูปพระเมรุมาศมีอักษรพระปรมาภิไธย ภปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ เบื้องหลังรูปพระเมรุมาศมีรูปแสงพระอาทิตย์แผ่รัศมีผ่านปุยเมฆ เบื้องล่างมีข้อความว่า “พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ” และข้อความ “วันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม พุทธศักราช 2560” ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ

การเปิดรับจอง

กรมธนารักษ์ได้ร่วมมือกับสมาคมธนาคารไทย สภาสถาบันการเงินของรัฐ และธนาคาร 19 แห่งทุกสาขาทั่วประเทศ เปิดเป็นหน่วยรับจองเหรียญที่ระลึกดังกล่าว โดยกำหนดเปิดรับจองตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม ซึ่งเหรียญได้เกิดการขาดตลาดทำให้กรมธนารักษ์ได้ยประกาศผลิตเหรียญเพิ่มและนำมาเปิดรับจองในวันที่ 18 กันยายนถึงวันที่ 30 กันยายน

แสตมป์ที่ระลึก

แบบแสตมป์ที่ระลึกในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ

บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดทำตราไปรษณียากรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จำนวน 3 แผ่น 3,000,000 ชุด แสตมป์ชุดนี้มีทั้งหมด 13 ดวง เพื่อให้ตรงกับวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 การออกแบบใช้วิธีนำภาพถ่ายมาวาดใหม่และแสตมป์ชุดนี้ยังมีความพิเศษตรงที่สำนักพิมพ์ของประเทศแคนาดาได้อาสามาจัดพิมพ์ให้ แสตมป์นี้จำหน่ายในราคาชุดละ 99 บาท โดยจำนวน 1.2 ล้านชุด เปิดให้ประชาชนจองได้ตั้งแต่วันที่ 28 สิงหาคม - 11 กันยายน พ.ศ. 2560 ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศและทางเว็บไซต์[55]

ลักษณะของแสตมป์ที่ระลึก

  • แผ่นแรก เป็นภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ขณะทรงแย้มพระสรวล จำนวน 9 ภาพ ราคาดวงละ 9 บาท
  • แผ่นที่ 2 ภาพเครื่องประกอบสำคัญอันได้แก่ พระบรมโกศ พระยานมาศสามลำคาน และพระมหาพิชัยราชรถ ในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ พื้นหลังเป็นภาพพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบรมศพฯ ราคาดวงละ 3 บาท
  • แผ่นที่ 3 เป็นภาพพระเมรุมาศประกอบภาพเหตุการณ์พสกนิกรร่วมกันจุดเทียนแสดงความอาลัยเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เข็มกลัดที่ระลึก

สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดทำเข็มที่ระลึกพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งเกิดจากมติของคณะกรรมการฝ่ายจัดพิธีการงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระราชานุญาต และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานพระราชานุญาต โดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ผลิต แต่การผลิตออกมายังทำได้ไม่เต็มที่ จึงได้มีการกำหนดช่วงก่อนงานพระราชพิธีพระบรมศพ จะผลิตนำมาจำหน่ายส่วนหนึ่งก่อน จำนวน 4 หมื่นเข็ม เปิดจำหน่ายวันที่ 22 ตุลาคม ราคาเข็มละ 300 บาท ที่ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (เดิม) ถนนพิษณุโลก กรุงเทพมหานคร โดยจำกัดคนละ 2 เข็ม

จากนั้นระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน จะจำหน่ายที่งานนิทรรศการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ณ ท้องสนามหลวง จำกัด 1 คนต่อ 2 เข็มเช่นเดียวกัน โดยใช้บัตรประชาชนในการสั่งซื้อ และจอง ส่วนการสั่งจองเริ่มสั่งจองได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป โดยสั่งจองได้ที่กองคลัง สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล และธนาคารกรุงไทย ส่วนภูมิภาคสั่งจองได้ที่สำนักงานจังหวัดทุกจังหวัด ทั้งนี้ สามารถรับเข็มได้ ณ สถานที่ที่สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป โดยสามารถติดเข็มที่อกเสื้อได้ทุกวันรวมถึงหลังงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ ก็ยังสามารถใช้ได้ตลอดไป และสำหรับรายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยทั้งหมด

ลักษณะของเข็มที่ระลึก

ลักษณะของเข็มเป็นรูปทรงหกเหลี่ยม ตอนปลายสอบยาวตรง ด้านหน้าอัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ลงยาสีฟ้า สีเหลือง สีขาวนวล มีพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมีอยู่เบื้องบน ประดิษฐานกึ่งกลาง มีอักษรคำว่า "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ 2560" จารึกเบื้องล่างโดยรอบ และด้านหลังเข็มมีตราสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่กึ่งกลาง สีของเข็มเป็นโทนสีเหลือง-ทอง ซึ่งเป็นสีวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สื่อมวลชน

การถ่ายทอดสดพระราชพิธีและศูนย์สื่อมวลชน

จุดติดตั้งกล้องและเครื่องเสียงในการถ่ายทอดสดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ มีดังนี้

  1. จุดติดตั้งกล้องโทรทัศน์เพื่อถ่ายทอดสด บริเวณพระเมรุมาศ พระที่นั่งทรงธรรม ศาลาลูกขุนที่ 1 - 4
  2. จุดติดตั้งเครื่องเสียง บริเวณพระเมรุมาศ พระที่นั่งทรงธรรม ห้องควบคุมระบบเสียงและวิทยุ บริเวณด้านหลังพระที่นั่งทรงธรรม
  3. ห้องผู้บรรยาย
  4. ศูนย์สื่อมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
  5. เส้นทางริ้วขบวน

โดยการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์จะใช้กล้องบันทึกภาพทั้งระบบสายและไร้สายจำนวนมากกว่า 100 ตัว และมีการทดสอบทั้งการแพร่ภาพ และเสียงออกอากาศ ก่อนจะส่งไปให้ประชาชนรับชมทั่วประเทศอย่างสมพระเกียรติ นอกจากนี้ยังจะมีการบริการข้อมูล ข่าวสารและภาพ แก่สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ โดยใช้หอประชุม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นศูนย์สื่อมวลชน[17]

การดำเนินการของสถานีโทรทัศน์ระหว่างช่วงพระราชพิธี

โฆษณาและออกอากาศ

เส้นเวลาในการออกอากาศและการโฆษณาในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) และผู้ประกอบการสื่อโทรทัศน์ได้ร่วมกันหาแนวทางการออกอากาศในช่วงพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยแบ่งออกเป็น 4 ช่วง[56] และมีผังรายการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ดังต่อไปนี้[57]

วันที่ แนวทางการออกอากาศ ลดระดับสี ลักษณะเนื้อหา/รายการพิเศษ การโฆษณา
1-12 ตุลาคม พ.ศ. 2560 การรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภาพและรายการต้องลดระดับสีลงประมาณ 40% (ตั้งแต่วันที่ 19 ตุลาคม กสทช. สั่งการให้ใช้สีภาพตามปกติ) การออกอากาศรายการสถานีให้นำรายการปกติมาออกอากาศได้ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศ หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการเนื้อหารายการ ผังรายการ และการจัดระดับความเหมาะสมของรายการตามที่ กสทช. กำหนดโดยเคร่งครัด โฆษณาได้ โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับความเหมาะสมของรายการที่สามารถออกอากาศได้
ควรสอดแทรกรายการพิเศษที่เกี่ยวกับการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเข้าไปด้วย
13-24 ตุลาคม พ.ศ. 2560 วันคล้ายวันสวรรคต การออกอากาศรายการสถานีให้ออกอากาศนำรายการที่มีระดับความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย (ป) สำหรับเด็ก (ด) รายการทั่วไป (ท) และสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (น๑๓+) ได้ แต่ไม่ควรมีเนื้อหาที่มีลักษณะตลก เฮฮา ความรุนแรง เรื่องทางเพศ และการใช้ถ้อยคำหยาบคาย โฆษณาได้ โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับความเหมาะสมของรายการที่สามารถออกอากาศได้
ให้เน้นการปรับบรรยากาศและความรู้สึกของประชาชนให้รำลึกถึงการสูญเสียและความอาลัยไปด้วย ไม่ควรมีเนื้อหาที่มีลักษณะตลก เฮฮา ความรุนแรง เรื่องทางเพศ และการใช้ถ้อยคำหยาบคาย
25-27 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (ช่วงแรก) ภาพและรายการต้องลดระดับสีลงประมาณ 40% ยกเว้นการถ่ายทอดสดพระราชพิธีเท่านั้นที่สามารถใช้สีปกติได้ การถ่ายทอดสดพระราชพิธีสำคัญ โดยให้เชื่อมโยงสัญญาณจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ห้ามโฆษณาใดๆ ทั้งสิ้น ให้แสดงข้อความไว้ทุกข์เท่านั้น แต่ต้องปรากฏชื่อบริษัท ห้างร้าน คณะบุคคล และสถานที่ และลดสีลง 40% จนถึงระดับขาวดำ
ไม่สามารถออกอากาศรายการใดๆ ได้ เนื่องจากเป็นการออกอากาศในลักษณะเกินความเหมาะสม ซึ่งเข้ากันไม่ได้กับความรู้สึกของประชาชนชาวไทย
28-29 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ (ช่วงที่ 2) ภาพและรายการสามารถใช้สีปกติได้ การออกอากาศรายการสถานีให้ออกอากาศนำรายการที่มีระดับความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย (ป) สำหรับเด็ก (ด) รายการทั่วไป (ท) และสำหรับผู้ชมที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป (น๑๓+) ได้ แต่ไม่ควรมีเนื้อหาที่มีลักษณะตลก เฮฮา ความรุนแรง เรื่องทางเพศ และการใช้ถ้อยคำหยาบคาย โฆษณาได้ โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับความเหมาะสมของรายการที่สามารถออกอากาศได้
ควรสอดแทรกรายการพิเศษที่เกี่ยวกับการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเข้าไปด้วย ไม่ควรมีเนื้อหาที่มีลักษณะตลก เฮฮา ความรุนแรง เรื่องทางเพศ และการใช้ถ้อยคำหยาบคาย
30-31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 วันออกทุกข์ การออกอากาศรายการสถานีให้นำรายการปกติมาออกอากาศได้ โดยให้ปฏิบัติตามประกาศ หลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการเนื้อหารายการ ผังรายการ และการจัดระดับความเหมาะสมของรายการตามที่ กสทช. กำหนดโดยเคร่งครัด โฆษณาได้ โดยให้ปฏิบัติตามแนวทางเดียวกับความเหมาะสมของรายการที่สามารถออกอากาศได้
ควรสอดแทรกรายการพิเศษที่เกี่ยวกับการรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเข้าไปด้วย

ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์บางสถานีได้ปรับโทนสีของอัตลักษณ์บนหน้าจอเป็นโทนขาว-ดำ ซึ่งเป็นลักษณะเช่นเดียวกับเมื่อครั้งช่วง 100 วันแรกหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ต่อมาเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ออกหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้ประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ 179 ช่อง ให้ปรับโทนสีหน้าจอการออกอากาศเป็นสีปกติ ตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันเดียวกัน เป็นต้นไป[58]

การถ่ายทอดสดกีฬา

ส่วนการถ่ายทอดสดกีฬาต่างๆ เช่น การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลจากต่างประเทศ ยังคงถ่ายทอดสดตามปกติ ยกเว้นกีฬาที่มีลักษณะรุนแรง หรือมีการเชียร์กันอึกทึก เช่น มวย จะงดการถ่ายทอดสดเป็นเวลา 1 เดือน (ยกเว้น สนามมวยสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ซึ่งยังคงถ่ายทอดสดตามปกติไปจนถึงวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560 โดยจะงดถ่ายทอดสดในวันอาทิตย์ที่ 15 , 22 และ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2560[59]) ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งตามหนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย ที่ 0307.4/ว5469 ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เรื่อง ขอให้งดการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต จัดให้มีการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560[60] ซึ่งส่งผลให้การชกมวยไทยของเวทีมวยมาตรฐานและเวทีมวยถ่ายทอดสดทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคงดการแข่งขันไปด้วย โดยเวทีมวยมาตรฐานและเวทีมวยถ่ายทอดสดทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจะกลับมาทำการแข่งขันมวยในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ

นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีชื่อว่า "พระเมรุมาศพิมานนฤมิต สรรพศาสตร์ ศิลป์พร้อม น้อมถวายพระราชาผู้ทรงธรรม" จัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณผ่านพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมกับเปิดโอกาสให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณีไทย ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทย ซึ่งได้รับการสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยการจัดแสดง 5 ส่วน ดังนี้

  1. พระเมรุมาศ อนุญาตให้เดินชมได้โดยรอบลานอุตราวัฏ หรือพื้นรอบฐานพระเมรุมาศ มีสระอโนดาตทั้ง 4 ทิศและเขามอจำลอง ภายในสระประดับด้วยประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ได้แก่ ช้าง โค สิงห์ ม้า และสัตว์หิมพานต์ตระกูลต่างๆ
  2. พระที่นั่งทรงธรรม ผู้เข้าชมนิทรรศการจะมีโอกาสได้ชมภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดใหญ่ จำนวน 3 ภาพ คือภาพจิตรกรรมฝาผนังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ ขนาดความสูง 5 เมตร 80 เซนติเมตร ยาว 12 เมตร ประดับมุขด้านขวาของพระที่นั่งทรงธรรม (ยืนหันหน้าเข้าสู่พระเมรุมาศ) มุขกลางพระที่นั่งทรงธรรม เป็นภาพจิตกรรมฝาผนังโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาและพระราชดำริในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 19 โครงการ มุขซ้ายประดับภาพจิตรกรรมฝาผนังฝั่งโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจากภาคกลางและภาคใต้ 14 โครงการ ภายในโถงพระที่นั่งทรงธรรมจัดแสดงนิทรรศการพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ แบ่งเป็น 5 หัวข้อที่ตั้งชื่อร้อยเรียงอย่างไพเราะ ดังนี้
    1. เมื่อเสด็จอวตาร นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่เสด็จพระราชสมภพ เช่น ภาพถ่ายสำเนาลายพระราชหัตถ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระนาม "ภูมิพลอดุลเดช" และเรื่องราวเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ในส่วนที่เกี่ยวเนื่องด้วย วังสระปทุม ที่ประทับแห่งแรกในประเทศไทย อาทิ การจำลองตู้ขายของของเจ๊กตู้ ซึ่งเป็นที่มาของของเล่นเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ พร้อมพระรูปที่หาชมยาก อาทิ พระรูปทรงฉายร่วมกับพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ สมเด็จพระเชษฐภคินี บนดาดฟ้าแฟลตที่ประทับ เลขที่ 63 ถนนลองวูด เมืองบรูคลายน์ ชานเมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา, พระรูปทรงฉายกับหม่อมเจ้ากุสุมา เกษมสันต์ ซึ่งรัชกาลที่ 9ทรงเรียกว่า "ป้าจุ่น" ขณะทรงนำเสด็จไปถวายบังคมพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในโอกาสเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า เดือนเมษายน พ.ศ. 2475
    2. รัชกาลที่ร่มเย็น นำเสนอข้อมูลการทรงงานด้านต่างๆ นับตั้งแต่การเสด็จฯ ออกเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ทรงริเริ่มออกแบบและทดลองโครงการด้านต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนชาวไทยผ่านการจัดแสดง ‘อุปกรณ์ทรงงาน’ หลายอย่าง ซึ่งเป็นอุปกรณ์จำลอง โดยใช้ของรุ่นเดียวกัน แต่ไม่ใช่ของที่ใช้งานจริง อาทิ โต๊ะทรงงาน, และภาพยนตร์ส่วนพระองค์ รวมทั้งงานมัลดิมีเดียผ่านการใช้รหัสคิวอาร์ของสมาร์ทโฟนผู้เข้าชมนิทรรศการ อาทิ คลิปพระสุรเสียงของรัชกาลที่ 9 ขณะทรงติดต่อสนทนากับศูนย์ควบคุมค่ายวิทยุสายลม โดยทรงใช้สัญญาณเรียกขาน วีอาร์ 009 ในช่วงปี พ.ศ. 2528 ซึ่งกรุงเทพมหานครเกิดน้ำท่วม ทรงแนะนำเรื่องการใช้วิทยุสื่อสารให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในการแก้ปั­ญหาน้ำท่วมในครั้งนั้น ทรงใช้คำพูดในการสนทนาแบบเรียบง่าย
    3. เพ็ญพระราชธรรม อธิบาย ทศพิธราชธรรม จากหนังสือ "พระเจ้าอยู่หัวแห่งประเทศไทยทรงครองราชย์ครบหมื่นวัน" จัดพิมพ์พระราชทานในการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลปัณรสมวารถวายพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื้อหาครอบคลุมทศพิธราชธรรม 10 ประการ จากธรรมกถาในพิธีบำเพ็ญจิตภาวนาพุทโธโดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวมทั้งนิทรรศการความเป็นมา รูปลักษณ์ และความหมายของ พระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงออกแบบเพื่อพระราชทานแก่จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศเมื่อปี พ.ศ. 2509
    4. นำพระราชไมตรี นำเสนอการทรงงานด้านการต่างประเทศ นับตั้งแต่แรกทรงครองสิริราชสมบัติ คือการทรงต้อนรับพระราชอาคันตุกะและการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศในทวีปเอเชีย จากนั้นจึงเสด็จเยือนสหรัฐ ต่อด้วย 13 ประเทศในทวีปยุโรป และประเทศอื่นอีกหลายประเทศ จนถึงครั้งที่เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งนอกจากการเผยแพร่พระเกียรติคุณให้นานาประเทศรู้จักแล้ว ผลจากการเสด็จพระราชดำเนินเยือนยังนำมาซึ่งสัมพันธไมตรีที่ดีกับมิตรประเทศเหล่านั้น ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและความร่วมมืออีกมากมายตราบปัจจุบัน
    5. พระจักรีนิวัตฟ้า ประมวลภาพหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประชาชนแต่งกายไว้ทุกข์ชุดดำนับหมื่นนับแสนหลั่งไหลเพื่อให้ได้เฝ้าส่งเสด็จขบวนพระบรมศพ ภาพประชาชนทั่วทุกสารทิศเดินทางกราบถวายบังคมพระบรมศพตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งผู้นำประเทศต่างๆ ที่ร่วมรับรู้ความรู้สึกสูญเสียบุคคลสำคัญของโลก โดยมีพระราชสาส์นและแถลงการณ์แสดงความอาลัย มายังพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนชาวไทยโดยทั่วกัน
  3. ศาลาลูกขุน 6 หลัง จัดแสดงนิทรรศการพระเมรุมาศและสิ่งปลูกสร้างประกอบ งานบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ แยกตามศาลาลูกขุนดังนี้
    1. สมมติเทวพิมาน จัดแสดงนิทรรศการสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศ เล่าเรื่องแนวคิด คติความเชื่อเกี่ยวกับการก่อสร้างพระเมรุมาศที่สืบทอดมาจากสมัยสุโขทัย ซึ่งมีพัฒนาการเชิงรูปแบบสถาปัตยกรรมและความหมายที่เป็นต้นแบบของพระเมรุมาศรัชกาลที่ 9
    2. ณ วิธานสถาปกศาลา เล่าเรื่องขั้นตอนการออกแบบ-ก่อสร้างพระเมรุมาศ และอาคารประกอบ  โดยจำลองบรรยากาศ ‘วิธานสถาปกศาลา’ หรือ ‘โรงแบบขยายแบบเท่าจริง’ ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญของงานสถาปัตยกรรมไทยประเพณี ที่มีลักษณะเฉพาะและมีระเบียบแบบแผนในการวางองค์ประกอบ จึงต้องขยายแบบเท่าจริงลงบนกระดาษขนาดใหญ่ เพื่อตรวจทานมิให้รูปแบบผิดเพี้ยน โดยเฉพาะรูปแบบ ‘เรือนยอด’ ที่มีลักษณะเรียวแหลม อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ ‘อากาศกิน’ คือมวลของยอดที่สูงพุ่งไปในอากาศจะถูกมองเห็นว่าเล็กลีบเกินความเป็นจริง ซึ่งไม่สามารถคาดเดาหรือคำนวณการถูกอากาศกินได้ จึงจำเป็นต้องเขียนแบบเท่าขนาดจริง เพื่อตรวจทานมุมมองที่อยู่สูงขึ้นไป รวมทั้งเครื่องมือ-อุปกรณ์เขียนแบบซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงใช้ในการร่วมเขียนแบบขยายด้วยพระองค์เอง รวมทั้ง ‘พระมาลา’ ทรงสวมขณะทรงพระดำเนินลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้าการจัดสร้างพระเมรุมาศหลายครั้ง และยังจัดแสดงโต๊ะทำงานที่ ก่อเกียรติ ทองผุด ใช้ร่างแบบพระเมรุมาศรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโต๊ะที่ได้รับสืบทอดมาจาก พล.อ.ต.อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติ และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร ซึ่ง พล.อ.ต.อาวุธ ได้รับสืบทอดโต๊ะทำงานตัวนี้มาจาก อ.ประเวศ ลิมปรังษี อดีตอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และผู้เชี่ยวชาญพิเศษกรมศิลปากร ผู้ออกแบบพระเมรุมาศในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ร่วมด้วยการจัดแสดงวีดิทัศน์ฉายภาพลำดับการก่อสร้างในพื้นที่สนามหลวงตั้งแต่เริ่มวางฐานรากจนถึงการประกอบติดตั้งแล้วเสร็จ
    3. ประติมาสร้างสรรค์ จัดแสดงลำดับขั้นตอนการจัดสร้างงานประติมากรรมประดับพระเมรุมาศ ซึ่งเป็นการทำงานของสำนักช่างสิบหมู่ ร่วมกับ ช่างปั้นปูนสดเมืองเพชรบุรี คณาจารย์จากวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และกลุ่มช่างฝีมือศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิดและสีบัวทอง รวมทั้งจิตรกรจิตอาสา
    4. สวรรค์บรรจงวาด จำลองภาพจิตรกรรมบนฉากบังเพลิงทั้ง 4 ทิศของพระเมรุมาศ ในอัตราส่วน 1 : 2 โดยการถ่ายภาพและพิมพ์ลงบนผืนผ้าใบ เพื่อให้เห็นรายละเอียดอย่างใกล้ชิด รวมทั้งกล่าวถึงการจัดสร้างจิตรกรรมฝาผนังโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ติดตั้งบนผนังขนาดใหญ่ 3 ผนังของพระที่นั่งทรงธรรม
    5. ยาตรากฤษฎาธาร จัดแสดงเรื่องราวการทำงานในส่วนการบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถและพระยานมาศ รวมทั้งราชรถราชยานที่สร้างขึ้นใหม่ครั้งนี้ คือราชรถปืนใหญ่ เพื่อใช้อัญเชิญพระบรมโกศเวียนอุตราวัฏรอบพระเมรุมาศ และ พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย เพื่อใช้อัญเชิญพระบรมราชสรีรางคารแทนพระวอสีวิกากาญจน์ ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกรมศิลปากร กรมสรรพาวุธทหารบก และกรมอู่ทหารเรือ รวมทั้งได้แรงสนับสนุนจากจิตอาสาเข้ามาช่วยงานในหลายส่วน
    6. ตระการวิจิตรศิลปกรรม จัดแสดงงานประณีตศิลป์ในพระราชพิธี ประกอบด้วยการเล่าขั้นตอนการจัดสร้างและชิ้นส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นพระโกศจันทน์ จัดแสดงฟืนไม้จันทน์ ภาพพระโกศทรงพระบรมอัฐิทองคำลงยา จำนวน 6 องค์ จัดทำโดยกรมศิลปากรและสถาบันสิริกิติ์ และยังจัดแสดงแบบเครื่องสังเค็ด ภาพแสดงขั้นตอนการทำช่อไม้จันทน์ ทูลเกล้าฯ ถวาย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งมีความแตกต่างจากเดิมที่มีลักษณะเป็นงานซ้อนไม้ลายใบเทศ โดยเปลี่ยนเทคนิคการสร้างงานเป็นการแกะสลักไม้จันทน์ในลักษณะนูนต่ำ เพื่อให้ช่อไม้จันทน์มีมิติเพิ่มมากขึ้น โดยครั้งนี้สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร จัดทำช่อไม้จันทน์ซึ่งผูกลายให้มีความแตกต่างกันตามอย่างลำดับชั้น ทั้งหมด 7 แบบ ได้แก่ ช่อไม้จันทน์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร, สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี, ท่านผู้หญิงทัศนาวลัย ศรสงคราม (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์) ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ นอกจากนี้ยังจัดแสดงตัวอย่างงานเครื่องสดทั้งภาพและชิ้นงานจริง อาทิ ฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงถักตาข่ายดอกรักชั้นที่ 9 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรือนยอด 9 ชั้นในงานเครื่องสดประดับพระจิตกาธาน
  4. ทับเกษตร ในหัวข้อ นำสัมผัสพระสุเมรุ เป็นนิทรรศการเพื่อผู้พิการทางสายตา จัดแสดงแผนผังบริเวณมณฑลพิธีแบบนูนต่ำ พร้อมอักษรเบรลล์กำกับให้ทราบว่าแต่ละส่วนคืออาคารใด พระเมรุมาศจำลองขนาดย่อส่วน และสัตว์หิมพานต์ให้ได้ลองสัมผัส เพราะตามปกติแล้วผู้พิการทางสายตาไม่มีโอกาสชมความงามของงานศิลปกรรม แม้ได้ยินการอธิบายความงามเป็นคำพูด แต่ก็จินตนาการลำบาก จนกว่าจะได้คลำชิ้นงาน แต่นิทรรศการในส่วนนี้ทำให้ผู้พิการทางสายตารับรู้ความงามของงานศิลปกรรมไทยได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะงานประติมากรรมสัตว์หิมพานต์ ที่ทำให้ประหลาดใจราวกับเห็นภาพจริงๆ จากคำกล่าวที่ว่าจิตรกรไทยนำจุดเด่นของสัตว์หลายชนิดมาสร้างเป็นสัตว์หิมพานต์แต่ละตัว เช่น สุบรรณเหรา ที่มีลำตัวเป็นครุฑ หางเป็นพวงเหมือนไก่ มีเขาเหมือนมังกรและหงอนของพญานาคนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งหากงานเหล่านี้มีโอกาสจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ก็น่าจะช่วยให้ผู้พิการทางสายตาทั่วประเทศได้เรียนรู้ความงามของศิลปกรรมไทยซึ่งเป็นมรดกของชาติได้ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งอาจเรียกความสนใจจากผู้พิการทางสายตาจากทั่วโลกให้เดินทางมาชมและศึกษาศิลปกรรมไทย ซึ่งในสหรัฐและสหราชอาณาจักรต่างก็มีตัวอย่างพิพิธภัณฑ์จัดแสดงงานสำหรับผู้พิการทางสายตา โดยทับเกษตรและศาลาลูกขุนแต่ละหลัง มีข้าราชการกรมศิลปากรปฏิบัติหน้าที่เจ้าหน้าที่นำชมนิทรรศการประจำแห่งละ 4 คน คอยให้คำอธิบายและตอบข้อสงสัย หมุนเวียนกัน 2 รอบต่อวัน
  5. ภูมิทัศน์ด้านหน้าพระเมรุมาศ สะท้อนให้เห็นพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาทิ พันธุ์ข้าวพระราชทาน หญ้าแฝก ต้นยางนา มะม่วงมหาชนก และกังหันน้ำชัยพัฒนา[61]

ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จเป็นประธานเปิดนิทรรศการเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน โดยนิทรรศการดังกล่าวเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 2 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ตั้งแต่เวลา 07.00 - 22.00 น. เบื้องต้นเปิดให้เข้าชมอย่างอิสระ รอบละ 5,500 คน รองรับประชาชน ได้วันละ 104,000 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มภิกษุ สามเณร 500 รูปต่อวัน ผู้พิการทุกประเภท 500 คนต่อวัน นักท่องเที่ยว 8,000 คนต่อวัน นักเรียน นักศึกษา 15,000 คนต่อวัน และประชาชนทั่วไป 80,000 คนต่อวัน กำหนดเวลาเข้าชมรอบละ 1 ชั่วโมง แบ่งเป็น ให้ประชาขนถ่ายภาพที่ระลึกบริเวณถนนเส้นกลางทางเข้าพระเมรุมาศ 15 นาที จากนั้น จะให้เข้าชมพื้นที่ด้านใน 45 นาที โดยให้เข้าชมได้อย่างอิสระ ในส่วนของพระเมรุมาศจะเปิดให้ขึ้นลงได้ 2 ด้าน ทั้งนี้ก่อนหมดเวลาเข้าชม 5 นาที เจ้าหน้าที่จะส่งสัญญาณหมดเวลาทุกรอบ เพื่อเปิดให้รอบต่อไปได้เข้า โดยตลอดระยะเวลาในการจัดแสดงนิทรรศการ 29 วัน จะมีประชาชนเข้าชมมากที่สุด 3,016,000 คน ทั้งนี้ ประชาชนสามารถขึ้นชมพระเมรุมาศได้เฉพาะชั้น 1 เท่านั้น[62]

ทางผู้รับผิดชอบเตรียมความพร้อมอำนวยความสะดวกผู้เข้าชมอย่างเต็มที่ โดยมีจุดคัดกรอง 5 จุด โดยประชาชนทั่วไปให้เข้าในจุดคัดกรอง 3 จุด คือบริเวณหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ท่าช้าง และพระแม่ธรณีบีบมวยผม ส่วนผู้พิการเข้าตรงจุดคัดกรองหลังกระทรวงกลาโหม และพระภิกษุสามเณร เข้าทางด้านหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับการแต่งการเข้าชม ขอความร่วมมือ ประชาชนแต่งชุดสุภาพ เช่นเดียวกับการเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยงดเว้นสายเดี่ยว กางเกงขาสั้น และเสื้อแขนกุด ซึ่งประชาชนสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 22.00 น. โดยมีการเตรียมพื้นที่ให้เข้าชม แบ่งเป็นเวทีมหรสพ และนิทรรศการพระเมรุมาศ ซึ่งผู้ประสงค์จะเข้าชมนิทรรศการ สามารถเข้าคิวรอตรงจุดพักรอบริเวณเต็นท์ที่จัดเตรียมไว้ เพื่อรอคิวเข้าชม การเข้าชมจะใช้แนวปฏิบัติเดียวกับการกราบถวายบังคมพระบรมศพ โดยจะจัดเป็น 4 แถว ส่วนการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการเดินทางนั้น องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จะจัดรถโดยสารให้บริการฟรีใน 6 เส้นทาง ตั้งแต่เวลา 05.00 - 23.00 น. เส้นทางละ 10 คัน รอบละ 60 คัน ได้แก่ 1.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามหลวง 2.หัวลำโพง-สนามหลวง 3.วงกลมรอบเกาะรัตนโกสินทร์-สนามหลวง 4.เอกมัย-สนามหลวง 5.สายใต้ใหม่-สนามหลวง และ6.หมอชิต-สนามหลวง ส่วนทางเรือจะให้บริการตั้งแต่เวลา 06.00 - 22.30 น. ที่ท่านิเวศน์วรดิฐ และท่าราชนาวิกสภา ขณะเดียวกันจะประสานกรมเจ้าท่า ขอความร่วมมือผู้ให้บริการเรือด่วน เรือเมล์ขยายเวลารองรับการเดินทางของประชาชนด้วย

ส่วนการจัดแสดงมหรสพ ที่ประชุมได้กำหนดแนวทางการแสดงมหรสพ ซึ่งมีการนำนักแสดง และนักดนตรีจากสำนักการสังคีต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม รวมทั้งวงดนตรีจากทหาร 4 เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาจัดการแสดงภายในบริเวณพระเมรุมาศ โดยวางแนวทางเบื้องต้น มีการแสดงมหรสพ และการแสดงชุดต่างๆ เวลา 18.00 - 22.00 น. และจะมีการประโคมดนตรี วงบัวลอย บริเวณศาลาลูกขุน เวลา 08.00-17.00 น. นอกจากนี้ ทุกวันเสาร์ และอาทิตย์ จะมีการแสดงโขนหน้าพระที่นั่งทรงธรรม เพื่อให้ผู้เข้าชมนิทรรศการ ได้ซึบซับบรรยากาศเสมือนวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ[63]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  • "หมายกำหนดการ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  • การถ่ายทอดสด พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย
  1. 1.0 1.1 "พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หยุดราชการ26 ต.ค.60". ไทยโพสต์. 25 เมษายน 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. เตรียมสร้าง“ราชรถรางปืน-พระที่นั่งราเชนทรยานน้อย”องค์ใหม่
  3. 14 ประติมากรรม ประดับตกแต่งพระเมรุมาศ 'ร.9'
  4. เผยภาพแบบก่อสร้างพระเมรุมาศในหลวงร.9
  5. กทม. ลงปรับพื้นที่สนามหลวง เตรียมการก่อสร้างพระเมรุมาศช่วงต้นปีหน้า
  6. "ปรับพื้นที่สนามหลวงสร้างพระเมรุมาศ". วอยซ์ทีวี. 3 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "บวงสรวงตัดไม้จันทน์หอมใช้ในงานพระบรมศพ-แปรรูปส่งกรมศิลป์ ธ.ค.นี้". โพสต์ทูเดย์. 14 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ธนะศักดิ์บวงสรวงบูรณะราชรถพระยานมาศพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". สนุกดอตคอม. 19 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "ช่างสิบหมู่รับมอบ "ไม้จันทน์หอม" 1,461 แผ่น เผยออกแบบพระโกศจันทน์เพิ่ม "ครุฑ" เป็นครั้งแรก". ผู้จัดการออนไลน์. 20 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "ปักหมุด9จุดสนามหลวงสร้างพระเมรุมาศ". โพสต์ทูเดย์. 26 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "พิธีบวงสรวง ยกเสาเอก พระเมรุมาศ". เนชั่นทีวี. 27 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "สมเด็จพระเทพฯทรงร่วมประชุมจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". ไทยโพสต์. 1 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "กรมสรรพาวุธทหารบก บวงสรวงราชรถปืนใหญ่". พีพีทีวี. 24 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "ส่งมอบราชรถปืนใหญ่สง่างามสมพระเกียรติ". เดลินิวส์. 1 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "กรมสรรพาวุธ ส่งมอบ 'ราชรถปืนใหญ่' ให้กรมศิลปากร". เอ็มไทย. 5 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "สมเด็จพระเทพฯ เสด็จร่วมประชุมงานถวายพระเพลิง". ไทยรัฐ. 27 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. 17.0 17.1 "กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ติดตั้งระบบถ่ายทอดสดพระราชพิธีถวายพระเพลิง พระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช". กรมประชาสัมพันธ์. 6 กรกฎาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "นายกฯ บวงสรวงราชรถพระยานมาศ พระราชพิธีถวายพระเพลิง". สนุก.คอม. 21 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "'พลเอกธนะศักดิ์' ตรวจการจัดสร้างพระเมรุมาศ คืบหน้าแล้ว 98.6%". เรื่องเล่าเช้านี้. 3 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "กรมศิลป์ยันอีก6วันงานก่อสร้างพระเมรุมาศสมบูรณ์". สํานักข่าวไอเอ็นเอ็น. 4 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "ทูต65ประเทศชมพระเมรุมาศ-ราชรถงานออกพระเมรุในหลวงร.9". เดลินิวส์. 11 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "17 ต.ค.ซ้อมยกฉัตรขนาด น้ำหนักเท่าองค์จริง". คมชัดลึก. 12 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "พระเมรุมาศคืบหน้าร้อยละ 99.5 สมพระเกียรติ". เดลินิวส์. 13 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "'บิ๊กเจี๊ยบ' เผย 18 ต.ค.นี้ 'รัชกาลที่10' เสด็จฯไปทรงยกนพปฎลมหาเศวตฉัตร". ไทยรัฐ. 16 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "'ธนะศักดิ์'ตรวจการซ้อมยกนพปฎลมหาเศวตฉัตรฯ". ทีเอ็นเอ็น24. 17 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 17 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงยกนพปฎลมหาเศวตฉัตรยอดพระเมรุมาศ". ประชาชาติธุรกิจ. 18 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "กำหนดการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ "ร.๙" รวม ๕ วัน". สยามรัฐรายวัน. 10 เมษายน 2560.
  28. "หมายกำหนดการ พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 25 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุ ในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9". เรื่องเล่าเช้านี้. 25 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". ประชาชาติธุรกิจ. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ประกอบพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". ประชาชาติธุรกิจ. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. 32.0 32.1 "ควันสีขาวลอยเหนือพระเมรุมาศ 'ในหลวง'เสด็จฯถวายพระเพลิงพระบรมศพจริง". ข่าวสด. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "รัฐบาล แจ้ง วันนี้ยุติการถ่ายทอดสดพระราชพิธีฯ แล้ว". คมชัดลึก. 26 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระวงศานุวงศ์ อัญเชิญพระบรมโกศพระบรมอัฐิ สู่พระบรมมหาราชวัง". คมชัดลึก. 27 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. "ในหลวง ร.10 เสด็จฯ ในการพระราชกุศลพระบรมอัฐิ". ประชาชาติธุรกิจ. 28 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "ในหลวงเสด็จฯริ้วขบวนพระบรมราชอิสริยยศที่5 เชิญพระบรมอัฐิประดิษฐานพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท". ประชาชาติธุรกิจ. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. 37.0 37.1 "พระราชพิธีบรรจุพระบรมราชสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธฯ-วัดบวรฯ". สนุก.คอม. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร'ในหลวง ร.9'ที่ฐานพระพุทธชินสีห์". เดลินิวส์. 29 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. ""กษัตริย์จิกมี-สมเด็จพระราชินี"เตรียมเสด็จฯร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". โพสต์ทูเดย์. 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  40. 40.00 40.01 40.02 40.03 40.04 40.05 40.06 40.07 40.08 40.09 40.10 40.11 40.12 40.13 40.14 40.15 40.16 40.17 40.18 40.19 40.20 40.21 "เผยรายพระนาม-รายนาม พระราชวงศ์-ผู้นำทั่วโลก เยือนไทยร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิง". ข่าวสด. 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 2017-10-20.
  41. "Deltagande vid kremeringsceremoni för Thailands framlidne konung Bhumibol Adulyadej". ราชสำนักสวีเดน. 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 2017-10-19.
  42. "พระราชินีเบลเยียมร่วมถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่9". กรุงเทพธุรกิจ. 2017-10-07. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  43. ""พระราชินีแม็กซิมา" แห่งเนเธอร์แลนด์ เสด็จฯทรงร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิง 26 ต.ค.นี้". ข่าวสด. 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2017-10-12.
  44. "Japan's Prince Akishino to visit Thailand for late king's funeral". เกียวโด. 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 2017-10-10.
  45. "มกุฎราชกุมารนอร์เวย์ เสด็จร่วมงานพระราชพิธีฯ". เดลินิวส์. 2017-10-12. สืบค้นเมื่อ 2017-10-12.
  46. "เจ้าชายบาห์เรน – ประธานสภาแห่งชาติจีน ร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพ ร.9 พร้อมราชวงศ์-ผู้แทน34ประเทศ". มติชน. 2017-10-23. สืบค้นเมื่อ 2017-10-24.
  47. 47.00 47.01 47.02 47.03 47.04 47.05 47.06 47.07 47.08 47.09 47.10 47.11 "กต.เผยบุคคลสำคัญต่างประเทศยืนยันร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9 แล้ว 42 ประเทศ". ข่าวสด. 2017-10-24. สืบค้นเมื่อ 2017-10-24.
  48. "30 Nations Ask to Attend Ceremony". บางกอกโพสต์. 2017-10-18. สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
  49. "ผู้แทนเครือรัฐออสเตรเลียเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิง". วอยซ์ ทีวี. 2017-10-13. สืบค้นเมื่อ 2017-10-18.
  50. "รองนายกรัฐมนตรีจีน เยือนไทยร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ 26 ต.ค." ข่าวสด. 2017-10-24. สืบค้นเมื่อ 2017-10-24.
  51. "มหรสพยิ่งใหญ่ถวายพระเพลิงร.9". ไทยโพสต์. 2 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. "2 พันคนแสดงมหรสพถวายร.9". ไทยโพสต์. 8 มีนาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  53. "ระดม 7 วงดนตรี 889 ชีวิต ถ่ายทอดเพลงพระราชนิพนธ์ ในมหรสพดนตรีสากลพระราชพิธี". ผู้จัดการออนไลน์. 19 พฤษภาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 19 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  54. "เปิดจองเหรียญที่ระลึกฯถวายพระเพลิงพระบรมศพ ร.9 เริ่ม 22 ส.ค.60 นี้". สนุก.คอม. 21 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  55. "เปิดจองแสตมป์ประวัติศาสตร์ร.9". ไทยโพสต์. 26 สิงหาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  56. "4 แนวทางการโฆษณาช่วงเดือนตุลาคม2560 งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ". Marketing Oops!. 23 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. "ผังรายการดิจิตอลทีวี ฉบับที่ 3 เดือนตุลาคม 2560" (PDF). เซ้นส์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์และกสทช. 1 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  58. แจ้งทีวี 179 ช่องปรับโทนสีออกอากาศเป็นปกติ
  59. ตู้ 7 สียังทำการแข่งขันอีกนัดก่อนงด
  60. หนังสือสั่งการของกระทรวงมหาดไทย ที่ 0307.4/ว5469 เรื่อง ขอให้งดการพิจารณาอนุมัติ อนุญาต จัดให้มีการเล่นการพนันตามกฎหมายว่าด้วยการพนันในช่วงเดือนตุลาคม 2560,
  61. "พระเมรุมาศพิมานนฤมิต". กรุงเทพธุรกิจ. 10 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  62. "เปิดให้เข้าชมพระเมรุมาศ หลังเสร็จพระราชพิธี เริ่ม 2-30 พ.ย. เข้าชมรอบละ 5 พันคน". ข่าวสด. 27 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  63. "สมเด็จพระเทพฯ เสด็จเปิดนิทรรศการพระเมรุมาศ 2พ.ย.นี้". คมชัดลึก. 12 ตุลาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น